In Numbers We Trust

เมื่อวาน ชั้นได้รับเชิญจาก New Spirit Project ให้ไปคุยกับอ.วรชาติ เฉิดชมจันทร์ คณบดีคณะกายภาพบำบัด ม.รังสิต อ.เอกรัตน์ มจธ. และอ.น้อย สุขมิตร แห่งม.บูรพา ที่ม.บูรพา หัวข้อชื่อเหมือนหนังสือ คือ Schools that learn.  โพสนี้ตั้งใจจะพูดถึงสิ่งที่คุยกับอ.วรชาติที่งานนี้

ชั้นยังไม่ได้สัมภาษณ์แกเป็นเรื่องเป็นราว เหมือนกับที่ได้คุยกับอ.เอกรัตน์หรือหมอพนม  ขอเบอร์แกเพื่อจะไปสัมภาษณ์ต่อ แกบอกว่า อาจารย์ก็ไปอ่านที่เค้าสัมภาษณ์ผมกันมาก็แล้วกัน แหม..มันก็ไม่เหมือนกับการถามสิ่งที่เราอยากรู้

ภายนอก อาจารย์ดูหน้าตายิ้มแย้มตลอดเวลา เรียกนักศึกษาศึกษาศาสตร์ที่มาฟังเราว่า "ลูก" which I can never do.  พูดจาได้น่าฟัง มีเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับมนุษย์ to make his point เช่น ตอนตอบคำถามเรื่องอะไรซักอย่าง ชั้นจำคำถามไม่ได้แล้ว แต่จำคำตอบได้ว่าอ.เล่าถึงแม่บ้านที่ตึก ชื่อ เบียร์ ที่ทำงานแบบเข้าถึง Customers' delight เช่น เก็บโต๊ะทำงานให้ พร้อมเขียนด้วยว่าอะไรอยู่ตรงไหน ถ้าเค้าคิดว่าอ.จะหาสิ่งนั้นไม่เจอ

ฮีมีวลีเด็ด เช่น "ดอกไม้จะบานเมื่อถึงเวลา" และ "เมื่อลูกศิษย์พร้อม ครูจะมา" สองอย่างนี้ใช้ในทางธรรมได้ด้วย

ผู้นำต้องมีทักษะการสื่อสารแบบนี้ ชั้นชอบพลังงานความเบิกบาน กระตือรือร้น มีพลังในเรื่องที่พูด  แล้วแกดูไม่เหนื่อยเกินไป ผู้บริหารบางคนดูเหนื่อย เพลีย อยู่ตลอดเวลา เห็นแล้วรู้สึกเห็นใจ มากกว่าได้แรงบันดาลใจ

อ.โก (ชื่อเล่นอ.วรชาติ) บอกว่า นศ.ที่ไปเรียนม.เอกชน ไม่เหมือนที่ไปม.รัฐ เพราะบางส่วนเรียนไม่เก่ง และเด็กเรียนไม่เก่งส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ฐานะไม่ดี คือ โดนหลายเด้งอ่ะ แล้วก็มีปัญหาเหมือนกับที่เราเห็นๆ เป็น Stereotype คือ ขาดความมั่นใจ กินเหล้า เล่นการพนัน  เด็กพวกนี้โดนแปะป้ายว่าไม่ฉลาดจากระบบด้วย  มันก็ make sense มากๆ ที่อ.ม.เอกชนจะต้องสร้างสรรค์ในการสอนกว่าอ.ที่สอนเด็กฉลาด เอาเข้าจริง เด็กเรียนเก่งมันเรียนได้เองอยู่แล้ว อ.ไม่ต้องสอนเก่งก็ได้

อีกประเด็นคือเรื่องการเงินของมหาลัย ถ้าอ.สอนไม่ดี เด็กก็ไม่ไปเรียน ไปเรียนที่อื่นก็ได้ ชั้นว่าม.เอกชนตอบสนองต่อตลาด และปรับตัวได้เร็วกว่าม.รัฐมาก เพราะถ้าขาดทุน ก็อยู่ไม่ได้ ปิดหลักสูตรไป ในขณะที่บางหลักสูตรของม.รัฐทนเปิดอยู่ได้เพราะมีเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งอันนี้ก็มีข้อดีเพราะเราทนเปิดหลักสูตรที่เราเห็นว่าควรเปิด เช่น ปริญญาเอก เพราะเราต้องการพัฒนาคนเป็นอาจารย์

อ.ทำการบ้านกับเด็กของอ. ว่าเด็กมีไลฟ์สไตล์แบบไหน ขาดทักษะอะไร แล้ววางแผนล่วงหน้าว่าใน ๔ ปี แต่ละปี จะพัฒนาทักษะอะไรบ้าง เช่น ความมั่นใจในตนเอง  Empathy

ชั้นถามอ.ว่า อ.ทำอย่างไรกับอ.ที่พูดว่า ถ้าสอนแบบอื่นนอกจากเล็กเชอร์แล้วจะสอนไม่ทัน  อ.บอกว่า ผม (ในฐานะคณบดี) ต้องให้ความเชื่อมั่นว่าผมจะไม่เอาผิดกับอาจารย์

