Transformed People Transform People

(คนที่เปลี่ยนตัวเองแล้วเปลี่ยนคนอื่น)

เริ่มเรื่องจากเรื่องของตัวเองก่อน ฉันได้ทุนกพ. ไปเรียนอเมริกาตั้งแต่จบม.๖ ไม่เคยคิดว่าจะกลับมาเป็นอาจารย์ พอกลับมาก็มาใช้ทุน แล้วไม่ชอบการเป็นอาจารย์อย่างมากจนต้องกลับไปแคนาดา แต่ไปที่แคนาดาก็อยู่ไม่ได้ เห็นแล้วว่าปัญหามันอยู่ที่ตัวเรา ไม่ได้อยู่ที่ข้างนอก ฉันปฏิบัติธรรม เข้าคอร์สพัฒนาตัวเองต่างๆ เช่น ที่ชูมัคเกอร์ที่อังกฤษ และคอร์สหัวใจอุดมศึกษาที่เสมสิกขาลัยจัด เราก็ค่อยๆ ปรับไป เริ่มได้รับ Feedback ว่าเราเปลี่ยนไป ใจเย็นขึ้น ได้เจอลูกศิษย์ที่เคยเรียนปริญญาโทกับเราแล้วกลับมาเรียนปริญญาเอก ปอนด์ถามว่าอาจารย์ไปทำอะไรมา เปลี่ยนไปเยอะมากเลย

The total is more than the sum of its parts.
(ผลรวมมากกว่าผลบวกของส่วนย่อย)


สิ่งที่ได้มากๆ จาก Workshop เหล่านี้คือ เพื่อน หรือ กัลยาณมิตร ความเปลี่ยนแปลงส่งต่อไปถึงนิสิตเป็นกลุ่มแรก ฉันได้ดูแลวิชาสัมมนาป.โท รู้สึกว่า Soft skills หลายๆ อย่างเป็นสิ่งจำเป็นในวิชาชีพวิศวกร ก็ได้เชิญกระบวนกรที่เป็นเพื่อนที่เราได้เจอใน “หัวใจอุดมศึกษา” workshop เช่น เชิญหม่องมาสอน Deep listening และผู้นำสี่ทิศ เชิญมูมาสอนการเล่าเรื่อง เชิญกันต์มาสอนภาษาอังกฤษ และเชิญแป๊กมาสอนการเขียน คาบที่เพื่อนๆ มา นิสิตและฉันได้เรียนรู้และสนุกมาก ทั้งหม่อง มู และกันต์ได้มาช่วยกันออกแบบ The missing subject workshop สำหรับนิสิตปริญญาตรี จริงๆ ฉันไม่ได้ตั้งใจจะจัด แต่มีเงินเข้ามา จึงเขียนโครงการขอ สุดท้ายไม่ได้เงินจากที่นี่ แต่อ.เจี๊ยบดึงไปจัดก่อนสำหรับโครงการ IUP ถ้าไม่ได้อ.เจี๊ยบก็ไม่ได้จัด ระหว่างที่ออกแบบและทำ ฉันรู้สึกว่าตัวเองก็ได้เรียนรู้ไปด้วย



กัลยาณมิตรอีกกลุ่มคือเพื่อนที่ทำงาน ช่วงแรกฉันสนใจตัวเองเป็นหลัก และธรรมชาติของงานอาจารย์ก็ให้เราอยู่บนเกาะของตัวเองเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้คิดว่าจะชวนใครไปอบรมที่ไหน จุดเปลี่ยนใหญ่คือเกิดความอึดอัดมากๆ ที่ภาควิชา เนื่องจากสไตล์ของหัวหน้าภาคคนใหม่ไม่เหมาะกับงานบริหาร ฉันคิดว่าเค้าไม่ใช่คนเลวร้าย เพียงแต่สิ่งที่เค้าเป็นทำให้คนอื่นรำคาญ เราคิดว่านพลักษณ์ช่วยทำให้เห็นตรงนี้ได้ ใช้ช่วงเวลาสัมมนาภาคฯ ที่ปกติกินเที่ยวเล่นธรรมดา มาทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้อาจารย์เข้าร่วม ฉันก็นำเสนอนพลักษณ์ในการประชุมภาคฯ โชคดีที่ได้เจี๊ยบไปช่วยขายด้วย พี่ณัฐ comment ที่หลังว่านพลักษณ์ขายง่ายเพราะคล้ายๆ ดูหมอดู หัวหน้าภาคที่เป็นเป้าหลักของฉันไป และเค้าหาลักษณ์ตัวเองเจอด้วย ดีใจมาก นพลักษณ์เป็นจุดเริ่มที่ทำให้อาจารย์ในภาคมีศัพท์ชุดเดียวกัน หลายๆ คนรู้ลักษณ์กันและกัน ยอมรับได้ว่าเค้าทำอย่างนั้นเพราะเป็นอย่างนั้นจริงๆ

