เป็นสัปดาห์ที่เหนื่อยแต่ Fulfilled มาก เป็นสัปดาห์ที่ได้เจอเพื่อน และได้อาศัยเพื่อนช่วยทำงาน
วันอังคารได้มี Host a kickoff meeting สำหรับโครงการความร่วมมือระหว่างหลายที่เพื่อจัดเวิร์คช็อปเพื่อพัฒนาอาจารย์ ชั้นคิดว่าชั้นไปทำธุรกิจจัดเลี้ยงได้ ความเป็นแม่และคุณนายเยอะพอ รู้สึกดีที่การคุยกันมีประสิทธิภาพและมีผลที่จับต้องได้ เวลามีมีตติ้งที่คนเยอะๆ ชั้นจะกังวลว่าจะมีบางคนบลา บลา บลาอยู่ไม่กี่คน ชั้นรู้สึกดีที่ชั้นได้เป็นตัวเองด้วย ถามและให้ความเห็นอย่างที่คิด (another blog post on this) รู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ทำได้อย่างที่พูด ดอกไม้และเทียน Aroma ที่บอกว่าจะหามา ก็มีให้จริง ขอบคุณลูกศิษย์และเจ้าหน้าที่ที่ช่วยจัดหาหลายสิ่ง
วันพุธ ได้ไปฟังอ.ยืน ภู่วรวรรณพูดเรื่องทักษะการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ทักษะศตวรรษที่ ๒๑ แกอายุเกิน ๖๐ แต่แข็งแรงและทันสมัยมาก แกใช้ Voice-activated command ให้ดู นำเกม และมีความรู้หลายอย่างมาเล่าให้ฟัง เช่น การเติบโตของรร.อินเตอร์ขณะที่รร.ธรรมดาเริ่มมีคนเรียนน้อยลง
ชั้นรู้สึก Inspired และได้ความรู้จากการฟังเพราะว่าชั้นเห็นด้วยกับแกในหลายด้าน เช่น การเน้นกระบวนการคิดและทักษะมากกว่าเนื้อหา เพราะเนื้อหาหาได้จากอินเตอร์เน็ต, มหาลัยต้องปรับตัวเพื่อยังมีความหมายกับสังคมนี้ เช่น การขาย Learning Experience ไม่ใช่แค่ Content, Serve คนอื่นๆ ในสังคม เช่น คนแก่ เด็กมัธยม หรือคนที่ทำงานด้วยการ offer short courses, การควบรวมภาควิชา, การทำงานกับเอกชน, เลิกใช้ Industrial model ของการศึกษาที่ปั๊มคนออกมาเหมือนๆ กัน แต่ให้ค่าความแตกต่างของคนเรียน, Problem-based learning, Gamification: การใช้เกมในการสอน, การเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยความสนใจและความใคร่รู้ของผู้เรียน, วิชาพื้นฐานเช่น คณิต เคมี ควรปรับการสอนให้ไม่ใช่ Instructional แบบ 1 2 3 แบบเห็นผู้เรียนเป็นหุ่นยนต์ทำตามคำสั่ง
แต่มีประเด็นที่เห็นต่าง เช่น ชั้นคิดว่าการฝึกทำซ้ำๆ ก็ยังจำเป็น ถ้ามันเป็นทักษะ ยังไงก็ต้องฝึก แกบอกว่าไม่จำเป็นต้องทำโจทย์ซ้ำๆ ชั้นว่ายังต้องทำ มีทักษะพื้นฐานที่วิศวกรจำเป็นต้องมีก่อนจะทำ PBL ได้
แกไม่พูดว่าเราจะพัฒนาอาจารย์อย่างไรที่จะไปถึงขั้นที่แกพูดได้ อาจารย์ที่ถูกสอนมาแบบเดิมๆ จะขยับมาสอนแบบใหม่อย่างไร และชั้นค่อนข้างผิดหวังที่มันไม่เป็น Workshop จริง เป็นเล็กเชอร์ซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งดีเพราะชั้นนั่งทำงานได้ขณะฟัง
