Schools that learn (3/5): the Practice


ตอนที่ ๑ | ตอนที่ ๒

ในวงวิชาการของชั้น มีบทความประเภทหนึ่งเรียกว่า Review papers หรือ Summary papers เป็นบทความที่รวบรวมงานของชาวบ้านในด้านนี้ๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สรุป เปรียบเทียบ แล้วใส่โครง ทำให้เห็น Landscape และพัฒนาการของงาน

อ่าน Schools that learn แล้วให้ความรู้สึกอย่างเดียวกันนี้ คือ ให้บริบท history เหตุผลว่าทำอย่างนี้เพราะอะไร  ส่วนตัว ชั้นจะตื่นเต้นกว่าปกติถ้ามีงานวิจัยรองรับว่าที่ทำเนี่ย Work คือ ไอเดียดีก็น่าสนใจ แต่จะชอบมากกว่าถ้าไอเดียนั้น Tried and true.

หนังสือทำให้ชั้นเห็นภาพรวม ที่มาที่ไปของสิ่งที่เค้าทำ เป็น Jigsaw ของนักคิด นักวิจัย นักปฏิบัติทั้งหลาย คือ เหมือนรวบรวม Who is who in education เลยอ่ะ  ให้ Pointer ให้เราไปเจอนักคิดที่น่าสนใจอื่นๆ ที่เราเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่คุ้นชินกับงานเขา เช่น Humberto Maturana, Paulo Friere (Pedagogy of the Oppressed ซึ่งแปลเป็นไทยแล้ว) , Howard Gardner นักจิตวิทยาที่ทำเรื่อง Multiple intelligence

อีกอย่างที่เด็กเรียนอย่างชั้นชอบเกี่ยวกับ Schools that learn คือ เค้าให้ที่มาของคำศัพท์ จากภาษาละตินบ้าง อย่างอื่นบ้าง เช่น Classroom มาจากคำโรมันว่า Classis แปลว่าเรียกให้มา; Room แปลแบบ Old English ว่า Open space ดังนั้น Classroom แปลว่าสภาพแวดล้อมที่มีความเปิดกว้างอย่างต่อเนื่อง

ชอบที่มีสรุปหนังสือด้วย เป็น Pointer ให้รู้ว่ามีงานอย่างนี้ๆ อยู่ แล้วก็ให้ Online resources หลายอัน

อีกอย่างที่เป็นเสน่ห์มากของหนังสือคือบางตอนจะเริ่มด้วยเรื่องเล่า คล้ายๆ TED talks มีเรื่องเล่าก่อน แล้วปล่อยหมัดฮุคด้วย Message ที่ต้องการสื่อ เช่น เค้าเล่าถึงนักไวโอลินคนหนึ่งไปเล่นไวโอลินที่สถานีรถไฟใต้ดิน ไม่มีใครสนใจฟัง เล่น ๓ ชม. ได้เงิน $32 แต่จริงๆ แล้วเค้าคือ Joshua Bell นักไวโอลินระดับโลก ไวโอลินที่เล่นราคา $3 ล้าน คืนก่อนหน้าเพิ่งเล่น Concert ที่ตั๋วใบละ $100 แล้วขายหมดเกลี้ยง เปรียบได้กับนักเรียนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่พร้อมเรียน ถึงครูจะเด็ดแค่ไหน ก็ไม่รอด 

ชั้นเป็นคนเสพเรื่องเล่า ถึงแม้จะสรุปสั้นๆ ก็ตาม  อ่านมาได้ครึ่งเล่ม เข้าใจแล้วว่าทำไมหนังสือถึงต้องหนาและใหญ่ปานนี้  ถ้าใครอ่านเป็นภาษาอังกฤษได้ อยากแนะนำให้อ่าน ชั้นว่าชัดเจนกว่า กราฟิกดีกว่า

เข้าเรื่องเลยดีกว่า

Opening the Classroom Door

1. Creating Classrooms that Learn. 

มี Basic concepts ดังนี้ Teachers as designers of the learning environment; All children can learn.

