My faith (or a lack thereof)

พระธาตุอินทร์แขวน
ด้วยการศึกษา การเลี้ยงดู และความมั่นใจในตัวเองของฉัน ฉันไม่ค่อยเห็นความสำคัญของศรัทธาต่อการภาวนาเท่าไหร่ คิดว่าเหตุผลและประสบการณ์ตรงสำคัญกว่า บางทีออกจะดูถูก (ในใจ) พวกศรัทธาจริตด้วยซ้ำ ฉันก็คิด...พวกนี้งมงายหรือเปล่าเนี่ย..  และนักบวชที่ฉันได้พบส่วนใหญ่จะเด่นเรื่องศรัทธามาก ไม่ว่าจะเป็นศรัทธาในครูบาอาจารย์หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ศรัทธาในลักษณะที่ปลี้มมากๆ

แต่การไปฟังเสวนา/แสดงธรรม/ประชุมสัมมนาเรื่อง Journey of Life and Mind ที่เน้นเรื่องการนำเสนอข้อคิดจากการจาริก (Pilgrimage) แบบทิเบตเป็นหลัก ทำให้ฉันเปลี่ยนความคิด  แต่เดิม แค่คนมาถามฉันว่าไปพม่าเพื่อแสวงบุญเหรอ ฉันก็เริ่มขนลุกแล้ว คือ ฉันถือว่าบุญทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ต้องถ่อไปไกลขนาดพม่าหรือทิเบต ฉันก็ทำบุญได้

จริงๆ แล้วก็เริ่มรู้สึกตั้งแต่เดินธุดงค์ที่อีสานและไปพม่าแล้วว่าในการธุดงค์หรือการจาริกนั้น เราต้องอาศัยความเอื้อเฟื้อและความเมตตากรุณาของคนรอบข้างมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนในกลุ่ม หรือคนในพื้นที่ๆ เราพบ  ความมีน้ำใจของคนที่เพิ่งได้พบช่วยลดความอหังการของฉันลงไปเยอะ (แต่ก็ยังเหลืออยู่เยอะ ^ ^)  และทำให้เราเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนมากขึ้น (คือ...เราจะไปขอเค้าอ่ะนะ ก็ต้องอ่อนน้อมเป็นธรรมดา)  ประเด็นนี้อ.กฤษดาวรรณก็ได้พูดว่าเป็นประโยชน์หนึ่งของการจาริก ที่ว่าเราจะต้องจากบ้าน เป็นผู้ที่ไม่มีบ้าน (อนาคาริก) อาศัยผู้อื่นในการดำรงชีวิต และเป็นการทดสอบความศรัทธาของเราด้วย นอกเหนือจากเป็นการสั่งสมบุญและขันติบารมี  อาจารย์บอกว่าการจาริกที่เต็มรูปแบบคือการละทึ้งตัวตน...

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา มีคำสอนของท่าน Rinpoche (พระทิเบตที่เป็นพระอาจารย์ของอ.กฤษดาวรรณและเป็นผู้แต่งหนังสือที่แกเพิ่งแปลเป็นไทย) หลายอย่างที่ resonate ในใจฉัน เช่น ท่านพูดถึงเรื่องอนิจจัง (Impermanence) ว่า คนที่กำลังโชคดีอยู่ ก็อย่าคิดว่าจะโชคดีอย่างนี้ตลอดไป มันอาจจะหายไปก็ได้ในพริบตา แล้วฉันก็สะท้อนมามองตัวเองว่า จริงๆ แล้วฉันนี่คิดว่าชีวิตฉันจะราบรื่นอย่างนี้เสมอไปจริงๆ  ขนาดฉันว่าฉันก็ฟังธรรม อ่านปรัชญามาเยอะแล้วนะ...

ท่าน Rinpoche มีความเด่นเรื่องการใช้ตัวอย่าง (Metaphors) ที่ช่วยทำให้เข้าใจได้ดีมาก ท่านเทศน์เป็นภาษาอังกฤษ ก็เลยจะ Quote เลย (บางอันที่จดไม่ทัน ก็จะเติมให้อ่านเป็นประโยค) เช่น ท่านว่า When we know the nature of sufferings, we don't suffer because of it, and we see sufferings as sufferings.  This is how the mind needs to be developed.  For example, if we know that Tibet is cold, when we go there and it's cold. we don't suffer because we expect it.