อ.โกใช้เวลาเป็นอย่างมากในการพัฒนา Soft skills ของอาจารย์ในคณะ ผ่าน Workshops ต่างๆ  ห้าปีแรกนี่แค่ปูพื้นอย่างเดียว เช่น การฟัง อ.มีพื้นที่ให้อ.ในคณะได้มาคุยกัน ชั้นฟังแล้วรู้สึกว่าชั้นเพิ่งเริ่มต้น

ได้ไอเดียจากอาจารย์เรื่องการวัดทัศนคติหรือบุคลิก อ.ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาชื่อ The Edwards Personal Preference Schedule (EPPS) ของ Allen L. Edwards นักจิตวิทยา ซึ่ง ดร. พรรณราย ทรัพยะประภา ได้แปลเป็นภาษาไทย  มี 15 ด้าน (https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=moonfleet&month=09-2007&date=06&group=2&gblog=10) ดังนี้

  1. Achievement : A need to accomplish tasks well
  2. Deference: A need to conform to customs and defer to others
  3. Order: A need to plan well and be organized
  4. Exhibition: A need to be the center of attention in a group
  5. Autonomy: A need to be free of responsibilities and obligations
  6. Affiliation: A need to form strong friendships and attachments
  7. Intraception: A need to analyze behaviors and feelings of others
  8. Succorance: A need to receive support and attention from others
  9. Dominance: A need to be a leader and influence others
  10. Degradation: A need to accept blame for problems and confess errors to others
  11. Nurturance: A need to be of assistance to others
  12. Change: A need to seek new experiences and avoid routine
  13. Endurance: A need to follow through on tasks and complete assignments
  14. Heterosexuality: A need to be associated with and attractive to members of the opposite sex
  15. Aggression: A need to express one's opinion and be critical of others
(https://en.wikipedia.org/wiki/Edwards_Personal_Preference_Schedule)

แบบทดสอบนี้เป็นปรนัย ทำแล้วใช้คอมพิวเตอร์ตรวจได้ สามารถดู Consistency ได้ว่าเด็กตอบมั่วไหม เช่น กาแต่ข้อ A

อ.โกบอกว่า ตอนแรกแค่อยากได้เครื่องมือในการสกรีนเด็กตอนรับเข้า อยากได้เด็กที่ชอบทำงานกับคน เหมาะกับเป็นนักกายภาพฯ ไปๆ มาๆ เอาบททดสอบนี้ทำกับเด็กปี ๑ ทั้งหมดของม.รังสิต แล้วทำอีกทีตอนปี ๔ เด็กใกล้จบ พบว่าทักษะแทบทั้งหมดนี้ไม่ได้เปลี่ยนเลยจากการเรียน ๔ ปี  ซึ่งจริงๆ ชั้นก็ไม่ได้ประหลาดใจ ก็หลักสูตรส่วนใหญ่ต้องการอัดเนื้อหา ไม่ได้ออกแบบมาให้เปลี่ยนทัศนคติหรือบุคลิกภาพ  อ.ใช้ข้อมูลพวกนี้เพื่อยืนยันงานของอ.กับผู้บริหารว่าทำแล้วเห็นผลที่จับต้องได้ ไม่ใช้แค่ว่า "ทำแล้วรู้สึกดี"  Evidence-based โคตรๆ อ่ะ

อ.โกบอกว่าอ.ได้ลองเอาคะแนนด้านต่างๆ นี้มาหาความสัมพันธ์ เช่น Correlation ของคะแนน EPPS กับ GPA ด้วย น่าสนใจมาก สามารถใช้เป็น Predictor ได้ 

ชั้นอยากลองใช้แบบทดสอบนี้กับเด็กคณะวิศวะ ส่วนหนึ่งอยากรู้ด้วย และอีกส่วนหนึ่งเพื่อ Convince เพราะมันเข้าทางอ.วิศวะเลย ชอบตัวเลขที่ Objective ไม่ต้องอีโม  

นอกจากการใช้แบบทดสอบ อ.โกใช้การสังเกตพฤติกรรมด้วย เพราะเด็กกายภาพฯ ต้องลงฝึก 

พอไปวงคุยแบบนี้ ชั้นรู้สึกได้เพื่อน ได้พลังมาก ตอนแรกก็เกือบรู้สึกต่ำต้อยว่าเราทำอะไรมาดูน้อยจัง ห้องเรียนชั้นๆ ก็ยังเล็กเชอร์อยู่นะ แต่ชั้นเลือกว่าชั้นจะเป็นตัวเอง ทำเท่านี้ก็เท่านี้ ก็เล่าเท่าที่อยากจะเล่า ชั้นไม่ชอบพยายามมากเกินไป ดูไม่ธรรมชาติ แล้วอีกอย่าง ทางใครทางมัน แต่ละที่มีข้อจำกัดและโอกาสไม่เหมือนกัน ไม่รู้สึกว่าต้องเลียนแบบคนอื่นทุกอย่าง และก็ไม่ได้อยาก Benchmark สิ่งที่ต้องการคือเพื่อนและแรงบันดาลใจ

Comments