Taking a vow

ต่อเนื่องจากการไปรีทรีทกับครูตั้ม ฉันได้ไปภาวนาร่วมกับสังฆะวัชรสิทธาและได้ไปฟังครูตั้มอธิบายเรื่องการรับศีลไตรสรณคมน์และศีลโพธิสัตว์ จะลองเรียบเรียงสิ่งที่ฉันพบว่ากระทบใจฉัน

คนไทยคุ้นเคยกับการรับศีลอยู่แล้ว พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ... แต่ไม่ค่อยได้มีการพูดคุยกันว่ามันหมายถึงอะไร คำว่า "สรณะ" แปลว่า ที่พึ่ง หรือ Refuge ตั้มพูดว่าในภาษาอังกฤษคนที่ต้องการที่พึ่ง (seek a refuge) คือ Refugee เรามักจะเห็นเรฟูจีชาวซีเรียหรือโรฮิงญาในข่าว แต่เราไม่ได้มองว่าเราเองก็เป็นเรฟูจีในสังสารวัฎเหมือนกัน

ตั้มบอกว่า การที่เราถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือไตรสรณคมน์ เป็นที่พึ่ง มีนัยยะว่าเราไม่มีที่พึ่ง คือ ถ้ามีแล้วก็ไม่ต้องหาอ่ะ

โดยธรรมชาติ อีโก้เราหาที่พึ่งอยู่แล้ว หาพื้น (Ground) เพื่อยืน เพื่อเกาะเกี่ยว เพื่อยึด Once we stop seeking ground, we'll feel that we want freedom!

การรับพระพุทธเป็นที่พึ่งหมายถึงการยอมรับพุทธภาวะ (Buddha's nature) ในตัวเรา คือ ทุกคนมีความเป็นพุทธะ ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในตัวเราอยู่แล้ว

การรับพระธรรมเป็นที่พึ่งหมายถึงการเชื่อมโยงธรรมะกับประสบการณ์ตรงในชีวิตของเรา การซื่อสัตย์กับตัวเอง ยอมรับ/ศิโรราบกับสิ่งที่เป็นหรือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่พยายามหนีหรืออธิบายกับตัวเอง (Justify).   Relate to reality as it is.

การรับเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง: สังฆะคือเพื่อนร่วมทางบนเส้นทางจิตวิญญาณ ต่างคนก็ต่างเดินแต่สนับสนุนกัน ชอบคำว่า Alone together! โดดเดี่ยวไปด้วยกัน

การรับศีลถือเป็นการ Make commitment.  น่าสนใจที่ตั้มบอกว่า Committing oneself to oneself ยากที่สุด I guess we don't take ourselves that seriously; otherwise, we'd become enlightened by now.

การ Commitment ในที่นี้ คือ การมีวินัยที่จะอยู่กับตัวเองและคนที่อยู่ตรงหน้า การดำเนินชีวิตอย่างสอดประสาน Living an undivided life...


เส้นทางของโพธิสัตว์


ฉันว่าคนไทยทั่วไปไม่คิดว่าตัวเองจะเป็นโพธิสัตว์ได้ เพราะพอพูดคำนี้ก็จะนึกถึงเจ้าแม่กวนอิม คานธี แม่ชีเทเรซ่า มันดูยิ่งใหญ่และไกลตัว  แต่จริงๆ แล้ว ตั้มบอกว่าการเป็นโพธิสัตว์เกิดจากการที่เราอ่อนโยน/อ่อนน้อมที่จะรับรู้ความทุกข์ของตัวเองและผู้อื่น Then personal boundary disappears.  There is no such thing as personal karma or personal journey.  All karma are shared.

การเป็นโพธิสัตว์เกิดจากการที่เราเชื้อเชิญ all sentient beings as our guests.  การสละความสุข สุขภาพ และการบรรลุธรรมของตัวเองเพื่อ other sentient beings. ดังนั้นโพธิสัตว์ก็มีปณิธานที่จะอุทิศชีวิตของตัวเอง Giving up one's privacy.

นั่งฟังคลิป Ru-Jun ที่อธิบายเรื่องนี้ นางบอกว่าไม่มีการบรรลุธรรมของใครคนใดคนหนึ่ง มันไปด้วยกัน การภาวนาที่เราทำ เราก็ทำเพื่อตัวเองและเพื่อคนอื่นด้วย ตอนแรกชั้นฟัง ชั้นก็..โลกสวยไปไหม แต่พอภาวนาไป เราก็ว่ามันใช่

Sentient beings แปลไทยว่าสัตว์โลกหรือสรรพสัตว์ ซึ่งฉันไม่ชอบ ขอใช้ภาษาอังกฤษละกันนะ

บารมีของโพธิสัตว์ ๖ อย่าง คือ ทาน (Generosity), วินัย (Discipline), ความอดทน (Patience), ความเพียร (Diligence/Joyful Endeavour), สมาธิ (Concentration), และปัญญา (Transcendental wisdom).

ประโยคอื่นๆ ที่ resonate with me ก็เช่น ความทุกข์บางอย่างยาวนานมากกว่าหนึ่งชาติ ตอนแรกที่ฟังก็เฮ้ย ขนาดนั้นเลยเหรอ พอคิดอีกทีก็เออ...ใช่ว่ะ  ถ้าสันดานยังเหมือนเดิม ความทุกข์น่าจะประมาณเดิม

อะไรที่กระแทกใจ ฟังหนแรกจะชะงักนิดนึง

คนที่จะให้ศีลเป็นคนในสายธรรม (Lineage) นี้ ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Preceptor ในพุทธเถรวาทไทย Preceptor แปลว่าพระอุปัชฌาย์ คือ พระที่ทำหน้าที่บวชพระ พระอุปัชฌาย์นี่ต้องได้รับการแต่งตั้งขากมหาเถรสมาคม ไม่ใช่พระไหนๆ ก็เป็นได้  ตอนแรกที่ตั้มบอกว่าโยมจะเป็น Preceptor ชั้นก็ชะงัก มัน groundbreaking สำหรับชั้นมากๆ ที่ฆราวาสจะเป็น Preceptor.  Decentralized Buddhism indeed...

 

Comments