ธรรมเทศนาโดยพระสุทธิศาสตร์ ปญฺญาปทีโป หรือพระอาจารย์โน้ต ต่อจากครึ่งแรก
ก็เรียกว่าให้อภัยตัวเองได้ หรือแม้แต่คนอื่น เห็นคนอื่นเค้าทำผิดกับเราเองก็ดี ทำผิดกับคนอื่นก็ดี ก็อโหสิกรรม ให้อภัยคนอื่นได้เช่นเดียวกัน มันรู้เลยว่า มันย้อนกลับไปเห็นว่า ที่จริงเราก็เคยหลง เคยทำผิดแบบนั้นมาเช่นเดียวกัน คนที่เขาทำผิดมันเกิดเพราะความไม่รู้ของเขา เกิดเพราะความหลงของเขา เกิดเพราะความยังไม่ได้ฝึกหัดจิตใจของเขานั่นเอง เมื่อเห็นเช่นนี้ จิตใจก็มีแต่เมตตา มีแต่ให้อภัย ไม่มีการพยาบาท จองเวร จองกรรม ว่าทำไมเขาทำแบบนั้น ทำไมเขาทำแบบนี้ ทำไมเขาเป็นคนไม่ดี เรื่องพวกนี้จิตใจจะปล่อยวางได้ง่าย แม้บางครั้ง แรกๆ อาจจะมีเรื่องพวกนี้แทรกเข้ามา แต่พอเมื่อมีสติรู้เท่าทัน มันจะตัดความคิดในทางพยาบาท ในทางเบียดเบียน ในการจองเวร จองกรรมกับคนอื่น เมื่อมันตัดออกไป จิตใจก็เหลือแต่ความเมตตากรุณา คิดอยากจะช่วยเหลือ อยากจะบอก อยากจะสอน อยากจะเป็นมิตรกับคนที่หลงผิดด้วยกันทั้งนั้น จิตใจจะค่อยๆ เข้าสู่..จากสภาวธรรมที่มีกิเลสครอบงำ...กลายเป็นสภาวธรรมที่มีแต่กุศลครอบครองจิตใจ
แต่บางที เมื่อมีแต่สิ่งที่ดีๆ เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่สิ่งที่ไม่ดีก็มี เราก็ต้องรู้เท่าทันสภาวะจิตใจที่เป็นฝ่ายกุศลเช่นเดียวกัน เพราะถ้าเราไม่รู้เท่าทันสภาวะจิตใจที่มีแต่สิ่งที่ดีเกิดขึ้น เป็นกุศล เป็นความคิดดีๆ เป็นอาการของจิตที่สงบ ที่เป็นปิติก็ดี ถ้าเราไม่รู้ทัน ก็จะหลงเข้าไปติด ไปยึด ไปยึดมั่นในความดี ในสิ่งดี ก็เป็นการหลงผิดเช่นเดียวกัน ดังนั้น บางช่วงที่มีอาการเช่นนี้ เราก็ต้องรู้เท่าทัน แม้สิ่งที่ดีเกิดขึ้น ก็รู้ ก็วางเช่นเดียวกัน จะเป็นความดีขนาดไหน ธรรมะสูงส่งเช่นไร ก็ต้องรู้และก็วางเช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่วางสภาวะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ มันเป็นการยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เราสร้างอัตตา มานะ ตัวตน มากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ
มีบาลีบทหนึ่ง ตอนแรกอาตมาฟังบทนี้แล้วรู้สึก..อะไรมันจะว่างเปล่าขนาดนั้น..ไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่นได้เลยหรือ ท่านบอกว่า "สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ" ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็คือ "สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" แม้แต่สภาวธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เหมือนตอนแรกเราปฎิบัติธรรมไปนะ ต้องพยายามสร้างสติ สะสมสติ ให้เกิดคุณธรรม ให้เกิดธรรมะในจิตใจ แต่สุดท้ายท่านก็บอกว่า "สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ" ธรรมทั้งหลายทั้งปวง สิ่งทั้งหลายทั้งปวง จะเป็นความดีก็ตาม ความไม่ดีก็ตาม กิเลสก็ตาม กุศลก็ตาม ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นทั้งนั้น ดังนั้น เราปฎิบัติ แม้เบื้องต้นจะเกิดการสะสมสติ ฝึกฝนสติ ฝึกฝนธรรมะที่ดีให้งอกงามขึ้นในจิตใจ สะสมความรู้ สะสมปัญญาให้เจริญงอกงามขึ้น แต่ก็ต้องให้รู้ไว้ว่า เป้าหมายปลายทางต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่สะสมมาเช่นเดียวกัน
มันมีนะ มันมี แต่ไม่ยึดมั่น ตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เหมือนเรามีเงิน มีทอง มีทรัพย์สิน มีหน้าที่การงาน มีอะไรต่างๆ ถ้าเรามีอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น มันจะไม่ทุกข์ แต่ถ้ามีแล้วยึดมั่นถือมั่น หวงแหน กังวล มันก็ทุกข์แล้ว มีอะไรต่างๆ แม้จะดีขนาดไหน บางคนไม่มีเงินมีทอง เขาก็ทุกข์แบบคนไม่มีเงินมีทอง บางคนมีเงินมีทอง ก็หวง ก็แหน ก็กังวล ก็ทุกข์แบบคนมีเงินมีทอง ดังนั้น สิ่งที่เรามีอยู่แล้ว ก็ไม่ใช่ให้ปฎิเสธ ให้ละไป แต่ขอให้มีอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ทั้งสิ่งภายนอกก็ดี ทั้งสิ่งภายในใจก็ดี
