ชั้นเพียงอยากนำเสนอวิธีการ Empower เด็ก ช่วยให้เข้าใจตนเองในวิถีอื่น นอกเหนือจากการภาวนา การเข้าใจตนเองและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็นทักษะที่จำเป็นมากในตอนนี้ นอกเหนือจากความเร่งด่วนที่เด็กเราเริ่มมีอาการซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เทอมที่ผ่านมา ชั้นเปิดวิชาใหม่ที่ยังไม่อยู่ในหลักสูตร ภายใต้ร่ม Selected Topics ชื่อหัวข้อ Collaborative Communication and Effective Leadership (การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือและภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล) สำหรับนิสิตปี ๔ ภาคปกติ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรฯ ส่วนภาคพิเศษจะเปิดเทอมหน้า ความตั้งใจคือชั้นอยากคอนเฟิรมว่าสิ่งที่ชั้นคิดว่าเป็นทักษะพื้นฐานที่มนุษย์ควรจะมี ชั้นมโนไปคนเดียวหรือไม่ เช่น การเข้าใจตัวเอง การมีพลังในตนเอง (Self empowerment) ทักษะการสื่อสาร (Communication skills) และการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy)
โครงสร้างของคลาส
ประมวลการสอน (Course Syllabus) ขอบคุณคำแนะนำจากพี่ณัฐ (ณัฐฬส วังวิญญู). พี่ก๋วย (พฤหัส พลกุลบุตร). ผศ.นพ. พนม เกตุมาน, ศ.ดร. ก้องกิติ พูสวัสดิ์, ผศ.ดร. พรเทพ อนุสสรนิติสาร ก่อนจะออกมาเป็นก้อนนี้ ปรึกษาหลายคนมากๆ โครงสร้างหลักๆ ของวิชานี้ก็มาจาก Workshop ทั้งหลายที่ชั้นได้ไปเรียนมาและที่มีคนแนะนำ เช่น วิศวกรรมอุตสาหการคืออะไร, Intro to design your life, การฟังอย่างลึกซึ้ง, ผู้นำสี่ทิศ, การสื่อสารอย่างสันติ, การตั้งคำถาม, การจับประเด็น, Vision Quest, Creative drama หัวข้อแรกๆ เช่น การฟังอย่างลึกซึ้ง ผู้นำสี่ทิศ ชั้นเรียนกับพี่ณัฐและขวัญแผ่นดินมาหลายรอบ ก็พอด้นไปเองได้ และเป็นครั้งแรกที่สอนเอง แต่หัวข้ออื่นๆ ก็ได้เพื่อนๆ พี่ๆ มาช่วยสอน It takes a village to raise a child indeed. ขอบคุณภาควิชาฯ ที่ให้การสนับสนุนเรื่องค่าตอบแทนวิทยากรด้วยช่องทางการสื่อสาร
ชั้นสร้าง Closed Facebook Group สำหรับทุกๆ คลาสที่สอน เพราะเป็น Platform ที่เด็กๆ ใช้อยู่แล้ว อัพไฟล์ได้ ส่งข้อความได้
Reflections
วิชานี้ไม่มีสอบ นิสิตจะทำโครงงานและเขียน Reflections เกือบทุกคาบ ให้ส่ง 2-3 วันหลังจากคาบเรียน การเขียนสะท้อนนี้สำคัญมากกับการเรียนรู้ เป็นการปิด (Seal) วงจรการเรียนรู้ของเค้า นอกจากได้ฝึกเขียนและ articulate ideasชั้นอยากให้นิสิตได้เก็บ Reflections นี้ไว้หลังจากคลาสนี้จบ และชั้นต้องการเขียน Comments กลับได้ ชั้นจึงเลือก Facebook เป็น Platform เด็กๆ จะเขียนเป็น Facebook post or notes ที่สามารถตั้งค่าให้ชั้นอ่านได้แค่คนเดียว หรือจะเปิดให้เพื่อนอ่านแล้ว Tag ชั้นก็ได้ บางคนก็เขียนแล้วโพสมาเป็นรูป ดังนั้น ชั้นจึงเป็นเพื่อนกับเด็กทุกคนบนเฟสบุ๊ค ซึ่งดีเพราะเราได้เห็นความเป็นไปของเค้าในด้านอื่นๆ ด้วย
