My very own vision quest (1/4)

After fasting and solitary retreat
Credit ภาพ: ผึ้ง
(มีหลายสิ่งที่เกิดขึ้นและไม่แน่ใจว่าจะเรียบเรียงอย่างไร แต่คงไม่อาจรู้ได้ถ้าไม่ลองเขียนมันออกมา So here we go.)

ฉันสนใจกระบวนการตายและกระบวนการแก่ (Aging process) สนใจในเชิงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางจิตวิญญาณ  ลึกๆ มันคงโหยหาหลักฐานว่าตัวตน (Permanent self) ไม่มีอยู่จริง ถ้ามีจริงก็ต้องไม่เปลี่ยนสิ

ตอนไปชูมัคเกอร์ ได้พบนักเล่านิทานชื่อมาร์ติน ขอว์ เค้าบอกว่า นอกจากเล่าตำนานแล้ว เค้าทำ Quest ด้วย เป็นการปลีกวิเวกพร้อมทั้งอดอาหารหลายๆ วันในป่า  ฉันอยากลองดูว่าเป็นอย่างไร ส่วนหนึ่งชอบการผจญภัย ส่วนหนึ่งคงอยากใกล้ชิดความตาย

ได้รู้ว่าที่เมืองไทย พี่ณัฐ ณัฐฬส จัด เห็นข่าวคราวในเฟสบุ๊คแต่ก็ไม่ได้มีโอกาสไปสักที เพราะฉันเคยคิดว่ามันไม่ต่างจากการไปธุดงค์  ซึ่งฉันไปทุกปีอยู่แล้ว ฉันได้เป็นอนาคาริก จากบ้าน เร่ร่อนไป นอนไม่เป็นที่ ไม่มีแผนการเดินทางที่ชัดเจน อาศัยที่พักและอาหารจากผู้คน ไม่ใช้เงิน ใช้แรงตัวเองเดิน ทุกสิ่งที่จำเป็นแบกติดอยู่กับตัว

ปีนี้เลือกไปเควสต์เพราะธุดงค์มาพอละ การธุดงค์เตรียมความพร้อมให้ฉันกล้า: ไม่กลัวอด กินอาหารได้ทุกอย่าง ไม่กลัวป่วย ไม่กลัวการเดินในป่า ไม่กลัวความมืด เพราะทำมาหมดแล้วช่วงธุดงค์ตามหมู่บ้านปกากะญอชายแดน

กลับหมู่บ้าน
Credit ภาพ พี่ณัฐ
กลุ่มเควสปีนี้เล็กกว่าทุกปี มี ๘ คน สามคนในนี้เคยมาแล้ว ห้าคนอายุต่ำกว่าสามสิบ มีผู้นำการเดินทางสองคนคือพี่ณัฐและผึ้ง ที่อัศจรรย์คือมีคนลักษณ์สี่อยู่ห้าคน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าประชากรทั่วไปมาก หม่องช่วยดูแลเราอีกทีเรื่องอาหารและอื่นๆ มีคนในพื้นที่คือครูนิด นักเรียนอีก ๒ คน และนักศึกษาเกาหลีอีก ๑ คน อินเตอร์มากๆ

ที่พิเศษคือพี่ณัฐร่วมเควสต์ด้วย

คืนแรกเรานอนที่บ้านสบลานซึ่งเป็นบ้านปกากะญอ แบ่งกันนอนบ้านละ ๒ คน วันแรกเราทำความรู้จักกัน เช็คอินเรื่องความคาดหวังในเควสต์ มีโจทย์อะไรที่อยากได้คำตอบ คนที่อายุต่ำกว่าสามสิบสนใจเรื่องความรัก เช่น ความรักคืออะไร จะรักโดยไม่ยึดติดได้ไหม  ความใสนี่มันน่ารักดี

ฉันสร้างโจทย์ขึ้นมาเรื่องครูทางจิตวิญญาณ ว่าจะเป็นใครดี บุคคลที่เคยยึดเป็นสรณะก็ไม่ได้ยึดอีกต่อไปแล้ว ฉันมาเควสเพราะอยากลอง ไม่ใช่เพื่อหาคำตอบ  ฉันไม่เชื่อว่าคำตอบจะมาเพราะเราอยาก  ถ้าเราพร้อม มันมาเอง  ฉันจีงศิโรราบแด่ปัญญาญาณอะไรก็แล้วแต่ที่อยากจะเผย

คนที่เคยมาแล้วมาอีกเพราะมีเรื่องราวดีๆ หลังจากผ่านเควส

เราปักหลักคุยที่บ้านกะแล ซึ่งให้บ้านเราเพราะไปอยู่บ้านเมีย พี่ณัฐและน้องอีกคนเล่นกีต้าร์ให้ฟังท่ามกลางแสงเทียน (บ้านนี้โดนตัดไฟเพราะไม่มีใครอยู่) ความเงียบและความมืดของหมู่บ้านชวนให้สนใจในเสียง: เรื่องเล่าและดนตรี  บางทีฉันคิดว่าพี่ณัฐเล่นดนตรีเพื่อเอ็นเตอร์เทนตัวเองมากกว่าจะเอ็นเตอร์เทนเรา