ว่าด้วยการสอนในสัปดาห์นี้
พอทำ Quiz เสร็จ ชั้นให้เด็กยืน เหยียดยืดคอบ่าไหล่ แล้วให้เล่นเกม NIM ที่เป็น mathematical puzzle ได้ไอเดียจากอ.ยืนวันก่อน
แล้วก็ให้ทำ Monte Carlo Simulation on Excel ชั้นว่าทำโมเดลบนคอมพิวเตอร์เหมือนเล่นเกม ถ้าเด็กติดพันจะไม่อยากพัก งวดนี้ก็ยิงยาวจนเกินเบรค ชั้นชอบให้ทำแบบฝึกหัดมากกว่าสอน จะสอนตัวต่อตัวตอนเค้าทำไม่ได้ ถ้าทำได้เองก็ไม่สอน เป็น Empowerment อย่างหนึ่งและเป็นการทำงานด้วย Speed ตัวเองด้วย หน้าที่ของอาจารย์คือหาโจทย์ที่เหมาะสม
หลังๆ ชั้นให้การบ้านไม่มาก เทอมนี้ให้อัพโหลดทาง Google classroom อย่างเดียว สะดวกกว่าทำ Google form เทอมนี้ยังไม่ให้เด็กส่งการบ้านกระดาษเลย ส่ง electronically ตลอด ซึ่งดีเพราะเราไม่ต้องถือไปถือมา เด็กพร้อมที่จะ paperless มาก อ.ต่างหากที่ยัง pen and paper อยู่
การบ้านที่ให้เด็กทำ Thesis mapping ออกมาดีกว่าที่คิดมาก ดีใจที่บอกให้เค้าทำและเผือกช่วยคิดหัวข้อ
ชั้นชอบที่เราเรียน Systems thinking ผ่านกิจกรรมฐานกาย หัว และใจ ไม่ได้ขึ้นหัวอย่างเดียว
วันอังคารได้มี Host a kickoff meeting สำหรับโครงการความร่วมมือระหว่างหลายที่เพื่อจัดเวิร์คช็อปเพื่อพัฒนาอาจารย์ ชั้นคิดว่าชั้นไปทำธุรกิจจัดเลี้ยงได้ ความเป็นแม่และคุณนายเยอะพอ รู้สึกดีที่การคุยกันมีประสิทธิภาพและมีผลที่จับต้องได้ เวลามีมีตติ้งที่คนเยอะๆ ชั้นจะกังวลว่าจะมีบางคนบลา บลา บลาอยู่ไม่กี่คน ชั้นรู้สึกดีที่ชั้นได้เป็นตัวเองด้วย ถามและให้ความเห็นอย่างที่คิด (another blog post on this) รู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ทำได้อย่างที่พูด ดอกไม้และเทียน Aroma ที่บอกว่าจะหามา ก็มีให้จริง ขอบคุณลูกศิษย์และเจ้าหน้าที่ที่ช่วยจัดหาหลายสิ่ง
วันพุธ ได้ไปฟังอ.ยืน ภู่วรวรรณพูดเรื่องทักษะการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ทักษะศตวรรษที่ ๒๑ แกอายุเกิน ๖๐ แต่แข็งแรงและทันสมัยมาก แกใช้ Voice-activated command ให้ดู นำเกม และมีความรู้หลายอย่างมาเล่าให้ฟัง เช่น การเติบโตของรร.อินเตอร์ขณะที่รร.ธรรมดาเริ่มมีคนเรียนน้อยลง
ชั้นรู้สึก Inspired และได้ความรู้จากการฟังเพราะว่าชั้นเห็นด้วยกับแกในหลายด้าน เช่น การเน้นกระบวนการคิดและทักษะมากกว่าเนื้อหา เพราะเนื้อหาหาได้จากอินเตอร์เน็ต, มหาลัยต้องปรับตัวเพื่อยังมีความหมายกับสังคมนี้ เช่น การขาย Learning Experience ไม่ใช่แค่ Content, Serve คนอื่นๆ ในสังคม เช่น คนแก่ เด็กมัธยม หรือคนที่ทำงานด้วยการ offer short