ขยายขอบความเป็นไปได้

ปีแรกที่ฉันไปม.เถื่อนที่มะขามป้อม เป็นงานแจมคล้ายๆ Conference คือมี Talks และมี Workshops หลากหลายสาขาวิชา เช่น การแสดง NGOs อาจารย์ Freelancers นักเขียน ช่วงอายุก็กว้างมากๆ ตั้งแต่เด็กสิบกว่าขวบจนถึงหกสิบ

ชื่ออย่างเป็นทางการคือสัมมนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง...

Workshops ตอนบ่ายเป็น Parallel workshop ที่เราเลือกว่าจะเข้าอันไหน วันแรก ฉันไปเรียนเขียนกับอ.ต้น อนุสรณ์ ติปยานนท์ วันที่สองไปเรียนออกเสียงกับครูโอ๋ จากนิเทศ จุฬาฯ และวันที่สามไปเรียนการทำวิจัยชาวบ้านกับอ.วรรณดี ซึ่งมาจากคณะศิกษาศาสตร์ ม.เกษตรนี่เอง

ช่วง Talks ชอบแทบทุกอัน ได้ความรู้ ได้แรงบันดาลใจ ไม่มีงานอะไรที่เล็กถ้าเราทำด้วยใจ กระทั่งของเล่นก็เป็นการเรียนรู้ การทำกาแฟของอาข่าอามาขยายไปถึงการเก็บสายพันธุ์เอง ฉันชอบที่นุ้ย (School of Changemakers) บอกว่าแอ๊กชั่นไม่สำคัญเท่า Change ประเทศนี้มีการกระทำเยอะแต่ความเปลี่ยนแปลงน้อย

คนเล็กๆ เช่น คุณคำ ที่เป็นชาวเชาเผ่าดาราอั้งหรือปะหล่อง ไปเรียนหนังสือจนอ่านกฎหมายได้  อันวาร์และภรรยามาเล่าให้ฟังถึงความรุนแรงในปัตตานี

ภิญโญพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำ ซึ่งฉันไม่ได้รู้สึกแปลกใหม่ ส่วนที่ใหม่คือความคล้ายของการเมืองไทยและการเมืองอเมริกา

โตมรท้าทายให้เรากลับมาถามตัวเองว่าอะไรจริง อะไรสมมติ ชอบเรื่องเรือของเธเซอุสมาก พอฉันเตือนตัวเองเรื่องเซลล์ในตัวฉันเปลี่ยนใหม่ยกชุดทุกๆ ๗ ปี พบว่าฉันยิดมั่นในตัวเองน้อยลง เราไม่มีอยู่จริง  เรื่อง Chinese room ก็ชอบ การที่นิสิตคายคำตอบที่จำมาจากอาจารย์เป๊ะๆ แล้วทำข้อสอบได้ แปลว่าเค้าเข้าใจเรื่องที่เรียนไหม

นึกถึงที่ Carl Jung บอกว่า Paradox เป็นสิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์

เห็นด้วยกับอ.นิธิทุกประการ เรื่องอนาคตมหาวิทยาลัย ว่าถ้าจะยังคง relevant ต้องปรับตัวขนานใหญ่  ฉันช็อคกับตัวเลขที่ว่าราชภัฎทั้ง ๓๒ แห่งในประเทศใช้เงินเพียง ๑๐% ของมหาวิทยาลัยวิจัยท็อปของประเทศ  เรานี่ Privileged มากๆ

การฟังเรื่องเล่าช่างทรงพลัง ยูทูปทาบไม่ได้

นอกจากอาหาร คนต้องการความหมายในการมีชีวิตอยู่

อ.วรรณดีบอกว่า ถ้านิสิตไม่เห็นความหมายของสิ่งที่เรียน ผู้สอนต้องกลับไปดูว่าอะไรคือความหมายเดิมของมัน ถ้ามันดีอยู่แล้วก็นำมาปัดฝุ่น นำเสนอใหม่ แต่ถ้าอันเก่าไม่ Work ต้องหาความหมายใหม่ให้มัน  เมื่อผู้สอนเห็นความหมายของสิ่งที่ตัวเองสอน นิสิตก็จะเห็นเอง

ดอกพญาเสือโคร่งที่ดอยสุเทพ
อ.ทำให้ฉันเห็นงานวิจัยแบบอื่นนอกจากแบบวิศวะที่ทำอยู่ ซึ่ง Objective มากๆ ใน Active research แบบอ. ผู้วิจัยเป็น Catalyst ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน Subject ที่เราศึกษาได้