มีแบบไหนถึงจะเรียกว่ามีอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็มีอย่างมีสติ มีปัญญา มีสติระลึกได้ว่า สภาวธรรมที่แท้จริงเป็นเพียงแค่ของชั่วคราวเท่านั้น จะเป็นรูป (Matter) ก็ดี เป็นนาม (Mind) ก็ดี เมื่อเราระลึกแบบนี้ได้บ่อยๆ ของต่างๆ เป็นของแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ในกายในใจของเราก็ยังเป็นของชั่วคราวขนาดนั้น ทรัพย์สินเงินทองสิ่งต่างๆ ภายนอกยิ่งเป็นของชั่วครั้งชั่วคราวเช่นเดียวกัน แม้มันจะดำรงอยู่กับเราในภพชาตินี้ก็ตาม แต่เมื่อพ้นภพชาตินี้ไปแล้ว ก็ไม่มีใครเอามันไปได้สักอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน
มันจะเห็นเลยว่า...มันจะมีสติ มีปัญญาในการเห็นความจริงนี้ การยึดมั่นถือมั่นก็น้อย ก็บาง จนกระทั่งมันไม่มีของมัน แต่มันจะมีสติปัญญาใช้สิ่งที่มีอย่างรู้คุณค่า ใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ มันเป็นเรื่องของสติ เรื่องของปัญญาทั้งนั้น เมื่อเรามีปัญญาในการเห็นตรงแล้ว ศีลก็จะเพิ่มพูนมากขึ้น ความตั้งใจมั่น จิตก็จะมีความสุข มีความสงบ มีปิติ มีอาการของอุเบกขาเกิดขึ้นตามมาเรื่อยๆ
สภาวะของจิตที่มั่นคง สภาวะของจิตที่เป็นอุเบกขาในการปล่อยวาง เกิดจากการที่เรามีปัญญาอย่างแท้จริง ถ้ามันไม่มีปัญญา มันไม่สามารถปล่อยวางได้ มันเป็นจิตที่ตั้งมั่นแต่ยังยึดมั่นถือมั่นอะไรอยู่ มันเป็นมิจฉาสมาธิ แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ เป็นสัมมาสติ มันจะมีสติ มีปัญญาในการเห็นความจริง มีปัญญาในการรู้ความจริง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ทำให้เกิดการไม่ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ต่างๆ ตรงนั้น
ที่จริงเรื่องอริยมรรคมีองค์ ๘ อาจจะแยกอธิบายได้ทีละข้อ แต่ที่จริงทุกข้อเกิดขึ้นรวมกัน พร้อมกัน เหมือนเมื่อเรากำมือ นิ้วทุกนิ้วก็ประสานรวมกันกลายเป็นกำปั้น ไปชกอะไร ไปต่อยอะไร ก็มีพลัง อันนี้ก็เหมือนกัน อริยมรรคมีองค์ ๘ ก็เหมือนทั้ง ๘ ประการมารวมกัน เพียงแค่สภาวะจุดใดจุดหนึ่ง ทุกครั้งที่มีสติ ทุกครั้งที่รู้สึกตัว ครบองค์ ๘ ประการเลยนะ อริยมรรคมันเจริญอยู่แล้ว เพียงแต่มันเจริญในขั้นที่เรียกว่า ถ้ามีการสะสมความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ หรือว่ามันเจริญถึงขั้นเกิดความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ เกิดการปล่อยวางแล้ว อันนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ขอให้พวกเราได้ลองใคร่ครวญ
ใคร่ครวญในที่นี้ไม่ใช่เป็นการคิด ใคร่ครวญในการที่จะลอง ลองทำดู ทำจนกระทั่งจิตมันค่อยๆ เห็นความจริงตรงนี้ ความจริงที่จริงๆ มันมีอยู่แล้ว มีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เป็นความจริงที่คนทั่วไปเหมือนคนตาบอด ไม่สามารถมองเห็นสิ่งภายนอก ว่ามีรูปธรรม มีรูปร่างเช่นไร ต่อเมื่อเราไปรักษาดวงตาให้หายบอด ให้มันสว่างไสวขึ้น เราจะเห็นว่า...อ้อ...ที่จริงสิ่งภายนอกมันเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ปุถุชนคนธรรมดาที่ไม่ได้ฝึกหัดจิตใจก็เช่นเดียวกัน เหมือนกับคนตาบอดที่มองไม่เห็นธรรมะ เพราะที่จริงธรรมะมันมีอยู่ทั้งรอบตัวและในตัวของเราอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าพอตาเราบอด มันไม่สามารถมองเห็นแสงสว่างแห่งปัญญาได้ มันก็เลยไม่เข้าใจธรรมะ ก็เลยมีชีวิตที่สุขทุกข์คละเคล้ากันไป ก็เลยทำให้เป็นเช่นนั้น