ชั้นไม่ได้สอนการเขียน Reflections แต่เอาโพสของหมอพนม เกตุมานที่มีตัวอย่างมาให้เด็กอ่าน บอกเค้าว่าอยากได้หัวข้อประมาณนี้ อันนี้เป็นเวอร์ชั้นที่ปรับให้สั้นลงและเปลี่ยนตัวอย่างเป็นที่นิสิตชั้นเขียน
กุญแจสำคัญที่ทำให้เด็กอยากเขียน Reflections ที่หมอพนมบอกมา คือ อ.จะต้องตอบกลับและตอบเร็วด้วย อ.บอกในหน่วยวินาที อันนี้เช็คกับเด็กแล้ว เด็กบอกจริง ชั้น Acknowledge and appreciate สิ่งที่เค้าเขียนมาทุกครั้ง หรือถ้าชั้นรู้สึกว่าเด็กเขียนรีบๆ น่าจะเขียนในประเด็นนี้ๆ เพิ่ม ชั้นก็บอกให้เด็กไปเขียนเพิ่ม
เมื่อเวลาผ่านไป คุณภาพการเขียน Reflections ดีขึ้นเรื่อยๆ มีรายละเอียดมากขึ้น เช่น จากเดิมจะมีเพียง ชอบ/ไม่ชอบ หรือเล่าว่าไปทำอะไรมาบ้าง ท้ายๆ มีการใคร่ครวญถึงการเรียนรู้ของตัวเอง ความรู้สึกของตัวเองที่เกิดขึ้นก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ ขนาดที่ครูเก๋ที่มาสอนคาบท้ายๆ ถามว่าชั้นสอนให้เด็กเขียน Reflection อย่างไร
Design your life
กระดูกสันหลังอันหนึ่งของคลาสนี้ที่เป็นกิจกรรมจากหนังสือ Design your life ที่มีแปลเป็นไทยแล้ว บางอัน ชั้นทำในห้องพร้อมกัน เช่น เขียนมุมมองชีวิตและการทำงาน (Life view and work view) ซึ่งชั้นไม่ได้อ่านที่เด็กเขียน แต่บางอันให้ทำเอง เช่น Good-time Journal, Napkin sketch, Mind mapping ชั้นให้ส่งทางเฟสบุ๊ค ชั้นอ่าน แล้วก็ตอบกลับสั้นๆ แล้วก็ทำ Odyssey Plans ที่จะต้องมาเล่าให้เพื่อนฟังการออกนอกสถานที่ ไปพบคนนอกวงจร
พี่ณัฐเสนอว่าควรพาเด็กออกไปนอกสถานที่ และชั้นเห็นด้วยว่าควรเป็นผู้คนที่เค้าไม่ได้พบเจอในสถานการณ์ปกติ เพื่อนเสนอให้ไปติดต่อมูลนิธิอิสรชนที่ทำงานกับคนไร้บ้าน เราไปลงพื้นที่แถวคลองหลอด ชั้นก็ได้ไปสำรวจพื้นที่ก่อน ตอนที่พาไปนี้ เด็กได้เรียนไปแล้วครึ่งเทอม เด็กหลายคนบอกทีหลังว่ากลัวเมื่อได้ยินว่าจะไปพบคนไร้บ้าน นิสิตหญิงบอกว่าไม่เคยเจอโสเภณีตัวเป็นๆ รู้สึกประดักประเดิดที่ไปแจกถุงยางอนามัย แทบทั้งหมดไม่รู้มาก่อนว่าคนเหล่านี้คือคนไร้บ้าน"จากการที่ไปเป็นอาสาสมัครในครั้งนี้สามารถเปลี่ยนมุมมองของหนูกับคนไร้บ้านเหล่านี้ไปมากๆ จากที่เคยกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้ กลายเป็นเห็นใจและอยากเข้าไปช่วยเหลือ นอกจากนี้มุมมองที่มีระหว่างหญิงขายบริการก็เปลี่ยนไปเช่นกัน คือ เมื่อก่อนหนูคิดว่าอาชีพนี้คืออาชีพที่คนไม่ดีมาทำ แต่พอได้ฟังพี่ๆ เค้าพูดถึง เลยคิดได้ว่ามันเป็นแค่อาชีพ อาชีพนึงที่ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่เบียดเบียนใคร แถมเค้ายังมีความรับผิดชอบในตัวเองคือการใส่ถุงยางอีกด้วย
พอกลับมาหนูเล่ามุมมอง และประสบการณ์ในครั้งนี้ให้แม่ฟัง แม่ชื่นชมและฝากมาขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ที่ทำให้หนูได้โตขึ้นอีกหนึ่งก้าว"
Reflections จากนิสิต
วันนั้นแดดร้อน แต่เด็กไม่บ่นเลย ชั้นภูมิใจในพวกเค้ามาก เสร็จแล้วไปกินข้าวต้มกุ๊ยแถวๆ นั้น Street life and street food.