courses, การควบรวมภาควิชา, การทำงานกับเอกชน, เลิกใช้ Industrial model ของการศึกษาที่ปั๊มคนออกมาเหมือนๆ กัน แต่ให้ค่าความแตกต่างของคนเรียน, Problem-based learning, Gamification: การใช้เกมในการสอน, การเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยความสนใจและความใคร่รู้ของผู้เรียน, วิชาพื้นฐานเช่น คณิต เคมี ควรปรับการสอนให้ไม่ใช่ Instructional แบบ 1 2 3 แบบเห็นผู้เรียนเป็นหุ่นยนต์ทำตามคำสั่ง
แต่มีประเด็นที่เห็นต่าง เช่น ชั้นคิดว่าการฝึกทำซ้ำๆ ก็ยังจำเป็น ถ้ามันเป็นทักษะ ยังไงก็ต้องฝึก แกบอกว่าไม่จำเป็นต้องทำโจทย์ซ้ำๆ ชั้นว่ายังต้องทำ มีทักษะพื้นฐานที่วิศวกรจำเป็นต้องมีก่อนจะทำ PBL ได้
แกไม่พูดว่าเราจะพัฒนาอาจารย์อย่างไรที่จะไปถึงขั้นที่แกพูดได้ อาจารย์ที่ถูกสอนมาแบบเดิมๆ จะขยับมาสอนแบบใหม่อย่างไร และชั้นค่อนข้างผิดหวังที่มันไม่เป็น Workshop จริง เป็นเล็กเชอร์ซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งดีเพราะชั้นนั่งทำงานได้ขณะฟัง
ว่าด้วยการสอนในสัปดาห์นี้
Simulation
การใช้ Rank ยังเป็นเรื่องที่จำเป็น เหมือนมีดที่เราจะไปทำประโยชน์ก็ได้ เอาไปทำร้ายคนก็ได้ จากคราวที่แล้วที่ชั้นแผลงฤทธิ์ ขีดเส้นว่าให้มาตรงเวลา เด็กก็มาตรงเวลาได้ ชั้นไม่ต้องเป็นนางยักษ์ต่อพอทำ Quiz เสร็จ ชั้นให้เด็กยืน เหยียดยืดคอบ่าไหล่ แล้วให้เล่นเกม NIM ที่เป็น mathematical puzzle ได้ไอเดียจากอ.ยืนวันก่อน
แล้วก็ให้ทำ Monte Carlo Simulation on Excel ชั้นว่าทำโมเดลบนคอมพิวเตอร์เหมือนเล่นเกม ถ้าเด็กติดพันจะไม่อยากพัก งวดนี้ก็ยิงยาวจนเกินเบรค ชั้นชอบให้ทำแบบฝึกหัดมากกว่าสอน จะสอนตัวต่อตัวตอนเค้าทำไม่ได้ ถ้าทำได้เองก็ไม่สอน เป็น Empowerment อย่างหนึ่งและเป็นการทำงานด้วย Speed ตัวเองด้วย หน้าที่ของอาจารย์คือหาโจทย์ที่เหมาะสม
หลังๆ ชั้นให้การบ้านไม่มาก เทอมนี้ให้อัพโหลดทาง Google classroom อย่างเดียว สะดวกกว่าทำ Google form เทอมนี้ยังไม่ให้เด็กส่งการบ้านกระดาษเลย ส่ง electronically ตลอด ซึ่งดีเพราะเราไม่ต้องถือไปถือมา เด็กพร้อมที่จะ paperless มาก อ.ต่างหากที่ยัง pen and paper อยู่
สัมมนาป.โท
คาบนี้เป็นคาบสุดท้ายของ Systems thinking และคาบสุดท้ายที่มีวิทยากรรับเชิญแล้ว แอบเศร้า ขี้เกียจสอนเองมาก แต่คงต้องทำเพราะไม่งั้นชั้นก็ไม่ได้พัฒนา ชอบเผือกคราวนี้มาก ดูผ่อนคลายกว่าเดิมการบ้านที่ให้เด็กทำ Thesis mapping ออกมาดีกว่าที่คิดมาก ดีใจที่บอกให้เค้าทำและเผือกช่วยคิดหัวข้อ
ชั้นชอบที่เราเรียน Systems thinking ผ่านกิจกรรมฐานกาย หัว และใจ ไม่ได้ขึ้นหัวอย่างเดียว