แต่จริงๆ พวกเราทุกคนไม่ถึงขั้นตาบอดหรอก แต่เพียงแต่ว่าเป็นคนชอบหลับตาเสียมากกว่า ไม่ค่อยชอบลืมตาในการมองความจริง ชอบที่จะปิดความจริงไว้ ชอบที่จะไปมองสิ่งที่เป็นทุกข์เสียมากกว่า เหมือนกับว่าถ้าเราหลับตา ก็ไม่เห็นความจริง ทั้งๆ ที่ความจริงภายนอกก็มีอยู่แล้ว
ดังนั้นการมาฝึกสติ มาเจริญปัญญาก็เป็นเพียงแค่การลืมตามามองดูโลกตามความเป็นจริง ให้เห็นดูซิว่าโลกใบนี้มันเป็นเช่นไร มันเป็นอย่างไร มันดำเนินออกไปแบบไหน ทางที่จะออกจากความทุกข์ก็คือเราลืมตาเห็นความจริง การที่เรามีสติคอยรู้ตัว ดูสภาวธรรมของรูปของนามนี้ตามความเป็นจริง เมื่อเราดูสภาวธรรมตามความเป็นจริง รับรองเลยว่าความรู้ความเข้าใจ ปัญญา มันจะพอกพูนขึ้นแน่นอน มันจะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันเห็นเลย รูปก็ดี นามก็ดี มันมีแต่กิเลสตัณหา (ความทะยานอยาก; Craving) มาหลอกมาล่อ มาครอบงำในรูปในนามนี้ แต่พอมีสติเห็น กิเลสตัณหาต่างๆ มันก็ตกไปเช่นเดียวกัน มันมีแต่สลับกันไป สลับกันมา เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้
มันจะตื่นเลยว่า ก่อนหน้านี้ ก่อนที่เราได้มาฝึกหัด มันมีแต่ความหลงมาครอบงำ ความหลงมันมาสารพัด มาหลายรูปแบบมาก แต่ตัวรู้นี่ นานๆ มาที แต่แม้นานๆ มาที มันก็สว่าง ไล่ความหลงทุกสิ่งทุกอย่างออกไปได้หมด เช่นเดียวกัน มันจะเห็นเลยว่า แรกๆ ความหลงก็มาแบบหยาบๆ มาหลอกมาล่อ ถ้าเราไม่มีสติปัญญา เราก็ตามไปกับมัน กับที่มันหยาบๆ เมื่อเรามีสติ มีปัญญามากขึ้น ที่หยาบๆ มาหลอกมาล่อให้เราหลงก็น้อยลง หรือกระทั่งหมดไป มันก็เอากิเลสตัณหาที่หน้าตาดีๆ มาล่อมาหลอกให้เราหลง บางคนก็ไปติดสิ่งที่ดี ก็ไปหลงกับมันอีก
อันที่จริงมันเป็นตัวดีในเบื้องต้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว มันเป็นตัวหลอกให้เราอยู่กับโลกนี้เช่นเดียวกัน มันก็ล่อ...สวรรค์บ้าง ล่อในการทำบุญ ทำความดี บางคนก็บ้าบุญ บางคนก็บ้าความดี บางคนก็ไปยึดมั่นสำคัญหมายแต่เรื่องดีๆ นี่ก็เป็นตัวล่อ เป็นตัวหลอกให้เราติดอยู่กับโลกใบนี้ ติดอยู่บนสวรรค์ก็ดี ก็หลงเช่นเดียวกัน ถ้ามีปัญญาก็จะเห็น...โอ้...ตัวนี้ก็เป็นตัวหลง เราก็จะถอนได้ แม้มีสิ่งที่ดีเกิดขึ้น ก็ไม่ไปติด แม้ทำดี ก็ไม่ติดดี ก็จะเห็น
จนถึงระดับหนึ่ง มันก็จะเอาตัวสิ่งไม่ดีมาล่อ เราไม่หลง สิ่งที่ดีมาล่อ เราไม่หลงอีกแล้ว มันก็เอาตัวความรู้ ตัวปัญญา ตัวความเข้าใจ ธรรมะนี่แหละ มาล่อให้เราคิด มาล่อให้เราใคร่ครวญ มาล่อให้เราหลงสำคัญผิดว่าเราเป็นผู้รู้ธรรมะแล้ว เข้าใจธรรมะแล้ว ใคร่ครวญแตกฉาน สนุกสนานในทางธรรมในทางปัญญา ก็มีเช่นเดียวกัน บางทีมันมาล่อให้กลายเป็นผู้รู้ธรรมะ ถ้าภาษาพระท่านเรียกว่าเป็นวิปัสสนู บางทีเป็นมากๆ ก็กลายเป็นวิปลาส สำคัญผิด ตัวนี้ก็เป็นตัวที่ทำให้เราหลงผิดจากการเดินทางสายกลางได้ทั้งนั้น
นี่เป็นสภาวธรรมที่ตัวล่อ ตัวหลอก ตัวหลงมีมากมาย พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าให้เรากลัว ให้เราตกใจนะ ให้เรารู้ไว้เบื้องต้นก่อนเฉยๆ แต่ถ้าเมื่อใดที่เรากลับมารู้สึกตัวได้ กลับมารู้สึกตัวได้ มันจะล่อ มันจะหลอก มันจะหลงขนาดไหนนะ มันก็อันตรธานหายไปเช่นเดียวกัน แม้มันจะกลับมาใหม่ เราก็พยายามสร้างฐานการรู้สึกตัวใหม่ กลับมามีสติใหม่ กลับมารู้สึกตัวใหม่ กลับมาอยู่กับปัจจุบัน ไม่ไปหลงอยู่กับอาการของความดี ของความรู้อะไรต่างๆ สติก็กลับมาตั้งมั่น เมื่อสติกลับมาตั้งมั่น ก็เหมือนกับเราเดินทางตรงนี้ไปเรื่อยๆ เรายังรู้ว่าจุดหมายปลายทางยังไม่ถึง ดังนั้นการจะไปพัก ไปติดกับสิ่งข้างทาง แม้จะเย้ายวน แม้จะดีงามขนาดไหน ก็ไม่สมควรพัก แต่มันรู้ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ มาเพื่อเป็นทางผ่านเท่านั้น ก็ผ่านมันไป ผ่านมันไป เดินไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ เดินไปมันก็จะสัมผัสความรู้ ความเข้าใจ ความสุข ความสงบ เข้ามาของมันเอง แม้ไม่ได้พัก แต่มันก็มีมาให้สัมผัสอยู่เช่นเดียวกัน ไม่ต้องกลัวว่ามันจะจืดชืด แห้งแล้ง ไม่มีทางแห้งแล้งหรอก