ฉันขอบคุณอ.ต้นและอ.โอ๋ที่ตอกย้ำความสำคัญของการฝึก การมีวินัย ฝึกจนกล้ามเนื้อมันจำได้ว่าจะเขียนอย่างไร ออกเสียงอย่างไร  อ.ต้นไม่ให้เราขีดฆ่า ให้เขียนแบบอยู่ใน Flow  ถ้าติดขัด ให้กลับมาที่ฐานกายโดยการเปลี่ยนอิริยาบท Stretching แต่ไม่แนะนำให้กินเหล้า อ.ต้นบอกว่าสิ่งเสพติดให้เสพตอนที่เรามีความสุข ถ้าเสพตอนทุกข์ จะอนาถ (อันนี้คำฉันเอง)

อ.ต้นสอนให้ Deconstruct ประโยค ทำให้ฉันพบว่าฉันเขียนกลอนได้!!  แกบอกว่าคำสำคัญกว่าประโยค ถ้าเรายังติดรูปแบบประโยคเดิมๆ จะไม่มีวันเขียน "เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง" ได้  เราเห็นดอกไม้ ดอกไม้ก็เห็นเรา วิธีนี้ขยายขอบเขตความเป็นไปได้จริงๆ ปรัชญาในอีกแบบด้วย ตอนแรกเขียนไม่ออกเลย โลจิกติดอยู่ที่ปลายมือ ฉันจึงเขียนปกติ แล้ว Shuffle เอา   สิ่งที่ได้คือ

ทำลองเคยไม่ทำ
คิดที่ว่ายาก
ก้ามข้าวต้องทำถ้าอยาก
ฝึกมาละที่เคย
ธรรมชาติถามคำถาม
เป็นอะไรเรา คือเราใคร
คุ้นความเคยถ้าไม่มี
อย่างไรว่าจะนิยามตัวเอง

อ.โอ๋ทำให้ฉันอยาก warm ริมฝีปากและหน้าก่อนไปสอนหากสอนตอนเช้า เพราะเสียงตื่นหลังเราตื่นห้าชั่วโมง

คุยนอกรอบกับอ.หมอพนม เกตุมาน (so-called "เถื่อนเสรี") ได้ไอเดียเรื่อง Assessment ของ Transformative learning หลักๆ อ.ใช้การสังเกตขณะเรียน และ Reflections ของนศ.ตลอดเวลาที่อยู่ในรร.แพทย์  ฉันอัศจรรย์ใจมากที่ศิริราชลงทุนกับระบบนี้ และอ.หมอยอมที่จะมาอ่าน Reflections แล้วตอบ  หมอพนมบอกว่าพอทำแล้วเห็นผล อ.หมอมีกำลังใจที่จะทำต่อ  ฉันกับอ.เนยอยากให้มีระบบนี้ที่คณะเราบ้าง  ตอนนี้ระบบอ.ที่ปรึกษาไม่ค่อยมีความหมาย มีแต่เรื่องเซ็นเอกสาร ทั้งๆ ที่นิสิตน่าจะมีความต้องการคุยกับผู้ใหญ่มากๆ

อ.พนมเล่าถึงการใช้ละครเพื่อให้นศ.แพทย์มี empathy ที่ศิริราชมีคลาส drama ให้เรียน!!

ตอนนี้สิ่งที่ผลักดันได้สั้นๆ คือ เสนอให้คณบดีเชิญอ.วรรณดีและอ.พนมมาพูดที่คณะฯ ช่วงประชุมอาจารย์

วันนี้เราไปอบรม Outcome-based education ที่มีเกณฑ์การประเมินหลักสูตรด้วย จริงๆ มันก็คือการหาความหมายในสิ่งที่สอนนั่นแหละ

นอกจากไปเรียน ฉันก็ได้พบเพื่อนใหม่หลายคน ได้คุยกับเอเชียที่เจอกันผ่านๆ มาหลายครั้ง เอเชียเป็นแรงบันดาลใจให้ฉัน Simplify ชีวิตอีกครั้ง ชอบวิถีชีวิตที่เหมือนนักบวชของเอเชีย ชอบทัศนคติการใช้ชีวิต เช่น ไม่รู้จะมีเงินเยอะๆ ไปทำไม

ได้ Reconnect กับเพื่อนเก่า เช่น พระอั๋น ซึ่งเป็นพระ "เถื่อน" รูปเดียวของเรา

มี Workshop หลายอันที่ฉันอยากไปแต่ไม่ได้ไป เช่น ไปสัมผัสธรรมชาติ ไปทำขนมปัง ทำกุยช่าย น่าจะเป็นงานกึ่งวิชาการอันเดียวทีสอนทำอาหารเยอะขนาดนี้

Comments