- เปิดด้วยเช็คอิน รู้สึกอย่างไร ที่ให้ไปทำ thesis mapping เป็นไง
- Dialogue ให้เอาสายธารทักษะจากคราวที่แล้วมาจับกลุ่มคุย 5 คน ซึ่งชั้นทึ่งมากว่าคุยกันอย่างกับไม่ได้คุยกันมานาน ทั้งๆ ที่ก็เล่าเรื่องตัวเองผ่าน deep listening และ ผู้นำสี่ทิศไปแล้ว
- พับเครื่องบินกระดาษ กลุ่ม 5 คนนี้ พับเครื่องบินทีละลำ โดย 1 คนพับได้ 1 ที ดังนั้นเครื่องบิน 1 ลำจะมีรอยพับ 5 รอย ทำซ้ำ 5 ลำ, วัดระยะที่เครื่องบินร่อนได้, เขียน work instruction ว่าพับยังไง (systematic thinking), เขียน cause and effect diagram (systems thinking)
อีกสิ่งที่เด็กได้คือ Holistic thinking เป็นการมองภาพรวม ของงานให้ออก เป็นการดึงตัวเองออกมาเป็นผู้มอง ผ่านการเป็นหัวหน้าทีม ผ่านการทำ แผนที่ชีวิต แผนที่งานวิจัย - เล็กเชอร์เรื่อง balancing loop, delay, reinforcing loop สั้นๆ
- เช็คเอาท์ ชั้นขอให้เผือกเล่างานที่ทำที่ SCG ปัญหาการสื่อสารระหว่างช่างและวิศวกร
Operations Research
การพูดคุยกับนิสิตที่ขาดเรียนไป ๓ อาทิตย์รวดแล้วเพิ่งโผล่มา ได้ผล เค้ามาเรียนทันเวลาพร้อมด้วยคอมพิวเตอร์ที่ควรมี ดูๆ แล้วก็พอเรียนไปได้
หลักสูตรนี้เป็นอินเตอร์ที่เก็บค่าเทอมแพงกว่าภาคภาษาไทย ๓ เท่า มันมีเด็กที่ดูรวย (ไม่ได้พิสูจน์ว่ารวยจริงหรือไม่) จากของที่ใช้ บางคนชั้นก็ไม่แน่ใจว่ารวยหรือไม่ เลยไม่กล้าบอกให้มันไปซื้อใหม่ สำหรับชั้น คอมพิวเตอร์คืออุปกรณ์หากินที่ควรจะมีรุ่นที่ดีพอควร ของเด็กบางคนโบราณวัตถุมาก
เด็กที่ดูเฉยชา ไม่ใส่ใจ ที่ชั้นเริ่มรู้สึกไม่ถูกชะตาเพราะยังมาด้วยซอฟท์แวร์ที่ไม่พร้อมจะเรียน ทั้งๆ ที่ได้ขอให้ลงไปแล้ว ชั้นขอให้เค้าอยู่ท้ายคาบ ขอคุยด้วย เริ่มด้วยถามว่าอยู่กับใคร มาเรียน IE เพราะอะไร เลือกเองไหม แล้วค่อยเข้าเรื่องเรียนวิชานี้ ปรากฏว่าเด็กบอกว่าไม่ชอบใช้คอมพิวเตอร์ ถามว่าจะต้องใช้อีกหลายวิชาไหม ชั้นบอกว่าอีกเยอะอ่ะ เดี่ยวนี้มีสาขาไหนไม่ใช้คอมพิวเตอร์บ้าง ถ้าไม่อยากใช้ คงต้องลาออกไปเรียนอย่างอื่นที่ไม่ใช่วิศวะ เด็กบอกว่าที่ผ่านมา ก็ไปกระเสือกกระสนเอาใกล้สอบ ชั้นบอกว่าวิชาชั้นที่เธอจะเรียนอีก ๒ ตัวนี่ใช้คอมล้วนๆ
พอเรียนโค้ชชิ่งมา ชั้นจะรู้สึกผิดเวลาพูดเยอะกว่าเด็ก ไม่อยากสั่งสอน แต่งวดนี้ก็จัดไป บอกเค้าว่าไม่ชอบคอมก็ต้องทน ไม่งั้นก็ไม่ผ่านด่านนี้ซะที มันก็กลับมาอีก คนอื่นเค้าไม่ชอบก็ต้องทนทั้งนั้น
ดีใจที่ได้คุยกัน ชั้นไม่อยากมีอคติว่าเด็กกวนตีนเราที่มันไม่เรียน ปรากฏว่ามันไม่เรียนเพราะมันไม่ชอบคอมฯ มันเป็นขอบ (Threshold) เขา เราไม่ต้อง Take it personal.