ค่ายเขาใหญ่
อันนี้นอกแผนการโดยสิ้นเชิง ชั้นเพียงแค่เพิ่งพบว่าขนาดนิสิตปริญญาโทหลายคนยังไม่เคยเดินป่า ไม่เคยไปเขาใหญ่ ซึ่งชั้นถือว่าเป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กทุกคนควรได้ผ่าน ชั้นก็เลยคิดว่าจะพาไป และช่วงเวลาอำนวยคือหยุดรับปริญญาพอดีชั้นอยากได้สปริตแบบ Vision Quest ของพี่ณัฐ ที่ชั้นไปมาปีที่แล้ว ลึกลับ เป็นป่า โอบอุ้ม อบอุ่น
ชั้นคุ้นเคยกับค่ายเณรภาคฤดูร้อนของวัดป่าสุคะโต รู้รูปแบบว่าให้ทำกับข้าวกินเองและนอนเต๊นท์ ชั้นจึงเอามาใช้บ้าง เพิ่มเติมแบบเควสคือให้นอนเดี่ยว ได้วิชัย นาพัว มาช่วยเตรียมของกิน ของใช้ และนำกิจกรรมธรรมชาติ
อีกคนที่สำคัญมากที่ปิ๊งแว๊บว่าควรชวนมาคือ มู ชัยฤทธิ์ เจอมูในหลาย Workshop และที่ปิ๊งสุดคือพี่ณัฐบอกว่ามูมีความเป็นพ่อมดพอที่จะรับช่วงต่อ Vision Quest จากพี่ณัฐได้ ชั้นเขียนเล่าช่วงนี้ตอนที่กลับมาในโพสนี้
ชั้นไม่บังคับว่าเด็กต้องไป ถือเป็นของขวัญ ตอนที่ชวนนี่เด็กไว้ใจเรามากแล้ว ชวนไปไหนก็ไปอ่ะ
ปรากฎว่าการไปเขาใหญ่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอันหนึ่งของคลาสเรา เพราะเด็กได้เผชิญความลำบากร่วมกัน ได้ก้าวข้ามขอบ และมีความเปลี่ยนแปลงพร้อมๆ กัน เป็น surprise สำหรับชั้นเองด้วย
"สิ่งที่ผมได้รับจากค่ายนี้และคิดว่ามีประโยชน์มากๆ ก็คือ Enneagram มันทำให้เรารู้จักตัวเรามากขึ้น รู้ว่าเรื่องได้เป็นข้อเสียของ type เรา จะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น และทำให้เราเข้าใจคนอื่นมากยิ่งขึ้นว่าที่เขาเป็นแบบนี้เพราะ type เขาเป็นแบบนี้ ดังนั้นการที่เราเข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่นอย่างแท้จริง การอยู่ร่วมกัน การทำงานร่วมกัน ก็จะราบรื่น
เพิ่มเติมคือสำหรับผมๆว่าผมเป็น type 9 ซึ่งในความคิดผมคือ type นี้ยังไงก็ไม่เหมาะกับการเป็นผู้นำ จนผมมาหาข้อมูลก็ได้รู้ว่า Abraham Lincoln, Barack Obama, Ronald Reagan ต่างก็เป็น type 9 (หากข้อมูลไม่ผิดพลาด) ดังนั้นผมว่าการเป็น type 9 ก็สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้"
Reflection จากนิสิต
