Holy Katmandu (1/4)

สีแดงเป็นสีที่คนเอามาบูชา
แล้วแต้มหน้าผากกลับไป
คิดเอาว่าคงมีคนอยากอ่านเรื่องที่ไปเที่ยวเนปาลมา  อันนี้เป็นรูปเท่าที่ได้ edit & comment

เราบินจากกรุงเทพมาถึงกาฎมัณฑุ (KTM) ใช้เวลา ๓.๕ ชม. ที่นี่เวลาช้ากว่ากรุงเทพ ๑ ชั่วโมง ๑๕ นาที เก๋ไม๊  ทำให้ได้ใช้สมองในการคำณวณเวลา

สนามบิน KTM เหมือนสนามบินที่พม่า  ย้อนยุคมากๆ ไม่มีแอร์ ไม่มีงวงช้าง เดินลงบันได  รถจากโรงแรมไปรับ  เราพักแถวๆ Thamel แหล่งที่คล้ายๆ ถนนข้าวสารที่กรุงเทพ แต่ใหญ่กว่ามาก และมีของที่ฉันสนใจขาย เช่น พวกอุปกรณ์เสื้อผ้า Hiking ทั้งของจริงและของปลอม  ฉันเฉยๆกับของที่ขายนักท่องเที่ยว เช่น ของที่ระลึก เสื้อยีด

Durbar square ก่อนฝนตก

เนื่องจากฉันเพิ่งไปอินเดียมา KTM ก็เลยไม่ทำให้ฉันแปลกใจ ทั้งความคับคั่งของคน ถนนที่ขรุขระเต็มไปด้วยฝุ่น การขากน้ำลายในที่สาธารณะ  แต่ที่แปลกใจคือความหลากชาติพันธุ์ของผู้คน มีทั้งแขก มีทั้งจีน มีทั้งแต่งส่าหรี แต่งชุดเนปาล แต่งสมัยใหม่  ที่ชอบอีกอย่างคือความไม่มี Starbucks, McDonald's, 7-11, ห้างสรรพสินค้า  ไม่มีก็ไม่ต้องหาซื้อ  ขนาดร้านอาหารยังไม่ค่อยมีเลย  มีร้านขายของว่าง เช่น แป้งทอด เกี๊ยวใส่แกง ไข่ตุ๋น ดูเหมือนคนท้องถิ่นจะกินข้าวที่บ้าน  ร้านอาหารไว้ขายนักท่องเที่ยว

Durbar square ส่วนที่เป็นตัวเมืองเก่าไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ จอแจคับคั่งมาก  เหมือนเป็นที่เอาไว้นั่งเล่นพักผ่อนด้วย แล้วก็มีตลาดนัดขายผัก ขายดอกไม้ด้วย คือ เหมือนใช้โบราณสถานคุ้มน่ะ  ไม่มีห้างก็มานั่งเล่นที่ใจกลางเมืองแทน  พบว่าสิ่งที่เค้าเรียกว่า Temple คือ ศาลาสองชั้นหลังคาสี่เหลี่ยม ที่เค้ามีรูปเทพฮินดูอยู่ข้างใน  เค้าจะเปิดตอนเช้าให้คนมาเซ่นไหว้  Hindu temples พวกนี้มีอยู่ทั่วตัวเมือง KTM

ร้านขายของที่ใช้พื้นที่คุ้มมากๆ
ที่นี่มีเทพฮินดู (ฮินดูก็คือพราหมณ์) เยอะมาก ที่แปลกสุดๆ คือ Kumari Devi ที่เป็นเด็กสาวที่คัดมาอย่างพิเศษ (ขั้นตอนการเลือกคล้ายๆ กับการเลือกพระลามะของ Tibet) ซึ่งจะ"ตกสวรรค์"เมื่อเธอประจำเดือนมาครั้งแรก  Kumari Devi มีความเป็นอยู่อย่างดี และมีหน้าที่ทำพิธีต่างๆ

ที่ KTM ไม่มีชื่อถนน ไม่มีบ้านเลขที่ๆ รันเลข  เค้าใช้ที่อยู่ตาม Neighborhood เช่น Thamel, Swayumphu, ก็มีแผนที่นะ แต่ไม่มีป้ายชื่อถนน ฉันใช้ปากถามเอา หรือเอามือชี้ให้อ่านที่อยู่ภาษาอังกฤษในกระดาษ  ข้อดีคือคนที่นี่ภาษาอังกฤษดีมาก ขนาดสามล้อยังพอฟังเรารู้เรื่องเลย และคนเนปาล super nice  ฉันชอบมาก นอกเหนือจากธรรมชาติที่เด็ดมากๆ แล้ว สมบัติประจำชาตินี้อีกอย่างคืออัธยาศัยใจคอของผู้คน...  คล้ายคนไทยตามต่างจังหวัดอย่างยิ่ง 

ประเทศเนปาลเต็มไปด้วยภูเขา  คนอยู่กันหนาแน่นบริเวณแอ่งภูเขา (Valley) โดย KTM อยู่ในส่วนที่เป็น Kathmandu valley ซึ่งมีเมืองใหญ่ ๓ เมือง คือ Kathmandu, Bhaktapur and Patan  ส่วนที่เป็นตัวเมืองเก่าจะเรียกว่า Durbar Square ทุกที่

อยากถ่ายชามใบไม้ แบบใช้แล้วทึ้ง

สิ่งที่ฉันชอบที่เนปาลคือภาชนะใช้แล้วทึ้งแบบย่อยสลายได้ คือ เค้าไม่ใช้จานชามโฟม แต่จะมีชามที่ทำจากใบไม้แห้งแทน  แปลกดี (มีขายเป็นแพ็คใหญ่ๆ ด้วย)  แล้วก็มีถ้วยดินสำหรับใส่เนย เอาไว้จุดบูชา

Lucky color ของที่นี่ คือ...unsurprisingly สีแดง... จะเห็นได้จากสีที่เค้าเลือกจิ้มบนหน้าผาก ที่เรียกว่า Tika.

ต่อตอนสอง

Comments