ต่อจากตอนแรก
ตอนนี้อยากเล่าเรื่องคนที่ได้พบที่ชูมัคเกอร์...
คนแรกเป็นเพื่อนของเพื่อนและเค้าฝากจดหมายมาให้ วอรี่ (Voirrey) เป็น Helper อยู่ที่นี่มานาน เป็นผู้หญิงอายุ 50-60 ปี ทำครัวเป็นหลัก เป็นคนทำขนมปัง Rye sour dough ที่อร่อยมาก เค้าเคยมาพม่าสองครั้ง มาจากอังกฤษทางแผ่นดินคือรถไฟและรถบัส เพราะไม่อยากเพิ่มคาร์บอนบนชั้นบรรยากาศ การเดินทางด้วยเครื่องบินใช้น้ำมันมาก วอรี่บอกว่าเค้าอยู่ที่ชูมัคเกอร์จึงควรใช้ชีวิตตามปรัชญาของวิทยาลัยคือสร้างผลกระทบกับโลกให้น้อยที่สุด เค้าใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการเดินทางจากลอนดอนมาย่างกุ้ง นั่งรถไฟเข้าเบลเยี่ยม ผ่านเบลาฮุส ผ่านรัสเซีย ผ่านจีน เข้าเวียดนาม ลาว นั่งรถบัสเข้ากรุงเทพ ขาสุดท้ายต้องยอมบินเข้าย่างกุ้งเพราะไม่มีรถบัสตรงจากกรุงเทพไปย่างกุ้ง จริงๆ ถ้าเค้ารู้ว่านั่งรถบัสเข้าทางแม่สอดได้ คงทำน่ะ หลายๆ ประเทศที่ผ่านต้องใช้วีซ่าด้วย เช่น รัสเซีย จีน แล้วค่าใช้จ่ายรวมก็น่าจะแพงกว่าบินจากลอนดอนมาย่างกุ้ง วอรี่เป็นคนยึดมั่นในหลักการอย่างน่าอัศจรรย์ มาย่างกุ้งก็ทำงานอาสาสมัครกับมูลนิธิเมตตาอยู่ 6 เดือน วอรี่รู้จักกับ Sam ที่ทำงานอยู่มูลนิธินี้ เพราะแซมเคยไปเรียนที่ชูมัคเกอร์
วอรี่ปรุงอาหารของตัวเอง ไม่กินกับคนอื่นเพราะย่อยไขมันได้ไม่ดี เค้ากินผักต้มเป็นหลัก แล้วแต่จะมีอะไร แล้วก็ใส่เครื่องเทศเพื่อเพิ่มรสชาติ กินไข่ต้มบ้าง ที่นี่มีแม่ไก่ จึงได้กินไข่ที่สดมากๆ ฉันขอเค้ากิน พบว่าไข่ต้มที่ไข่สดมากปอกยาก
เจนี่เป็นเจ้าหน้าที่ Admin ของชูมัคเกอร์ ฉันเห็นเค้าแต่งตัวเก๋ มีสไตล์เป็นของตัวเอง วันหนึ่งฉันชมเค้าว่าเสื้อสเวตเตอร์สวยดีนะ เค้าบอกว่าซื้อจากร้านมือสอง เค้าไม่เคยซื้อมือหนึ่งมานานแล้ว ฟังแล้วก็ได้แรงบันดาลใจว่าเราจะไม่ซื้อของมือหนึ่งบ้าง จริงๆ ของมือหนึ่งที่มีอยู่ก็เต็มหลายตู้แล้ว
คนต่อไปเป็นอาจารย์ชื่อ Stephan Harding เขียนหนังสือเรื่อง Animate Earth ที่อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์หาคนแปลเป็นไทย แล้วใช้ชื่อว่า "กาย่า โลกที่มีชีวิต" เจอสเตฟานครั้งแรกที่ครัว เค้ามาเป็นพ่อครัวแทนภรรยาซึ่งเป็นหัวหน้าแม่ครัว เค้าบอกว่าเค้าล้างห้องน้ำมา 15 ปี That was my contribution to Schumacher community. เลยขอมาทำครัวบ้าง เห็นหน้าครั้งแรกก็รู้เลยว่าเป็นอาจารย์ หน้าตาและบุคลิกใช่เลย
ชอบที่สเตฟานบอกว่าเชื่อเรื่องการเกิดใหม่ (Rebirth) ถึงแม้ว่าตัวเองจะไม่มีประสบการณ์ตรง เค้าว่าทุกอย่างในธรรมชาติมันถูกนำกลับมาใช้ใหม่ แล้วทำไม Consciousness จะถูก recycled ไม่ได้ (Everything in nature is recycled. Why not consciousness?) ตัวเค้าเองมีพระอาจารย์ที่เป็นลามะทิเบต เคยไปเก็บอารมณ์ที่ลาดัก อินเดีย เค้าเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเพราะได้ยินเรื่องเล่าของการกลับมาเกิดของลามะ และเรื่องของเด็กพม่าอายุ ๖ ขวบที่เคยเป็นพระแล้วกลับมาเกิดเช่นกัน จำวัดที่เคยอยู่ได้ ฉลาดเกินเด็ก ๖ ขวบมากๆ เรื่องนี้บันทึกโดยคนอังกฤษช่วงที่มีพม่าเป็นอาณานิคม แต่เค้าบอกว่า I'm not a Buddhist; I'm a scientist.