"หลังจากกินข้าว ฉันเข้าไปอ่านนพลักษณ์ ประโยคเดียวที่ฉันคิดว่า นี้แหละลักษณ์ของฉันคือความวิตกจริตกับความปลอดภัย ฉันเหมือนแก้ไขสิ่งที่อยู่กับฉันได้สักที ฉันมักจะต้องต่อสู้ความคิดที่อยู่ในหัวของฉันมาตลอด ซึ่งส่วนใหญ่มันทำให้ฉันทุกข์นะ ที่มาของคำว่าคิดมากในใจของฉันมันมาจากอะไร ในที่สุดฉันก็เข้าใจมันสักที ฉันคิดว่าถ้าฉันเข้าใจว่าฉันเป็นคนแบบนี้ ฉันน่าจะปรับตัวกับความคิดในหัวฉันได้ มันคงทำให้ตัวฉันเบาขึ้นไปเยอะ"
Reflection จากนิสิต
"เรื่องที่ทำให้ผมทึ่งคือการศึกษาของพี่วิชัย ผมเรียนสูงกว่าพี่เขา แต่กลับกันผมกับรู้สึกด้อยและความรู้น้อยกว่าพี่เขามาก ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่าการศึกษาอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ เวลา ผู้ชี้ทางที่ดี และสิ่งที่ชอบต่างหากคือคำตอบสำหรับผม....
ด่านต่อไปคือโจทย์ยากสำหรับผมแล้ว นั่นคือถ่ายรูปที่สื่อบางอย่าง ผมเป็นคนชอบอะไรที่พิเศษ จึงเป็นเรื่องอยากที่ผมจะหาอะไรมาถ่ายง่ายๆ ผมจึงลองคิดกับตัวเองและธรรมชาติอยู่ลึกๆ ระหว่างที่เดินเข้าไปลึกๆ ด้วย ว่าอยากให้มีสัญญาณบางอย่าง ว่าธรรมชาติรับรู้การมาของผม สิ้นความคิด มีผีเสื้อประมาณสองสามตัวบินตัดหน้าทันที ผมก็เดินตามไปเรื่อยๆ จนไปเจอกับกลุ่มของผีเสื้อสีเหลืองที่กำลังตอมดินเป็นจำนวนหนึ่ง ผมรู้สึกมหัศจรรย์มากๆ ไม่คิดว่าจะได้มาเจออะไรแบบนี้ เหมือนเป็นสัญญาณอีกอย่างจากธรรมชาติจริงๆ"
Reflection จากนิสิต
การไปพบนิสิตต่างคณะ
ชั้นและเพื่อนอาจารย์ที่อยู่คณะศิลปกรรมฯ จุฬาฯ จัด Public talk เราเอานิสิตไปฟังด้วย เช่นเคย เด็กวิศวะต่างจากเด็กดนตรีไทยตรงที่เด็กมาเรียนดนตรีไทยเพราะรู้แพชชั่นตัวเองที่ชัดเจน เด็กวิศวะบางคนมาเรียนวิศวะเพราะเผอิญว่าเรียนเก่ง ก็เป็นความซวยในอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้เรียนอย่างที่ชอบ เพราะสังคมหรือครอบครัวล็อกสเป๊คให้แล้ว
เด็กวิศวะได้พูดคุยกับเด็กดนตรีไทย ได้เจอคุณดิว ที่ทำ Thai Fit Studio เปลี่ยนแพชชั่นเป็นอาชีพได้
การนำเสนอ Odyssey Plans
เมื่อเด็กเขียน Good-time journals และรู้จักตัวเองเพิ่มขึ้นแล้วว่ารู้สึกดีเวลาทำกิจกรรมอะไร ก็ให้ทำแผนอนาคต ๕ ปี สามแผนๆ แรกคือแผนที่จะทำอยู่แล้ว เช่น ไปทำงานเป็นวิศวกรโรงงาน แผนที่สองคือถ้าโลกไม่ต้องการอาชีพแบบแผนแรก ส่วนแผนที่สามคือถ้าเงินไม่ใช่ประเด็น คือ รวยมากๆ แล้วเราจะไปทำอะไร
