ลอกชื่อโพสต์มาจากชื่อหนังสือ
ช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิตชั้น จากที่เคยแอ๊คทีฟมากๆ พุ่งๆ เป็นเฉื่อยๆ ช้าๆ ไหลไปตามกำหนดการ
กำหนดการที่วางไว้คือต้องพานิสิต ๑๗ คนที่ลงเรียนวิชา Communication and Leadership ไปเขาใหญ่ โชคดีที่เลือกวีคเอนด์หลังสงกรานต์ คนน้อยเพราะเหนื่อยล้าและหมดเงิน เราปักหลักที่ลานกางเต็นท์ผากล้วยไม้
ชั้นต้องการให้ทำกิจกรรมในป่าจริงๆ ให้นอนเต็นท์ และทำอาหารกินเอง เทอมที่แล้วไปมาเป็นครั้งแรก และเล่าอยู่ที่โพสต์นี้ ชั้นได้เรียนรู้ว่าชั้นพลาดที่ไม่บังคับให้ทุกคนไป คนที่จำเป็นต้องไปตัดโอกาสตัวเองโดยไม่ไป เทอมนี้ชั้นจึงบังคับให้ทุกคนไป ประกาศชัดเจนตั้งแต่ต้นเทอม ถ้าไปไม่ได้ ก็ไม่ควรลงเรียน และจะไม่ได้ A แน่นอน
โดยนิสัย ชั้นไม่ชอบถูกบังคับ และมีความเห็นว่าถ้ากิจกรรมเจ๋งจริง เด็กก็ต้องมาเองสิ ไม่เห็นต้องบังคับเลย แต่สำหรับคนที่ติดอยู่ใน Comfort zone การรอให้เค้าออกมาเองมันช้าไป ชั้นจะกระทุ้งเอง
เราออกจากมหาลัยตอนเที่ยง ไปถึงมู ชัยฤทธิ์ ก็ให้ทำกิจกรรมฟังเสียงป่า นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย หลับตา ฟังเสียงป่า รู้สึกถึงลมกระทบกาย มูไม่ได้แนะนำตัวเอง แต่ให้เด็กถามคำถามมู ซึ่งฮีก็จะเลือกตอบบางคำถาม
แทนที่จะให้แต่ละคนแนะนำตัวเอง ฮีให้เล่นกิจกรรมถามคำถามดอกไม้ก่อน คือ มีอาสาสมัคร ๑ คน แล้วเพื่อนถามคำถามที่เป็นภาษาดอกไม้ แล้วก็สลับ ให้ถามคำถามแบบปาก้อนหิน ซึ่งอาจจจะไม่จริงก็ได้ เช่น ทำไมหน้าเหี้ยจัง พบว่าเราและเจ้าตัวรู้จักมุมที่เพื่อนมองเจ้าตัวจากคำถามก้อนหิน จะมีธีมอยู่ไม่กี่ธีม เช่น เจ้าชู้ นอนเยอะ เหวี่ยง จริงจัง
สำหรับเด็กที่ไม่สนิทกัน ไม่กล้าปาก้อนหิน เค้าบอกว่ารู้สึกว่ามันไม่ดี กลัวเพื่อนไม่ชอบ รอบแรกก็เล่นไปไม่ครบคน แบบเนือยๆ หลายคนขอผ่าน
จากนั้นก็กางเต็นท์ รอวิชัยเอาอาหารและอุปกรณ์ทำครัวมาให้ แบ่งเป็นกลุ่มย่อย พบว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่สนิทกันทั้งหมดก็จริง แต่กินข้าวด้วยกัน
วันศุกร์เป็นวันพระใหญ่ พระจันทร์เต็มดวง สว่างมาก
ตอนค่ำ มีเวลาไม่มาก มูให้เล่นเกม แล้วทำกิจกรรมรำลึกอดีต ฮีเริ่มว่าตัวละครหนึ่งในเรื่องกรงกรรมบอกว่า "อดีตทำอะไรเราไม่ได้" ถามเด็กๆ ว่าแล้วพวกเรามีอดีตที่ยังทำร้ายเราอยู่บ้างไหม ชั้นแปลกใจที่เด็กๆ เริ่มเล่า ทั้งๆ ที่ยังไม่สนิทกับมูขนาดนั้น อาจเป็นเพราะเราได้ผ่านกระบวนการกันมาหลายเดือนแล้ว บรรยากาศป่าและแสงเทียนก็ช่วยด้วย
คราวที่แล้ว ชั้นให้อิสระ กำหนดเวลาแล้วให้ตื่นเอง พบว่าตื่นสายมาก งวดนี้ ชั้นเดินปลุกตามเต็นท์ ทำอาหารเพื่อกินเข้าและเที่ยง