2. Designing a Learning Classroom

  1. เริ่มที่วิสัยทัศน์ "If I had a learning classroom, ..." มีชุดคำถามให้ช่วยคิด
  2. Enhancing the definition ใส่บริบทให้คำตอบจากข้อแรก
  3. "What would it bring me?" ให้เห็นภาพฝัน
  4. Selecting and refining the top five from Q3.
  5. "How would we get there?" วิธีการ
  6. "What stands in the way?" ประมาณ SWOT analysis 
  7. "I'll know if I'm making progress if..."  อันนี้ก็ PDCA cycle
  8. First experiment ให้แยกแยะระหว่าง teaching vs. a learning system.

3. Create a Passionate Classroom

ใช้ Five disciplines ของ Senge

Seeing the Learner

1.  The Dignity of the Child

เค้าบอกเรื่องนี้ไม่ต้องสอน แต่ให้ทำให้ดู  Dignity เกี่ยวข้องกับการที่ครูและเด็กรู้ว่าความฉลาด (Intelligence) มีหลายแบบ แบบที่ระบบปัจจุบันให้ค่าคือ ภาษา (Verbal-linguistic) และ คณิตศาสตร์/ตรรกะ แต่ Gardner บอกว่ามีอีกหลายด้านมาก เช่น Artistic, Physical-kinesthetic (กีฬา), Musical, Natural (awareness and sensitivity to the environment), Interpersonal, and Intrapersonal (reflective)

ตัวอย่างเช่น เวลาสอน ลองให้เด็กมองหลายๆ มุม เช่น เชิงวิทยาศาสตร์, เชิงประวัติศาสตร์, เชิงศิลปะ, เชิงชาติพันธุ์ (Ethnically), เชิงคณิตศาสตร์ และเชิงดนตรี  คงไม่ต้องครบทุกด้าน แต่เค้าแค่เสนอ ชั้นว่าดีนะ เด็กจะได้ตระหนักว่าไม่ได้มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว ขึ้นอยู่กับมุมมองด้วย

ส่วนตัวไม่เรียกว่าเป็น Dignity แต่เรามองว่าเป็น Respect  พอจบม.๖ ชั้นไปเรียนอเมริกา ซึ่งอาจารย์ก็เป็นวิชาชีพหนึ่ง ไม่ได้ต่างจากคนทั่วไป เมื่อกลับมา ชั้นรู้สึกว่าอ.มี Rank เหมือนหมอ บางทีอ.ก็ไม่ได้สนใจในประเด็น Dignity ของเด็กเท่าไหร่นัก  เรามักพูดว่าเป็นอาจารย์ต้องมีความเมตตา บางทีก็เมตตาแบบว่าชั้นเหนือกว่า ชั้นว่านอกจากเมตตาก็ต้องมี Professionalism ด้วย

2.  Revealing the Learner

ช่วยให้เด็กและครูได้เห็นผู้เรียน ชั้นว่าเป็นการ Empower เด็กด้วย
  1. Introducing nine intelligences ผ่านชุดคำถาม
  2. Imagining the intelligent ถ้าคนที่มีความฉลาดแบบนี้มีอยู่จริง เค้าจะเป็นคนอย่างไร ชอบทำอะไร
  3. Individual reflection ให้ใคร่ครวญว่าตัวเองมี Intelligence แบบไหน แบบไหนที่เราอยากเป็น...

