Schools that learn (1/5): Background

ชั้นได้รับหนังสือโรงเรียนแห่งการเรียนรู้จากโครงการครูกล้าสอน และมีหน้าที่ๆ จะต้องอ่าน จริงๆ เค้าให้อ่านแค่บางส่วน แต่ชั้นคิดว่ามันไม่ Make sense ที่จะโดดเข้าไปตรงกลาง เหมือนดูหนังอ่ะ มันต้องมีการสร้างบทสนทนาก่อนที่จะเข้าเรื่อง

ส่วนตัวไม่ชอบหนังสือแปล ขี้เกียจแปลไทยเป็นอังกฤษอีกที และอ่านอังกฤษเองได้ จึงซื้อมา หนังสือหนาเท่า Textbook หนา ๕๔๐ หน้า และเล่มโต ไม่สามารถถืออ่านได้นานๆ ต้องวาง

หนังสือแบ่งเป็น 17 ส่วน ชั้นเพิ่งจบส่วนแรกที่ปูพื้นว่าโรงเรียนที่มีอยู่นี้มีที่มาอย่างไร มีปัญหาอย่างไร มี Assumptions ที่ผิดๆ ยังไงบ้าง มีแนวทางในการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

หนังสือให้ความรู้สึกเหมือน Management textbook for MBA students คนเขียนคือ Peter Senge ที่สอนอยู่ Sloan Business School at MIT ฮีเป็นที่ปรึกษาด้วย งานเด่นคือด้าน Systems Thinking, Learning organizations, Leadership.  ชั้นชอบความเป็นระบบ โครงสร้างที่ชัดเจนของหนังสือ

ชั้นคุ้นเคยกับ concept หลายอย่างที่พูดถึงในหนังสือนี้ อ่านหนังสือแนวนี้ไปซักพักแล้วพบว่าพูดเรื่องเดียวกันหมด ไม่ว่าจะเป็น Parker Palmer, Schumacher college, Deepak Chopra, Otto Scharmer (U Theory) เช่น การไม่แยกส่วน องค์รวมแบบส่ิ่งมีชีวิต ความรู้ไม่ได้ดำรงอยู่ด้วยตัวมันเองโดด มีบริบท; ไม่มี absolute reality, Quantum physics vs. Newtonian physics. อ่านแล้วก็เพลินดี ชอบที่ดึง Quotes ของหลายๆ คนมาใช้  หนังสือทำ References ดีงามมาก

เริ่มที่ปัจจัยที่ทำให้เกิด Learning organization คือ Personal mastery (รู้จักตัวเอง), Shared vision, Mental models (เรามองโลกอย่างไร), Team learning (สองอย่างนี้พัฒนาผ่าน Reflective thinking and generative conversation), Systems thinking (เข้าใจความซับซ้อนของโลก) ปัจจัยสุดท้ายเป็นหนังสือชือ The Fifth Discipline

Concept ที่สำคัญอีกอย่างคือ Leverage หรือจุดงัด ระบบที่ซับซ้อนมีจุดงัดมากมาย แต่ละจุดมี impact ไม่เท่ากัน ถ้าเจอจุดงัดที่พลังสูง (high leverage) ก็เกิดผลกระทบได้มาก เหมือนแก้ปัญหาตรงจุด ชั้นนึกถึงเรื่องเล่าในหนังสือ Heart of Higher Education ของ Palmer เค้าเล่าถึงวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาลัยใน USA ที่มีนศ.หลากหลายสีผิว ตาม Stereotype พวกที่เรียนเก่งสุดคือคนสายเอเชีย ที่แย่สุดคือคนผิวดำ คลาสนี้ก็เช่นกัน อ.อยากรู้ว่าทำไม จึงลองทดสอบตอนเรียนเสร็จ ก็ได้ผลใกล้เคียงกัน แต่ปรากฏว่าพฤติกรรมหลังเรียนแตกต่างกัน (อันนี้เป็น Leverage point) นศ.เอเชียมีการช่วยกันเรียนมากกว่า อ.จึงจัดบรรยากาศให้นศ.ได้มีโอกาสช่วยเหลือกัน ซึ่งทำให้ผลการเรียนเริ่มไม่ต่างกันตามเชื้อชาติ