สเตฟานเป็นคนที่เล่าเรื่องเก่งมากๆ เก่งจนทำให้อยากมาเรียนกับเค้าเป็นคอร์สจริงจัง เค้ามาพูดให้พวกเราฟังเรื่อง Deep Ecology ที่ไม่ใช่นิเวศวิทยาแบบสนใจว่ามีสัตว์กี่ตัว มีสภาวะความเป็นอยู่อย่างไร จำไม่ได้ว่าเค้าอธิบายว่า"ลึก"อย่างไร แค่จำได้ว่า Deep Ecology มีความเคารพในธรรมชาติ มองว่าธรรมชาติมีความศักดิ์สิทธิ์ (Sacredness) คล้ายว่ามันมีชีวิต เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่อยากทำอะไรก็ทำ เค้าทำให้ฉันรู้สึกว่าการมองว่าภูเขาศักดิ์สิทธิ์ แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่เรื่องงมงาย แต่เป็นความอ่อนน้อม เค้าบอกว่าที่พระพุทธเจ้าบอกว่าเกิดเป็นคนนั้นยากน่ะถูกแล้ว ถ้าเรารู้ว่าในร่างกายเรามีเซลล์อะไรบ้าง แล้วมันมาประกอบกันเป็นเราได้เนี่ย ไม่ใช่เรื่องง่าย
เค้าพูดเรื่องวงจรของ Deep experience -> Deep questioning -> Deep commitments -> Deep experience... คือคุณจะมีแต่ประสบการณ์ที่ลึกซึ้งแล้วไม่ตั้งคำถามไม่ได้ เช่น การตั้งคำถามว่าการซื้อ iphone 6 สำคัญหรือจำเป็น (Vital) ต่อชีวิตเราหรือไม่ ก่อนจะซื้อหรือไม่ซื้อ แล้วพอตั้งคำถามแล้วก็ต้องมีความตั้งใจ/การอุทิศ ซึ่งจะนำไปสู่ประสบการณ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เมื่อเราฟังเค้าพูดแล้วหมดอารมณ์ช้อปปิ้งเลย ทั้งๆ ที่ร้านที่ลอนดอนมีให้เลือกเยอะมาก พอนึกถึง Deep questioning, นึกถึงวอรี่ที่นั่งรถไฟ 2 สัปดาห์เพื่อลด Carbon footprint แล้วละอายใจ
คนที่พิเศษมากๆ อีกคน คือ Martin Shaw เพิ่งเห็นจากกูเกิ้ลว่าเค้าเปิดโรงเรียนสอนการเล่าเรื่องด้วย เค้ามาสอนเราเรื่องการเล่าเรื่อง (Story telling) คนที่ชูมัคเกอร์ชอบพูดว่า We need a new narrative. คือการเรื่องราวแบบใหม่ เรื่องแบบเดิมคือทุนนิยม/บริโภคนิยม หรือการพูดเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบสิ้นหวัง ฟังแล้วหดหู่ เหมือนปัญหาใหญ่มากจนแก้ไม่ได้ มาร์ตินบอกว่าอาชีพเค้าคือ Mythologist คือคนที่ศึกษาเรื่องนิทาน/ตำนาน His specialty is in Celtic and Russian folk tales. เค้าจบปริญญาเอกเรื่องนี้ด้วย งานที่เค้าทำคือเล่าเรื่อง, สอนเล่าเรื่อง, ทำ Therapy, และทำ Retreats ที่เค้าเรียกว่า "Wildland dreaming"