3.  Overcoming absurdity

ความงี่เง่าในที่นี้คือเรียนแบบสักว่าทำให้พ้นๆ ไป สอบให้ผ่านๆ ไป ถ้าผู้เรียนรู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียน ก็เรียนเองแหละ เค้ายกตัวอย่างศูนย์ขี่ม้า ที่เป็นศูนย์ฝึกอาชีพเด็กพัฒนาการช้า เด็กคนหนึ่งบอกว่าอ่านไม่ออก และไม่ยอมอ่าน ครูขอให้เธอช่วยอ่านนิตยสารม้าเพื่อดูวิธีการดูแลม้า ท้ายที่สุด เธอก็อ่านหนังสือได้ 

ชอบคำนี้ Aesthetics of Learning มี ๔ ด้าน ดังนี้ Intellectual, Emotional, Physical and Spiritual.  เค้าให้ความสำคัญกับเจตนา ซึ่งสัมพันธ์กับสิ่งที่ทำอีกที  ครูอาจจะลืมความงามของการเรียนรู้ หนังสือมีคำถามให้ครูช่วยรื้อฟื้นความจำ

4.  We dance together.

หนังสือสนับสนุนให้เด็กที่มีความแตกต่างกัน เช่น Autism เรียนกับเด็กปกติ ไอเดียคือเพื่อสร้าง Empathy และคนที่ไม่เหมือนคนอื่น ทำให้ที่เหลือได้เรียนรู้ไปด้วย 

Maturana said that "love expands intelligence and enables creativity." "When the emotion of love is there, vision expands."

5.  What Signals Are We Sending?

บางทีครูพูดหรือทำอะไรบางอย่างแบบไม่คิด แล้วเด็กจำไปจนตาย คำแนะนำคือ ให้พูดถึงสถานการณ์ ไม่ใช่ต่อว่าที่ตัวบุคคลหรือนิสัย หนังสือพูดถึง Emotional Intelligence ว่าอาจจะสำคัญกว่าครอบครัวในการช่วยให้เด็กมีความอึดที่จะทนความลำบาก  

Practices

1.  Teaching Structural Tension

เริ่มด้วย What's the point of education?  อืม..นั่นสิ เค้าบอกว่าจะสร้างสรรค์หรือเรียนอะไรใหม่ต้องมี Creative tension or structural tension ชั้นว่าเหมือนความคันหรือความอึดอัดแบบอยากแก้ปัญหาที่มีอยู่

Discipline  เราชอบมากที่เค้าบอกว่า All disciplines are unnatural.  ถ้าได้แล้ว เป็นสันดานแล้ว ก็ไม่ต้องใช้วินัย

Thinking about what we want อารมณ์ล็อกเป้า มีภาพฝัน

It begins with a question.  การสร้างนิสัยให้มีเป้าหมาย ความฝัน วิสัยทัศน์ เป็นทักษะ!!

Just the facts.  ประเมินสถานการณ์ปัจจุบันอย่างแท้จริงแบบไม่เสียกำลังใจ  They must be able to separate who they are from what they do.  ณ จุดๆ นี้ ชั้นว่าเค้าสอนให้คนเป็นผู้นำอ่ะ Leadership skills ชัดๆ  

The Self-Esteem Trap
  • Focus ให้ถูกจุด  Take what you do, but not yourself, seriously.
  • Generative love.  Creators love their creations before they exist.
The Lesson of Action
Actions are choices.  Three types of choices: Fundamental (to be the predominant creative force in one's own life), Primary (goals, aspirations, and ambitions) and Secondary (ไม่อยากทำแต่ต้องทำเพื่อให้ Primary choice สำเร็จ).

2.  A Shared Vision Process for the Classroom


3.  Homework: The Beast

ชั้นชอบหัวข้อนี้มาก ชั้นไม่ได้เรียนครุศาสตร์มา และไม่เคยมีใครบอกเลยว่าหน้าที่ของการบ้านคืออะไร เราก็แค่อยากให้เค้าได้ฝึกมากขึ้นนอกห้อง แต่เค้าบอกว่า Characteristics of quality homework are evaluation, synthesis, analysis of ideas and materials. หนังสือให้ชุดคำถามเพื่อเช็คว่าการบ้านเรานี่มีความหมายแค่ไหน

