Schools that learn (5/5): Finally...

Chinese word for Learning
ตอน ๑ | ตอน ๒ | ตอน ๓ | ตอน ๔

ตอนนี้ตอนสุดท้ายของ Schools that learn ที่ชั้นจะเขียนแล้ว  ช่วงกลางๆ เป็นกรณีศึกษา, โรงเรียนที่ USA, ความเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และการปกครองท้องถิ่น ชั้นอ่านข้ามๆ

ส่วนสุดท้ายที่ได้รับมอบหมายให้อ่านเป็นเรื่อง Sustainability หนังสือนำเสนอด้วยกรณีศึกษาทั้งใน USA และในประเทศโคลัมเบีย ซึ่งอยู่ในอเมริกาใต้

ช่วงแรกพูดถึงโปรเจคของผู้ใหญ่ในชุมชนที่ต้องการให้เด็กยังอยู่ในโรงเรียนได้ ที่อเมริกาก็มีปัญหาเดียวกับที่ไทย คือ บางครั้งเด็กยากจนขาดเรียนบ่อย ทำให้เรียนไม่ดี โถมทับด้วยความรุนแรงอื่นๆ เช่น แก็ง ยาเสพติด ตัวอย่างโปรเจคเช่น The Rainmakers, ROCA, Inc.

หนังสือพูดถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนอื่นๆ อีก เช่น การโหวตเพื่อขอเงินสนับสนุนเพิ่ม หรือขอให้ไม่ยุบโรงเรียน นักการศึกษาในเคสนี้รู้จักผู้ปกครองและบ้านทุกหลังในชุมชน ทำให้ได้รับการสนับสนุน ประเด็นคือไม่ใช่แค่ทำ PR เฉยๆ แต่ต้องลงไปพูดคุยกับทุกๆ บ้าน

ส่วนที่ประทับใจที่สุด คือ Children as Leaders.  ประเด็นหลักคือ เด็กเข้าใจและสนใจเรื่องความยั่งยืนมากกว่าที่ผู้ใหญ่คิด หนังสือให้เคสจริงที่เด็กๆ ลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลง โคลัมเบียมีความรุนแรงที่เกิดจากการค้าเฮโรอีน (เป็น Supply chains ส่งมา USA) เด็กจำนวนมากเป็นกำพร้า  เด็กๆ เคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อสันติภาพ (The Children's Peace Movement) ในช่วงปี 1990-2000

เคสอีกอันที่ชอบเป็นเด็กอายุ ๑๒ ขวบที่อเมริกาชื่อ Annalise ต้องการลดการพึ่งพาพลังงานจากน้ำมัน ร่วมกันเอง และร่วมกับผู้ใหญ่ในชุมชน นำเสนอให้สร้างกังหันลม ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้รับการสนับสนุนให้ได้สร้าง ชั้นไม่ได้ประทับใจกังหันลม แต่ชอบตอนที่พ่อแม่ของ Annalise บอกว่าเดิมพวกเค้าเป็นห่วงนางมาก เพราะนางขี้อาย ไม่กล้าพูด แต่เมื่อนางได้พบเรื่องที่นางอิน นางเปลี่ยนเป็นคนที่สามารถสะกดผู้ใหญ่ด้วยโปรเจคกังหันลมได้  ชั้นว่านี่แหละ Sustainability จริงๆ คือ การศึกษาสร้าง Sustainable citizen

เซนเก้เองเคยทำงานหรือเรียนอยู่เมืองจีนเป็นเวลานาน หนังสือเล่มนี้เปิดด้วยตัวหนังสือจีนของคำว่า Learning เซนเก้บอกว่า For the Asian mind, learning is ongoing "Study" and "Practice constantly" together, suggest that learning should mean "mastery of the way of self-improvement."

Chinese word for Education
ส่วนตอนปิด หนังสือบอกว่าเดิม ภาษาจีนไม่มีคำว่า การศึกษา สิ่งที่ใกล้ที่สุดที่เพิ่งมี คือ jiao hua แปลว่า to teach in order to transform. 

สุดท้าย คำว่าอาชีพ Vocation มาจากรากศัพท์ลาตินว่า Vocare แปลว่าเสียงเรียก To call ซึ่งเป็นรากศัพท์ของคำว่า Voice ด้วย  ไม่ใช่แค่ให้ได้เงิน แต่อาชีพเกิดจากเสียงเพรียก เป็นบุพเพสันนิวาส ด้วย

การศึกษานอกจากควรเพื่อพัฒนาคนแล้วยังเพื่อให้ได้พบเสียงเรียกของจิตวิญญาณด้วย

Comments

Unknown said…
อาชีพมีความเป็นบุพเพสันนิวาส​ด้วย​ ข้อนี้เห็นจะจริงนะคะ​ เสียงเพรียกมักพาเราออกเดินทางเสมอ