เค้าบอกว่า Myth is the story that never was but always is. เค้ามาพร้อมพร็อพ เช่น หนังสัตว์ปูพื้น กลอง และเทียน เค้าบอกว่าตำนานหรือนิทานไม่ใช่เรื่องสำหรับเด็ก แต่สำหรับผู้ใหญ่ และเป็นการเล่าปากต่อปากมานานแล้ว เพิ่งมีการบันทึกเป็นตัวอักษรไม่นานมานี้ การเล่าด้วยปาก (Oral) มีจุดเด่นตรงที่ทำให้เรื่องมีชีวิต และคนแต่ละคนก็เล่าไม่เหมือนกัน พิเศษที่มีตัวตนคนเล่าในเรื่อง
ฉันชอบที่เค้าบอกว่าเรามีตัวละครทุกอันอยู่ในตัวเอง เค้าบอกว่าบางวันที่เราพยายามภาวนาแล้วไม่สงบเสียที อาจเป็นเพราะป้าแก่ๆ ในตัวเราสูบบุหรี่ เอนหลังแล้วพูดว่า Not today, lady...
ก่อนที่เค้าจะเล่านิทานให้ฟัง ซึ่งก็เริ่มด้วย Once upon a time... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว... เค้าบอกว่าให้เราสังเกตตัวเองว่า มีเราอยู่ในนิทานที่ตรงไหน จุดนี้จะบอกลักษณะตัวตนของเรา...
ฉันถามเค้าว่าเค้าสอนการเล่าเรื่องที่ Stanford อย่างไร เค้าบอกก็เล่าเรื่องให้นศ.ฟัง แล้วให้จับกลุ่ม 4-5 คน ให้ช่วยกันเล่าคนละประโยคสองประโยคให้ครบเรื่อง ทำอย่างนี้หลายๆ คาบ โปรเจคใหญ่ของคลาสคือให้ไปหาเรื่องของคนในครอบครัวหรือคนที่รู้จัก เช่น คนที่ไม่เคยเดินทางออกจากหมู่บ้านเลย หรืออพยพมาจากที่อื่น แล้วให้เขียนเรียงความเรื่องคนๆ นี้ มาร์ตินก็ดูว่าโอเคไหม แล้วก็ให้มาเล่าให้ฟังหน้าห้อง
ฉันว่าทักษะการเล่าเรื่องจำเป็นมาก พบว่านศ.หลายคนสื่อสารไม่ได้ ไม่ว่าจะเกรดดีหรือไม่ดี ทั้งการเขียนและด้วยปาก การศึกษาของเราไม่ได้ฝึกทักษะนี้
มาร์ตินจัด Wildland dreaming ด้วย เป็นการอดอาหาร (Fasting) กินแต่น้ำ อยู่คนเดียวในป่า 4 วัน 4 คืน นอนถุงนอนใต้ผ้าใบ ไม่มีมือถือ ไม่ให้อ่านหนังสือ เขียนบันทึกได้ ไม่จำเป็นต้องภาวนา เค้าบอกว่าถ้าอยากได้บางอย่าง ก็ต้องยอมสละบางอย่าง เค้าทำให้เราอยากไปเก็บอารมณ์บ้าง ไม่ได้ทำมานานแล้ว
เค้าพาพวกเราทำ Wild land dreaming เล็กๆ จับอดข้าวเช้า ให้แยกย้ายกันไปอยู่ในป่าใกล้วิทยาลัย 3-4 ชั่วโมง ก็เป็นความรู้สึกที่ดี เพื่อนบางคนดูมีประสบการณ์มากมาย มาร์ตินบอกว่าให้กลับไปอ่านบันทึกของตัวเองบ้าง เราเขียนมาหลายปีเพราะชอบเขียน ไม่ค่อยได้กลับไปอ่าน มาที่ชูมัคเกอร์ก็เขียนเยอะเพราะอยากถ่ายทอดให้เพื่อนฟัง พระอาจารย์บอกว่าในอนาคต ถ้ากลับมาอ่านบันทึกที่เขียนที่ชูมัคเกอร์ น่าจะเพิ่มแรงบันดายใจได้เยอะ
ตอนนี้อยากเล่าเรื่องคนที่ได้พบที่ชูมัคเกอร์...
