Schools that learn (2/5): Five Disciplines


บทแรกอยู่ที่นี่

บทที่สองลงทฤษฎี Systems Thinking และย่อยยากกว่าบทแรกมาก  ไล่ไปตามหัวข้อในบทเลยละกันนะ

Creating a context for organizational learning

ถ้าอยากให้คนคิดในแบบใหม่ ไม่ต้องบอกวิธีคิด แต่ให้เครื่องมือ เดี๋ยวเค้าก็เปลี่ยนวิธีคิดเอง  

องค์ประกอบของ Organizational learning
  • Guiding ideas: future direction
  • Innovation or infrastructure: กฎเกณฑ์ หน้าที่ ความรับผิดชอบ
  • Theories, Tools and Methods ถ้ายกร่างออกมาจากการคลุกวงใน เป็นผู้ชมบนอัฒจรรย์ได้จะดีมาก 
Three basic types of skills and capabilities
  • Articulating individual and collective aspirations สื่อสารเป้าของตัวเองและของหมู่คณะได้
  • Recognizing and managing complexities เข้าใจและจัดการความซับซ้อนได้ 
  • Reflective thinking and generative conversation  ไอเดียคล้ายๆ Non-violent communication (NVC) ของ Marshall Rosenberg มากๆ

Personal mastery

ประเมินตัวเองว่าอยากไปที่ตรงไหน และตอนนี้อยู่ตรงไหน  ส่วนต่าง (Gap) เป็นอย่างไร  Senge มีขั้นตอนที่ละเอียดมาก มีคำถามช่วยนำ แบบฝึกหัดนี้ใช้ได้กับองค์กร ครู และคนทั่วไป เริ่มจากคำนามธรรมแล้วค่อยใส่บริบท แล้วกลับมาทวนอีกที น่าสังเกตว่าเค้าให้เราเขียนหรือวาดวิสัยทัศน์ก่อน แล้วค่อยประเมินว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน  

พอระบุวิสัยทัศน์และสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เค้าให้เราเลือกว่าเราจะทำอะไรเพื่อให้ไปถึงจุดนั้น เค้าย้ำว่ามันเป็นสิ่งที่เราเลือกเอง เหมือนเลือกคู่ชีวิตตอนแต่งงาน เราเป็นทาสของสิ่งที่เราเลือก 

Shared Vision

วิสัยทัศน์ร่วมระหว่างคนในโรงเรียน หรือในห้องระหว่างครูกับนักเรียน  การมีวิสัยทัศน์ร่วมทำให้มี Commitment ร่วมกัน  วิสัยทัศน์ร่วมนี่มีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับความอินของ Stakeholders ทั้งหลาย ต่ำสุดคือสั่ง (Telling), พยายามชักชวน (Selling), กึ่งๆ ท้าทาย (Testing), ปรึกษา (Consulting) และสูงสุดคือ Cocreating  เช่นเคย Senge มีคำถามช่วยร่างวิสัยทัศน์ร่วมกันนี้

Mental Models

คือชุดโลจิกส่วนตัวของเราว่าโลกมันทำงานยังไง  ให้เราตระหนักรู้ว่าเราตีความส่ิ่งที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา (ให้นึกถึงเสียงหมาป่าของ NVC)  และให้บาลานซ์ระหว่างความต้องการของเราและความใส่ใจใคร่รู้กับเรื่องของคนอื่นด้วย หนังสือมี Protocol เป็นคำพูดภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ว่าเราควรจะพูดว่าอย่างไร เช่น เมื่อคุณอยากสนับสนุนให้คนอื่น explore ไอเดียเรา เราอาจจะพูดว่า "คุณเห็นว่าอย่างไรกับสิ่งที่ผมเพิ่งพูด"  

Protocol นี่มันก็ดีนะ โคตรจะอเมริกันเลย บอกละเอียดเป็น Recipe มาก 

นอกจาก Protocols ในการแชร์ความเห็นแล้ว ยังมีแผนผังว่าเราอยู่ในตำแหน่งไหนของการเสนอความคิดตัวเอง (Advocacy) กับการถามถึงอีกฝ่าย (Inquiry) 