จะมีแต่แห้งแล้งจากกิเลส แต่ชุ่มฉ่ำด้วยธรรมะเข้ามาแทนที่เองของมันนะ อย่ากลัวว่าปฎิบัติธรรมแล้วจะอยู่กับโลกนี้อย่างซังกะตาย อย่างไม่มีความหมาย ไม่มีสาระ อย่างเป็นคนที่แตกต่างจากโลก ไม่ต้องกลัวขนาดนั้น ถ้าเรามีธรรมะนะ เราจะอยู่กับโลกนี้ได้อย่างมีชีวิตชีวาที่สุดเลย อยู่กับโลกนี้ได้อย่างผู้ที่มีความสุขในการอยู่กับโลกนี้มากที่สุดเลย
มันจะอยู่อย่างเห็นความจริง พอมันเห็นความจริงแล้วก็มันก็อยู่อย่างยอมรับความจริงได้ หัวเราะกับสภาวะอาการต่างๆ ที่มันเกิดกับโลกใบนี้ได้ หัวเราะกับสภาวะอาการต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นกับรูปกับนามนี้ได้ มันมีแต่เห็นความจริง มันก็หัวเราะความจริงที่มันปรากฎได้ มันมีความสุขในการที่ไม่ไปติด ไม่ไปยึด สำคัญหมายอะไรต่างๆ มันจะอยู่กับโลกนี้ได้อย่างเป็นผู้ที่มีความสุขที่สุด มีความสุขเพราะมันไม่ทุกข์ มีความสุขเพราะมันเห็นความจริงแล้ว
ไม่ต้องกลัวนะ บางทีกิเลสตัณหามันจะมาล่อให้เราไม่อยากจะออกจากโลกใบนี้ เอาแสงสีเสียง รูปรสกลิ่นเสียงอะไรต่างๆ เอาอารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์มาล่อให้เราหลง ถ้ามันเป็นเพียงแค่สภาวะอารมณ์ที่เป็นเพียงแต่ภายนอก เป็นเพียงแค่ของชั่วคราว อย่าไปยึดมั่นสำคัญหมายมันเลย เพราะว่ามรรคผลนิพพานมันบรมสุขยิ่งกว่านั้น มันเป็นหนทางที่ดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงยิ่งกว่านั้น
ให้เราได้พยายามทำความเพียร เรียนรู้ศึกษาตัวของเราเองนี่แหละเป็นหลัก ดูคนอื่นให้น้อยๆ วิพากษ์วิจารณ์คนอื่นให้น้อยๆ กลับมาวิพากษ์วิจารณ์แก้ไขที่ตัวของเราเอง มาศึกษาดูธรรมะตัวไหน อะไรที่ยังที่ยังติดขัดในจิตใจของตัวเองน่ะ มาแก้ไขที่ตัวของเราเองนะ คนที่ศึกษาธรรมะจะกลับมามองตนอยู่ตลอดเวลา มองตน สอนตน แก้ไขตน ตลอดเวลา
แต่ก็ไม่ใช่มองในฐานะที่มาตำหนิว่าตัวเองผิดพลาด ตัวเองไม่ดี อย่างไร แต่มองเพื่อแก้ไข ไม่ใช่มองเพื่อทำให้เกิดความทุกข์ร้อนภายในจิตใจ ตำหนิตัวเอง ไม่ใช่แบบนั้น ตำหนิเพื่อจะแก้ไข ไม่ใช่ตำหนิเพื่อจะเข้าใจ ต้องพัฒนาตนแบบนี้ถึงจะเป็นผู้ที่เรียกว่าสนใจธรรมะ ใฝ่หาธรรมะ เราก็จะมีธรรมะเกิดขึ้นในจิตใจ แต่เป็นธรรมะที่มีอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นการมีอย่างไม่เอา มีอย่างไม่เป็น รู้แล้วก็วาง รู้แล้วก็วาง มีแล้วก็วาง
สิ่งต่างๆ แบบนี้ มันเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ เพราะว่าธรรมะมันมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่ยอมรับ หรือว่าเราละเลยมันเฉยๆ นะ พยายามกลับมามีสติ สะสมสติไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสติมันเกิดกลายเป็นปัญญา (ปัญญาในการเห็นความจริง เข้าใจความจริง) ที่จริงมันก็ไม่ได้สุดแค่ปัญญา ปัญญาในการเห็นความจริง เข้าใจความจริง แต่จริงๆ เหนือปัญญามันคือความวิมุตติ วิมุตติก็คือหลุดพ้น ปล่อยวาง เมื่อมีปัญญานะ มันถึงเกิดเป็นความวิมุตติ กลายเป็นความหลุดพ้น มันเห็นแล้วมันถึงพ้น มันพ้นได้ มันพ้นได้
มันก็มีลำดับขั้นตอนของการปฎิบัติของมันอยู่ ซึ่งเราก็รู้ไว้โดยสภาวะคร่าวๆ แต่ในการเดินทางก็...ในการมีสติแต่ละครั้ง แต่ละครั้ง...รู้สึกตัวแต่ละครั้งนี่แหละเป็นการเดินทาง ซึ่งตรงตามทางอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างแน่นอน
