ตอนที่ ๑ | ตอนที่ ๒ | ตอนที่ ๓
หนังสือ Schools that learn มีชื่อ Senge ใหญ่สุดเพราะฮีดังที่สุด (ชั้นว่า) แต่ส่วนอื่นๆ ก็เขียนโดยคนหลายๆ คนที่อยู่บนหน้าปก การทำแบบนี้ก็ Make sense เพราะหนังสือเป็น Systems thinking อ่ะ ต้องหลายคนช่วยๆ กัน และชั้นว่าทำให้หนังสือ Rich และแต่ละบท แต่ละหน้ารสชาติไม่เหมือนกัน ถ้าจะต้องอ่าน 584 หน้าที่เขียนโดยคนๆ เดียว มันต้องโคตรสนุกอ่ะ ถึงจะอ่านจบ
การเขียนบล็อกนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ตัวเองได้ทบทวนว่าอ่านอะไรไป เค้าเชิญให้ไปพูดเรื่องหนังสือนี้ และคนอื่นจะได้รับรู้ด้วย ชั้นคิดว่าความอินของชั้นในเรื่องการสอนมันค่อยๆ osmosis ไปยังคนอื่น เป็นสนามพลังที่ใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล หรืออาจจะเป็นเหมือน Berlin Wall ที่วันหนึ่ง มันก็เปลี่ยนแบบฉับพลันเอง
เราอ่าน Systems thinking ไปถึงจุดๆ หนึ่งเราว่ามันคือการปฏิบัติธรรม มันคือสิ่งที่ท่าน Thich Nhat Hanh สอน ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด เมื่อคุณเห็นและเข้าใจความเชื่อมโยงนี้ นอกจากปัญญาแล้ว ความเมตตามันมาเอง
Productive Conversation
1. Check-In
ครูก็เช็คอินด้วย เล่าว่าวันนี้หรือช่วงนี้เป็นอย่างไร แล้วแต่ความสมัครใจ ถ้าคลาสใหญ่แล้วไม่มีเวลา อาจจะให้พูดแค่คำๆ เดียวก็ได้ ชั้นก็ทำอย่างนี้ แต่ไม่ทุกคาบ ชั้นใช้เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย (เรารู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้ดีเมื่อผ่อนคลาย) และให้เราและเพื่อนในห้องได้รับรู้กันและกันด้วย บางทีเรื่องที่เพื่อนเล่า เพื่อนที่เหลือยังไม่รู้ก็มี
2. Opening Day
ใข้วันแรกของวิชาในการ set ground rules ทุกทีชั้นก็แค่พูดเกี่ยวกับ Syllabus แล้วก็เริ่มสอนเลย หลังๆ พบว่าเด็กและชั้นมโนเอาเองเยอะมาก ควร Make implicit agreements explicit.
3. Reframing the Parent-Teacher Conference.
อ.มหาลัยแทบจะไม่ได้เจอผู้ปกครองเลย ถ้าไม่มีปัญหาอะไร ได้เจอก็วันแรกที่ปฐมนิเทศ
4. Taking Stock of the Classroom Experience
ให้รุ่นพี่มาเล่าให้รุ่นน้องฟังว่าควรทำอะไร ควรระวังอะไร อันนี้น่าสนใจ ภาคเราทำเหมือนกันในวิชาสัมมนา แต่เป็นรุ่นพี่ที่จบไปแล้วมาเจอน้องๆ มากกว่า แต่ที่เมืองไทยก็มีสายรหัสกันอยู่แล้ว ก็ทำกันเองไป
หนังสือแนะนำให้นักเรียนเขียนบันทึกส่วนตัวด้วย ครูอ่านแล้วก็ Feedback กลับไป คล้ายๆ ในหนัง Freedom Writer ชั้นให้เด็กลองเขียนในวิชาสัมมนา โจทย์คือให้บันทึกเรื่องดีๆ หรือเรื่องที่ขอบคุณในวันนี้ หลักๆ คืออยากให้ฝึกเขียน เรียบเรียงความคิด ผลพลอยได้คืออยากฝึกให้มองในแง่ดี
Systems Thinking
1. Systems Study for the Long Term
- Understanding the nature of systems เพื่อให้เข้าใจความซับซ้อน และอธิบายปรากฏการณ์ที่ดูย้อนแย้ง
- Developing personal skills ให้เรามี Clarity and consistency คือ จะวาด Causal loop diagram หรือทำโมเดล จะคลุมเครือไม่ได้อ่ะ การมองเชิงระบบฝึกให้เราเห็นความเชื่อมโยง ซึ่งกระเด็นไปสู่ชีวิตประจำวันอื่นๆ ด้วย เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์
- Shaping an outlook to fit the 21st century ดีลกับความซับซ้อนได้ มีความคิดสร้างสรรค์
2. A Guide to Practice for Systems Thinking in the Classroom
หนังสือให้ Resource สำหรับเด็กเล็กยันม. ๖ แต่ไม่ได้พูดถึงระดับมหาลัย มีตัวอย่างเกมให้เล่น/เรื่องเล่า เค้าบอกว่าเด็กเล็ก 4-5 ขวบเข้าใจเรื่องระบบในแง่ความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ อยู่แล้ว
3. Context and Engagement
เค้ายกตัวอย่างห้องเรียนที่ให้เด็ก work on real problems คือ ออกแบบสวนสาธารณะใหม่ ที่ต้องคำนึงถึงด้านต่างๆ เช่น ต้นทุน ผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ความอินของเด็กมาจากความจริงของโจทย์ ครูทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ไม่ใช่ผู้สอน แล้วตอนท้าย เด็กได้ไปนำเสนอให้เทศบาลฟังด้วย
4. Pitfalls and Skills
- ผู้เรียนมีหลายแบบ บางคนถนัดคณิตศาสตร์ บางคนอาจถนัดสัมภาษณ์
- อย่าหมกมุ่นกับการโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ให้มากนัก ควรลองสร้างโมเดลบนกระดาษก่อน
- ใช้โมเดลเพื่อสร้างบทสนทนา ไม่ใช่เพื่อโชว์ความเหนือคนอื่น
- ใช้โมเดลเพื่อทดสอบไอเดียต่างๆ
5. Learning to Connect the Dots
ส่วนนี้อ่านแล้ว Spiritual ในบางขณะ มีประโยคเช่น When we perceive and experience wholeness, we are tranformed, we no longer see nature, people, events, problems or ourselves as separate and unconnected. Our natural consequence is greater compassion for others.
ทีนี้ การศึกษาแบบปัจจุบันเป็น Classical mechanics คือ สอนแยกส่วน ถ้าจะกลับมาเป็นองค์รวม ก็ต้องสร้างนิสัยใหม่ เช่น เปลี่ยนวิธีพูด แทนที่จะพูดถึง Objects ให้พูดถึงความสัมพันธ์, Changes over time, มองหา Patterns, มองหลายๆ มุม
ส่วนสุดท้ายที่น่าสนใจคือเค้าพูดถึงนิทานพื้นบ้านจากหลายๆ วัฒนธรรมที่มีเรื่ององค์รวมนี้อยู่ เอามาใช้สอนเด็กเล็กๆ หรือชั้นว่าเด็กโตก็ชอบนิทานได้
จบ Part แรกที่ชื่อ Getting started แล้ว ต่อไปคือ Classroom
ตอนสุดท้าย
จบ Part แรกที่ชื่อ Getting started แล้ว ต่อไปคือ Classroom
ตอนสุดท้าย
Comments