คีย์คือต้องนำเสนอแผนนี้และได้ฟีดแบ๊ก ชั้นต้องการให้เด็กจริงจังกับความฝันของตัวเองด้วยประกาศให้คนอื่นได้รับรู้ ชั้นแบ่งเป็นสองกลุ่ม ให้มานำเสนอให้เพื่อนฟังและกินพิซซ่าด้วยกันตอนเย็น ให้โอกาสเพื่อนและชั้นได้ถามคำถามเชิงซัพพอร์ต หรือได้ acknowledge
ชั้นพบว่าชั้นรู้จักตัวตนของเด็กขึ้นเยอะมากๆ จากการฟังแผนเหล่านี้ เช่น ถ้ามีเงินเยอะๆ เด็กคนนี้อยากวาดรูปสีน้ำ อยากนั่งอ่านหนังสือ ซึ่งชั้นงงว่ามันต้องใช้เงินมากๆ ตรงไหน ปรากฏว่าประเด็นของเค้าคือเรื่องการจัดการเวลา มักใช้เวลามากกว่าที่คิดไว้ในการทำอะไร ก็เลยไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำซักที
เมื่อรู้จักเด็กมากขึ้นจากค่ายและจากการฟัง Odyssey Plans ของพวกเค้า ชั้นคิดว่าเราน่าจะต้องโค้ชเค้าเพิ่มเติม
การโค้ชนอกรอบ
จริงๆ ไม่ใช่การโค้ชด้วยซ้ำ ชั้นแค่อยากรู้จักเค้าเพิ่มเติม พอเรารู้จักกันบ้างแล้วและเด็กไว้ใจเรา ก็ง่ายมากที่จะเข้าถึงโจทย์ของเค้า ชั้นนัดคุยนอกรอบบางคน บอกว่าอยากคุยด้วย พอเค้าไว้ใจเราก็เล่าหมดแหละ ไม่ต้องอ้อมไปอ้อมมา ถามตรง ตอบตรง
ชั้นไม่ได้ให้วิธีแก้ปัญหา และไม่ได้ขอให้เด็กหาทางแก้อะไร ชั้นคิดว่าเพียงแค่ผู้ใหญ่คนหนึ่งที่มีตำแหน่งเช่นอาจารย์ ได้นั่งฟังเค้า รับรู้ความทุกข์ในใจหรือโจทย์ของเค้า Acknowledge and appreciate แค่นี้ก็พอแล้ว
ที่อัศจรรย์คือเด็กที่ชั้นคุยด้วยดูผ่อนคลายขึ้นในคาบต่อๆ มาที่เจอกัน ชั้นแค่เจอเค้าแค่ครั้งเดียว แต่นาน หนึ่งถึงสองชั่วโมงต่อคน ตอนที่จะแยกจากกัน ชั้นใช้ OH cards เพื่อให้เค้าได้ message กลับไป อยากให้มีการปิดที่ดี
ชั้นไม่ได้ให้วิธีแก้ปัญหา และไม่ได้ขอให้เด็กหาทางแก้อะไร ชั้นคิดว่าเพียงแค่ผู้ใหญ่คนหนึ่งที่มีตำแหน่งเช่นอาจารย์ ได้นั่งฟังเค้า รับรู้ความทุกข์ในใจหรือโจทย์ของเค้า Acknowledge and appreciate แค่นี้ก็พอแล้ว
ที่อัศจรรย์คือเด็กที่ชั้นคุยด้วยดูผ่อนคลายขึ้นในคาบต่อๆ มาที่เจอกัน ชั้นแค่เจอเค้าแค่ครั้งเดียว แต่นาน หนึ่งถึงสองชั่วโมงต่อคน ตอนที่จะแยกจากกัน ชั้นใช้ OH cards เพื่อให้เค้าได้ message กลับไป อยากให้มีการปิดที่ดี
Prototype Presentation