ก็เรียกว่าให้อภัยตัวเองได้ หรือแม้แต่คนอื่น เห็นคนอื่นเค้าทำผิดกับเราเองก็ดี ทำผิดกับคนอื่นก็ดี ก็อโหสิกรรม ให้อภัยคนอื่นได้เช่นเดียวกัน มันรู้เลยว่า มันย้อนกลับไปเห็นว่า ที่จริงเราก็เคยหลง เคยทำผิดแบบนั้นมาเช่นเดียวกัน คนที่เขาทำผิดมันเกิดเพราะความไม่รู้ของเขา เกิดเพราะความหลงของเขา เกิดเพราะความยังไม่ได้ฝึกหัดจิตใจของเขานั่นเอง เมื่อเห็นเช่นนี้ จิตใจก็มีแต่เมตตา มีแต่ให้อภัย ไม่มีการพยาบาท จองเวร จองกรรม ว่าทำไมเขาทำแบบนั้น ทำไมเขาทำแบบนี้ ทำไมเขาเป็นคนไม่ดี เรื่องพวกนี้จิตใจจะปล่อยวางได้ง่าย แม้บางครั้ง แรกๆ อาจจะมีเรื่องพวกนี้แทรกเข้ามา แต่พอเมื่อมีสติรู้เท่าทัน มันจะตัดความคิดในทางพยาบาท ในทางเบียดเบียน ในการจองเวร จองกรรมกับคนอื่น เมื่อมันตัดออกไป จิตใจก็เหลือแต่ความเมตตากรุณา คิดอยากจะช่วยเหลือ อยากจะบอก อยากจะสอน อยากจะเป็นมิตรกับคนที่หลงผิดด้วยกันทั้งนั้น จิตใจจะค่อยๆ เข้าสู่..จากสภาวธรรมที่มีกิเลสครอบงำ...กลายเป็นสภาวธรรมที่มีแต่กุศลครอบครองจิตใจ
แต่บางที เมื่อมีแต่สิ่งที่ดีๆ เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่สิ่งที่ไม่ดีก็มี เราก็ต้องรู้เท่าทันสภาวะจิตใจที่เป็นฝ่ายกุศลเช่นเดียวกัน เพราะถ้าเราไม่รู้เท่าทันสภาวะจิตใจที่มีแต่สิ่งที่ดีเกิดขึ้น เป็นกุศล เป็นความคิดดีๆ เป็นอาการของจิตที่สงบ ที่เป็นปิติก็ดี ถ้าเราไม่รู้ทัน ก็จะหลงเข้าไปติด ไปยึด ไปยึดมั่นในความดี ในสิ่งดี ก็เป็นการหลงผิดเช่นเดียวกัน ดังนั้น บางช่วงที่มีอาการเช่นนี้ เราก็ต้องรู้เท่าทัน แม้สิ่งที่ดีเกิดขึ้น ก็รู้ ก็วางเช่นเดียวกัน จะเป็นความดีขนาดไหน ธรรมะสูงส่งเช่นไร ก็ต้องรู้และก็วางเช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่วางสภาวะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ มันเป็นการยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เราสร้างอัตตา มานะ ตัวตน มากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ
มีบาลีบทหนึ่ง ตอนแรกอาตมาฟังบทนี้แล้วรู้สึก..อะไรมันจะว่างเปล่าขนาดนั้น..ไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่นได้เลยหรือ ท่านบอกว่า "สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ" ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็คือ "สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" แม้แต่สภาวธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เหมือนตอนแรกเราปฎิบัติธรรมไปนะ ต้องพยายามสร้างสติ สะสมสติ ให้เกิดคุณธรรม ให้เกิดธรรมะในจิตใจ แต่สุดท้ายท่านก็บอกว่า "สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ" ธรรมทั้งหลายทั้งปวง สิ่งทั้งหลายทั้งปวง จะเป็นความดีก็ตาม ความไม่ดีก็ตาม กิเลสก็ตาม กุศลก็ตาม ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นทั้งนั้น ดังนั้น เราปฎิบัติ แม้เบื้องต้นจะเกิดการสะสมสติ ฝึกฝนสติ ฝึกฝนธรรมะที่ดีให้งอกงามขึ้นในจิตใจ สะสมความรู้ สะสมปัญญาให้เจริญงอกงามขึ้น แต่ก็ต้องให้รู้ไว้ว่า เป้าหมายปลายทางต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่สะสมมาเช่นเดียวกัน
มันมีนะ มันมี แต่ไม่ยึดมั่น ตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เหมือนเรามีเงิน มีทอง มีทรัพย์สิน มีหน้าที่การงาน มีอะไรต่างๆ ถ้าเรามีอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น มันจะไม่ทุกข์ แต่ถ้ามีแล้วยึดมั่นถือมั่น หวงแหน กังวล มันก็ทุกข์แล้ว มีอะไรต่างๆ แม้จะดีขนาดไหน บางคนไม่มีเงินมีทอง เขาก็ทุกข์แบบคนไม่มีเงินมีทอง บางคนมีเงินมีทอง ก็หวง ก็แหน ก็กังวล ก็ทุกข์แบบคนมีเงินมีทอง ดังนั้น สิ่งที่เรามีอยู่แล้ว ก็ไม่ใช่ให้ปฎิเสธ ให้ละไป แต่ขอให้มีอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ทั้งสิ่งภายนอกก็ดี ทั้งสิ่งภายในใจก็ดี
