Reflections ของนิสิตที่ไปสลัมคลองเตย

นิสิตวิชา Communication and Leadership ได้ไปเล่นกับเด็กอนุบาลที่ศูนย์เด็กเล็กภายใต้การดูแลของ Mercy Center กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สอง โพสนี้รวบรวม Reflection บางอันของนิสิต เพื่อจะแชร์ให้พี่ตู่และ Mercy Center

ขอบคุณพี่ตู่ที่ช่วยประสาน ขอบคุณคุณครูจี๋และคุณครูท่านอื่นๆ ที่ช่วยดูแลพวกเรา ขอบคุณคณะวิศวะที่สนับสนุนรถตู้ค่ะ

Reflection ที่ 1

คลาสนี้เป็นคลาสที่ตื่นเต้นพอสมควรก่อนไป เพราะว่าจะได้เข้าไปในสลัมเป็นครั้งแรกในชีวิต ใจนึงก็ตื่นเต้น หวังว่าจะได้พบประสบการณ์ใหม่ๆได้สัมผัสผู้คนจากสถานที่ที่ดูภายนอกไม่น่าเข้าและไม่ควรสุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปด้วย แต่อีกใจก็แอบกลัวนิดๆกลัวโดนขโมยของอยู่เหมือนกัน

การเรียนรู้วันนี้เป็นการเรียนรู้นอกสถานที่ ได้เข้าไปสัมผัสใกล้ชิดผู้คนในสลัมจริงๆ ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณครู ซึ่งเป็นสิ่งที่ชอบมากๆ แต่สิ่งที่ไม่ชอบก็คือจังหวะที่เข้าไปตอนแรกๆแล้วไม่รู้จะทำกิจกรรมอะไร คิดว่าตัวพวกเรานิสิตเองควรจะตั้งใจและเตรียมตัวมาให้พร้อมกว่านี้ รู้สึกหงุดหงิดตัวเองเล็กน้อย

พอได้มีโอกาสเข้าไปในสลัมจริงๆ ไม่ใช่แค่ดูผ่านๆเวลานั่งรถผ่าน รู้สึกว่ามันแคบและอึดอัดแออัดกว่าที่คิดมากๆ บ้านบางหลังคือใหญ่เท่าห้องนอนผมเอง ผมเคยคิดว่าห้องนอนผมเล็กละนะ แค่ประมาณ 2x3 m ได้พบว่าเด็กในสลัมน่ารักมากๆ น่ารักกว่าที่คิดเยอะเลย ตอนแรกนึกว่าจะเป็นเด็กแก่นๆเกๆ แต่นี่คือน่ารักสดใส แถมบางคนมีเขินอายด้วย

คลาสครั้งนี้ได้แง่คิดได้มุมมองใหม่ๆมากมาย ได้เห็นสังคมอีกแบบนึง ถึงจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆที่ได้เข้าไปไม่กี่ชั่วโมง ได้คิดเลยว่าตัวผมเองมีโอกาสในชีวิตที่ดีกว่าใครหลายคน มีพ่อแม่ครอบครัวที่ดีขนาดไหนตอนที่มีผู้ปกครองของน้องคนนึงเดินเข้ามารับน้องกลับบ้าน ก็ได้เห็นเลยว่าการเลี้ยงดู มันแตกต่างจริงๆ ช่วงที่ได้มีโอกาสคุยและถามคุณครู ทำให้ได้รู้ว่าการดำเนินงานของศูนย์ที่ดูแลเด็กนี้เป็นอย่างไร รู้สึกหงุดหงิดเล็กน้อยตอนที่รู้ว่างบประมาณที่รัฐให้ในการดูแลเด็กเหล่านี้มันกระจ้อยร่อยขนาดไหน ได้คิดว่าการบริจาคเพื่อช่วยเหลือคนควรจะบริจาคเป็นสิ่งของมากกว่าเงิน รู้สึกว่ามันใส่ใจมากกว่า แล้วยิ่งบริจาคเป็นเงินมันก็ยิ่งเอื้อให้ทุจริตได้ง่ายๆ

ใช้ประสบการณ์ที่ได้ไปพบเจอในครั้งนี้ เป็นเครื่องเตือนใจและแรงผลักดันให้ตัวเองพยายามในการเรียนมากขึ้น การใช้ชีวิตเพราะผมมีโอกาสและโชคดีกว่าใครหลายคนมาก แต่ก่อนชอบคิดว่าผมเองโชคร้ายในหลายๆเรื่องแต่การได้มาในครั้งนี้ ทำให้ผมลดความคิดเรื่องนั้นไปได้มากเลย ผมจะเรียนและเติบโตขึ้นไปประสบความสำเร็จให้ได้ แล้วจะหาโอกาสหรือช่องทางที่จะกลับมาช่วยเหลือเด็กๆสังคมเหล่านี้ให้ได้บ้าง

Reflection ที่ 2

1.ความคาดหวังก่อนการเรียนรู้
คิดว่าการที่ไปศูนย์ดูแลเด็กที่สลัมคลองเตยน่าจะเป็นการบอกเราว่า เราโชคดีแค่ไหน ที่มีโอกาสที่ดีกว่าคนอื่นๆ มีความสุขและพอใจกับชีวิต ณ ตอนนี้ของตัวเองได้แล้ว

2.ประสบการณ์เรียนรู้
-เด็กเป็นผ้าขาวอย่างที่ใครๆเขาว่าไว้ เราเห็นเขาสนุกสนานที่ได้เล่น มีความสุข สิ่งรอบตัวอาจจะเปลี่ยนเขาได้แต่ถ้าเราให้ความใส่ใจดูแลที่ดีพอ เขาก็จะเป็นคนดีคนเก่งที่น่าภูมิใจ
-การทำเพื่อใครสักคน เราอาจจะไม่ได้รับสิ่งของหรือชื่อเสียงกลับมา อย่างครูที่ดูแลเด็กๆ เงินเดือนอาจไม่มากแล้วยังเหนื่อย แต่ว่าสัมผัสได้ถึงความสุขเมื่อเขาพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ รู้สึกชื่นชมครูมากๆเลย และทำให้รู้สึกดีว่า อย่างน้อยก็มีคนที่อยากจะช่วยเหลือคนอื่นๆอีกต่อไป
-สังคมไม่ได้มีแต่เรื่องไม่ดีด้านดีๆก็มีอยู่
-อยากเป็นคนที่ดีกว่านี้ อยากมีพลังมากกว่านี้ จะได้สามารถช่วยเหลือคนอื่นๆได้
-หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่คลองเตยนี้ทำหน้าที่ได้บกพร่อง เพราะจากสาเหตุใดนั้นคิดว่าน่าจะมาจากการไม่คุยกันระหว่างหน่วยงาน ไม่มีผู้รับผิดชอบที่แน่นอน และอาจจะขาดการวางแผนที่ดี

3.ความสัมพันธ์กับการเรียนรู้เดิม
ประสบการณ์เรียนรู้นี้มีส่วนที่เหมือนเดิมก็ตรงที่ว่าเรารู้สึกท้อแท้ ให้มองคนที่ลำบากกว่าเรา แต่พอได้มาเห็น ก็รู้สึกอย่างนั้น จริงๆ รู้สึกถูกกระตุ้นให้อยากก้าวไปข้างหน้าให้มากกว่านี้ และก็ทำให้เรารู้สึกขอบคุณตัวเอง คนรอบๆข้าง โอกาสหรือสิ่งต่างๆที่ทำให้เรามีวันนี้อยากจะใช้ให้คุ้มค่า
ได้ฟังที่ครูเล่าว่าก็มีลูกศิษย์จำครูได้ เรารู้สึกเลยว่าเขามีความสุข การที่เราได้ช่วยเหลือใครทำให้เรามีความสุข และยิ่งเมื่อเขาได้รับความช่วยเหลือจากเราไปแล้วเขาจำเราได้ เป็นเรื่องที่น่าประทับใจมาก

4. การเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
การอยู่กับเด็กๆตอนแรกก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าเขาต้องการอะไรหรือจะสื่อสารอะไรกับเรา แต่พอลองทำตามไปกับเด็กๆ คอยสังเกต ให้ความสนใจเขา ดูแลเขา การดูแลเด็กก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากมากเลย

5. การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตตนเอง
อยากปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นกว่านี้ อยากดีพอกว่านี้จะได้ไปช่วยเหลือคนอื่นๆได้ จะนำความรู้ที่ได้เรียนไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม อยากมีส่วนร่วมมากกว่านี้ มีความรู้สึกว่าจะไม่กลัวกับการที่เราจะแสดงความเห็นหรือจุดยืนของตัวเอง

6. การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อนที่ร่วมประสบการณ์เดียวกัน
เพื่อนๆก็มีความรู้สึกแบบเดียวกับเราก็คือตรงที่รู้สึกชื่นชมคนที่ดูแลคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศูนย์เด็กเล็กที่นี้ พวกเขาทำด้วยใจ ยอมเสียสละเวลา รู้สึกขอบคุณแทนเด็กๆเลยค่ะ

Reflection ที่ 3

1. ความคาดหวังก่อนการเรียนรู้
ตอนเเรกที่รู้ว่าจะได้ไปมูลนิธิเด็กที่คลองเตย ก็รู้สึกตื่นเต้นเพราะอยากไปมูลนิธิ หรือสถานเลี้ยงเด็กหรืออะไรเเบบนี้มานานเเล้ว เเต่ไม่มีโอกาส ไม่รู้จะไปยังไง ไปที่ไหน เเล้วไปเเล้วจะต้องทำอะไรบ้าง อยากเอาของไปแจก แต่ด้วยเงินเดือนจากพ่อแม่ตอนนี้ก็ไม่น่าจะพอซื้ออะไรเยอะแยะไปแจกได้😂 จะชวนเพื่อนไป ก็กลัวจะไปเก้ๆกังๆกัน ก็เลยไม่ได้ไปสักที ถ้าถามว่าทำไมถึงอยากไป ก็บอกไม่ค่อยถูกเหมือนกันค่ะ เเค่อยากจะรู้ว่าคำว่าขาดเเคลนนี่คือยังไง ด้อยโอกาสมันเป็นยังไง เเล้วมีอะไรที่เราพอจะช่วยได้มั้ย ซึ่งการได้ไปครั้งนี้ก็น่าจะได้อะไรกลับมาเเหละ อย่างน้อยก็ได้ไปที่ๆอยากไปสักที

2.ประสบการณ์เรียนรู้
พอได้ไปจริงๆ ก็ได้อะไรกลับมาจริงๆ เหมือนได้เห็นอีกมุมของกรุงเทพเลย เพราะมูลนิธิที่ไปอยู่ในสลัม บรรยากาศ สิ่งเเวดล้อมก็ต่างกับที่เคยเจอมาเเถวบ้านเเถวมอ เข้าใจคำว่าลำบาก คำว่าขาดโอกาสเลย ด้วยสิ่งเเวดล้อมที่เห็นเเบบนี้ทุกวัน คนที่นี้เค้าคงชิน เเละการจะออกจากสลัมไปหาที่เรียน หางานทำเค้าก็คงจะต้องพยายามมากๆเลย เหมือนเป็นที่ที่ถูกลืมของกรุงเทพยังไงก็ไม่รู้ เเล้วตอนที่ไปถึงพี่คนขับรถบอกว่าระวังนะ เเถวนี้ยาเยอะ5555ตอนนั้นคือเเบบอึ้งนิดๆ แบบเหมือนมาอยู่ในสถานที่น่ากลัวที่ไม่คุ้นเคยเลย (คิดในใจว่าวันนี้เค้าคงไม่มีใครส่งยาหรือมีอะไรเเปลกๆหรอกนะ) พอได้เข้าไปในมูลนิธิก็ไม่ได้ใหญ่มาก เเต่มีสนามเด็กเล่น มีบริเวณให้ได้ทำกิจกรรมเยอะอยู่ เเต่น่าเสียดายที่ตอนนั้นเด็กๆหลับ ก็เลยไม่ได้พบปะเด็ก เเต่พี่เค้าก็พาไปโรงเรียนอีกที่ ซึ่งก็ได้คุยกับครูที่สอนอยู่ที่นี่ ยิ่งได้พูดคุยยิ่งรู้สึกว่าครูสุดยอดมาก ยอมสละความสุขสบายส่วนตัวเพื่อนส่วนรวม ครูบอกว่าครูทำงานมา 40 ปีเเล้ว ก็ไม่ได้มีเงินเก็บ ไม่มีเงินส่งให้พ่อเเม่เลยเพราะให้เด็กๆหมด เงินสนับสนุนโรงเรียนก็ไม่ค่อยมี มิหน่ำซ้ำการท่าเรือก็จะมายึดที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ด้วย เหมือนหลายๆอย่างรุมล้อม จากที่เราเห็นภายนอกว่าเหมือนไม่มีปัญหาอะไร แค่สอนเด็ก เลี้ยงเด็กก็เเค่นั้น เเต่มันไม่ใช่เลย เพราะครูทุ่มเทมากๆใช้ใจล้วนๆ แบบนับถือมากๆ เพราะหากหนูเป็นครู หนูคงสู้ไม่ได้ขนาดนี้ หนูคงเหนือยคงท้อไปเเล้วเเหละ นับถือในหัวใจจริงๆ และอยากเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนที่ทำงานตรงนี้

3.ความสัมพันธ์กับการเรียนรู้เดิม
ตอนเเรกเคยคิดว่าสงสารคนที่ด้อยโอกาส เคยคิดว่าทำไมเราไม่มีโอกาสเท่าๆกันจะได้แฟร์ๆกันทุกคน เเต่พอได้เห็นน้องเค้า น้องเค้าก็มีความสุขกับชีวิตของเค้า เเละหนูคิดว่าน้องเค้าก็ไม่ได้รู้สึกว่าขาดอะไรด้วย บางทีเราเองเเหละที่ให้ค่ากับคำว่าโอกาสมากเกินไป เรามองเค้าว่าขาดโอกาสจนเค้ารับรู้ ซึมซับมันไปจน เค้าไม่มีโอกาสจริงๆ พี่ที่พาเดินไปโรงเรียนอีกที่ พี่เค้าเล่าว่าตอนเรียนจบเคยไปสมัครงาน เเต่ใครๆเค้าก็ไม่ค่อยรับเพราะรู้ว่าโตมาจากคลองเตย ไปทำงานที่นึงเจ้านายก็ไม่ไว้ใจ คอยจับผิดตลอดเวลา ก็เลยออกมาเเล้วมาทำงานมูลนิธิ ซึ่งทำมาจนถึงตอนนี้ประมาณ30ปีเเล้ว ซึ่งหนูคิดว่าจริงๆที่ใครๆพูดกันว่าด้อยโอกาส เพราะคนไม่ให้โอกาสกันมากกว่า

4.การเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
ได้รู้ว่า”ในความโชคร้าย ก็ยังมีความโชคดี” เด็กๆที่นั้นโชคดีที่ยังมีคนใส่ใจ คอยดูเเลอย่างใกล้ชิด ถึงเเม้ว่าพ่อเเม่เด็กๆเค้าจะไม่ค่อยมีเวลาเลี้ยงดูมากนัก เเต่คุณครูที่โรงเรียนก็เติมเต็มให้กับเด็ก มอบโอกาสที่เด็กๆอาจพลาดที่จะได้รับ และอีกมุมหนึ่งเด็กที่นั้นเค้าก็คงได้เรียนรู้อะไรที่เราไม่มีโอกาสได้เรียนรู้เหมือนกัน เด็กที่นั้นคงมีความมานะ มีความอดทนพยายามมากกว่าเด็กที่เรียกตัวเองว่ามีโอกาส เพราะคนที่มีโอกาสมักจะมองไม่เห็นโอกาสของตัวเอง อีกทั้งก็ไม่ได้พยายามอะไรมากเพราะคิดว่าเดี๋ยวโอกาสดีๆคงเข้ามาเเล้วสุดท้ายก็ไม่ได้ทำ หรือพยายามอะไรเลยก็ซึ่งถือเป็นความโชคร้ายหนึ่งของเค้าที่คิดเเละใช้วิตเเบบนั้น ฉะนั้นเเล้วทุกคนก็เหมือนกันๆนั้นเเหละ มีทั้งความโชคร้ายเเละความโชคดี ปนๆกัน อยู่ที่เราจะมองมุมไหนมากกว่า