เมื่อได้ Odyssey plans เด็กๆ จะต้องไปทำ Prototype experience or Prototype interview 2-3 คน คือ ไปตามติดชีวิตคนที่อยู่ในอาชีพที่เราอยากทำวันหนึ่งหรือไปสัมภาษณ์เค้า แล้วมานำเสนอ ชั้นเปิดกว้างว่าจะเป็นละครก็ได้ แต่ทุกคนทำสไลด์ ทักษะการทำสไลด์ของเด็กดีงามมาก ชั้นได้ความรู้เพิ่มไปด้วย
ตึกจะดับไฟตอน 16.30 เราเลยไปต่อกันที่ร้านครัวมุกดา ซึ่งมีทีวีจอแบนพอดี ได้ห้องส่วนตัว ฉลองด้วยการเลี้ยงเบียร์เมื่อเสร็จ
การใช้อำนาจในห้องเรียน
ชั้นดีเบตกับตัวเองเรื่องนี้อย่างมากว่าแค่ไหนจะพอดีที่มีขอบเขต แต่ในขณะเดียวกันก็ท้าทายเด็กให้ข้ามขอบ ไม่มึสูตรสำเร็จ ใช้เซ็นส์เอา แต่ก็กลับมาที่ประเด็นเดิมเรื่องความไว้ใจ ว่าถ้าเด็กไว้ใจเรา เราเป็นพื้นที่ปลอดภัยของเค้าๆ ก็ทำในสิ่งที่เราให้ทำนั่นแหละ ทำเพราะรักและเชื่อใจ ไม่ใช่ทำเพราะกลัวบางครั้ง สำหรับเด็กที่ไม่กล้าข้ามขอบ การบังคับอาจเป็นเรื่องจำเป็น หรืออาจจะต้องไปขอผู้ปกครองหรือเรียกมาคุยว่าทำไมไม่ไป ชั้นปล่อยอิสระมากไปนิดหนึ่งในเทอมที่ผ่านมา ทำให้เด็กบางคนพลาดโอกาสไปเขาใหญ่ด้วยกัน
มีอำนาจแล้วต้องใช้!!
การกอด
ไม่ใช่วัฒนธรรมไทยหรือจีนที่จะกอดกัน ชั้นชอบ Workshop ของพี่ณัฐที่มีการกอดกันตอนท้าย และชั้นก็กอดฮีทุกครั้งที่เจอกันหรือจะจากกัน ชั้นคิดว่ามันอบอุ่นดี ความรู้สึกบางอย่างมันสื่อกันทางกาย ตอนท้ายๆ ก็กอดเด็กทุกครั้งที่จะจากกันหลายๆ วัน เด็กบอกว่าพอถึงมหาลัย อาจารย์ส่งพวกเรา อยู่ในรถฉันรู้ได้ว่าเลยว่าอาจารย์ต้องกอดส่งพวกเราแน่ๆ ซึ่งฉันรู้สึกถูกเติมเต็มสุดๆ
สิ่งที่ชั้นได้พบ
พื้นที่ปลอดภัยและความไว้ใจเป็นเรื่องสำคัญมาก เราไม่สามารถบังคับให้ต้นไม้หรือคนเติบโตได้ แต่ให้ปุ่ยและให้กำลังใจได้ บางทีก็ต้องกดดันน้อยๆ
การออกนอกสถานที่และไปค่ายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างชุมชน
พลังของชุมชนสำคัญมาก เมื่อพื้นที่ปลอดภัยมีพลังพอ จะสามารถโอบอุ้มคนในวงและคนใหม่ๆ ได้ ชั้นไม่รู้สึกว่าเป็นภาระของชั้นคนเดียวที่จะต้องโอบอุ้มคนในวงตลอดเวลา ชั้นไม่เคยรู้สึกถึงประเด็นพื้นที่ปลอดภัยนี้จนกระทั่งมูได้พบเด็กๆ ที่เขาใหญ่และคอมเม้นต์มา
การออกนอกสถานที่และไปค่ายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างชุมชน