มีแบบไหนถึงจะเรียกว่ามีอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็มีอย่างมีสติ มีปัญญา มีสติระลึกได้ว่า สภาวธรรมที่แท้จริงเป็นเพียงแค่ของชั่วคราวเท่านั้น จะเป็นรูป (Matter) ก็ดี เป็นนาม (Mind) ก็ดี เมื่อเราระลึกแบบนี้ได้บ่อยๆ ของต่างๆ เป็นของแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ในกายในใจของเราก็ยังเป็นของชั่วคราวขนาดนั้น ทรัพย์สินเงินทองสิ่งต่างๆ ภายนอกยิ่งเป็นของชั่วครั้งชั่วคราวเช่นเดียวกัน แม้มันจะดำรงอยู่กับเราในภพชาตินี้ก็ตาม แต่เมื่อพ้นภพชาตินี้ไปแล้ว ก็ไม่มีใครเอามันไปได้สักอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน
มันจะเห็นเลยว่า...มันจะมีสติ มีปัญญาในการเห็นความจริงนี้ การยึดมั่นถือมั่นก็น้อย ก็บาง จนกระทั่งมันไม่มีของมัน แต่มันจะมีสติปัญญาใช้สิ่งที่มีอย่างรู้คุณค่า ใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ มันเป็นเรื่องของสติ เรื่องของปัญญาทั้งนั้น เมื่อเรามีปัญญาในการเห็นตรงแล้ว ศีลก็จะเพิ่มพูนมากขึ้น ความตั้งใจมั่น จิตก็จะมีความสุข มีความสงบ มีปิติ มีอาการของอุเบกขาเกิดขึ้นตามมาเรื่อยๆ
สภาวะของจิตที่มั่นคง สภาวะของจิตที่เป็นอุเบกขาในการปล่อยวาง เกิดจากการที่เรามีปัญญาอย่างแท้จริง ถ้ามันไม่มีปัญญา มันไม่สามารถปล่อยวางได้ มันเป็นจิตที่ตั้งมั่นแต่ยังยึดมั่นถือมั่นอะไรอยู่ มันเป็นมิจฉาสมาธิ แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ เป็นสัมมาสติ มันจะมีสติ มีปัญญาในการเห็นความจริง มีปัญญาในการรู้ความจริง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ทำให้เกิดการไม่ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ต่างๆ ตรงนั้น
ที่จริงเรื่องอริยมรรคมีองค์ ๘ อาจจะแยกอธิบายได้ทีละข้อ แต่ที่จริงทุกข้อเกิดขึ้นรวมกัน พร้อมกัน เหมือนเมื่อเรากำมือ นิ้วทุกนิ้วก็ประสานรวมกันกลายเป็นกำปั้น ไปชกอะไร ไปต่อยอะไร ก็มีพลัง อันนี้ก็เหมือนกัน อริยมรรคมีองค์ ๘ ก็เหมือนทั้ง ๘ ประการมารวมกัน เพียงแค่สภาวะจุดใดจุดหนึ่ง ทุกครั้งที่มีสติ ทุกครั้งที่รู้สึกตัว ครบองค์ ๘ ประการเลยนะ อริยมรรคมันเจริญอยู่แล้ว เพียงแต่มันเจริญในขั้นที่เรียกว่า ถ้ามีการสะสมความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ หรือว่ามันเจริญถึงขั้นเกิดความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ เกิดการปล่อยวางแล้ว อันนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ขอให้พวกเราได้ลองใคร่ครวญ
ใคร่ครวญในที่นี้ไม่ใช่เป็นการคิด ใคร่ครวญในการที่จะลอง ลองทำดู ทำจนกระทั่งจิตมันค่อยๆ เห็นความจริงตรงนี้ ความจริงที่จริงๆ มันมีอยู่แล้ว มีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เป็นความจริงที่คนทั่วไปเหมือนคนตาบอด ไม่สามารถมองเห็นสิ่งภายนอก ว่ามีรูปธรรม มีรูปร่างเช่นไร ต่อเมื่อเราไปรักษาดวงตาให้หายบอด ให้มันสว่างไสวขึ้น เราจะเห็นว่า...อ้อ...ที่จริงสิ่งภายนอกมันเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ปุถุชนคนธรรมดาที่ไม่ได้ฝึกหัดจิตใจก็เช่นเดียวกัน เหมือนกับคนตาบอดที่มองไม่เห็นธรรมะ เพราะที่จริงธรรมะมันมีอยู่ทั้งรอบตัวและในตัวของเราอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าพอตาเราบอด มันไม่สามารถมองเห็นแสงสว่างแห่งปัญญาได้ มันก็เลยไม่เข้าใจธรรมะ ก็เลยมีชีวิตที่สุขทุกข์คละเคล้ากันไป ก็เลยทำให้เป็นเช่นนั้น