วิชัยเริ่มด้วยกิจกรรมฟังเสียงป่า (เหมือนที่มูทำและค้างนานกว่าเพื่อเตรียมความพร้อมเด็ก) และความงามเล็กๆ วางเฟรมสไลด์ไว้ที่จุดต่างๆ แล้วให้เด็กๆ ดูผ่านเฟรมแล้ววาดตาม เสร็จแล้วมาล้อมวงคุยกัน เด็กๆ บอกว่าพอมองผ่านเฟรมเล็กๆ ทำให้ได้เห็นมุมที่ไม่เคยเห็น
เมื่อได้ฝึกการฟังและการมอง วิชัยพาเดินป่าเส้นเดิมกับปีที่แล้ว แต่สวนทาง เดินออกไปเป็นที่ทำการอุทยานฯ เด็กหลายคนไม่เคยเดินป่าเลย หลายคนไม่เคยนอนเต็นท์ มีนิสิตหญิงคนหนึ่งปอกผลไม้ก็ยังไม่เป็น เพราะเคยปอกแล้วกระเด็น แม่บ้านจึงไม่ให้ทำ ชั้นอัศจรรย์ที่ทักษะพื้นฐานหายไป ถ้าเกิดสงคราม คงทำอะไรไม่เป็น
ระหว่างเดิน วิชัยบรรยายป่าชนิตต่างๆ ของเขาใหญ่ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และอะไรอีกอย่าง ระบบนิเวศ การพึ่งพาอาศัยกัน นิสิตตั้งใจฟังดี
เราหยุดกินอาหารเที่ยงในป่า มูถามชั้นว่า มีกลุ่มไหนชวนกินข้าวไหม ชั้นบอกไม่มี ชั้นเฉยๆ เพราะชั้นไม่ได้ช่วยทำ ก็ไม่สมควรได้กิน แต่เราอยากฝึกให้นิสิตรู้ว่าน้ำใจ เช่น การชวนผู้ใหญ่กินข้าว เป็นสิ่งที่ควรทำ
เดินป่าด้วยความอบอ้าว แต่เด็กก็ไม่บ่น อันนี้ขอชื่นชม แต่ก็มีนิสิตที่ถือพัดลมใส่ถ่านเดินป่า
พอออกมา เราก็แวะกินนั่นนี่ที่ที่ทำการอุทยานฯ แล้วไปต่อที่น้ำตาเหวสุวัต ทำกิจกรรมแต่งกลอนไฮกุและถ่ายรูปประกอบ (อ่านรายละเอียดจากโพสต์คราวก่อน) กลอนที่เด็กเขียนสะท้อนตัวตนคนเขียน คราวนี้คนน้อย เราเลยเดินลงไปถึงตีนน้ำตกเลย เด็กๆ เรียกร้องอยากเล่นน้ำ วิชัยและออสก้าบอกว่า เล่นได้ ทุกทีที่มาก็เล่น ทั้งๆ ที่มีป้ายห้ามเล่นน้ำ ออสก้าบอกว่าเค้าห้ามเล่นเฉพาะตอนหน้าฝน หน้าแล้งเล่นได้ แต่เค้าขี้เกียจเอาป้ายออก ชั้นก็อินโนเซ็นต์ ก็เชื่อ บอกเด็กๆ ว่าลงได้เลย ซักพัก ก็ลงไป ๖ คน
ชั้นนั่งเล่นคุยกับวิชัย ออส ปอน และใหม่ ซักพักได้ยินเสียงโทรโข่ง เจ้าหน้าที่เรียกตัวให้ขึ้นจากน้ำ และมาเสียค่าปรับ
เด็กที่เหลือคิดว่าชั้นเรียกจนท.อุทยานฯ มาเอง เพราะอยากให้เพื่อนขึ้นน้ำ ชั้นบอก ทำไมคิดว่าชั้นเลวขนาดนั้น
โดนปรับ ๕๐๐ บาทพร้อมใบเสร็จ และคำชี้แจงอีกชุดยาวจากจนท.อุทยานว่าเคยจมไปกี่ศพบ้าง
กลับถึงค่าย แยกย้ายทำกับข้าว อาบน้ำ
กิจกรรมภาคค่ำต่างจากคราวที่แล้ว เพราะเด็กไม่สนิทกันทุกคน มีกลุ่มที่สนิทกันมาก มีบางคนแทบไม่เคยคุยกัน มูให้เล่นเกมโป้งไอ้หยา กิจกรรมคำถามปาก้อนหิน กิจกรรมคิดคำที่เกี่ยวข้อง คือ ให้แบ่งกลุ่ม 3-4 คน มูจะให้คำ ๑ คำ เช่น ความรัก คณะวิศวะ แล้วให้แต่ละคนพูดว่าคำที่ให้นี้ ทำให้นึกถึงคำอื่นว่าอะไร ให้คนในกลุ่มตกลงกันว่าจะเอาคำไหน แล้วก็แชร์วงใหญ่ น่าสนใจมากที่เมื่อมูให้คำว่า "คณะวิศวะ" กลุ่มหนึ่งเลือกคำว่า เหี้ย ตอนแรกชั้นฟังก็ตกใจ แล้วเด็กก็บอกว่าเลือกคำนี้เพราะคำว่า เหี้ยๆ แปลว่าสุดๆ