พลังของชุมชนสำคัญมาก เมื่อพื้นที่ปลอดภัยมีพลังพอ จะสามารถโอบอุ้มคนในวงและคนใหม่ๆ ได้ ชั้นไม่รู้สึกว่าเป็นภาระของชั้นคนเดียวที่จะต้องโอบอุ้มคนในวงตลอดเวลา ชั้นไม่เคยรู้สึกถึงประเด็นพื้นที่ปลอดภัยนี้จนกระทั่งมูได้พบเด็กๆ ที่เขาใหญ่และคอมเม้นต์มา
ชั้นไม่ใช่คนโอบอุ้มอะไรมาก กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ตอนแรกก็กังวลใจว่าเราไม่ใช่พี่ณัฐหรือพระอ.โน้สที่จะโอ๋ใคร แต่ชั้นมีพลังของคนที่ได้เปลี่ยนตัวเองมาบ้างแล้ว มันทำให้ชั้นมี Vibe บางอย่างที่เด็กจะฟัง และชั้นก็เชื่อมั่นด้วยว่าเด็กทำได้ในสิ่งที่เราให้เค้าทำ พอเราเชื่อมั่นในเค้าๆ ก็เชื่อมั่นในตัวเอง
จริงๆ แล้วเด็กเปลี่ยนและชั้นเองก็เปลี่ยนไปด้วย มูอ่านบล็อกชั้นมาตลอดและรู้จักชั้นมานาน บอกว่าชั้นอ่อนโยนขึ้น สวยขึ้น ซึ่งจริง ชั้นรู้สึกว่าชั้นเปิดกว้างให้กับความเป็นไปได้มากขึ้น ยอมรับได้ ศิโรราบได้ ดราม่าน้อยลง
ปิดท้ายด้วย Reflection จากนิสิต
จริงๆ แล้วเด็กเปลี่ยนและชั้นเองก็เปลี่ยนไปด้วย มูอ่านบล็อกชั้นมาตลอดและรู้จักชั้นมานาน บอกว่าชั้นอ่อนโยนขึ้น สวยขึ้น ซึ่งจริง ชั้นรู้สึกว่าชั้นเปิดกว้างให้กับความเป็นไปได้มากขึ้น ยอมรับได้ ศิโรราบได้ ดราม่าน้อยลง
ปิดท้ายด้วย Reflection จากนิสิต
แปลกที่วิชานี้ทำให้หนูกลายเป็นอีกคน ซึ่งปกติหนูเป็นคนใจร้อน เชื่อในตัวเอง ค่อนข้างเก็บตัวและจะระวังตัวมากในการที่จะสนิทกับใคร แต่พอมาอยู่ในคลาสนี้กับทุกคน หนูไม่รู้เหตุผลว่าทำไมมันกลับทำให้หนูอยากรู้จักทุกคน อยากรับฟังทุกเรื่องราวของทุกคน อยากเป็นคนที่ช่วยให้เค้าผ่านสิ่งที่กำลังเจอไปได้ และยินดีที่จะเป็นเพื่อนกับทุกคนโดยไม่มีกำแพงใดๆ
นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ไม่เคยคิดจะทำ แต่เดิมหนูจะเป็นคนที่ไม่สนใจกับคนที่ออกจากชีวิตเราไปด้วยการเข้าใจผิดหรือทำให้เราเสียใจ หนูเลยลองไปปรับความเข้าใจเพื่อนที่เคยทะเลาะกันจนเราสามารถกลับมาคุยและเข้าใจในสิ่งที่เกิดระหว่างเรา จึงรู้สึกว่าคลาสนี่เปลี่ยนหนูในแนวทางที่ดีขึ้นเยอะมากๆ และใจหายที่คลาสนี้กำลังจบลง ขอบคุณอาจารย์นะคะที่ทำเพื่อพวกเราขนาดนี้ อาจารย์คืออีกหนึ่งคนสำคัญในชีวิตหนูเลยค่ะอ่าน Class reflection เพิ่มเติมได้ที่นี่
Comments
ขอบคุณค่ะ