"Switch" to wind turbines

วันนี้ตอนบ่ายตามนศ.ป.เอกที่ Dept of Production, University of Vasaa, Finland ไปดูโรงงาน Switch ซึ่งผลิต Power converters for wind turbines and power generators โดย Converters พวกนี้เป็น
  • Electricity stabilizer คือ บางทีลมแรง ก็ได้ไฟมาก เวลาลมไม่มี ก็ยังคงต้องมีไฟเข้า Power grids อยู่
  • AC-DC converters เปลี่ยนกระแสตรงเป็นกระแสสลับ
ที่ประทับใจมากคือ Mini factory concept คือเค้ามี Production Technology Transfer Team (PTTT) เพื่อก็อบปี้สายการผลิตไปยังประเทศอื่น ส่วนใหญ่คือจีน ซึ่งหมายความว่า R & D ต้องทำทั้ง product design and also process design เค้ามี "Documentation engineers" ไว้สร้างเอกสารที่คนงานที่สายประกอบใช้ (Work Manual) และรายการวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนที่จะต้องใช้ (Bill of materials: BOM) เค้าสร้าง Work instruction จาก 3-dimensional models เพื่อให้ดูแล้วเข้าใจง่าย มันละเอียดขนาดว่าแต่ละหน้า บอกว่าจะใช้เครื่องมืออะไร (เช่น ใช้ Torque หรือใช้มือขัน) ใช้ชิ้นส่วนอะไร เข้าไปที่ตรงไหน เค้าไอเดียดีมาก เค้าใช้สัญลักษณ์แทนที่จะใช้ภาษาอธิบาย ซึ่งทำให้ไม่เสียเวลาแปล (จาก Finnish to Chinese or Indian) และกระชับเวลาสื่อสาร

โรงงานนี้ทำให้ฉันนึกถึง Dell Computers คือ เค้าไม่ใช่ผู้ผลิต แต่เป็นผู้ประกอบ ทำวิจัย ทำการตลาดมากกว่า ชิ้นส่วนทั้งหมดจ้างให้คนอื่นทำ แล้วที่โรงงานนี้ประกอบอย่างเดียว กระทั่งเก็บ Inventory และเตรียม KITS (รถเข็นที่มีชิ้นส่วนเท่าที่จะใช้ประกอบในขั้นตอนนั้นๆ) ก็จ้างคนอื่นทำ อ้อ ที่ทำเองอีกอย่างคือ Testing ว่าอุปกรณ์มันใช้งานได้จริง เนื่องจากแต่ละตัวราคาแพงมาก

Business model เค้าน่าสนใจ คือ เค้าขายให้จีนเยอะ แทนที่จะผลิตจากฟินแลนด์แล้วส่งไปจีน ก็ไปหา "Partners" ที่จีน ซึ่งก็คือผู้รับจ้าง เหมือน OEM โดยบางรายก็ลงทุนเอง บางรายทางบริษัทแม่ก็ลงทุนให้ ทำให้เค้าไม่ต้องลงทุนมาก และสามารถเพิ่มหรือลดกำลังการผลิดได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจ้างคน ลดคน ไม่ต้องยุ่งกับการบริหารโรงงานในจีน; Partners ผลิตอย่างเดียว ส่วน Switch ขายและทำทุกอย่างที่เหลือ ที่โรงงานแม่ นอกจากมีสายการผลิตจริงแล้ว ยังมี Prototype line สำหรับทดลองผลิต Product ใหม่ๆ ด้วย ถามเค้าว่ามีบริษัทอื่นไม๊ที่ใช้ concept นี้ เค้าว่ามี ABB และอีกอันที่ฉันจำชื่อไม่ได้

ปัญหาของการไปตั้งโรงงานที่จีนคือ Suppliers ที่นั่นคุณภาพไม่ดี ความน่าเชื่อถือน้อยกว่าที่ฟินแลนด์ ทำให้ต้องมีการตรวจรับสินค้าเข้า ซึ่งก็หมายความว่าต้องตั้ง Spec ขึ้นมาและเสียเวลาตรวจด้วย