5.การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตตนเอง
ได้มุมมองใหม่ๆไปใช้ในการใช้ชีวิต เรายังโชคดีกว่าหลายๆคนที่มีครอบครัว เพื่อนๆ สิ่งเเวดล้อมที่ดีกว่า เราจึงควรเอาโอกาสที่มากกว่าตรงนี้ผลักดันตัวเองให้มากกว่านี้ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆไม่มีความพยายามอะไรเลย รอคอยโอกาส ไม่พยายามมองหาโอกาส เหมือนรอให้คนอื่นมาป้อนอาหารทุกๆวันเเล้วไม่คิดจะหาอาหารเอง และอีกอย่างคือ”อุปสรรค มีไว้ให้ก้าวผ่าน” ถ้าเรามั่วเเต่ขี้ขลาด มั่วเเต่ท้อ สิ่งใหม่ๆ ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย เหมือนได้พลังกลับมาเพื่อใช้ชีวิตในทุกๆวันให้ดีค่ะ

6.การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อนที่มีประสบการณ์เดี๋ยวกัน
จากที่ได้คุยกับเพื่อนเเละฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆตอนก่อนกลับมอ ก็ได้ข้อคิดอะไรเยอะเหมือนกัน ที่เพื่อนบอกว่าเรายังดีที่ครบ32 เเละได้ใช้ชีวิตสะดวกสบายมาตั้งเเต่เด็ก ก็จริงที่พ่อเเม่เราก็พยายามไม่ให้เราขาด อยากได้อะไรพ่อเเม่ก็หาให้ หนูก็เลยรู้สึกว่าหนูโชคดี เเละเพื่อนอีกคนก็บอกว่าเรามักจะไม่พอใจในตัวเอง อยากได้อยากมีเหมือนคนนั้นคนนี้ จนสุดท้ายเราเองที่จะเป็นทุกข์ พอได้มาวันนี้ก็รู้สึกอีกว่าเราควรพอใจในตัวเราได้เเล้วเพราะนี่ก็ดีมากเเล้ว เเละสุดท้ายที่คิดเห็นเหมือนๆกันของเกือบทุกคนคือศรัทธาเเละนับถือคุณครู เเละทุกคนที่ร่วมมือร่วมใจสร้างมูลนิธินี้ขึ้นมา และทำให้เห็นว่าจริงๆแล้วคนไทยไม่เคยทิ้งกันเลย

ปล.เด็กที่นี่น่ารัก ไร้เดียงสามาก และอยากให้เป็นเเบบนี้ตลอดไป👍

Reflection ที่ 4

1. ความคาดหวังก่อนการเรียนรู้ - ก่อนจะได้ไปสลัมจริงๆ ภาพสลัมที่คิดอยู่ในหัวนั้นคือแย่กว่านี้ครับ แบบอยู่กันอัดๆ เหม็นๆ ผู้คนดูอดอยาก ติดยา ค้ายา เถื่อนๆ อะไรแบบนี้ เพราะไม่เคยไปมาก่อน เห็นแต่ในหนังไม่ก็ MV เพลง แต่พอได้ไปสัมผัสจริงๆ มันก็รู้สึกดีกว่าที่คิดหน่อย555 ละก็คาดหวังว่าจะได้ไปเห็นการใช้ชีวิตของเด็กๆ ที่นั่น อยากรู้ว่าพวกเขาจะโตมายังไงในสิ่งแวดล้อมแบบนั้น ได้รับการดูแลสนับสนุนดีพอมั้ย ละก็แอบคิดว่าเด็กๆที่นั้นจะดูเถื่อนกว่านี้5555

2. ประสบการณ์เรียนรู้ - หลังจากการได้มาสัมผัสสลัมครั้งแรก อย่างแรกที่รู้สึกเลยก็คือบ้านช่องดูแออัด เก่าๆ แต่ก็ดีกว่าที่คิดไว้ ผู้คนบางคนใช้ชีวิตอยู่ไม่ค่อยดีนัก ในใจก็คิดว่า เออ พวกเขาอยู่กันได้ยังไงนะ เรานอนไม่มีแอร์วันเดียวยังลำบากเลย หลังจากนั้นก็ได้เข้ามาที่โรงเรียนสอนเด็ก ได้เจอเด็กๆ ก็รู้สึกเอ็นดู บางคนก็ผิวขาว ดูไม่รู้ว่าเป็นเด็กสลัม พอได้ทำกิจกรรมกับเด็กๆ ก็รู้สึกสนุกดี เหมือนเรามาช่วยมอบความสุขเล็กๆ ให้เขา ถึงบางคนเขาจะดูเขินๆ ไม่ค่อยพูดจา ละจากการได้คุยกับครูใหญ่ ก็ทำให้รู้ว่า เออ เด็กพวกนี้ส่วนมากก็ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ จะเป็นตากับยายเลี้ยงดูซะส่วนใหญ่ เพราะพ่อต้องออกไปทำงานหาเงิน มันก็ทำให้รู้สึกสงสาร แบบ เออถึงเราจะไม่ได้เกิดมารวยแบบคนอื่น แต่คือยังโชคดีกว่าเด็กพวกนี้มากๆๆแล้ว มีพ่อแม่คอยดูแลตลอด มีบ้านดีๆอยู่ ได้เรียนหนังสือมาจนถึงมหาวิทยาลัย กลัวเด็กพวกนี้ที่พ่อแม่ไม่ได้ดูแลจะขาดความอบอุ่นละเป็นเด็กเกเร

ในโลกนี้ยังมีคนอีกมาก ที่ขาดโอกาส เลือกเกิดไม่ได้ ผมจึงรู้สึกว่าอยากให้มีกิจกรรมอะไรแบบนี้อีกเยอะๆ อยากให้คนในสังคมช่วยกันมอบโอกาสให้กับคนที่ไม่มีโอกาสบ้าง ไม่จำเป็นต้องแค่ครูที่ช่วยสอนเด็กๆสลัมเหล่านี้ แต่พวกเราทุกคนสามารถช่วยได้ อย่างเช่น มีกิจกรรมเข้ามาเล่นกับน้องๆ ช่วยบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ ถ้าเราได้ให้โอกาสดีๆกับเด็กเหล่านี้ ได้ให้การศึกษากับพวกเขา เมื่อโตขึ้นเขาจะได้เป็นคนดี มีการศึกษา ไม่ต้องมาค้ายา ติดยา หรือมีเรื่องลบๆ แบบที่คนคิดกัน ละมันก็ทำให้เรามองย้อนกลับมาที่ตัวเองว่า เรามีโอกาสดีกว่าคนอื่นตั้งเยอะ แล้วเราใช้โอกาสนั่นคุ้มแล้วหรอ? อะไรแบบนี้ ละก็ทำให้เราไม่อิจฉาคนที่มีเยอะกว่าเรา ควรพอใจในสิ่งที่มีอยู่แค่นี้ก็พอแล้ว แล้วก็ประทับใจกับคุณครูหรือเจ้าหน้าที่ทุกคนมากๆเลย งานแบบนี้ส่วนใหญ่น่าจะทำด้วยใจเพราะคงไม่ได้เงินเยอะหรอกอันนี้นับถือจริงๆครับ

