Transformative Learning at Siriraj Medical School

Photo Credit: Transformative Learning in Medicne FB Group
เทอมหน้า ฉันอยากจะเปิดวิชาเลือกใหม่ ชื่อ MBA มากๆ ว่า Collaborative Communication and Effective Leadership พี่ณัฐฬส Master of Words กรุณาตั้งชื่อให้และช่วยระดมสมองเบื้องต้น  มีหลายทักษะที่ฉันต้อง fill in จีงอยู่ในช่วงหาความรู้และ Guru ทั้งหลายมาช่วยให้บรรลุ

จริงๆ วิชานี้ทำเพื่อสนองความอยากของตัวเองด้วย ทำโครงมาแล้ว คือ Map outcomes to activities แล้วอยากเรียนมาก มันจะเป็นโอกาสที่ฉันได้เชิญคนที่ฉันสนใจมาสอน

โจทย์เบื้องต้นของฉันคือ Assessment เพราะมันเป้นวิชา ๓ หน่วยกิต มีเกรด จะประเมินการเรียนรู้ของเด็กอย่างไร อยากประเมินไม่ใช่เพื่อให้เกรดอย่างเดียว ฉันอยากรู้ว่าทำไปแล้ว เด็กได้อะไร

ฉันได้พบผศ.นพ.พนม เกตุมาน ที่ม.เถื่อนที่เชียงดาว ฉันรู้ว่าแกทำ Transformative learning (TL) ที่ศิริราช ฉันปรี่เข้าไปถามแกเรื่องการประเมิน แกบอกว่าอ.ทาง Medical Education บอกว่ามี ๓ ทาง คือ Reflections, in-class behavioral observations and follow-ups  เริ่มสงสัยว่าในไทย มีคนจบเอกด้าน Engineering Education ไหม ต้องไปหาดู...

My All-New Class 


ที่ผ่านมา ฉันเคยให้นิสิตเขียน Feedback กึ่งๆ Reflections หลังทำกิจกรรมวิชาสัมมนาเสร็จ  ปัญหาที่พบคือ เด็กเขียนแค่ว่าชอบ/ไม่ชอบ สนุก/เบื่อ แต่บางทีไม่บอกว่าได้เรียนรู้อะไร ทั้งๆ ที่เราก็ถาม

ฉันขออ.เข้าไปพบเพื่อเรียนรู้ว่าอ.ทำอะไรบ้างกับนักศึกษาแพทย์ที่ศิริราช นั่งคุยกันสองชั่วโมงแบบ Non-stop มันดีงามมาก ได้เรียนรู้เยอะมากเกินกว่าจะเก็บไว้คนเดียว So here we go.

ระบบ SICMS ที่ศิริราชเก็บข้อมูลนักศึกษา การลงทะเบียน คล้ายๆ ระบบสารสนเทศนิสิตที่เกษตรมี แต่เค้าเพิ่มเป็น Electronic Portfolio ด้วย คือ มีกิจกรรมที่นศ.ได้ทำ และนศ.เขียน Reflections หลังจากทำกิจกรรมเหล่านี้แนบไปด้วย  โดยอ.สายรหัสเข้ามาอ่านและให้ Feedback ซึ่งนศ.สามารถเข้ามาตอบอ.ได้อีก มี Interaction กันได้

Reflections เหล่านี้่เอามาใช้ประเมินกิจกรรมแต่ละอันได้ และถ้าติดตามนศ.แต่ละคน เอามาดูพัฒนาการ or a lack thereof ของนศ.ได้ เจ้าตัวเองก็เอามาทบทวนเองได้ว่าชั้นได้เรียนรู้อะไรไป เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี...ได้  อัศจรรย์มากๆๆ

Key ที่ทำให้นศ.เขียนคือ รู้สึกดีเวลาเขียน เค้ารู้ว่ามีอ.อ่านและให้ Feedback เขา อ.ต้องตอบเร็วด้วย (ระดับวินาที!!  My God!  And these are medical professors. )  ส่วนคีย์ที่ทำให้อ.อยากตอบ คือ อ.ทำแล้วรู้สึกดี ที่มี Contributions ให้กับชีวิตนศ. มันเป็น Reinforcing loop ของพลังงานดีๆ ส่งผ่านระหว่างนศ.และอาจารย์

อ.พนมสอนนศ.เขียน Reflections มี Guiding questions และฝึกอ.ให้เขียน Feedbacks อ.มีตัวอย่างให้ดูใน Facebook group  อ.ทำ KM ผ่านเฟสบุ๊ค (เอาไว้จะไปเสนอตัวเองทำเพจให้)  หัวข้อที่เด็ดๆ ที่เห็นคือ



