My Living Myth

Credit: Nattarote Wangwinyoo
เขียนบล็อกโพสที่แล้วเสร็จแล้วก็เพิ่งรู้ตัวว่าเล่าแต่เรื่องตัวเองและสิ่งที่ชั้นสนใจ ไม่ได้พูดถึงหัวข้อที่เรียนเท่าไหร่เลย

(เทอมหน้าชั้นต้องสอนวิชาสัมมนาป.โท ซึ่งจะต้องช่วยให้นิสิตเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ มีแผนว่าจะสอนเขียนเป็นเรื่องเป็นราว เลยมาฟังหนังสือเสียง Writing down the bones by Natalie Goldberg ขอบคุณอ.ต้น อนุสรณ์ ที่อ้างอิงหนังสือเล่มนี้ตอนฮีสอน Writing workshop ที่ม.เถื่อน  ฟังแล้วได้แรงบันดาลใจระดับที่ต้องจอดรถแล้วเขียนเลย สิ่งที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับการเขียนคือไม่รู้ว่าจะมีอะไรออกมา ตอนจะเริ่มเขียนจะคันๆ อยากเขียน ส่วนหนึ่งคือเพื่อเอาพลังงานออก ส่วนหนึ่งคือเพราะอยากรู้ว่าเราจะเขียนอะไร  ชั้น Highly recommend หนังสือของ Goldberg อ่านเป็นหนังสือธรรมะ ปรัชญาก็ได้)

ชั้นมาเข้า The Living Myth Workshop สอนโดยพี่ณัฐ ณัฐฬส วังวิญญู ที่วัชรสิทธา โพสที่แล้วเล่าเรื่องสองวันแรก เหมือนชั้นดูดพลังงานอะไรเข้ามาบางอย่าง มันต้องปล่อยออกด้วยการเขียนอ่ะ จริงๆ ไม่ได้ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนมาเท่าไหร่

รู้จัก Joseph Campbell มานานเกือบเท่าๆ กับรู้จักพี่ณัฐ  ชั้นเชิญให้ฮีมาพูดที่คณะวิศวะ ม.เกษตร เรื่อง Living an Undivided Life ซึ่งมีโครงหลักๆ มาจาก Hero's Journey ที่ Campbell นำเสนอแล้วทำให้ฮีดัง  เรื่องอื่นๆ ที่พี่ณัฐพูดถึงใน Talk คือ James Hillman, Jungian Psychology.  สำหรับชั้นแล้ว จะสนุกสุดๆ กับ Campbell และเข้าใจว่าฮีพูดอะไรควรมี Background ทางด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะสายยุง

พี่ณัฐพูดถึง Hillman ในแง่ Archetypes ชั้นว่าคล้ายๆ นพลักษณ์ คือ Universal จริงตลอด ทุกที่ ทุกเวลา นพลักษณ์มีผู้ประสานไมตรี ผู้ให้ แต่ Archetypes ชัดเจน จับต้องได้กว่า เช่น แม่ คนใช้ พระราชา โสเภณี เราทุกคนมี narrative หลักที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมของเรา เช่น ของชั้นมีนักรบ ผู้ให้ ครูและแม่ แล้วแต่บริบท

ชั้นไปหา Hillman ฟังใน YouTube เค้าเป็นคนที่พูดชัดเจน กระชับ มีน้ำหนัก Professorial. Midwestern clarity อ่ะ นึกถึงรูปภาพ American Gothic ของ Grant Wood.  ฮิลแมนเป็นลูกศิษย์ของยุงอีกที  ฮีบอกว่าหนึ่งในหนังสือที่ฮีชอบที่สุดคืออัตชีวประวัติของยุง (Memories, Dreams and Reflections ซึ่งมีแปลไทย) ชั้นมักอยากรู้ว่าคนฉลาดๆ อ่านอะไร ก็ไปขอฟัง Audio book เล่มนี้ของเพื่อน ฟังจบแล้วรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ชั้นว่ามันย่อยง่ายกว่าอ่านบทความทางวิชาการหรือหนังสือที่เค้าเขียน  เวลาอ่านหนังสือประวัติคน เหมือนเราสวมความเป็นตัวเขา เข้าไปอยู่ในโลกของเค้า มันทำให้เข้าใจระบบการคิดและมุมมองเค้า เข้าใจแบบ internalize ความเป็นฮี

ชั้นเป็นสายทำความเข้าใจและสร้าง Relationship กับชุดความรู้เดิมที่มี ไม่ใช่สายจำ คือ ถ้ามันอิน จำได้เอง ไม่เคยเรียนหนังสือด้วยการท่อง ช่วงนี้กำลังอินกับคำว่าความสัมพันธ์ Relationship

เรื่อง Audio book นี่น่าสนใจ มันเป็นคนละโหมดกับการอ่าน พออ่าน เสียงที่อยู๋ในหัวเราคือเสียงเรา แต่พอฟัง มันเป็นเสียงคนอื่น ซึ่งถ้าคนเขียนอ่านเอง มันจะฟินไปอีกแบบ เพราะได้สื่อสารผ่านน้ำเสียงของคนอ่านอีกทาง ถ้าเป็นบทกวี แล้วกวีอ่านเองนี่สุด!