คนแรกเป็นเพื่อนของเพื่อนและเค้าฝากจดหมายมาให้ วอรี่ (Voirrey) เป็น Helper อยู่ที่นี่มานาน เป็นผู้หญิงอายุ 50-60 ปี ทำครัวเป็นหลัก เป็นคนทำขนมปัง Rye sour dough ที่อร่อยมาก เค้าเคยมาพม่าสองครั้ง มาจากอังกฤษทางแผ่นดินคือรถไฟและรถบัส เพราะไม่อยากเพิ่มคาร์บอนบนชั้นบรรยากาศ การเดินทางด้วยเครื่องบินใช้น้ำมันมาก วอรี่บอกว่าเค้าอยู่ที่ชูมัคเกอร์จึงควรใช้ชีวิตตามปรัชญาของวิทยาลัยคือสร้างผลกระทบกับโลกให้น้อยที่สุด เค้าใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการเดินทางจากลอนดอนมาย่างกุ้ง นั่งรถไฟเข้าเบลเยี่ยม ผ่านเบลาฮุส ผ่านรัสเซีย ผ่านจีน เข้าเวียดนาม ลาว นั่งรถบัสเข้ากรุงเทพ ขาสุดท้ายต้องยอมบินเข้าย่างกุ้งเพราะไม่มีรถบัสตรงจากกรุงเทพไปย่างกุ้ง จริงๆ ถ้าเค้ารู้ว่านั่งรถบัสเข้าทางแม่สอดได้ คงทำน่ะ หลายๆ ประเทศที่ผ่านต้องใช้วีซ่าด้วย เช่น รัสเซีย จีน แล้วค่าใช้จ่ายรวมก็น่าจะแพงกว่าบินจากลอนดอนมาย่างกุ้ง วอรี่เป็นคนยึดมั่นในหลักการอย่างน่าอัศจรรย์ มาย่างกุ้งก็ทำงานอาสาสมัครกับมูลนิธิเมตตาอยู่ 6 เดือน วอรี่รู้จักกับ Sam ที่ทำงานอยู่มูลนิธินี้ เพราะแซมเคยไปเรียนที่ชูมัคเกอร์
วอรี่ปรุงอาหารของตัวเอง ไม่กินกับคนอื่นเพราะย่อยไขมันได้ไม่ดี เค้ากินผักต้มเป็นหลัก แล้วแต่จะมีอะไร แล้วก็ใส่เครื่องเทศเพื่อเพิ่มรสชาติ กินไข่ต้มบ้าง ที่นี่มีแม่ไก่ จึงได้กินไข่ที่สดมากๆ ฉันขอเค้ากิน พบว่าไข่ต้มที่ไข่สดมากปอกยาก
เจนี่เป็นเจ้าหน้าที่ Admin ของชูมัคเกอร์ ฉันเห็นเค้าแต่งตัวเก๋ มีสไตล์เป็นของตัวเอง วันหนึ่งฉันชมเค้าว่าเสื้อสเวตเตอร์สวยดีนะ เค้าบอกว่าซื้อจากร้านมือสอง เค้าไม่เคยซื้อมือหนึ่งมานานแล้ว ฟังแล้วก็ได้แรงบันดาลใจว่าเราจะไม่ซื้อของมือหนึ่งบ้าง จริงๆ ของมือหนึ่งที่มีอยู่ก็เต็มหลายตู้แล้ว
คนต่อไปเป็นอาจารย์ชื่อ Stephan Harding เขียนหนังสือเรื่อง Animate Earth ที่อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์หาคนแปลเป็นไทย แล้วใช้ชื่อว่า "กาย่า โลกที่มีชีวิต" เจอสเตฟานครั้งแรกที่ครัว เค้ามาเป็นพ่อครัวแทนภรรยาซึ่งเป็นหัวหน้าแม่ครัว เค้าบอกว่าเค้าล้างห้องน้ำมา 15 ปี That was my contribution to Schumacher community. เลยขอมาทำครัวบ้าง เห็นหน้าครั้งแรกก็รู้เลยว่าเป็นอาจารย์ หน้าตาและบุคลิกใช่เลย
ชอบที่สเตฟานบอกว่าเชื่อเรื่องการเกิดใหม่ (Rebirth) ถึงแม้ว่าตัวเองจะไม่มีประสบการณ์ตรง เค้าว่าทุกอย่างในธรรมชาติมันถูกนำกลับมาใช้ใหม่ แล้วทำไม Consciousness จะถูก recycled ไม่ได้ (Everything in nature is recycled. Why not consciousness?) ตัวเค้าเองมีพระอาจารย์ที่เป็นลามะทิเบต เคยไปเก็บอารมณ์ที่ลาดัก อินเดีย เค้าเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเพราะได้ยินเรื่องเล่าของการกลับมาเกิดของลามะ และเรื่องของเด็กพม่าอายุ ๖ ขวบที่เคยเป็นพระแล้วกลับมาเกิดเช่นกัน จำวัดที่เคยอยู่ได้ ฉลาดเกินเด็ก ๖ ขวบมากๆ เรื่องนี้บันทึกโดยคนอังกฤษช่วงที่มีพม่าเป็นอาณานิคม แต่เค้าบอกว่า I'm not a Buddhist; I'm a scientist.
