การแจกแจงความน่าจะเป็นที่คุณค้นพบเอง

ที่มา อ.ดร. รัชนิกร ชลไชยะ และ ผศ.ดร. นุชรินทร์ ทิพยวรรณากร ภาควิชาสถิติประยุกต์ มจพ.

เขียนเพื่อกันลืม

Probability distributions มีหลายอัน เช่น Normal distribution, Binomial distribution เพื่อจำลองค่าที่ไม่แน่นอน เด็กจำไม่ค่อยได้ว่าอันไหนใช้เมื่อไหร่ จำเพื่อสอบและลืมทันทีหลังสอบเสร็จ ชั้นอยากหาวิธีสอนที่ไม่ใช่การเล็กเชอร์ให้ฟัง ซึ่งน่าเบื่อทั้งสำหรับคนสอนและคนเรียน

ขั้นตอนที่นางทำมีดังนี้

  1. แบ่งกลุ่มย่อย 4-5 คน
  2. แจกแผ่นโจทย์ โดยที่ทั้งแผ่น มีการแจกแจงเดียวกัน มี 4-5 ข้อต่อแผ่น
  3. ให้เด็กช่วยกันหาว่าโจทย์พวกนี้มีคีย์เวิร์ดอะไร มีคุณลักษณะอะไรที่บ่งบอกว่าน่าจะมาจาก Distribution ที่เลือกมา และชื่อของ Distribution นี้ พารามิเตอร์ของมัน ใช้อินเตอร์เน็ตได้  
    • ถ้าเชื่อว่า มี dist เดียวกัน ให้หา keyword ที่ทุกโจทย์มีร่วมกัน ว่าคืออะไร
    • แต่ถ้าเชื่อว่า ต่าง dist กันให้ หา keyword ของแต่ละโจทย์ แล้วลองดูว่า อะไรที่ต่างกัน อะไรที่เหมือนกัน
    • การวาดระบาย ช่วยปลดปล่อยเด็กๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมกัน แม้บางคนจะคิดได้ช้ากว่า การได้พินิจผลงานทำให้เค้ารู้สึกเข้าใจ เป็นเรื่องเดียวกัน
  4. นศ.นำเสนอ Distributions and keywords ให้เพื่อนฟัง สอนเพื่อนว่าดูยังไงว่าเคสไหนใช้ Distribution ไหน วาดรูปได้ ใช้ฟลิปชาร์ต
  5. อาจารย์เติมเนื้อหาที่ขาด แก้ไขหากนศ.สอนไม่ถูก
  6. ทำแบบนี้จนครบทุก Distributions
  7. อาจารย์เช็คว่านศ.เข้าใจหรือไม่ โดยใช้ Quiz
Note จากอ.นุชรินทร์: เวลา present อาจจะไม่คุมมากนัก แต่ เวลาในการค้นหากว่าจะสรุปได้ จะตีกรอบไว้กว้างๆ ก่อน แต่ถ้ากลุ่มไหนดูจะช้า จะเนียนๆ เข้าไปแอบไกด์ เพื่อจะคุมเวลา แต่จะไม่ทำให้เค้ารู้สึกว่าถูกตีกรอบ เพราะจะไม่ผ่อนคลาย เหมือนถูกเร่ง

Comments

Unknown said…
อยากให้เครดิต ผู้ร่วมออกแบบอีกท่านคือ
อ.ดร.รัชนิกร ชลไชยะ
สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
Unknown said…
ขอให้เครดิต ผู้ออกแบบห้องเรียนร่วมกันอีกท่าน คือ
อ.ดร.รัชนิกร ชลไชยะ
สาขาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์
ม.ราชภัฏสวนสุนันทา