ได้จัดนพลักษณ์สำหรับนิสิตป.โทเอกด้วย เพราะสมาคมนพลักษณ์ไทยเปิดอบรมให้กับมหาวิทยาลัยในราคาที่ภาคจ่ายได้ เพราะเค้าอยากฝึกกระบวนกร นิสิตชอบมากและคิดว่าเป็นประโยชน์กับเค้า

จุดเปลี่ยนที่สองคืออาจารย์ในภาค ๕ คนไปอบรม Problem-based Learning ด้วยกันที่มะขามป้อม จริงๆ ชวนแค่เจี๊ยบ แล้วเจี๊ยบก็ไปชวนคนอื่นต่อ การที่เราไปอบรมด้วยกัน ทำให้เมื่อกลับมาที่ภาค เราทำอะไรได้เยอะมากกว่าแต่ละคนบวกกันมาก มันมี momentum และมีพลัง อ.แต่ละคนก็ปรับการสอนของตัวเองไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงในระดับภาคด้วย เช่น งานปัจฉิมนิเทศที่เดิมเป็นเลคเชอร์น่าเบื่อชวนหลับ เราเชิญหม่อง กันต์ และบิ๊กมาจัดกระบวนการให้ Feedback จากเด็กทำให้เราคิดว่าเรามาถูกทาง เราเปลี่ยนวิธีการสอน Research methodology ของนิสิตป.โทเป็น Problem-based learning มากขึ้น

Because if you love and want something enough---whatever it is---then you don’t really mind eating the shit sandwich that comes with it.  Big Magic by Elizabeth Gilbert
(เพราะถ้าคุณรักและอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมากพอ ไม่ว่ามันจะเป็นอะไร คุณจะไม่รังเกียจที่จะกินแซนวิชอึที่มากับมัน)

เขียนทบทวนมาถึงตอนนี้ พบว่าเราไม่ได้วางแผนล่วงหน้าในสิ่งที่ทำ แต่โอกาสมันมา แล้วเราฉวยไว้ งานต่อไปก็เช่นกัน ฉันไม่เคยคิดจะจัด Workshop ระดับคณะ ฉัน”ขาย” workshop ครูกล้าสอนให้เพื่อนอาจารย์สองคน นุชและเจี๊ยบ ปรากฏว่าโครงการล้ม ฉันเสียดายที่มันไม่ได้เกิดต่อ จึงคุยกับพี่ณัฐเรื่องจัดให้ที่คณะ เพราะจำนวนคนและเงินที่ต้องใช้ใหญ่เกินกว่าระดับภาคฯ ไม่ยากที่จะขายโครงการให้กับรองคณบดีฝ่ายวิชาการและคณบดี (โชคดีที่คณบดีเปิดใจ) แต่ที่ยากที่สุดคือการชวนคนมาเข้าร่วม อาจารย์ชวนยากกว่านิสิตมาก และ Transformative learning (TL) อธิบายยากกว่านพลักษณ์ คนน้อยจนเกือบจะล่ม คณบดีบอกว่าให้ชวนอ.จากคณะอื่นหรือนิสิตป.เอกก็ได้ ได้อาจารย์ในภาคที่เคยเข้าอบรมนพลักษณ์มาเข้าร่วม ๑๐ คน อ.ในคณะ และอาจารย์จากคณะเกษตร

คนที่ผ่านกิจกรรมแบบ TL ด้วยกัน มันทำให้เราสนิทกันมากขึ้น รู้จักกันมากขึ้น ดีใจที่เห็นเค้าได้ประโยชน์กัน และเค้าอินกับมัน กลับมาเรา sync กันมากขึ้น เช่น พอคนนึงเริ่มหลุด อีกคนก็เตือนให้ตั้งแกน

It's worth your efforts...


ทำเต็มที่ แต่ไม่ซีเรียส  พระไพศาล วิสาโล

ด้วยนิสัยลักษณ์สามของเรา มีกิเลสอยากให้งานสำเร็จ ฉันต้องคอยเตือนตัวเองด้วยคำของพระอ.ไพศาลว่าเราทำเต็มที่แบบที่ไม่ทำให้ตัวเองทุกข์ นึกถึงที่ท่าน Samdhu พูดว่า เวลาเราทำงานสาธารณะแล้วเราทุกข์แปลว่าเรามีเจตนาดีที่มีอัตตา

My suggestions: 

  • คนอายุน้อยทำงานด้วยง่ายสุด เช่น นิสิตหรืออาจารย์ที่เด็กกว่า 
  • เริ่มจากอะไรเล็กๆ เช่น workshop สั้นๆ สามชั่วโมง พอทำได้แล้วเห็นผลดี ความมั่นใจมันจะมาเอง
  • ถ้าจะขายโครงการให้ผู้บริหาร ข้อมูลควรจะแน่น • ถ่ายรูป ทำวีดีโอเก็บไว้ เพื่อขายโครงการในอนาคต

Comments