สเตฟานเป็นคนที่เล่าเรื่องเก่งมากๆ เก่งจนทำให้อยากมาเรียนกับเค้าเป็นคอร์สจริงจัง เค้ามาพูดให้พวกเราฟังเรื่อง Deep Ecology ที่ไม่ใช่นิเวศวิทยาแบบสนใจว่ามีสัตว์กี่ตัว มีสภาวะความเป็นอยู่อย่างไร จำไม่ได้ว่าเค้าอธิบายว่า"ลึก"อย่างไร แค่จำได้ว่า Deep Ecology มีความเคารพในธรรมชาติ มองว่าธรรมชาติมีความศักดิ์สิทธิ์ (Sacredness) คล้ายว่ามันมีชีวิต เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่อยากทำอะไรก็ทำ เค้าทำให้ฉันรู้สึกว่าการมองว่าภูเขาศักดิ์สิทธิ์ แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่เรื่องงมงาย แต่เป็นความอ่อนน้อม เค้าบอกว่าที่พระพุทธเจ้าบอกว่าเกิดเป็นคนนั้นยากน่ะถูกแล้ว ถ้าเรารู้ว่าในร่างกายเรามีเซลล์อะไรบ้าง แล้วมันมาประกอบกันเป็นเราได้เนี่ย ไม่ใช่เรื่องง่าย
เค้าพูดเรื่องวงจรของ Deep experience -> Deep questioning -> Deep commitments -> Deep experience... คือคุณจะมีแต่ประสบการณ์ที่ลึกซึ้งแล้วไม่ตั้งคำถามไม่ได้ เช่น การตั้งคำถามว่าการซื้อ iphone 6 สำคัญหรือจำเป็น (Vital) ต่อชีวิตเราหรือไม่ ก่อนจะซื้อหรือไม่ซื้อ แล้วพอตั้งคำถามแล้วก็ต้องมีความตั้งใจ/การอุทิศ ซึ่งจะนำไปสู่ประสบการณ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เมื่อเราฟังเค้าพูดแล้วหมดอารมณ์ช้อปปิ้งเลย ทั้งๆ ที่ร้านที่ลอนดอนมีให้เลือกเยอะมาก พอนึกถึง Deep questioning, นึกถึงวอรี่ที่นั่งรถไฟ 2 สัปดาห์เพื่อลด Carbon footprint แล้วละอายใจ
คนที่พิเศษมากๆ อีกคน คือ Martin Shaw เพิ่งเห็นจากกูเกิ้ลว่าเค้าเปิดโรงเรียนสอนการเล่าเรื่องด้วย เค้ามาสอนเราเรื่องการเล่าเรื่อง (Story telling) คนที่ชูมัคเกอร์ชอบพูดว่า We need a new narrative. คือการเรื่องราวแบบใหม่ เรื่องแบบเดิมคือทุนนิยม/บริโภคนิยม หรือการพูดเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบสิ้นหวัง ฟังแล้วหดหู่ เหมือนปัญหาใหญ่มากจนแก้ไม่ได้ มาร์ตินบอกว่าอาชีพเค้าคือ Mythologist คือคนที่ศึกษาเรื่องนิทาน/ตำนาน His specialty is in Celtic and Russian folk tales. เค้าจบปริญญาเอกเรื่องนี้ด้วย งานที่เค้าทำคือเล่าเรื่อง, สอนเล่าเรื่อง, ทำ Therapy, และทำ Retreats ที่เค้าเรียกว่า "Wildland dreaming"
แจกันในห้องเรียน |