จริงๆ The Living Myth คือ หนังสือที่ชั้นอ่านแล้วมารวมกันเป็นชั้น

กลับมาเรื่อง Campbell สำหรับชั้นแล้ว ความคูลของฮีในเชิงวิชาการคือสร้าง Unifying framework กรอบที่เชื่อมโยง Myth ของหลายๆ วัฒนธรรม ข้ามกาลเวลา เรื่องราวเหล่านี้มีธีมอะไรที่คล้ายๆ กัน ฮีเห็นโครงสร้างว่ามันคือ Hero's Journey นั่นเอง ที่เหลือมันเป็นแค่รายละเอียด ความหลากหลาย เป็นน้ำจิ้มที่เพิ่มรสชาติ เป็นสีสัน

Concept ที่สำคัญมากๆ ของ Hero's Journey คือ การตาย และการเกิดใหม่ ต้องยอม "ตาย" เพื่อจะเกิดใหม่ Death and resurrection แล้วอีกคำที่พี่ณัฐพูดบ่อยมากคือการหลอมรวม (Integration) กับขั้วตรงข้ามหรือเงา (Shadow) ที่เราปฏิเสธ เช่น ชั้นมองว่าตัวเองแข็ง ไม่อ่อนโยน ไม่ขี้เล่น  แล้วชั้นก็จะดึงดูดกับคนที่ซอฟท์ๆ ขำๆ คือ จริงๆ เราก็มีทุกด้านอ่ะแหละ แต่เรายังไม่ได้หลอมรวมกับมัน พอเปิดรับมันแล้ว ก็จะรู้สึกไม่ปั่นป่วนกับตัวเอง และคนอื่นที่มีเงาของเรา

ชั้นว่าหลังจาก Hero's Journey คือเราเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเองและจักรวาลอ่ะ Tune you to yourself and to the universe

ในเชิงความเกี่ยวเนื่องกับมนุษย์ธรรมดาอย่างเรา Hero's Journey ให้พลัง Empowering ในแง่แต่ละคนก็มีการเดินทางของตัวเอง ถ้ามีเสียงเพรียก Calling แล้วเราออกเดินทาง เราอาจจะได้เจอน้ำอมฤต Elixir ได้ Bliss...  มะเร็ง การหย่าร้าง การไล่ออก ดูทางโลกอาจจะเป็นเรื่องโชคร้าย แต่จริงๆ แล้วอาจจะเป็นเสียงเพรียกให้ออกเดินทางทางจิตวิญญาณก็ได้ Hero's Journey is empowering เพราะเราก็สร้าง Narrative ของเราเองได้ อาจจะดูบ้าๆ Self-annihilating หลอกตัวเองหน่อยๆ  ชั้นเขียนถึงตรงนี้แล้วก็เออ..มันเป็น Propaganda โลกสวยอย่างหนึ่งนะเนี่ย เหมือนเป็น Intellectual Antidepressants

พี่ณัฐไม่ใช่สาย Monologue ฮีเป็นสาย Dialogue ฮีพูดเริ่มต้น เล็กเชอร์สั้นๆ กลุ่มคนเรียนเป็นคนคิดเยอะ สงสัยเยอะ ก็ถาม (น่าสนใจว่าเป็นคนละกลุ่มกับพวกภาวนาที่วัชรสิทธา) พอถามแล้วมันก็อาจจะฉีกออกนอกประเด็นหลัก ซึ่งก็เป็นพลังงานอีกแบบ พี่ณัฐใช้เล่านิทาน เรื่องเล่าจากที่ต่างๆ เช่น นิทาน Native Americans, Japanese stories บางเรื่องจะ Resonate ในตัวเรา บางเรื่องไม่ รู้ได้ไงว่า Resonate ก็มันสะดุด มันจำได้ น่าสนใจในแง่ทำไมบางเรื่องมันโดน บางเรื่องไม่โดน

น้องคนหนึ่งที่เป็นคนขี้เกรงใจมากๆ สะดุดกับเรื่องซามูไรที่พี่ณัฐเล่า ซามูไรคนนี้มีนายซึ่งถูกฆ่าตาย เค้าจึงต้องไปล้างแค้น ตามหาผู้ฆ่า เมื่อพบ ชักดาบกำลังจะฟันแล้ว คนที่จะถูกฆ่าถ่มน้ำลายใส่หน้า ซามูไรโกรธ เค้ารู้ตัวว่าโกรธ (แม่งคูลมาก มีสติ!) เอาดาบคืนฝัก แล้วเดินจากไป จบ!! The act of killing is honorable.  ชั้นภูมิใจมากที่เดาถูกด้วยว่าจะจบแบบนี้ คือ ถ้าชั้นมีเหตุผลและไม่โกรธขณะทำ ชั้นไม่ลังเลที่จะเชือดใคร แล้วไม่เสียใจด้วย