Senge ให้ตารางมาด้วย สมมติว่าอาจมีสถานการณ์ที่เรามโนไปเองว่าเค้าไม่ชอบเรา ให้เขียนมาในคอลัมน์ขวาเลยว่าเค้าพูดว่าอะไร เราพูดว่าอะไร แล้วคอลัมน์ซ้ายเขียนว่าเราคิดอะไรในตอนนั้น  เขียนเสร็จ ทิ้งไว้อาทิตย์หนึ่ง แล้วกลับมาดูใหม่ผ่านชุดคำถามที่เค้าให้มา (ชั้นว่าถ้าชั้นทำทุกขั้นตอนนี่คงรู้จักตัวเองดีมาก) เพื่อทบทวนและอาจจะแก้ไข  Scientific สุดๆ  Objective and Subjective 

อีกประเด็นคือ Amplification เช่น หัวหน้าไม่ได้บอกตรงๆ ว่าให้ทำ คนรอบข้างคิดไปเองว่าอยากได้แล้วทำมา Senge ให้ใส่ใจการสื่อสารว่าเราทำให้คนอื่นเข้าใจผิดหรือไม่  มีแบบฝึกหัดให้เช็คตัวเอง

Team Learning

คนในทีมคิดและทำคล้ายสิ่งมีชีวิตเดียวกัน ซึ่งอาศัยการคุยกัน การเคารพกัน และความตั้งใจที่จะเข้าใจและได้รับความเข้าใจ มี Alignment  

เครื่องมือมี Dialogue ซึ่งอัศจรรย์มากว่าที่ MIT มี Dialogue Project and DiaLogos Institute  Senge บอกว่า Dialogue ช่วยเยียวยาความแตกแยกและความโดดเดี่ยวของคนสมัยใหม่; Mind maps; World Cafes ซึ่งเซนเก้บอกว่าเค้าใช้เยอะมาก 

Systems Thinking  

หัวข้อนี้ Technically hard core สุด  

Iceberg Model ว่าสิ่งที่เราเห็นนี่แค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง
https://www.nwei.org/iceberg/

Feedback loops ซึ่งมีสองแบบคือ Reinforcing loop เช่น การเพิ่มของประชากร ยิ่งคนมาก คนก็เกิดมาก แต่พอถึงจุดๆ หนึ่งที่ทรัพยากรหมด ประชากรก็ตายเพราะขาดอาหาร  Balancing loop คือ มันหาสมดุลเองในที่สุด ช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆ ว่ามันส่งผลต่อกันและกันอย่างไร 

Time delay อันนี้ชั้นว่าสำคัญมาก ปัจจัยบางอย่างยังไม่ส่งผลเพราะยังไม่ถึงเวลา ไม่ใช่ไม่มีผล เช่น เรื่องกรรม หรือคนสูบบุหรี่ยังไม่เป็นมะเร็งเพราะยังมี Time delay

Behavior over time diagrams ก็เป็น time series plot ธรรมดา แกนนอนเป็นเวลา แกนตั้งเป็นค่าที่เราสนใจ เช่น คะแนนสอบ ช่วยให้เห็น Pattern อะไรบางอย่าง

ข้างบนเป็น Causal loop diagram และอันล่างเป็น Behavior over time graph
Source: http://www.syque.com/improvement/Causal%20Loop.htm

System Archetypes คือ ระบบแบบที่มักจะเจอบ่อยๆ เช่น เจอปัญหาแล้วรีบแก้ให้พ้นๆ ตัวแล้วทำให้เกิดปัญหาระยะยาวตามมา (Quick fixes) อันนี้น่าจะมีเยอะในระบบการศึกษา

Stock and Flow Diagram เป็นของโปรดของฉัน คำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ จับต้องได้ ลองเล่นสถานการณ์ต่างๆ ได้  สต็อค เช่น จำนวนนศ.ในระบบ Flow เป็นการไหล เปลี่ยนที่ของสต็อค เช่น การรับเข้า การจบการศึกษา ปัญหาหลักของเราในการใช้โมเดลพวกนี้คือเราไม่มีข้อมูล และข้อมูลก็ไม่น่าเชื่อถือในบางครั้ง พัฒนาตัวแบบอ่ะง่ายมาก แต่ค่าพารามิเตอร์ที่เอามาใส่นี่แทบไม่มี ต้องยืมตัวเลขจากเมืองนอก 

Reflection matters in learning to learn

การใคร่ครวญ สะท้อน เป็นสิ่งจำเป็น People learn in cycles, moving naturally between action and reflection, between activity and rest.

ตอนที่ ๓



Comments