แต่จริงๆ พวกเราทุกคนไม่ถึงขั้นตาบอดหรอก แต่เพียงแต่ว่าเป็นคนชอบหลับตาเสียมากกว่า ไม่ค่อยชอบลืมตาในการมองความจริง ชอบที่จะปิดความจริงไว้ ชอบที่จะไปมองสิ่งที่เป็นทุกข์เสียมากกว่า เหมือนกับว่าถ้าเราหลับตา ก็ไม่เห็นความจริง ทั้งๆ ที่ความจริงภายนอกก็มีอยู่แล้ว
ดังนั้นการมาฝึกสติ มาเจริญปัญญาก็เป็นเพียงแค่การลืมตามามองดูโลกตามความเป็นจริง ให้เห็นดูซิว่าโลกใบนี้มันเป็นเช่นไร มันเป็นอย่างไร มันดำเนินออกไปแบบไหน ทางที่จะออกจากความทุกข์ก็คือเราลืมตาเห็นความจริง การที่เรามีสติคอยรู้ตัว ดูสภาวธรรมของรูปของนามนี้ตามความเป็นจริง เมื่อเราดูสภาวธรรมตามความเป็นจริง รับรองเลยว่าความรู้ความเข้าใจ ปัญญา มันจะพอกพูนขึ้นแน่นอน มันจะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันเห็นเลย รูปก็ดี นามก็ดี มันมีแต่กิเลสตัณหา (ความทะยานอยาก; Craving) มาหลอกมาล่อ มาครอบงำในรูปในนามนี้ แต่พอมีสติเห็น กิเลสตัณหาต่างๆ มันก็ตกไปเช่นเดียวกัน มันมีแต่สลับกันไป สลับกันมา เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้
มันจะตื่นเลยว่า ก่อนหน้านี้ ก่อนที่เราได้มาฝึกหัด มันมีแต่ความหลงมาครอบงำ ความหลงมันมาสารพัด มาหลายรูปแบบมาก แต่ตัวรู้นี่ นานๆ มาที แต่แม้นานๆ มาที มันก็สว่าง ไล่ความหลงทุกสิ่งทุกอย่างออกไปได้หมด เช่นเดียวกัน มันจะเห็นเลยว่า แรกๆ ความหลงก็มาแบบหยาบๆ มาหลอกมาล่อ ถ้าเราไม่มีสติปัญญา เราก็ตามไปกับมัน กับที่มันหยาบๆ เมื่อเรามีสติ มีปัญญามากขึ้น ที่หยาบๆ มาหลอกมาล่อให้เราหลงก็น้อยลง หรือกระทั่งหมดไป มันก็เอากิเลสตัณหาที่หน้าตาดีๆ มาล่อมาหลอกให้เราหลง บางคนก็ไปติดสิ่งที่ดี ก็ไปหลงกับมันอีก
อันที่จริงมันเป็นตัวดีในเบื้องต้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว มันเป็นตัวหลอกให้เราอยู่กับโลกนี้เช่นเดียวกัน มันก็ล่อ...สวรรค์บ้าง ล่อในการทำบุญ ทำความดี บางคนก็บ้าบุญ บางคนก็บ้าความดี บางคนก็ไปยึดมั่นสำคัญหมายแต่เรื่องดีๆ นี่ก็เป็นตัวล่อ เป็นตัวหลอกให้เราติดอยู่กับโลกใบนี้ ติดอยู่บนสวรรค์ก็ดี ก็หลงเช่นเดียวกัน ถ้ามีปัญญาก็จะเห็น...โอ้...ตัวนี้ก็เป็นตัวหลง เราก็จะถอนได้ แม้มีสิ่งที่ดีเกิดขึ้น ก็ไม่ไปติด แม้ทำดี ก็ไม่ติดดี ก็จะเห็น
จนถึงระดับหนึ่ง มันก็จะเอาตัวสิ่งไม่ดีมาล่อ เราไม่หลง สิ่งที่ดีมาล่อ เราไม่หลงอีกแล้ว มันก็เอาตัวความรู้ ตัวปัญญา ตัวความเข้าใจ ธรรมะนี่แหละ มาล่อให้เราคิด มาล่อให้เราใคร่ครวญ มาล่อให้เราหลงสำคัญผิดว่าเราเป็นผู้รู้ธรรมะแล้ว เข้าใจธรรมะแล้ว ใคร่ครวญแตกฉาน สนุกสนานในทางธรรมในทางปัญญา ก็มีเช่นเดียวกัน บางทีมันมาล่อให้กลายเป็นผู้รู้ธรรมะ ถ้าภาษาพระท่านเรียกว่าเป็นวิปัสสนู บางทีเป็นมากๆ ก็กลายเป็นวิปลาส สำคัญผิด ตัวนี้ก็เป็นตัวที่ทำให้เราหลงผิดจากการเดินทางสายกลางได้ทั้งนั้น
นี่เป็นสภาวธรรมที่ตัวล่อ ตัวหลอก ตัวหลงมีมากมาย พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าให้เรากลัว ให้เราตกใจนะ ให้เรารู้ไว้เบื้องต้นก่อนเฉยๆ แต่ถ้าเมื่อใดที่เรากลับมารู้สึกตัวได้ กลับมารู้สึกตัวได้ มันจะล่อ มันจะหลอก มันจะหลงขนาดไหนนะ มันก็อันตรธานหายไปเช่นเดียวกัน แม้มันจะกลับมาใหม่ เราก็พยายามสร้างฐานการรู้สึกตัวใหม่ กลับมามีสติใหม่ กลับมารู้สึกตัวใหม่ กลับมาอยู่กับปัจจุบัน ไม่ไปหลงอยู่กับอาการของความดี ของความรู้อะไรต่างๆ สติก็กลับมาตั้งมั่น เมื่อสติกลับมาตั้งมั่น ก็เหมือนกับเราเดินทางตรงนี้ไปเรื่อยๆ เรายังรู้ว่าจุดหมายปลายทางยังไม่ถึง ดังนั้นการจะไปพัก ไปติดกับสิ่งข้างทาง แม้จะเย้ายวน แม้จะดีงามขนาดไหน ก็ไม่สมควรพัก แต่มันรู้ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ มาเพื่อเป็นทางผ่านเท่านั้น ก็ผ่านมันไป ผ่านมันไป เดินไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ เดินไปมันก็จะสัมผัสความรู้ ความเข้าใจ ความสุข ความสงบ เข้ามาของมันเอง แม้ไม่ได้พัก แต่มันก็มีมาให้สัมผัสอยู่เช่นเดียวกัน ไม่ต้องกลัวว่ามันจะจืดชืด แห้งแล้ง ไม่มีทางแห้งแล้งหรอก