น่าสนใจที่อ.แพทย์ท่านหนึ่งได้นำ Reflections ไปใช้ในการสอนนศ.ข้างเตียงคนไข้ หลังจากที่สอน อ.ให้นศ. Reflect นศ.ตอบว่าชอบท่าทาง คำพูดที่อ.ใช้กับคนไข้ มีเมตตา ไม่รีบ ตัวอ.เองไม่คิดว่าวิธีการพูดของตัวเองพิเศษ  พอมีนศ.คนหนึ่งพูด เพื่อนนศ.คนอื่นก็เริ่มตระหนัก อ.ก็ aware ว่านศ.ซึมซับทุกสิ่งจากเรา ไม่ใช่แค่เรื่องวิชาการ

อ.พนมอ่าน Reflections and Feedbacks ทั้งหมด มีรางวัลให้กับนศ.ที่เขียนดี เป็นตุ๊กตา Stuffed animals ทุกทีชั้นให้รางวัลเป็นของใช้ ของกิน (Practical สุดๆ) ตอนนี้จะเปลี่ยนเป็นให้ตุ๊กตาบ้าง อ.ว่าเด็กชอบ เพราะเอามาถ่ายรูปลงเฟส เก็บไว้เท่ๆ ได้

ที่น่าสนใจคืออ.พนมทำงานอยู่กิจการนศ. เป็นหนแรกที่ทำให้เรามองว่า TL เป็น Collaboration ระหว่างคณะ อาจารย์ และนศ. ไม่ใช่ผูกขาดอยู่ที่อ.และคณะ

อ.พนมสนใจเครื่องมือละคร  เริ่มจากเอาตัวเอง อ.และนักจิตวิทยาไปอบรมโรงเรียนวิทยากร คอร์ส Theater for Transformation ที่มะขามป้อม จากนั้น หลายๆ กิจกรรมก็เริ่มด้วยมะขามป้อมช่วย หลังๆ ฟอร์มทีมแล้วทำเอง ตอนนี้ขยายผลไปถึงทีมทำให้ Human Resource ของศิริราช และหน่วยงานอื่นๆ  อ.โพสกิจกรรมในกลุ่มเฟส Transformative Learning in Medicine  สำหรับฉัน TL แบบที่อ.พนมทำ ใช้ละครเยอะมาก

คณะแพทย์ ศิริราช มีคลาส Creative Drama ที่ได้อ.ปวลักขิ์ สุรัสวดี แห่งมหิดลมาช่วยสอน ดีงาม น่าอิจฉามากๆ  อยากให้มีที่คณะวิศวะ

TL ส่วนใหญ่ทำเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตรที่ศิริราช มีค่ายต่างๆ ที่บางอันนศ.จัดกันเอง บางอันคณะจัด กิจกรรมเหล่านี้มีจุดหมายหลักคือให้นศ.ได้มีประสบการณ์ทำงานร่วมกัน เกิดการแบ่งปันและ Empathize ได้ฝึกทักษะการสื่อสาร  ค่ายทั้งหมดสำหรับนศ.แพทย์ทั้งหมด หลักสองสามร้อยชีวิต ไปโดยความสมัครใจ  อ.บอกว่าถ้าทำดีแล้วรุ่นพี่จะบอกต่อ เกิด Reputation ที่นศ.จะมาเอง
  • ปี ๑ มี ๔ คาบทำ Basic acting and arts.  เพื่อให้เกิด Engagement ในกันและกันและกับคณะ, เพื่อเตรียมความพร้อมในการไปภาวนา
  • ปี ๑ ค่ายปฏิบัติธรรม ๘ วัน ๗ คืน สไตล์ยุวพุทธ (คุณแม่สิริ/วัดผาณิต) ไม่บังคับ แต่ถ้าใครไม่ไป ให้มาพบคณบดีพร้อมผู้ปกครองว่าทำไมไม่ไป  ฉันถามว่าเด็กไม่ต้านเหรอ อ.ก็บอกว่ามีบ้าง แต่ได้ปรับกิจกรรมให้น่าสนุกขึ้น ในค่ายฯ ให้เขียน Reflections ทุกวันตอนบ่าย ชื่นชมอ.หมอที่ทำให้นศ.ไปภาวนาได้ มองไม่เห็นว่าค่ายแบบนี้ที่นิสิตปี ๑ ไปทุกคนจะเป็นไปได้กับคณะวิศวะ
  • ปี ๒ มี Hail Trip: Arts or walk rally.  Expected outcomes คือ 21st Century Skills เช่น Collaboration, Creativity, Empathy ผ่านกระบวนการละคร 
  • ปี ๓ พี่สอนน้อง เตรียมนศ.แพทย์ขึ้น Ward 
  • ปี ๔ Leadership/Talent trip เพื่อให้นศ.ได้ทบทวนการเรียนรู้ จุดเปลี่ยนของชีวิต ได้ 4C (Communication, Collaboration, Critical Thinking, and Creativity) ด้วยความที่คนน้อย แค่ ๓๐ จึงสามารถลงลึกรายบุคคลได้ 
อ.เล่าใหัฟังถึง 2-day Field trip ที่พานศ.ไปสำรวจชุมชนที่ระยอง ใช้เครื่องมือ ๗ ชิ้นของอ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ได้รู้จักเส้นทาง ทำแผนที่ชุมชน ได้คุยกับผู้คน  เป็น Project-based learning ให้นศ.ได้ formulate research problems.  สิ่งที่ได้คือ ทัศนคติด้วย 