3. ความสัมพันธ์กับการเรียนรู้เดิม - ทำให้มีความคิดด้านบวกมากขึ้น คือแบบ สงสารเด็กๆ หรือคนในสลัม จากปกติจะรู้สึกว่าสลัมคือถิ่นแย่ๆ พอได้มาเห็นผู้คนที่ลำบากกว่าเรามันทำให้รู้สึกหดหู่ สงสาร อยากให้คนในสลัมรุ่นหลังๆ พัฒนาตัวเอง คว้าโอกาสต่างๆ แล้วนำตัวเองและครอบครัวออกจากสลัม ไปมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้ได้

4. การเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น - คนเราเลือกเกิดไม่ได้ ถ้าเกิดมาดีก็ควรใช้โอกาสนั้นให้เป็นประโยชน์ ละก็ทำให้รู้สึกมีเมตตามากขึ้น สงสารคนที่เกิดมาด้อยกว่าเรา ถ้าทำงานมีเงินเดือนผมก็คงทำบุญหรือบริจาคไรซักอย่างแหละครับ 55555

5. การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน - เราควรมีเมตตากับผู้ที่ขาดโอกาส ช่วยเหลือเขาบ้างถ้าเราไม่ลำบาก ละตัวเราเองก็ควรจะตั้งใจเรียน เพราะมันเป็นสิ่งที่เด็กๆ ในสลัมหรือผู้ด้อยโอกาสไม่สามารถทำได้

6. การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อนที่ร่วมประสบการณ์เดียวกัน - เพื่อนๆทุกคนก็ประทับใจกับกิจกรรมนี้มาก ทุกคนดูรักและเอ็นดูเด็กๆ ละก็คิดเหมือนกันคือสงสาร อยากให้เด็กๆมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ใช่โตละเกเรติดยา ละทุกคนก็ดูรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้เตรียมกิจกรรมมาทำกับน้องหรือไม่ได้เตรียมของมาบริจาคให้

Reflection ที่ 5


1.ความคาดหวังก่อนการเรียนรู้ ตอนที่เรารู้ว่าเราต้องไปเยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภาพในหัวที่เราจินตนาการออกมาค่อนข้างแย่ ไปถึงแย่มาก เพราะเรามีแต่ภาพจำที่สุดกู่ ส่วนตัวไม่ค่อยอยากเข้าร่วมเท่าไหร่ เพราะกลัวจะหดหู่ แต่ไหนๆก็ไหนแล้ว ก็ต้องไปให้เห็นถึงความเป็นจริงๆ ไม่ใช่มีแค่ภาพจำที่ไม่ได้เห็นกับตาตัวเอง คิดว่าเราคงได้แง่คิดมุมมองใหม่ๆกลับมาบ้าง

2.ประสบการณ์เรียนรู้ กิจกรรมที่ได้ทำในครั้งนี้ simple มากๆ ก็คือการไปดูว่าน้องๆเขาอยู่กันยังไง มีกิจกรรมให้ทำร่วมกับน้องบ้าง ให้เราได้ใกล้ชิดกับน้อง ได้สัมผัสถึงความเป็นอยู่ของเขา เราได้เรียนรู้ถึงความเป็นอยู่ที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเคยจินตนาการไว้อย่างสิ้นเชิง มันไม่ได้แย่ขนาดนั้น แต่มันก็ไม่ได้ดีขนาดนั้นเช่นกัน เรารู้สึกไม่โอเคกับสิ่งที่ทุกคนกำลังใช้ชีวิตอยู่ เรารู้สึกว่าทุกคนสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านี้ได้ ถ้าได้รับการใส่ใจจากสังคม

3.ความสัมพันธ์กับการเรียนรู้เดิม ก่อนหน้าที่เราจะไป เราจินตนาการไว้แย่มากๆ แต่หลังจากที่เราได้ไปมา มันแตกต่างจากที่เราคิดไว้มากๆ ภาพที่เราได้จินตนาการไว้มันเชื่อมโยงไปยังเรื่องราวที่เราเคยได้รับผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งสื่อเหล่านี้มักจะนำเสนอเรื่องราวที่สุดโต่ง ทำให้เราติดภาพจำแบบนั้นมา เรายอมรับว่าความเป็นอยู่ของเขาดีกว่าที่เราคิดไว้ แต่มันยังไม่ดีพอสำหรับเรา เรารู้สึกว่าน้องทุกคนและคุณครูทุกท่านมีศักยภาพที่จะไปได้ไกลกว่านี้ได้ ยิ่งน้องๆที่อยู่ในศูนย์มีอายุ 2-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กจะมีพัฒนาการสูงสุด ถ้าน้องได้รับโอกาสที่เหมาะสม ถ้าสังคมหยิบยื่นโอกาสต่างๆให้มากกว่านี้ ถ้าสังคมตอบสนองต่อความเป็นอยู่ของเขาว่ามันกำลังแย่ หรืออย่างน้อยๆ ถ้างบประมาณที่ได้รับมาเพียงพอต่อความเป็นอยู่ เราจะได้เยาวชนที่มีศักยภาพ สามารถเติบโตขึ้นมาในสังคม ไม่แน่สักวันหนึ่งอาจจะเป็นคนที่ขับเคลื่อนประเทศให้ไปได้ไกลกว่านี้ก็ได้ แต่กลับปล่อยผ่าน ทั้งๆที่สถานที่เหล่านี้ก็อยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ความช่วยเหลือต่างๆยิ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย เราสามารถพัฒนาชุมชนนี้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านี้ได้ แต่เรากลับไม่ทำ มันกำลังสะท้อนถึงอะไรบางอย่างรึเปล่า

4.การเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น เราได้รับรู้ถึงสถานการณ์ความเป็นอยู่ของเขา เราได้รับรู้ถึงความชุ่ยของหน่วยงานเจ้าของที่ดินที่ปล่อยพื้นที่ ไม่ยอมดูแลมาหลายปี จนสุดท้ายก็ต้องมานั่งไล่ที่คืน ต้องเสียเงินทุนสร้างอาคารชุดเพื่อรองรับคนในชุมชนที่ตัวเองจะไล่ที่คืน ทั้งๆที่พื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง สามารถสร้างมูลค่าได้มหาศาลแต่กลับละเลยจนสุดท้ายต้องมารับผิดชอบในสิ่งที่ไม่จำเป็นอย่างยิ่ง เราได้รับรู้ถึงความไม่เป็นระบบของหน่วยงาน การไม่ติดต่อข้อมูลกัน ทำให้ผู้คนสามารถจดทะเบียนบ้านได้บนที่ดินที่ไม่ใช่ของตัวเอง เวลาที่เสียไปในการรื้อถอนกว่า 10 ปี สามารถคิดเป็นมูลค่าเงินที่สูญเสียไปได้มากขนาดไหน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความไม่เป็นระบบของหน่วยงานรัฐ คิดแต่ระยะสั้นไม่เคยมองระยะยาว จนสุดท้ายต้องสูญเสียโอกาสในการทำกำไรซึ่งมีมูลค่ามหาศาล ถ้าเราเป็นหน่วยงานนั้น เราคงไม่ปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น

5.การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตตนเอง ตอนนี้เรามีโอกาสได้เรียนวิชา Industrial Management ในตัวรายวิชามีการกล่าวถึง Third Sector หรือก็คือองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เรามีความสนใจงานด้านนี้ตั้งแต่ก่อนเข้ามาเรียนที่นี่อยู่แล้ว ซึ่งในที่นี้ก็คือ Mercy Centre องค์กรที่ให้การอุปถัมภ์กับโรงเรียนกว่า 22 โรงเรียน เรารู้สึกชื่นชมบุคลากรทุกคนที่ทำงานที่นี่ ถือว่าเป็นหนึ่งในงานที่เราอยากทำเลยล่ะ เพราะเรามีความตั้งใจว่าเราอยากทำอะไรเพื่อสังคมสักอย่าง เราหวังว่าในอนาคต เราจะมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับองค์กรประเภทนี้บ้าง และอีกอย่างหนึ่ง เราสามารถใช้เป็นตัว reference ของสิ่งที่เรียนมาในวิชา Industrial Safety ได้ก็คือทฤษฎีของมาสโลว์ คือการที่มนุษย์จะคำนึงถึงความปลอดภัยได้ เราต้องมีปัจจัย 4 ก่อน ตราบใดมนุษย์ยังรู้สึกว่ายังมีความต้องการเหล่านั้นอยู่ ความปลอดภัยจะไม่ถูกคำนึงถึง ยิ่งเราได้เห็นสภาพแวดล้อมของชุมชนที่นั่น เรายิ่งเห็นได้ชัดถึงทฤษฎีนี้ เพราะความปลอดภัยในชุมชนนั้นแทบไม่ถูกคำนึงถึง ระหว่างทางกลับ เราคิดมาตลอดทางว่าเราจะสามารถพัฒนาชุมชนนี้ได้ยังไง เรามองว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ตราบใดที่เรายังมีโครงสร้างแบบนี้อยู่ คงเป็นการยากที่จะพัฒนาต่อไปได้ ทำได้แค่แก้ปัญหาที่ปลายน้ำไปเรื่อยๆแค่นั้น