พระพุทธรูปสี่ด้าน ที่พะโค
ท่านพูดถึงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ว่า Now that we become more electronics, when electricity is not available, there's not much we can do (e.g., we can't turn on our computers...); we decrease our abilities...  The balance between spirituality and everyday life is important because only then, life becomes more meaningful and less stressful...  You're happy because your mind says that I'm happy, not because the object you get.

มีคนหนึ่งถามเรื่องกรรม ว่ากรรมทำให้บางคนภาวนาได้ บางคนภาวนายากหรือเปล่า ท่านว่า Karma is the effect of conditions, the flow of nature.  Karma never rules.  Karma is like a cause or a seed.  Freedom is what you develop in response to conditions. 

อีกคำถามหนึ่งคือ การภาวนาแบบนี้จะช่วยให้เกิด Justice (คนถามใช้คำนี้เลย) ขึ้นในสังคมหรือไม่  ถ้าใช่ มีสังคมใดที่เป็นอย่างนั้นบ้าง (เนื่องจากเสวนานี้จัดที่คณะอักษรฯ จุฬาฯ คนที่มาฟังก็ intellectual หน่อย..) ท่านว่า Justice depends on circumstances.  Reality is based on kindness and compassion.  For example, Buddha said that you should never react to violence.  Anger cannot kill anger, only compassion can.  ท่านยกตัวอย่างกรณีซัดดัม ฮุสเซน คนตะวันตกถือว่าการประหารซัดดัมเป็นเรื่องยุติธรรม แต่ผู้ปฎิบัติธรรมจะไม่ทำ ท่านว่าถึงแม้ว่าจะมีคนฆ่าพ่อของท่าน และท่านมีโอกาสจะช่วยชีวิตเค้าหรือฆ่าเค้า ท่านก็เลือกที่จะช่วย

Sunset, Bagan

ท่านบอกว่าที่ท่านเขียนหนังสือเพราะท่านพบว่ามีผู้ภาวนาหลายคนที่ไม่สามารถตอบคำถามสำคัญๆ เหล่านี้ได้:
  • What is your practice?
  • How do you practice?
  • Why do you practice?
คำถามเหล่านี้ก็กระแทกฉันเหมือนกัน ที่บอกว่าเป็นผู้ปฎิบัติธรรมนั้น รู้หรือเปล่าว่ากำลังทำอะไรอยู่ ทำไปทำไม...

ฉันชอบเวลาไปฟังธรรมจากครูต่างๆ เพราะได้แง่มุมใหม่ๆ  ครูบาอาจารย์เหล่านี้มีพลังงานที่ดี ช่วยทำให้เรามีแรง ทั้งแรงใจและแรงบันดาลใจ  และยิ่งฟัง ยิ่งรู้สึกมั่นใจ เพราะเท่าที่ฟังๆ มา ทุกรูปพูดถึงสิ่งเดียวกัน

พออ่านจบ เพื่อนฉันคนหนึ่งบอกว่า...

ที่จริงแล้ว แต่ละคนจะมีจุดเริ่มต้นหรือมีลักษณะเด่นไปในด้านใดไม่สำคัญเท่าไร ถ้าสิ่งเหล่านั้นเป็นไปในอริยมรรคมีองค์ ๘ ถือว่าใช่้ได้และถูกทาง (เช่น เราจะเดินทางจากกทม.ไปเชียงใหม่ ก็มีทางเลือกหลายอย่าง ความเร็ว/ช้า อาจจะแตกต่างกัน หรือสามารถมีของอย่างอื่นติดตัวไปไปได้มาก/น้อยต่างกัน  แต่ถ้าถูกทิศทาง ถึงเป้าหมายได้ก็ ok. )

ดังนั้นสิ่งทีสำคัญคือการพิจารณาตัวเราเองว่าได้เดินในแนวทางอริยมรรคมากน้อยเพียงใด สิ่งใดขาดตกบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เราก็พัฒนาของเราไปเรื่อยๆ  เคยอ่านตอนนึง ลป. นัท ฮันท์ ท่านกล่าวและยกตัวอย่างไว้ว่า (ภาษาเป็นแบบของเรานะ)...
 
แท้ที่จริงแล้วการปฏิบัติธรรมไม่ใช่การแสวงหา แต่เป็นการสัมผัสกับธรรมชาติที่แท้จริงที่มีอยู่แล้ว
เหมือนกับชายหนุ่มที่กำลังเดินทางแสวงหาความว่าง แต่แท้ที่จริงแล้วความว่างก็มีอยู่ทุกขณะ เพียงแค่เปิดใจให้ได้ตระหนักก็จะสามารถรับรู้ได้

Comments