เค้าใช้ IT มาช่วยเยอะมาก เช่น ระบบ NOVA ที่เอาไว้ทำ ERP (Enterprise Resource Planning) สำหรับ Management ดู แต่ระบบ ERP แบบที่เอาไว้ให้ Production floor ดูคือ NetMES เป็น Shop floor monitoring system ซึ่งจะมีหน้าจอ Touch screen อยู่ที่ Workstation โดย ๑ สถานีจะมีคนงานสองคน แล้วคนงานจะเห็นรูป Work instruction ว่าต้องทำอะไร พอทำเสร็จ ก็คลิกหน้าต่อไป ซึ่งการคลิกนี้ทำให้รู้ด้วยว่าขั้นตอนนั้นๆ ใช้เวลาจริงเท่าใด ที่หน้าจอนี้ยังมีระบบ Andon (from Japan) ด้วย คือ การรายงานปัญหาที่เกิดหน้างาน พอรายงานปั๊บ ไฟที่อยู่ที่เสาจะกระพริบ (เหมือน Alarm) สายการผลิตจะหยุดทั้งหมดจนกว่าปัญหาจะถูกแก้; Supervisor จะได้รับ SMS เมื่อปัญหาถูกรายงานบน Andon และต้องเข้ามาดูภายใน ๑๐ นาที (ฉันสงสาร Sup เหมือนกันที่ต้องเป็นทาสมัน)

นอกจาก Andon แล้ว ก็มี Japanese concepts หลายอย่างที่เรารู้จักกันดีเพราะมีบริษัทญี่ปุ่นในไทยเยอะ เช่น Kanban cards ในกล่องวัตถุดิบเพื่อควบคุมไม่ให้มีมากเกินจำเป็นในไลน์ แต่ของต้องไม่ขาด; การใช้สีเพื่อให้สังเกตง่าย ที่แต่ละสถานีประกอบก็มีสีไม่เหมือนกัน; ที่แขวนเครื่องมือมีรูป Outline ว่าตรงนั้นๆเอาไว้แขวนอะไร (เหมือนที่ MK Suki ก็มีน่ะ); มีเครื่องมือเท่าที่จำเป็นต้องใช้ที่สถานีนั้นๆ เพื่อไม่ให้เสียเวลาค้น; Lean production ที่สายประกอบทำเฉพาะการประกอบเข้าตู้ Converter เท่านั้น เพราะนั่นเป็น value-added activity การเตรียมของจะถูกทำข้างนอก (สกรูก็เอา Nuts เสียบไว้ให้พร้อม) โดยเค้าจัดของเท่าที่จำเป็นจะต้องใช้ที่ขั้นตอนนั้นๆ เท่านั้น ถ้าน้อตขาดหรือเกินแปลว่าทำอะไรผิด พอขันน้อตเสร็จ ต้องเอาเมจิกขีดทะแยงไว้ด้วย เพราะทำให้เห็นง่ายเวลาขันไม่แน่น เส้นทะแยงมันก็จะไม่ทะแยงอีกต่อไป (คิดมาแล้วทุกขั้นตอนจริงๆ) เค้าห้ามถ่ายรูปเลยไม่มีให้ดู

ฟังเค้าพูดถึงยอดขายที่ขายให้จีนแล้วน่ากลัวมาก จีนซื้อเยอะจริงๆ ขายเป็นร้อยๆ ตัว ขณะที่ยอดในฟินแลนด์เป็นหลักสิบ แต่ประเทศเค้าใหญ่ คนก็เยอะ ก็เป็นเรื่องธรรมดา และก็รู้สึกว่า alternative energy เป็นเรื่องที่คงอยู่กับเราไปอีกนาน

บางทีคิดเล่นๆ ว่ามนุษย์พัฒนามาขนาดนี้ น่าประหลาดที่ Basic human sufferings are still the same. แล้วก็การที่เราผลิต หรือดำเนินการได้มีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ แล้วคนจะไปทำอะไร คือ ตอนนี้เราเน้นให้ head count มันน้อยๆ โดยใช้เครื่องจักรแทนบ้าง ลดขั้นตอนการทำงานบ้าง นั่นหมายความว่าคนต้องฉลาดขึ้นเรื่อยๆ หรือเปล่า เพราะงานง่อยๆ เครื่องจักรมันทำหมดแล้ว หรือเราอาจจะสบายจนเคยตัวจนโง่ จนขี้เกียจไปเลยก็ได้ Like a cycle of growth and decline...

คนที่พาเราดูโรงงานเป็น Project manager มาจากจีน เรียนป.ตรีที่ฟินแลนด์ และป.โทที่สวีเดน กำลังต่อเอกอยู่ที่ Dept of Production ของม.ที่ฉันมาเยี่ยม ฉันว่าการที่เดี๋ยวนี้จีนมีเศรษฐกิจที่ใหญ่มาก ทำให้ภาษาจีนเป็นสิ่งจำเป็น คือ ถ้ารู้ก็ดี แต่ต้องรู้อย่างอื่นด้วย เช่น คุณ Stone คนนี้ฉลาดมาก จนบริษัทดึงตัวมาจากสวีเดน

Comments