6.การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อนที่ร่วมประสบการณ์เดียวกัน เรามีโอกาสได้คุยกับเพื่อนบางคน บางคนรู้สึกดีที่น้องๆได้รับโอกาสจากองค์กรที่รับอุปถัมภ์ บางคนมองว่ามันก็ดีกว่าที่เคยคิดไว้มากๆแล้ว มันไม่ได้แย่ขนาดนั้น ก็รู้สึกดีแล้วที่ความเป็นจริงมันไม่เหมือนกับภาพที่จินตนาการ
สุดท้ายนี้เราขอฝากไว้ว่า การทำเพื่อสังคมมันไม่ยาก แค่เราไม่ได้ใส่ใจจะทำมัน ขอบคุณอาจารย์จุฑา Juta Pichitlamken สำหรับประสบการณ์ครั้งนี้มากๆครับ ผมจะไม่ลืมความรู้สึกนี้เลย

Reflection ที่ 6

1.ความคาดหวังก่อนการเรียนรู้: ตอนแรกก็ลังเลที่จะไปเพราะเป็นคนที่ไม่ชอบเด็กอยู่แล้วส่วนหนึ่ง แล้วก็อยู่ที่สลัมอีก ก็เลยรู้สึกมีมุมมองที่ติดลบอยู่หน่อยๆ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจที่จะไปเพราะคิดว่าไปกันหลายคนคงไม่น่ากลัวหรอก แล้วอีกอย่างเราจะได้ไปลองเห็นเด็กๆที่ไม่ได้อยู่กับพ่อกับแม่ว่าเค้ามีชีวิตเป็นยังไง ที่เข้าใจในตอนแรกคือเป็นพวกเด็กๆกำพร้า แล้วก็อยากไปลองทำกิจกรรมกับเด็กๆดูว่าเราจะทำไงให้เค้าสนุกที่ได้เล่นกับเรา ภาพในหัวคือ เราไปตักอาหารกลางวันให้เด็กๆมีเกมมีกิจกรรมให้เล่นกับเด็ก มีแจกรางวัล แจกขนมเล็กๆน้อยๆ ก็คิดไว้ว่าเราอาจจะชอบเด็กๆมากขึ้นจากการไปครั้งนี้

2.ประสบการณ์เรียนรู้: เริ่มแรกก่อนที่รถจะออกอาจารย์ก็ได้พูดประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับสถานที่ๆเรากำลังจะไปซึ่งก็คิดว่าทำไมมันเป็นสลัมที่ใหญ่จัง มีโรงเรียนมีถนนขนาดนี้ คงไม่ใช่สลัมแล้วมั้ง แล้วก็สงสัยอีกสร้างโรงเรียนลงทุนขนาดนี้แต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดินเค้าไม่กลัวลงทุนเสียเปล่าเหรอ ไม่กลัวโดนยึดที่เหรอ ทำผิดกฎหมายแล้วไม่โดนจับเหรอ แต่พอได้ไปถึงก็รู้สึกว่ามันเป็นสถานที่ๆเค้าใช้ชีวิตอยู่กันมานานแล้ว ก็สมควรที่จะเป็นที่ทำมาหากิน ที่อยู่อาศัยของเค้า(ในความคิดหนู) พอไปถึงศูนย์เด็กเล็กใหญ่ ก็รู้สึกว่ามันก็ดูดีกว่าในหัวที่คิดไว้ พี่ๆก็ได้ให้การต้อนรับอย่างดี มีน้ำให้ดื่ม ซึ่งก็รู้สึกเหมือนไปแล้วรบกวนพี่เค้าส่วนหนึ่ง พี่เค้าได้แนะนำประวัติของมูลนิธิให้ฟังก็รู้สึกว่า บาทหลวงคนนี้เป็นคนที่อุทิศตนช่วยเหลือสังคมเป็นอย่างมาก รู้สึกว่าเด็กๆโชคดีที่มีเค้าคอยช่วยเหลือสนับสนุน เพราะการทำประโยชน์ไม่จำเป็นต้องทำอะไรที่เกี่ยวกับเด็กก็ได้ มีตั้งหลายอย่างที่ให้ทำ

หลังจากนั้นก็ได้ไปศูนย์เลี้ยงเด็กย่อย ซึ่งตอนเดินเข้าไปก็รู้สึกเป็นภาพสลัมอย่างที่คิดไว้ มีความน่ากลัวนิดหน่อย พอไปถึงเด็กก็เพิ่งตื่นนอน ลืมตาแป๋วๆใสๆ ครูก็ได้เรียกปลุกเด็กซึ่งเด็กๆทุกคนดูรู้หน้าที่ เก็บที่นอนเอง ไปหาครูเพื่อปะแป้งมัดผม รู้สึกชื่นชมที่เด็กอายุแค่นี้ทำอะไรเองได้ นึกถึงตัวเองตอนนั้นคงเป็นพี่เลี้ยงที่เก็บที่นอน หลังจากนั้นก็ได้ทำกิจกรรมกับเด็กๆโดยการจับมือกันเป็นวงกลมแล้วเล่นเกมปะแป้ง หนูมีการแกล้งน้องไม่ยอมยื่นแป้งให้น้องก็ร้องแย่งเอาไปก็สนุกดีค่ะ มีโดนน้องปะแป้งด้วย ตอนโดนน้องปะแป้งรู้สึกเหมือนเราเป็นพี่โตที่เสียสละยอมให้น้องแกล้งคืนค่ะ หลังจากนั้นก็เล่นอีมอญซ่อนผ้ากัน ก็เกินสงสัยว่าเพลงที่ร้องไม่เหมือนกัน แต่พอช่วงหลังก็ร้องเป็นเวอร์ชั่นที่หนูเคยได้ยิน ตอนที่น้องจะมาเอาตุ๊กตาไว้ข้างหลังหนู หนูรู้สึกน้องคงมีความกลัวไม่กล้าที่จะวางไว้ แต่พอน้องได้วางหนูก็รู้สึกว่าน้องเค้ายอมกล้าเปิดใจที่จะเล่นที่จะรู้จักกับหนูส่วนหนึ่ง หนูก็เลยแกล้งแพ้ยอมให้น้องชนะเพื่อที่จะได้ให้น้องรู้สึกชนะสนุกไปกับเกม(ความจริงคือหนูวิ่งไม่ทันน้องค่ะ5555) หลังจากนั้นก็เต้นแล้วหยุดแข็งกับที่ รู้สึกน้องมีความกล้าแสดงออกมากค่ะ คิดถึงสภาพตัวเองตอนนั้นคงไม่เต้นไม่กล้าพูดกับพี่ๆแน่ๆ แต่ก็มีน้องบางคนยังกลัวๆไม่กล้าอยู่ หนูคิดว่าถ้ามาบ่อยๆน้องคงจะเคยชิน กล้ามากขึ้นค่ะ