จะมีแต่แห้งแล้งจากกิเลส แต่ชุ่มฉ่ำด้วยธรรมะเข้ามาแทนที่เองของมันนะ อย่ากลัวว่าปฎิบัติธรรมแล้วจะอยู่กับโลกนี้อย่างซังกะตาย อย่างไม่มีความหมาย ไม่มีสาระ อย่างเป็นคนที่แตกต่างจากโลก ไม่ต้องกลัวขนาดนั้น ถ้าเรามีธรรมะนะ เราจะอยู่กับโลกนี้ได้อย่างมีชีวิตชีวาที่สุดเลย อยู่กับโลกนี้ได้อย่างผู้ที่มีความสุขในการอยู่กับโลกนี้มากที่สุดเลย
มันจะอยู่อย่างเห็นความจริง พอมันเห็นความจริงแล้วก็มันก็อยู่อย่างยอมรับความจริงได้ หัวเราะกับสภาวะอาการต่างๆ ที่มันเกิดกับโลกใบนี้ได้ หัวเราะกับสภาวะอาการต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นกับรูปกับนามนี้ได้ มันมีแต่เห็นความจริง มันก็หัวเราะความจริงที่มันปรากฎได้ มันมีความสุขในการที่ไม่ไปติด ไม่ไปยึด สำคัญหมายอะไรต่างๆ มันจะอยู่กับโลกนี้ได้อย่างเป็นผู้ที่มีความสุขที่สุด มีความสุขเพราะมันไม่ทุกข์ มีความสุขเพราะมันเห็นความจริงแล้ว
ไม่ต้องกลัวนะ บางทีกิเลสตัณหามันจะมาล่อให้เราไม่อยากจะออกจากโลกใบนี้ เอาแสงสีเสียง รูปรสกลิ่นเสียงอะไรต่างๆ เอาอารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์มาล่อให้เราหลง ถ้ามันเป็นเพียงแค่สภาวะอารมณ์ที่เป็นเพียงแต่ภายนอก เป็นเพียงแค่ของชั่วคราว อย่าไปยึดมั่นสำคัญหมายมันเลย เพราะว่ามรรคผลนิพพานมันบรมสุขยิ่งกว่านั้น มันเป็นหนทางที่ดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงยิ่งกว่านั้น
ให้เราได้พยายามทำความเพียร เรียนรู้ศึกษาตัวของเราเองนี่แหละเป็นหลัก ดูคนอื่นให้น้อยๆ วิพากษ์วิจารณ์คนอื่นให้น้อยๆ กลับมาวิพากษ์วิจารณ์แก้ไขที่ตัวของเราเอง มาศึกษาดูธรรมะตัวไหน อะไรที่ยังที่ยังติดขัดในจิตใจของตัวเองน่ะ มาแก้ไขที่ตัวของเราเองนะ คนที่ศึกษาธรรมะจะกลับมามองตนอยู่ตลอดเวลา มองตน สอนตน แก้ไขตน ตลอดเวลา
แต่ก็ไม่ใช่มองในฐานะที่มาตำหนิว่าตัวเองผิดพลาด ตัวเองไม่ดี อย่างไร แต่มองเพื่อแก้ไข ไม่ใช่มองเพื่อทำให้เกิดความทุกข์ร้อนภายในจิตใจ ตำหนิตัวเอง ไม่ใช่แบบนั้น ตำหนิเพื่อจะแก้ไข ไม่ใช่ตำหนิเพื่อจะเข้าใจ ต้องพัฒนาตนแบบนี้ถึงจะเป็นผู้ที่เรียกว่าสนใจธรรมะ ใฝ่หาธรรมะ เราก็จะมีธรรมะเกิดขึ้นในจิตใจ แต่เป็นธรรมะที่มีอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นการมีอย่างไม่เอา มีอย่างไม่เป็น รู้แล้วก็วาง รู้แล้วก็วาง มีแล้วก็วาง
สิ่งต่างๆ แบบนี้ มันเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ เพราะว่าธรรมะมันมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่ยอมรับ หรือว่าเราละเลยมันเฉยๆ นะ พยายามกลับมามีสติ สะสมสติไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสติมันเกิดกลายเป็นปัญญา (ปัญญาในการเห็นความจริง เข้าใจความจริง) ที่จริงมันก็ไม่ได้สุดแค่ปัญญา ปัญญาในการเห็นความจริง เข้าใจความจริง แต่จริงๆ เหนือปัญญามันคือความวิมุตติ วิมุตติก็คือหลุดพ้น ปล่อยวาง เมื่อมีปัญญานะ มันถึงเกิดเป็นความวิมุตติ กลายเป็นความหลุดพ้น มันเห็นแล้วมันถึงพ้น มันพ้นได้ มันพ้นได้
มันก็มีลำดับขั้นตอนของการปฎิบัติของมันอยู่ ซึ่งเราก็รู้ไว้โดยสภาวะคร่าวๆ แต่ในการเดินทางก็...ในการมีสติแต่ละครั้ง แต่ละครั้ง...รู้สึกตัวแต่ละครั้งนี่แหละเป็นการเดินทาง ซึ่งตรงตามทางอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างแน่นอน
Comments