4.  Assessment as Learning

หัวข้อนี้ก็ชอบมาก ชั้นรู้สึกตลอดเวลาว่าถ้าชั้นเปลี่ยนวิธีการสอน ไม่ใช่เรียนเพื่อสอบ แล้วจะประเมินด้วยการสอบเพียงอย่างเดียว มันก็ลักลั่นอยู่ 

การประเมินมี ๓ แบบ ดังนี้ Assessment of learning อันนี้ทำกันอยู่แล้ว เช่น การสอบ, Assessment for learning เพื่อให้ครูและเด็กได้ปรับปรุง เช่น ให้คอมเม้นแล้วเด็กไปแก้, Assessment as Learning เป็นการสอนผ่านการประเมิน เช่น ครูมีตัวอย่างให้ดูว่างานที่ดีเป็นอย่างไร 

Qualities of Assessment for Learning มีองค์ประกอบดังนี้
  • Timeliness ยิ่งตอบเร็วยิ่งดี
  • Honesty
  • Reflection:  Anything worth doing is worth doing poorly the first time.  เด็กไม่ควรกลัวงานห่วยจนไม่ยอมอะไรใหม่ๆ 
  • Constructive guidance อันนี้น่าสนใจและชั้นต้องฝึก ครูควรฝึกที่จะมองเห็นจุดแข็งของเด็กแล้วเสริมตรงนั้น ไม่ใช่เห็นและบอกเด็กแต่ข้อเสีย 
  • Focus 
  • The role of parents
  • Assessment for schools หนังสือพูดถึงการให้เกรดว่าข้อเสียคือเด็กและผู้ปกครองเรียนเพื่อเกรด ไม่ใช่เรียนเพื่อเรียน

5.  Assessment and Accountability

 เค้ามีชุดคำถามให้เช็คจุดประสงค์ของการประเมินด้วย อ่า...MBA indeed.

6.  Intelligent Behaviors

อารมณ์ 21st century skills มีดังนี้ 
  1. Persisting สมัยนี้เรียก Grit (กัดไม่ปล่อย)
  2. Managing impulsitivity มี Tip ที่ใช้สอนเด็ก ADHD คือ บอก"ขอเวลาหนึ่งนาที ขอชั้นคิดก่อน" ชั้นจะเอาไปใช้บ้าง จะได้ไม่สวนไวนัก
  3. Listening with understanding and empathy
  4. Thinking flexibly
  5. Metacognition (thinking about thinking) รู้ว่าตัวเองคิดอะไรอยู่ แล้วมาถึงคำตอบนี้ได้ยังไง ถอดบทเรียนได้
  6. Striving for accuracy and precision คือเป็นมืออาชีพ ไม่ชุ่ย
  7. Questioning and problem posing ถามคำถามดีนี่ยากกว่าหาคำตอบอีก
  8. Drawing on past knowledge and experience
  9. Creating, Innovating, Originating
  10. Thinking and communicating with clarity and precision
  11. Gathering data through all senses อายตนะ ๖ งัดมาให้หมด
  12. Displaying a sense of humor นอกจากฉลาดแล้ว ยังต้องขำด้วย โอ้!!  คงหมายถึงว่าแกไม่ต้อง take yourself too seriously ก็ได้ 
  13. Responding with wonderment and awe.  Enjoy problem solving.
  14. Thinking interdependently.  คือทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ คิดร่วมกันได้
  15. Taking responsible risks.  อันนี้เราว่าสำคัญ บางทีเด็กยิ่งเรียนเก่งยิ่ง Play safe.  ถามทุกอย่าง กลัวว่าทำแล้วไม่ถูกใจอาจารย์
  16. Learning continuously.  

7.  Knowledge and Power

เค้าพูดถึง Education for social justice (อ้างอิง Freire)  Literacy มีหลายแบบ เช่น Emotional, computer, cultural, environmental, visual, financial, functional, musical, community and systems.  จริงๆ การศึกษาทำเพื่อให้ประชาชนมี Power to make decisions about their lives.  

Comments