หลังๆ พบว่าการสอนคือการสร้างความสัมพันธ์ ดูจากตัวเองก็ได้ว่าเราจะเรียนได้ดีถ้าเราชอบคนสอน ถ้าเกลียดคนสอน ก็เรียนให้เสร็จๆ ไป
หลังๆ พบว่าการสอนคือการสร้างความสัมพันธ์ ดูจากตัวเองก็ได้ว่าเราจะเรียนได้ดีถ้าเราชอบคนสอน ถ้าเกลียดคนสอน ก็เรียนให้เสร็จๆ ไป
ชั้นเฉลยโจทย์ผิด แล้วเด็กหาที่ผิดเจออีกแล้ว ดีมาก ชั้นชอบการช่วยเด็กแก้โมเดล หรือทำโจทย์ เรารู้ว่าเด็กไม่เข้าใจอะไร ถ้าพูดคนเดียวอยู่หน้ากระดาน จะไม่มีทางรู้เลยจนกว่าจะตรวจข้อสอบ
Communication & Leadership
คาบที่แล้วที่ให้เค้าทำกิจกรรมจาก Design your life แล้วให้การบ้านไปสังเกตตัวเองแล้วเขียน Good-time journal แล้วให้ส่ง ชั้นอ่านเพลิดเพลินมาก ส่วนที่สนุกมากจากการทำคลาสนี้คือการอ่านงานเขียนของเด็ก อ่านแล้วก็ตอบ เราได้ฝึก Positive feedback ด้วย ถึงบางทีจะไม่เห็นข้อที่อยากจะชม ก็หามาชมจนได้ แล้วค่อยติ (ถ้ามี)
เราได้เรียนรู้ชีวิตเด็กเยอะมาก
พี่ตู่มาสอน Non-violent communication เหมือนเราได้เรียนไปด้วย ตอนแรกเรากังวลว่าเด็กจะ connect กับพี่ตู่ไหม เพราะอายุห่างกันมาก และกว่าเราจะ connect กับเด็ก มันใช้เวลา แต่ปรากฏว่าก็ได้ ชั้นรู้สึกว่ามีบางคนที่สั่นสะเทือนอยู่ภายใน มีบางคนที่ดูเศร้าตั้งแต่ต้นคาบ แต่เริ่มฟื้นขั้นตอนท้าย มีที่ปั่นป่วนมากแล้วเมสเสจมาถามว่าทำอย่างไรดี
ชั้นรู้สึกว่าเด็กที่มาลงวิชานี้เหมือนมาแสวงหาอะไรบางอย่าง หรือต้องการการเยียวยาในบางประเด็น
เด็กเริ่มเข้าใจ Feelings and Needs, ภาษาหมาป่า และภาษายีราฟ, การเงียบเป็นภาษาหมาป่าในรูปแบบหนึ่ง เด็กหลายคนคิดว่าเงียบดีกว่าทะเลาะกัน
ชั้นคิดว่าการที่พี่ตู่ได้ผ่านชีวิตมาเยอะ มันทำให้ฮีมี Insight บางอย่างที่ถ่ายทอดให้เด็กได้ เช่น ถ้าเรารู้จักตัวเองเร็ว เราจะได้เปรียบเพราะเริ่มชีวิตเร็ว, แผลบางอย่าง เราจะไม่ลืมมัน ถ้ายังไม่ได้รู้จักมัน หรือเข้าใจมันดี, ไม่จำเป็นที่จะแสวงหาการยอมรับจากคนอื่น ถ้าเรารับตัวเองได้
ชั้นรู้สึกดีที่เด็กๆ ได้ยินคำพูดแบบนี้บ้าง จากคนเป็นๆ บางทีชั้นรู้สึกว่ามหาลัยเหมือน Silo เป็น industrial model มาก ปั๊มเด็กออกไปให้เหมือนๆ กัน เน้นฐานหัวอย่างเดียว
สันดานที่ดีของชั้นคือชอบเขียน ถึงจะขี้เกียจเขียนและง่วง ก็เอาจนเสร็จจนได้
สันดานที่ดีของชั้นคือชอบเขียน ถึงจะขี้เกียจเขียนและง่วง ก็เอาจนเสร็จจนได้
Comments