อ.พนมเล่าถึงค่ายนวเมธี สำหรับนศ.แพทย์ที่สนใจจะเป็นอาจารย์แพทย์ รับแค่ ๓๐ คน (Grooming กันสุดๆ) จัด ๘ คาบ หัวข้อดังนี้
  1. Systems Thinking โดยอ.โกมาตร
  2. Communications โดยวิทยากรจาก ThaiPBS  อ.พนมพูดถึงหมอน้อยที่ม.อุบลที่ทำจริงจัง มี ๓ ส่วน Theater, Infographics, Writing.  
  3. Research
  4. Education: Objectives, Learning and Education (OLE)
  5. Team Building/Group Process
ฉันถามถึง Workshop สำหรับอ.ใหม่ อ.พนมบอกว่าศิริราชทำ Workshop for new staff ใช้ TL framework ด้วยเครื่องมือละคร

ส่วนตัว ฉันสนใจงานวิจัย TL ด้วย คำถามหลักคือทำแล้วได้อะไร ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ  ฉันเป็นวิศวกร ทำแล้วน่าจะต้องวัดได้ด้วย เอาเงินภาค/คณะมาจัดนั่นนี่ ควรจะตอบภาค/คณะได้ ว่าทำแล้วได้อะไร นอกเหนือจากตอบตัวเอง  อ.พนมก็ให้ Resources นักวิจัยที่ทำด้านนี้มาหลายคน 

Guiding questions for reflections โดยอ.นพ. พนม 

Reflection คือ การเขียนหรือพูดสะท้อนถึงความคิด ความรู้สึก ต่อประสบการณ์ใหม่ โดยมีแนวทางดังนี้
  1. ความคาดหวังก่อนการเรียนรู้ (คิดอย่างไร คาดหวังอะไร) ก่อนกิจกรรม คาดหวังอะไร คาดว่าเรื่องนี้คืออะไร รู้สึกอย่างไร สัมพันธ์กับความรู้หรือประสบการณ์ในอดีตอย่างไร อยากเข้าร่วมหรือไม่ คาดว่าจะเรียนรู้อะไรใหม่ จะนำไปใช้ได้อย่างไร 
  2. ประสบการณ์เรียนรู้ (เรียนรู้อะไร อย่างไร ชอบ ไม่ชอบ) เรียนรู้อย่างไร เช่น โดยการฟัง การสนทนาแลกเปลี่ยน การปฏิบัติ กิจกรรม วิธีการเรียนรู้นั้นดีหรือไม่ รู้สึกชอบหรือไม่ชอบ เหตุใดจึงชอบ เหตุใดจึงไม่ชอบ ตรงไหนที่ประทับใจ 
  3. ความสัมพันธ์กับการเรียนรู้เดิม วิเคราะห์ประสบการณ์เรียนรู้นี้ว่า เหมือนหรือแตกต่างจากการเรียนรู้เดิมอย่างไร วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ข้อดี ข้อด้อย เหตุใดจึงรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ เกิดจากการเรียนรู้ใดในอดีต มีอคติใดแฝงอยู่ อคตินั้นเกิดจากการเรียนรู้ใดในอดีต
  4. การเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น สังเคราะห์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น ได้แก่ ได้องค์ความรู้ใหม่ ได้แนวคิดใหม่ หรือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในตัวเรา ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ใช้การคิดอย่างใคร่ครวญ ใจเป็นกลาง ไม่เข้าข้างตนเอง คิดในมุมมองอื่น คิดโดยสมมติบทบาท
  5. การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตตนเอง สังเคราะห์การนำไปใช้ในชีวิตจริง ทำได้หรือไม่ ทำอย่างไร ต้องการการเรียนรู้ใดเพิ่มเติม การนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสังคม ประเทศชาติได้อย่างไร ถ้าเกิดเหตุการณ์เหมือนเดิม จะคิดและทำต่างจากเดิม เปลี่ยนวิธีคิด การกระทำและทัศนคติมุมมองจากเดิม หรือได้แนวทางชีวิตใหม่
  6. การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อนที่ร่วมประสบการณ์เดียวกัน  ถ้ามีการแลกเปลี่ยน เปิดเผยข้อ 1-5 เป็นกลุ่ม อาจได้ความคิด ความรู้สึก และการเรียนรู้ใหม่เกิดขึ้น เพิ่มเติมจากความคิดเดิมของตนเอง
  7. ข้อเสนอแนะ  ให้เสนอแนะว่าจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้นี้ได้อย่างไร เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในโอกาสต่อไป
อ.พนมทิ้งท้ายว่า "ตอนสังเคราะห์ออกมาเป็น action plan อย่าลืมตอบโจทย์คำถามในใจนะครับว่า นิสิตวิศวะเกษตร ของอาจารย์จะมีความโดดเด่นเรื่องใด ที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา"

Comments