Experience comes before explanation

Julie Green, our Lovely Translator and Vijak (left to right)
อยากเขียนมาหลายวัน เพราะคิดถึงการเขียน และก็เพิ่งมีเรื่องน่าสนใจที่จะเขียนด้วย เกี่ยวกับ workshop หัวข้อ ธรรมใจ: Meditation and Psychotherapy ที่นำโดย Julie Green ซึ่ง coordinate โดยวิจักษข์ พานิช ที่จบมาจาก Naropa University (USA) เหมือนกัน

ฉันเป็นพวก Retreat Junkies คือ ชอบไป retreat โดยเฉพาะกับสำนักที่ไม่เคยไป และเราแน่ใจว่าเค้าจะไม่เอาเราไปทรมาน  คือ ไม่ใช่ให้นั่งโดยไม่กระดิกเลย

ก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมาก  ไม่ใช่เพราะ snob แต่เพราะแค่อยากไปพักเฉยๆ  และเราอยากสนับสนุนให้มีทางเลือกหลายๆ ทางในการภาวนา   แต่ก็มีหลายอย่างที่ได้เรียนรู้  เช่น เค้าแปลคำว่า Retreat ว่าการเข้าเงียบ ซึ่งฉันมักแปลว่างานภาวนา  จริงๆ retreat ก็คือการเก็บอารมณ์นั่นแหละ

อีกอย่างที่ชอบคือการทำ Body work เพื่อผ่อนคลาย หรือเพื่อ energize ร่างกายก่อนภาวนา  จริงๆ ท่านอนก็เป็นท่าหนึ่งของการภาวนา เพราะก็มีท่านั่ง ท่ายืน และท่าเดินด้วย  แต่ส่วนมาก ฉันหลับในท่านอนทุกครั้ง (แอร์ก็เย็นสบาย) ฉันก็เลยนับมันเป็นการผ่อนคลาย เตรียมพร้อมร่างกายก่อนภาวนามากกว่า  เค้าใช้เสียงนำเพื่อช่วย visualize เช่น ในการภาวนาแบบพิจารณาถึง ๑๐ จุดที่สัมผัสพื้น (เท้า สะโพก หลัง ข้อศอก ศีรษะ) เค้าให้นึกถึงเท้าที่สัมผัสพื้น หายใจเข้าทางฝ่าเท้า แล้วก็ค่อยๆ ไล่ขึ้นมาตามขา ตามสะโพก... คล้ายๆ ท่าศพของโยคะ แล้วก็มี Breath the earth exercise, Prana exercise. 

ฉันว่าคนเดี๋ยวนี้เครียด ให้แบบฝึกหัดผ่อนคลายก่อนน่ะดี Julie บอกว่า The body holds wisdom, and thinking follows afterwards. 

Julie เป็นผู้หญิงอเมริกัน  จบปริญญาตรีวิศวเคมี และต่อ MBA ด้วย  เนื่องจากเค้าไม่ได้โตมาในเมืองพุทธ สำหรับฉัน เค้าเป็นผ้าขาวที่ไม่ได้ถูก conditioned ด้วยวัฒนธรรม  เวลาฟังคนพุทธฝรั่งบรรยาย มันได้อีก feel หนึ่ง  เค้าพูดว่า เค้าได้คุยกับวิจักษข์เรื่องเป้าหมายของผู้ภาวนาไทยส่วนใหญ่ ที่ภาวนาเพราะไม่อยากเกิดอีก  เค้าบอกว่า...เค้ายินดีที่จะกลับมาเกิดอีก เพื่อเจอสิ่งต่างๆ ที่"สวยงาม"นี้อีก (คำว่าสวยงามนี้ ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม เพราะไม่ใช่ในความหมายทั่วไป) เค้าบอกว่า ภาวนาเพื่อจะได้ experience life fully...  ฉันฟังแล้วแทบตกเบาะ  มันท้าทาย Basic assumption ของฉันมาก... เดิมฉันก็คิดว่าผู้ภาวนาทุกคนอยากได้สิ่งนี้...คือการไม่เกิดอีก... เค้ายกประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อทำให้เราถามตัวเองถึงรากของความต้องการของเรา ว่าอยากไปนิพพานเพราะอะไร

แล้ว Irony มันอยู่ที่ว่า ถ้าแกอยากได้นิพพานมากๆ...แกจะไม่ได้  เราก็ว่า..เออ..มุมมองนี้ดี  ทำให้ใจกล้า ฮีกเหิม ไม่กลัวการเกิด...

อีกประเด็นสำคัญคือเรื่องการไม่ยึดติด (Non-attachment) ที่ฉันเองก็มักตีความไปในแง่การผลักไสคุณลักษณะบางอย่างที่เราคิดว่าไม่ดี (ทั้งในตัวเองและในคนอื่น)  แต่เค้าก็มองว่า Non-attachment เป็นความอ่อนโยนกับตัวเองและการยอมรับตนเอง และคนอื่นๆ ด้วย...

ฉันเพิ่งเห็นประโยชน์ของคำศัพท์และเทคนิคด้านจิตบำบัด ว่าช่วยให้เราภาวนาได้ดีขึ้นได้  ผู้ภาวนาหลายคนมักตีกรอบตัวเองว่าเป็น "คนดี" เช่น ไม่โกรธ  พอเราต้องทำ Exercise ที่เราต้องเผชิญกับประเด็นเหล่านี้ตรงๆ ก็ทำให้มันชัดเจนขึ้น  เค้าให้เราหลับตา นึกถึงคุณลักษณะบางอย่างที่เราชื่นชม และให้นึกถึงคนที่เรารู้จักที่มีคุณลักษณะนั้น (ให้เหมือนมานั่งข้างหน้า) แล้วหายใจเอาเค้าเข้ามา ตอนลมออก ให้ relax ตอนท้าย ก็ให้เค้าคนนั้นหลอมละลายเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวกับเรา  ส่วนที่สอง ก็ให้นึกถึงคุณลักษณะที่เราไม่ชอบ แล้วให้นึกถึงคนที่เราไม่ชอบ แล้วก็ให้มองหาคุณลักษณะนั้นๆ ที่เราไม่ชอบในตัวเรา...

บางคนในกลุ่มเค้าทนไม่ได้ที่จะเห็นหน้าคนที่ไม่ชอบแม้ในมโนภาพ เราก็ว่าแปลกดี...

 Julie บอกว่าคนทั่วไปจะมีการตอบสนอง ๒ แบบกับอารมณ์ (Emotions) คือ ไม่กดไว้ (Suppress it) ก็แสดงออกไป (Act it out)  อารมณ์หลักที่พูดถึงคือ Sadness, Anger, and Love.  อารมณ์คือพลังงาน ถ้าถูกกดไว้เฉยๆ ก็เป็นปมและเหมือนเราเก็บพลังงานก้อนนี้ไว้  พอเก็บเยอะๆ ก็เป็นเหมือนคนขาดพลัง (ใช้คำไม่ค่อยถูกเท่าไหร่)    แต่ไม่ใช่ว่าปี้ดแล้วไปด่า  เค้าบอกให้เรารู้สึกถึงอารมณ์  แต่ไม่ต้องทำตามมัน เช่น รู้สึกถึงความโกรธ

อื่นๆ ที่ชอบคือ เค้าพูดว่า Samsara and nirvana are one and the same.  Awareness is aware of itself (มันก็เลย open and wide).  Samsara is our projection to the World; it drives our journey. 

คำสอนที่ใน Lineage (สาย) ของเค้าพูดกันคือว่า Experience precedes explanation.



Comments