พี่ณัฐ: David Loyd นักคิดชาวพุทธ เลยสะท้อนว่าพวกซามูไรนำเอาหลักปฏิบัติของพุทธมาใช้ทำให้กระทำการได้อย่าง "ไร้ใจ" โหดเหี้ยมอย่างบริสุทธิ์เนอะ ถ้าเรา "ฟัน" ใครคนนั้นก็น่าจะขอบคุณเราเนอะเพราะเราให้เกียรติเขาละ

พี๋ณัฐพูดถึง Maslow's Hierarchy of Needs ด้วย เพราะ Campbell ใช้ อารมณ์ว่าถ้าคุณได้ครบทุกอย่างแล้ว กิน กาม เกียรติ แล้วจะเติมเต็มชีวิตยังไงต่อดี นี่ละมั้งที่ทำให้ชนชั้นกลางเข้าวัดหรือหมกมุ่นกับอะไรบางอย่าง Maslow บอกว่าตรงส่วนยอดของ Pyramid คือ Self-actualization อ่านคำนิยามแล้วสรุปว่าไปให้สุดทางของศักยภาพของตัวเอง

พี่ณัฐ:  เรื่องมาสโลว หมายถึงการข้ามพ้นความต้องการพื้นฐาน คงไม่ได้แปลว่าเติมเต็มได้หมดทุก Need แล้ว อาจจะยากจนข้นแค้นแต่ไม่สนความจน ออกไปทางธรรมก็ได้

กำลังนั่งคิดว่าพี่ณัฐเล่าอะไรอีกวะ หลักๆ ชั้นว่า Living Myth หลักคือเรื่องของพี่ณัฐนั่นแหละ มีคนเคยบอกว่าการเป็นกระบวนกรนี่เปลืองตัว เพราะจะต้องเอาชีวิตจริงๆ ความเป็นคนจริงๆ มาเผยออก ซึ่งโคตรใช่ คือ ไม่ต้องเผยก็ได้ แต่พื้นที่นั้นมันจะไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่จริงแท้ เมื่อใดที่ความเปราะบางของใครซักคนได้แสดงออกมา แล้วก็ได้รับการโอบอุ้มจากคนที่อยู่ในวง พลังงานของห้องเปลี่ยนทันที

And I thank him for that courage to bare his soul.  Get naked (metaphorically) in front of us.

Living Myth ของคนที่มาด้วยก็น่าสนใจ ชั้นเจอเค้าตัวเป็นๆ ตอนที่เค้าแนะนำตัวกันไปแล้ว แล้วค่อยกลับมาฟังไฟล์เสียงที่อัดที่เค้าแนะนำตัว แล้ววงกลมมันครบวง อ๋อ มิน่า.. เค้าถึงพูดแบบนี้  มีหลายคนที่เกษียณแล้ว และดูเหมือนผ่านอะไรมาเยอะในชีวิตอ่ะ  Melancholic เศร้าๆ เหมือน Greek tragedy.  ไม่รู้สิ ชั้นอาจจะเสพดราม่าก็ได้

เกือบลืมเล่าว่าพี่ณัฐให้ใช้ไพ่ Archetypes, Quality, Surrender ด้วย สนุกมาก คล้ายๆ เล่นไพ่ยิบซี ตั้งโจทย์ แล้วก็ดึงไพ่จาก ๓ สำรับ แล้วก็ตั้งวงคุยว่าไพ่ที่จับได้เกี่ยวข้องกับโจทย์ที่เราตั้งยังไง คุณสมบัตินี้ใกล้หรือไกลจากจุดที่เป็นอยู่  ชั้นว่าห้องที่วัชรสิทธาและพลังงานพวกเราดีด้วย คนส่วนใหญ่รวมทั้งชั้นได้ Reading ที่ตรงกับโจทย์

พี่ณัฐจบด้วย Hero's Journey เล็กเชอร์สั้นๆ แล้วให้เราสำรวจตัวเองว่าอยู่ตรงขั้นไหน จับกลุ่มคุยกับคนที่อยู่ในขั้นเดียวกับเรา

จริงๆ Workshop พวกนี้เหมาะกับคนที่ไม่ถนัดคุยกับคนแปลกหน้า เพราะจะได้ฝึกเยอะมาก

จบไม่ค่อยลง มีน้องเคยถามว่าชั้นแสวงหาอะไร ทำไมถึงชอบไป Workshop ชั้นว่าชั้นคงชอบ Human's dramas อ่ะ  ชั้นไม่ดูละครเพราะอยากทำอย่างอื่นมากกว่า  มา Workshop พวกนี้ได้ฟังเรื่องชาวบ้าน แล้วชั้นชอบดูการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วย

Comments