หลังจากนั้นก็ได้พูดคุยกับครูที่ดูแลน้อง รู้สึกชื่นชมครูมากๆที่ยอมอุทิศตัวเองช่วยสอน ดูแลเด็กๆทั้งที่ความจริงไม่ต้องทำก็ได้ ได้รู้ว่าเด็กแต่ละคนที่มานี้เพราะอะไร ได้รู้วิธีการสอนการแบ่งกลุ่มเด็ก ฟังแล้วรู้สึกว่าสงสารเด็กที่เลือกเกิดไม่ได้ แต่เค้าก็ต้องสู้ในการใช้ชีวิตต่อไป ได้ยินว่าเด็กบางคนเดินกลับบ้านเอง ก็รู้สึกอึ้งไปหน่อยๆ อายุแค่เนี่ยเดินกลับบ้านเองแล้ว รู้สึกไม่ปลอดภัยแทนน้องเค้าค่ะ แล้วก็ชื่นชมน้องที่เก่งมากๆ ช่วงปล่อยเด็กกลับบ้าน มีผู้ปกครองคนหนึ่งมารับลูกแล้วเหมือนพูดคุยกับครูว่า “เดินมารับไม่ไหว ปล่อยให้มันกลับเอง” เค้าดูพูดโหดร้ายเกินไปสำหรับเด็กอายุแค่นี้ ถ้าไม่พร้อมจะดูแลลูกก็ควรป้องกันไม่ให้เด็กเกิดมาสิ นี้อะไร ลูกตัวเองทั้งคนนะ รู้สึกสงสารน้องแทนค่ะ(แต่หนูก็ไม่รู้เบื่องหลังของเรื่องนี้หนูก็ยังไม่ตัดสินใจค่ะ) หลังจากนั้นได้กลับไปศูนย์ใหญ่ ได้พูดคุยบอกความรู้สึก หนูรู้สึกโชคดีมากๆที่ตัวเองเกิดมาแล้วมีแค่นี้ รู้สึกพอใจในชีวิตตัวเองมากขึ้น รู้สึกชื่นชมขอบคุณครูทุกคนที่ดูแลเด็กๆ เห็นตอนที่เพื่อนๆพูดความรู้สึกกันครูเค้าแอบมีน้ำตาซึมๆก็เกือบร้องไห้ตามเลยค่ะ ชอบคำพูดที่ครูพูดประมาณว่า”ครูมีหน้าที่คอยสอนเด็กไม่ว่าเด็กจะดีจะร้ายยังไงเราก็ยังต้องคอนสอนเด็กเค้าให้เป็นคนดี” หลังจากกลับหนูก็รู้สึกว่าหนูชอบเด็กมากขึ้นมั้งคะ เพราะเด็กที่นี้ไม่ร้องไห้งอแง

3.ความสัมพันธ์กับความรู้เดิม:ภาพเด็กๆที่เห็นหนูรู้สึกแตกต่างจากที่คิดไว้ หนูคิดไว้ว่าเด็กๆที่นี้น่าจะเหมือนกับโรงเรียนอนุบาลเนอสเซอรี่ ที่มีพี่เลี้ยงครูคอยดูแลช่วยเหลือทุกอย่าง ตามใจเด็ก แต่ที่มาเห็นนี้คือเด็กทำอะไรด้วยตัวเองเป็น เรียนรู้ไวกว่าที่คิด กล้าแสดงออกมากๆ เป็นมิตร ไม่กลัวคนแปลกหน้า

4.การเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น:
- ชีวิตของเด็กๆทุกคนที่เกิดมาล้วนเลือกเกิดไม่ได้ แต่เมื่อเค้าเกิดมาแล้วเราก็ควรที่จะรักและดูแลเค้าให้มีสภาพชีวิตที่ดีเท่าที่จะสามารถดูแลเค้าได้ ควรมีความรับผิดชอบ ไม่ใช่ทิ้งขว้างปล่อยปะละเลยเค้า
- รู้สึกพอใจในชีวิตของตนเองมากขึ้น รู้สึกโชคดีที่ทีครอบครัวที่ดีเลี้ยงดู ส่งเสียเราเรียนมาจนถึงวันนี้ได้
- ยังมีคนดีๆอีกมากที่ยอมอุทิศตนช่วยเหลือสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน

5.การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตตนเอง:
- เปลี่ยนมุมมองการมองเด็กใหม่ อย่ามองว่าเด็กทุกคนจะร้องไห้เสียงดังน่ารำคาญเสมอไป ยังมีเด็กๆที่น่ารักเชื่อฟังอยู่บ้าง
- หากเรากินดีอยู่ดีมีสุขแล้ว เราก็ควรที่จะช่วยเหลือแบ่งปันให้กับผู้ที่ขาดเหลือบ้าง เพื่อให้เค้าได้มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยตามกำลังที่เราจะมีไม่ทำให้เราเดือดร้อน
- ไม่เปรียบเทียบตนเองกับผู้ที่เหนือกว่าเรา แล้วเราพยายามดิ้นรนอยากเป็นอย่างเค้า เพราะจะทำให้เราเครียด เป็นทุกข์ที่เราไม่มี ไม่ได้เป็นอย่างที่อยากเป็น เพราะมีคนที่ลำบากกว่าเราตั้งมากมาย
- หากจะมีลูก เราต้องคิดต้องวางแผนก่อนว่าเราพร้อมที่จะมีเค้ามั้ย พร้อมที่จะดูแล เลี้ยงดูให้ชีวิตเค้ากินดีอยู่ดีมีสุขมั้ย ไม่ต้องทำให้เค้ามาทุกข์ยากลำบากหากเราไม่พร้อมจะเลี้ยงดูเค้า

6.การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อนที่ร่วมประสบการณ์เดียวกัน: จากที่ได้ทำกิจกรรมเล่นกับเด็กร่วมกัน ก็รู้สึกว่าเพื่อนมีความรักและเอ็นดูเด็กมาก เอ็กกับจิวพูดคุยกับหนูก่อนมาเจอเด็กๆว่าเค้ากลัวว่าจะต้องรู้สึกหดหู่กับเด็กๆ ตอนแรกหนูก็ไม่ได้คิดอะไร เพราะไม่ใช่เรื่องของตัวเอง แต่พอมาเห็นก็รู้สึกสงสารเด็กน้อยที่ต้องเจออะไรแบบนี้ แต่ในชีวิตน้องเค้าก็มีเรื่องดีๆเกิดขึ้น มีศูนย์เด็กเล็กที่คอยสอนคอยดูแลให้เด็กได้มีความรู้ ตอนก่อนกลับที่เพื่อนๆได้บอกความรู้สึกเพื่อนๆหลานคนก็ได้รู้สึกเป็นเสียงเดียวกันว่าขอบคุณครูทุกคนที่ยอมมาทำอะไรแบบนี้

7.ข้อเสนอแนะ:
- อยากมีเวลาเล่นกับเด็กๆมากกว่านี
- อยากได้ลองสอนหนังสือให้กับเด็กๆ
- อยากลองให้มาทำกิจกรรมทั้งวันดูจะได้รู้ได้เห็นชีวิตของเด็กในระหว่างอยู่ที่โรงเรียน น่าจะรู้สึกผูกพันกับน้องมากกว่านี้ แต่ก็อาจจะมีบางคนที่ชอบและไม่ชอบ

Reflection ที่ 7

1. ความคาดหวังก่อนการเรียนรู้ (คิดอย่างไร คาดหวังอะไร)
ตอนที่รู้ว่าต้องออกไปที่มูลนิธิ หนูก็รู้สึกเฉยๆนะคะ เพราะหนูคิดว่าเราคงไปจัดกิจกรรมอะไรสักอย่าง อาจจะสอนหนังสือ หรือจัดเกมให้น้องเหมือนการเข้าไปทำจิตอาสาในมูลนิธิที่เห็นตามในทีวี หนูเลยหวังแค่ว่าจะทำให้น้องๆสนุกไปกับหนูให้เต็มที่ค่ะ แต่พอรู้ว่าต้องไปสลัมคลองเตย หนูก็กลัวๆ เพราะภาพสลัมคลองเตยที่หนูรู้จากหนัง จากข่าว มันก็มีแต่ความน่ากลัว เช่น คนในสลัมต้องพูดโวยวายใส่กัน พอไม่พอใจก็ยิงกันเลย แล้วยังมีเรื่องค้ายาอีก หนูก็เลยกังวลหน่อยๆ แต่หนูก็คิดว่าอาจารย์คงไม่พาเราไปเสี่ยงอันตรายหรอก ความกังวลก็เลยลดลงค่ะ