เค้าบอกว่า Myth is the story that never was but always is. เค้ามาพร้อมพร็อพ เช่น หนังสัตว์ปูพื้น กลอง และเทียน เค้าบอกว่าตำนานหรือนิทานไม่ใช่เรื่องสำหรับเด็ก แต่สำหรับผู้ใหญ่ และเป็นการเล่าปากต่อปากมานานแล้ว เพิ่งมีการบันทึกเป็นตัวอักษรไม่นานมานี้ การเล่าด้วยปาก (Oral) มีจุดเด่นตรงที่ทำให้เรื่องมีชีวิต และคนแต่ละคนก็เล่าไม่เหมือนกัน พิเศษที่มีตัวตนคนเล่าในเรื่อง
ฉันชอบที่เค้าบอกว่าเรามีตัวละครทุกอันอยู่ในตัวเอง เค้าบอกว่าบางวันที่เราพยายามภาวนาแล้วไม่สงบเสียที อาจเป็นเพราะป้าแก่ๆ ในตัวเราสูบบุหรี่ เอนหลังแล้วพูดว่า Not today, lady...
ก่อนที่เค้าจะเล่านิทานให้ฟัง ซึ่งก็เริ่มด้วย Once upon a time... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว... เค้าบอกว่าให้เราสังเกตตัวเองว่า มีเราอยู่ในนิทานที่ตรงไหน จุดนี้จะบอกลักษณะตัวตนของเรา...
ฉันถามเค้าว่าเค้าสอนการเล่าเรื่องที่ Stanford อย่างไร เค้าบอกก็เล่าเรื่องให้นศ.ฟัง แล้วให้จับกลุ่ม 4-5 คน ให้ช่วยกันเล่าคนละประโยคสองประโยคให้ครบเรื่อง ทำอย่างนี้หลายๆ คาบ โปรเจคใหญ่ของคลาสคือให้ไปหาเรื่องของคนในครอบครัวหรือคนที่รู้จัก เช่น คนที่ไม่เคยเดินทางออกจากหมู่บ้านเลย หรืออพยพมาจากที่อื่น แล้วให้เขียนเรียงความเรื่องคนๆ นี้ มาร์ตินก็ดูว่าโอเคไหม แล้วก็ให้มาเล่าให้ฟังหน้าห้อง
ฉันว่าทักษะการเล่าเรื่องจำเป็นมาก พบว่านศ.หลายคนสื่อสารไม่ได้ ไม่ว่าจะเกรดดีหรือไม่ดี ทั้งการเขียนและด้วยปาก การศึกษาของเราไม่ได้ฝึกทักษะนี้
มาร์ตินจัด Wildland dreaming ด้วย เป็นการอดอาหาร (Fasting) กินแต่น้ำ อยู่คนเดียวในป่า 4 วัน 4 คืน นอนถุงนอนใต้ผ้าใบ ไม่มีมือถือ ไม่ให้อ่านหนังสือ เขียนบันทึกได้ ไม่จำเป็นต้องภาวนา เค้าบอกว่าถ้าอยากได้บางอย่าง ก็ต้องยอมสละบางอย่าง เค้าทำให้เราอยากไปเก็บอารมณ์บ้าง ไม่ได้ทำมานานแล้ว
เค้าพาพวกเราทำ Wild land dreaming เล็กๆ จับอดข้าวเช้า ให้แยกย้ายกันไปอยู่ในป่าใกล้วิทยาลัย 3-4 ชั่วโมง ก็เป็นความรู้สึกที่ดี เพื่อนบางคนดูมีประสบการณ์มากมาย มาร์ตินบอกว่าให้กลับไปอ่านบันทึกของตัวเองบ้าง เราเขียนมาหลายปีเพราะชอบเขียน ไม่ค่อยได้กลับไปอ่าน มาที่ชูมัคเกอร์ก็เขียนเยอะเพราะอยากถ่ายทอดให้เพื่อนฟัง พระอาจารย์บอกว่าในอนาคต ถ้ากลับมาอ่านบันทึกที่เขียนที่ชูมัคเกอร์ น่าจะเพิ่มแรงบันดายใจได้เยอะ
Comments