พี่ณัฐ and the old tree.
วันแรก เราได้ไปอาบน้ำในลำธาร ใกล้ๆ มีน้ำตก ฉันชอบอาบน้ำ open air กว่าในห้องน้ำ สดชื่นดี น้ำเย็นมาก

เราทำหลายสิ่ง คุยหลายอย่าง ฉันแทบไม่ได้บันทึก ที่จำได้หลักๆ คือ เราได้ฟังนิทานเรื่องหนูกระโดด เค้าเรียกคนเข้าเควสต์ว่า Quester เค้าเปรียบเทียบเควสเตอร์ว่าเป็นหนูกระโดด  ถ้าเรายังไม่เคย"กระโดด" ฟังแล้วคงรู้สึกได้แรงบันดาลใจ

พอแก่แล้วเราเข้าใจในการอุปมาอุปมัย (Metaphor) ทั้งหลาย เข้าใจแบบ Intellectual แต่ที่หายไปคือ Sense of wonder and magic.  Do I actually believe in this quest?

บอกตัวเองว่าแกอย่า Cynical มาก...

ฉันเสนอตัวแปลให้นศ.เกาหลีฟัง น้องหน้ายิ้ม ขี้อาย น้องสอนให้ฉันรู้ว่ารอยยิ้มนี่สามารถซ่อนเรื่องราว ความรู้สึกได้มากมาย การแปลทำให้ฉันมีสมาธิ อินกับเรื่องที่ทุกคนเล่า ฉันใช้สรรพนามว่า I เวลาแปล มันทำให้ฉันกลายเป็นตัวคนๆ นั้น ที่เล่าเรื่องอยู่ (วันหลังๆ มีหลายคนช่วยแปลด้วย)

พี่ณัฐและผึ้งพูดถึง Medicine wheel มีฤดูกาล ๔ ทิศ สีแดงแสดงถึงวัยเด็ก รักร่างกาย; สีดำวัยรุ่น ทบทวนภายใน ความซึมเศร้า; สีขาว การทำงาน รักสังคม; สีเหลือง การเฉลิมฉลอง Appreciate ทุกอย่าง ให้เราพิจารณาดูว่าเราอยู่ในช่วงฤดูกาลไหน

ฉันอบอวลอยู่ในบรรยากาศของความตาย ในกลุ่มนี้มีบางคนซึมเศร้าระดับที่เคยคิดปลิดชีวิตตนเอง มีคนหนึ่งยังไว้อาลัยกับสามีที่เพิ่งเสียไป  ฉันคิดว่าทุกคนน่าจะเคยคิดฆ่าตัวตายอย่างน้อยครั้งหนึ่งในช่วงชีวิต ฉันจึงไม่คิดว่ามันประหลาด  มีคนเคยบอกว่าถ้าคุณไม่ทำให้ตัวเองด้านชา ในสภาพสังคมแบบนี้ คนปกติก็ควรจะซึมเศร้าทั้งนั้น สำหรับบางคนที่เซ็นซิทีฟมาก คุณก็จะเห็นความงามยิ่งของโลกนี้ แต่ถ้ายังหยั่งราก (Grounding) ไม่ดีพอ ราคาที่ต้องจ่ายคือความซึมเศร้า

ฉันว่าการตายมันทำให้การมีอยู่มันชัด มันมีค่า

ความเศร้าแบบ Melancholy นี้ทำให้ฉันอยากรู้เรื่องราวชีวิตของคนเหล่านี้ อยากรู้ที่มาของการดื่มด่ำ และดำดิ่งกับอารมณ์

เรากินข้าวกับชาวบ้านระหว่างที่อยู่บ้านเค้า เราให้ของสดแล้วเค้าทำให้  ฉันชอบความน้อยของสมบัติในบ้าน เตือนตัวเองว่าเค้าก็อยู่กันได้กับของแค่นี้

ทุ่งนาที่เกี่ยวข้าวไปแล้ว
ข้าวกะเหรี่ยงเม็ดป้อมๆ เหนียวนิดนึง
ปกากะญอปลูกข้าวเอง เลี้ยงควาย เลี้ยงหมู หมู่บ้านนี้ทอผ้าที่ย้อมสีธรรมชาติ มีย้อมเคมีบ้าง ชาวบ้านมีข้าวพอกินทั้งปี แต่ไม่มีเงินสด ได้เงินจากการขายน้ำผึ้ง ขายเสื้อผ้า ให้ที่พัก (จริงๆ เค้าไม่รับเงินกับแขกที่มาพัก ต้องใช้ชื่ออื่นที่ไม่ใช่ค่านอน) เป็นลูกหาบ เค้าไม่ปลูกผักกินเท่าไหร่

อีกงานหนึ่งคือดูแลป่าสบลานด้วย "สบ"แปลว่า"พบ" เป็นที่ๆ แม่น้ำสองสายมาพบกัน


ตอนที่ ๒



 

Comments