เหมือนที่ในสารคดี Where to invade next ของ Micheal Moore ได้บอก โรงเรียนแบบที่เราเห็นในปัจจุบันเป็น Industrial model เริ่มมาจากปรัสเซีย ที่ต้องการทหารที่มีวินัย ทำตามคำสั่งได้ มีทักษะเหมือนๆ กัน เป็นหุ่นยนต์ ต่อเนื่องมาถึงยุคอุตสาหกรรมที่ต้องการคนงานที่อ่านออกเขียนได้ มีวินัย มีทักษะพื้นฐานเหมือนๆ กัน ทำงานแทนกันได้  ธรรมชาติของงานสมัยใหม่เปลี่ยน โรงเรียนแบบเดิมเริ่มไม่ตอบโจทย์ และมันก็ไม่เหมาะสมกับธรรมชาติของเด็กที่ให้นั่งนิ่งๆ เฉยๆ


Argument หลักของช่วงปูพื้นคือการบอกว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีชีวิต ไม่แห้งแล้ง, เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนหลายคน, จำเป็นต้องปรับแต่งให้เข้ากับผู้เรียนเพราะนักเรียนมีความถนัดหลากหลาย, การเรียนไม่ใช่แค่ผ่านหัว แต่ผ่านการทำด้วย, หนังสือไม่แห้งแล้งเพราะประกอบด้วยเรื่องเล่า

Senge ก็พูดถึงโรงเรียนในเชิงระบบว่ามันมี stake holders อะไรบ้าง แต่ละฝ่าย interact กันยังไง มี Systems diagram แสดงให้ดู

Learning is connection

อันนี้ขวัญแผ่นดินมาก การเรียนรู้เริ่มที่ความสัมพันธ์ๆ ก็เริ่มจากการเห็นตัวตนของกันและกัน ไม่ใช่ก้อนรวมๆ ใหญ่ๆ ก้อนหนึ่ง (Blob) เมื่อครูเห็นนักเรียนเป็นปัจเจกที่แตกต่างกัน นักเรียนก็เป็นตัวตนขึ้นมา When you see me, you bring me into existence.  เพิ่งรู้ว่า Ubuntu เป็นภาษา Zulu แปลว่า A person is a person because of other people.
  • Information is not a thing, but it is a short statement that we have abstracted from a network of relationship, a context (Fritjof Capra).    
  • All doing is knowing, and all knowing is doing (Santiago Theory by Humberto Maturana and Francisco Varela)
  • Everything is said by somebody, i.e., human beings cannot make absolute statement about reality (Santiago school).
  • Genuine learning occurs in the context of our lives, and the long-term impact of any new learning depends on its relationship to the world around us (Senge).  
  • Fundamental nature of reality is relationships, not things  (Senge).  

ในมุมของคนสอน Computer simulation อย่างชั้น ชั้นว่าเราทำกลับไปกลับมา (Iterative) คือ จากโจทย์ใหญ่ที่มันอีรุงตุงนัง เรา capture สาระสำคัญบางอย่างแล้วสร้างเป็นโมเดล แล้วโมเดลมันก็มีระดับความละเอียดของมัน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาไปตัดสินใจระดับไหน มีเวลาทำโมเดลแค่ไหน พอทำเสร็จระดับหนึ่ง เราก็ขยายขอบเขตโมเดลได้

อีกข้อคือ Senge บอกแล้วทำให้ขำคือ Learning is driven by vision.  ชั้นคิดว่าไม่ใช่แค่ภาคชั้นที่มีปัญหานี้ พวกอ.มีวิสัยทัศน์ แต่ดันไม่ตรงกัน

Concept ที่ใหม่สำหรับชั้นคือเรื่องการตั้งเป้าการเรียนรู้และการประเมินตัวเองโดยผู้เรียน คือ คนเรียนมีอำนาจเหนือการเรียนของตัวเอง  ถ้านักเรียนต้องคอยให้ครูประเมิน นักเรียนก็จะทำอย่างที่เค้าคิดว่าครูชอบ อาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับครูก็ได้  ผลผลิตจากโรงเรียนแบบนี้คือคนที่ทำเพื่อเอาใจนาย ไม่ใช่ว่าเพราะทำแล้วดี หรือทำเพราะอยากทำ

Senge พูดถึงบางโรงเรียนที่ได้เปลี่ยนไปบ้างแล้วด้วย เช่น การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ โดยอนุญาตให้เด็กระบุสิ่งที่อยากเรียนเอง แล้วให้ไปหาคนในชุมชนมาสอนที่โรงเรียน, การสอนเศษส่วนโดยให้เด็กทำงานในครัว เพราะต้องปรับสูตรอาหารตามจำนวนคน

จริงๆ มันคือการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตอ่ะ ชีวิตหรือโจทย์จริงที่จะนำไปใช้ (Application)

ตอนที่ ๒

Comments