2. ประสบการณ์เรียนรู้ (เรียนรู้อะไร อย่างไร ชอบ ไม่ชอบ)
จากการไปมูลนิธิครั้งนี้ เราได้ฟังคุณครูเล่าประวัติคร่าวๆของที่นี่ มันทำให้หนูรูัจัก mercy center มากขึ้น ว่าเขาช่วยเหลือสังคมยังไง ต้องแบกรับภาระอะไรบ้าง นอกจากนั้นยังได้พูดคุยกับครูว่าเขาต้องทำงานอะไรบ้าง ต้องดูแลเด็กยังไง พวกเขาต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจขนาดไหน ยิ่งคุยก็ยิ่งได้แรงบันดาลใจค่ะ หนูได้คุยกับคุณครูท่านนึง เขาทำงานตรงนี้มากว่า 40 ปีแต่แทบไม่มีเงินส่งให้ทางบ้านหรือเงินเก็บเลย เพราะครูเอาเงินมาช่วยเด็กเกือบหมด หนูนับถือใจครูมากเลยค่ะที่เสียสละมากขนาดนี้ หนูจำคำพูดครูได้คำนึงว่า "การที่เราทำให้เด็กได้ดีแค่หนึ่งคน เท่ากับครูประสบความสำเร็จแล้ว" หนูว่าครูที่นี่มีความเป็นครูโดยจิตวิญญาณเลยค่ะ

หลังจากที่คุยกับครูเสร็จ น้องๆก็ตื่นพอดี คุณครูก็เลยให้พวกเราเต้นกับน้อง 2 เพลงค่ะ น้องๆเต้นเก่งมาก โดยเฉพาะน้องผู้หญิงคนกลางแถวหน้าสุดเต้นเก่งสุดๆ ปกติหนูไม่ชอบการเต้นเลย จะเรียกว่าเกลียดก็ได้ เพราะหนูไม่ถนัดเต้นเท่าการแก้สมการค่ะ แต่ตอนหนูเต้นกับน้องๆหนูสนุกมากทั้งๆที่มีผู้ปกครองยืนดูเต็มไปหมด แต่หนูก็ไม่ได้รู้สึกอึดอัดเลยสักนิด หนูว่าหนูหลงรักที่นี่แล้วแหละค่ะอาจารย์

3. ความสัมพันธ์กับการเรียนรู้เดิม
ก่อนหน้านี้หนูแทบจะไม่เชื่อว่ามันจะมีมูลนิธิที่ทำเพื่อคนอื่นโดยไม่หวังอะไร แต่พอมาเจอมูลนิธินี้ก็ทำให้หนูรู้ว่า จริงๆคนเรามีมุมที่สวยงามมากๆอยู่ คือ การที่เราหยิบยื่นความช่วยเหลือให้คนอื่นเท่าที่เราช่วยได้ มันก็ทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้นแล้วค่ะ อีกอย่างเมื่อก่อนหนูมองว่าสลัมมีแต่คนไม่ดี ทำไมไม่ยุบทิ้งไปปัญหาจะได้จบๆ แต่เอาจริงๆปัญหาที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่สลัมแต่มันอยู่ที่ความคิดเรา เพราะคนในสลัมเขาก็เป็นคนเหมือนกับเรา พวกเขาก็พยายามพัฒนาคนในชุมชนให้ดีขึ้นเท่าที่เขาจะทำได้

4. การเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
มุมมองที่หนูมีต่อสลัมคลองเตยมันเปลี่ยนไปค่ะ เมื่อก่อนหนูไม่ชอบสลัมเลยทั้งๆที่หนูไม่เคยมาแม้แต่ครั้งเดียวนะคะ แต่พอหนูได้ลองเดินในชุมชน หนูก็ไม่อยากให้ที่นี่หายไปเลย หนูว่ามันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจนเหมือนชุมชนธรรมดาแถมคนในชุมชนยังรู้จักกันและคอยช่วยเหลือกันด้วย จริงๆหนูคิดว่าหนูรู้จักตัวเองดีนะคะ หนูพูดกับคนอื่นเสมอว่าหนูจะไม่ตัดสินใครจากคำพูดที่คนอื่นเล่า แต่หนูจะตัดสินคนๆนั้นด้วยสิ่งที่หนูได้สัมผัสเอง แต่หนูกลับตัดสินสลัมแห่งนี้จากสื่อต่างๆ หนูเลยคิดว่าต่อไปต้องมีสติมากๆ ต้องรู้จักยับยั้งความคิดไม่ให้โอนเอนไปตามสิ่งที่คนอื่นพูด

5. การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตตนเอง
ในอนาคตหนูจะทำงานหาเงินให้ได้เยอะๆ หนูจะได้ช่วยเหลือคนอื่นได้ หนูได้ยินมาเยอะว่าเงินไม่ใช่ทุกอย่าง แต่การแก้ปัญหาบางอย่างก็ต้องใช้เงินเป็นปัจจัยหลัก และหนูจะทำให้คนอื่นเปลี่ยนแปลงความคิดที่มีต่อสลัมคลองเตย เพราะหนูอยากเห็นเด็กที่เกิดมาในสลัมได้รับโอกาสจากสังคมเหมือนเด็กทั่วๆไปค่ะ

6. การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อนที่ร่วมประสบการณ์เดียวกัน
หนูได้รู้จักเพื่อนมากขึ้นค่ะ คือเมื่อก่อนหนูคิดว่าพวกผู้ชายไม่ค่อยคิดอะไร ไม่ค่อยแคร์ใคร คือไม่สนใจว่าสิ่งรอบข้างจะเป็นยังไง แต่พอได้ฟังที่เพื่อนคุยกันตอนระหว่างเดินไปศูนย์ก็ทำให้เรารู้ว่าจริงๆ พวกเขาก็แคร์คนอื่นในแบบของพวกเขา แต่เป็นในแบบที่เราไม่คุ้นชินเท่านั้นเอง

Reflection ที่ 8


1. การคาดหวังก่อนการเรียนรู้ สลัมคลองเตย เป็นสถานที่ตัวผมเคยไปมาก่อน ตอนที่ลูกพี่ลูกน้องของผมได้ไปจัดกิจกรรมให้ความรู้กับเด็กที่นั้น ผมได้มีโอกาสเป็นสตาฟให้งานครั้งนั้น ได้เจอกับเด็กๆ ที่ไม่ค่อยมีมารยาท ไม่รักสะอาด ไม่เหมือนกับเด็กทั่วๆไป ที่น่า เอ็นดู(?) ตอนก่อนไปก็ทำใจเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่อย่างน้อยๆก็ถือได้ออกไปนอกสถานที่กับเพื่อนๆ ได้ออกไปสร้างความทรงจำ

2. ประสบการณ์ที่ได้รับ พอถึงสถานที่แล้ว ผม ได้รับรู้ถึงอีกมุมของน้องๆ ถึงจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เด็กที่ใช้ชีวิตที่นั้น ถ้าตัดเรื่องสภาพแวดล้อมไปแล้ว พวกเขาก็คือเด็ก ที่เหมือนกับเรา น้องๆทุกคนมีอารมณ์สนุก ขี้อาย บางคนกล้าแสดงออก น้องๆทุกคนน่ารัก น่ารักจนผมอยากได้เป็นน้องชาย ไม่ใช่555555555555555 พอได้เห็นช่วงเวลาที่น้องยิ้มๆ มันลบภาพแย่ๆในสลัมออกไปหมดเลย
3.) ความสัมพันธ์กับการเรียนรู้เดิม ผมทราบมาแต่แรกว่า สลัม เป็นสถานที่มั่วสุม เป็นซ่องโจรบ้าง บางครั้ง ติดยา ไม่มีอนาคต ไม่มีการศึกษา บลาๆๆ และในวันนี้ ผมได้มาเจอกับน้องๆกลุ่มนี้ จากอาจารย์ประจำโรงเรียนอนุบาล ได้บอกว่าเด็กหลายๆคนโตไปก็มีติดยาบ้าง มันเป็นอะไรที่น่าเศร้ามาก เพราะตอนนี้น้องๆเขายังบริสุทธิ์เหลือเกิน พวกเขาน่ารักเอ็นดูถึงเพียงนี้ พวกเขาสามารถเป็นผู้ใหญ่ที่่ดีได้ เพียงแค่ขาดการชี้นำที่ดี และอาจจะเกิดจากครอบครัวที่พ่อแม่ไม่โอเคเท่าไร พวกน้องๆสมควรที่จะได้รับโอกาสดีๆ มันเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ถ้ามีการสนับสนุนให้ความรู้กับเด็กๆกลุ่มนี้ วันนี้ผมได้มาเห็นความน่ารักของน้องๆด้วยตัวเอง มันยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่าเด็กกลุ่มนี้สมควรได้รับการสนับสนุนจริงๆ และรู้สึกอยากตบกบาลตัวเอง ที่มีโอกาสในการเรียนเพรียบพร้อมขนาดนี้ ยังจะไม่รักตัวเอง ไม่เรียนหนังสืออีก
4.) การเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า ผมไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับ เด็กในวัยประมาณนี้มาก่อน ผมไม่รู้จะเข้าหาพวกเขาอย่างไร ผมอายที่จะต้องทำตัวเป็นพี่ชายที่แสนดีให้กับพวกเขา ผมไม่มั่นใจว่าผมเองจะสร้างความสนุกให้กับพวกเขาได้ไหม ผมไม่มั่นใจในความเป็นพี่ให้กับใครสักคน ผมไม่รู้จะชวนคุยแล้วน้องๆสนใจจะฟังไหม และในตอนแรกที่เดินทางถึงสถานที่ ตัวของผมเองก็ยังไม่กล้าที่จะชวนน้องๆคุยเลยด้วยซ้ำ และคนอื่นๆก็เป็นแบบนั้นเหมือนกับผมเหมือนกัน ทั้ง โม่ ต้า ปอม พี่อั๋น ภูมิ เตย บลาๆๆ ทำให้ในตอนแรกบรรยากาศมันค่อนข้างอึดอัดสุดๆ XD แต่ในนั้น จิว(หญิง) เป็นคนแรก ที่ชวนน้องๆคุย เล่นกับน้องๆ

**[ขอนอกเรื่องนิดนึงครับ อย่าหาว่าผมนอกประเด็น :( :( ผมได้เขียนเรื่องนี้ในไดอารี่ของผมว่า ผมได้เจอกับคนที่ผมประทับใจในตัวของเขาในคาบเรียนของอาจารย์หลายคน ผมประทับใจเคี้ยง ในความเป็นผู้ใหญ่ ประทับใจความเก่งของภูมิ ชอบความเป็นกันเองของเอ็ม จากการได้สัมผัสคนกลุ่มนี้ มันได้สร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้กับผมจริงๆ และอีกคนๆนึงที่ผมประทับใจในตัวเขามากๆคือ จิว.ใช่ครับ ผมประทับใจในตัวเอง :D /// จิวญ. เป็นคนที่วางตัวได้ดีมาก ทุกการแสดงออกของเขา มันดู สง่า ในทุกๆชั่วโมงคลาสของอาจารย์ ช่วงเวลา check in/out ผมได้มองไปทั่วทั้งคลาส จิวแทบจะเป็นคนเดียวที่ตั้งใจฟังเรื่องที่เพื่อนๆพูด และทำท่าทางให้ความสนใจกับเรื่องที่ถูกเล่า ในตอนที่อาจารย์อธิบาย หรือจะเป็นช่วงบรรยายของพี่ๆก็เหมือนกัน จิวเป็นคนที่ทำอะไรเต็มที่กับทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไร เขาสนุกกับทุกเรื่องที่ต้องทำ ทำด้วยรอยยิ้มเสมอ ทำให้คนรอบข้างไม่อึดอัด รวมถึงทำให้อาจารย์,พี่ๆที่มอบกิจกรรมให้ทำ รู้สึกเหมือนได้รับการตอบสนองจากกิจกรรมที่ให้ไป มันเป็นความมีเสน่ห์ประเภทนึง ผมมองว่า นี้เป็นสิ่งที่ผมไม่ค่อยมีในตัวผมเองเท่าไร เวลาที่ผมต้องฝืนใจทำสิ่งที่ผมไม่ชอบทำ หรือไม่อยากทำ ผมไม่สามารถจะฝืนใจทำมันให้ออกมาดีได้ ผมมักจะแสดงออกถึงอาการที่ไม่เต็มใจทำ ไม่รู้จริงๆว่ามันทำให้คนอื่นรู้สึกอึดอัดด้วยไหม]**

(ต่อ) เด็กที่นั้น เสื้อผ้าของน้องๆเก่า ไม่ค่อยสะอาด ในตอนแรกที่เห็นน้องๆ เราน่าจะรู้สึกไม่อยากเข้าหาพวกเขาเท่าไร แต่จิว ได้เริ่มเข้าไปหาน้องๆเลย ไปพูดคุย ไปเล่น ทำให้น้องๆเขายิ้มได้ โดยไม่มีท่าทางรังเกียจเลย มันเป็นภาพที่ดีงามมาก ยิ่งทำให้ผมประทับใจในตัวของจิว และทำให้ผมโคตรอายตัวผมเอง จากนั้น มันทำให้ผมเริ่มที่จะคุยกับน้องๆ พยายามเล่นกับพวกเขา พยายามเต้น พยายามเล่นเกมกับน้องๆ ถึงจะเกร็งๆในตอนแรกแต่หลังๆ ผมคิดว่าผมทำมันดีขึ้นนะ ผมสามารถทำให้น้องๆหัวเราะได้ มันทำให้ผมรู้สึกว่า บางครั้งการให้ความสุขกับใครสักคน มันไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย จากนี้ไป ผมจะหัดเรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กมากขึ้น และหัดจะเป็นคนที่ทำให้คนรอบข้างรู้สึกไม่อึดอัดเวลาอยู่ด้วยแบบจิว ,พระเจ้า ห้องเรียนวิชานี้มันเปลี่ยนชีวิตผมไปเยอะมากจริงๆนะ ไม่ใช่แค่เรื่องเรียนที่ใช้หัว แต่เป็นเรื่องของหัวใจด้วย แบบที่อาจารย์บอกไว้ในคาบแรกเลย

5. การนำไปใข้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ผมเพิ่งจะคิดได้ว่าทักษะในการเข้าหากับเด็ก มันก็สำคัญในขีวิต ไม่ได้พูดถึงว่าผมจะต้องมีลูก และต้องเลี้ยงเขาตอนเป็นเด็ก อะไรบลาๆนะ  แต่ในการเจอเด็กๆมันเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว เด็กๆเขาเป็นวัยที่ไม่ได้คิดอะไรซับซ้อนมากขนาดนั้น แค่เราจริงใจกับเขา พยายามจะเล่นกับเขา แค่นี้มันก็สื่อไปถึงใจของพวกเขาแล้ว

6. การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อนที่ได้รับประสบการณ์ร่วมกัน ในตอนที่ให้ทุกคนพูดความรู้สึกของตัวเองในวันนั้น ส่วนใหญ่ พูดไปในทำนองเดียวกันว่า รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสในการมอบความสุขให้กับน้องๆ ซึ่งตัวผมเองก็รู้สึกแบบนั้น จริงๆนะ จากหัวใจเลย รู้สึกดีมากๆ ผมเห็นบอสเอามือถือมาถ่ายน้องๆโบกมือลาพวกเราก่อนกลับ เป็นภาพที่สวยมากกกกก

Comments