กิจกรรมให้พร มูให้ชั้นเป็นอาสา สาธิตให้ดูโดยที่ไม่ได้เตี๊ยมกันมาก่อน ไปนั่งกลางวง แล้วมูถามว่า อยากละทิ้งหรืออยากได้รับ ชั้นตอบ แล้วมูก็ให้เล่าเรื่องราวสั้นๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งที่อยากละทิ้งหรืออยากได้รับ แล้วให้ชั้นนอนลง หลับตา จากนั้นให้ทุกคนเอามือมาสัมผัสร่างกายชั้น แล้วให้พร
ชั้นพบว่า พรที่ให้สะท้อนตัวตนคนให้มากกว่าเรื่องราวของชั้นผู้รับพร ถึงจำเสียงไม่ได้ ก็เดาว่าใครให้พรได้
เด็กๆ สลับกันออกมาอยู่ตรงกลาง แรกๆ เด็กๆ ดูลังเลและไม่ใส่ใจ ชั้นพูดว่า ชั้นเรียนอเมริกา ๑๐ กว่าปี ตรีโทเอก เคยไม่เชื่อเรื่องพรว่าขอกันได้ คิดว่าต้องทำเอง กลับมาเป็นอาจารย์ก็แปลกใจมากที่เด็กๆ มาขอพรชั้นตอนใกล้สอนหรือใกล้นำเสนองาน ชั้นบอกว่าถ้าเราใส่ใจ เราก็ให้พรคนอื่นได้เหมือนกัน กิจกรรมมีความหมายเมื่อเราใส่ใจ You get what you give. ชั้นอาจจะมโน แต่คิดว่าพลังงานเปลี่ยนไปเมื่อชั้นอธิบาย เด็กๆ ดูใส่ใจมากขึ้น พลังงานเข้มข้นขึ้น
ถามเด็กวันกลับว่ากิจกรรมให้พรเป็นอย่างไร หลายคนบอกว่ารู้สึกมีพลัง และใกล้ชิดกับเพื่อนที่ไม่สนิทมากขึ้น แปลกใจที่เพื่อนที่ไม่สนิทจำรายละเอียดเราได้
เช้าวันที่สอง ชั้นให้ตื่นสายขึ้นนิดนึง ชั้นตื่นเช้าพร้อมเสียงนก อากาศเย็นสบาย ได้ใช้ถุงนอน มีเวลาก่อนปลุกเด็ก ชั้นไปเดินเล่นคนเดียวที่เส้นทางไปผากล้วยไม้ ทางปรับปรุงแล้ว ชัด เดินง่ายมาก เดินป่าตอนเช้านี่ฟินสุดๆ ชอบจนอยากจะไปอีก
วันสุดท้าย เราให้วิชัยนำกิจกรรมเป่ายิ้งฉุบใบไม้เหมือนคราวที่แล้ว วิชัยเล่าเรื่องการทำ EIA ป่า และการที่ป่าเต็งรังเหลือน้อยที่สุดในโลกเพราะมันไม่มีไม้เบญจพรรณ ทำให้มันถูกจัดว่าเป็นป่าเสื่อมโทรม แล้วเอาไปทำเขื่อน ชั้นเสริมเรื่องการประเมินค่าว่าบางครั้งเราตึความสิ่งที่เราไม่เข้าใจว่าไม่มีค่า แต่ไม่ใช่ว่ามันไม่มีค่าจริงๆ มันมีค่าเมื่อเราเข้าใจความเชื่อมโยง
อีกอย่างที่ชั้นชี้ให้เห็นคือความสามารถในการเล่าเรื่องของวิชัยและออสก้า ที่เล่าเรื่องป่า เรื่องพราน ชั้นบอกเด็กว่า เดี๋ยวนี้เค้าไม่ได้ขายสินค้าและบริการเฉยๆ แต่เค้าขายเรื่องราว เช่น Friestag ขายเรื่องราวการ Recycle ผ้าใบ ขายดีไซน์ ชั้นบอกเด็กว่าถ้าเธอหาคุณค่าและความหมายของสิ่งที่ทำและสิ่งที่ขายได้ เรื่องราวจะมา และเธอจะ"ขาย"ได้
งวดนี้ ชั้นพบว่าชั้นอธิบายเพิ่มเยอะมาก อาจเป็นเพราะเราฟังมาหลายครั้ง เชื่อมโยงสิ่งที่วิชัย ออสก้า เล่า กับการศึกษาทางวิศวฯ ได้
กิจกรรมที่ต่างไปคือนักสืบต้นไม้ ให้แบ่งกลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายต้นไม้ที่หัวหน้ากลุ่มไม่เห็น หัวหน้าจะให้คำสั่งกับลูกน้องให้ไปทำ เพื่อให้หัวหน้ากลุ่มไปหาต้นไม้นั้นให้เจอด้วยตัวเอง เด็กๆ ใช้ 2-3 คำสั่งก็หาต้นไม้เจอแล้ว เช่น สั่งให้วัดระยะทาง ให้ฉี่ใส่โคนต้นไม้
แล้วก็ปิดด้วยกิจกรรมเสียงกระซิบ (อ่านรายละเอียดจากโพสต์ก่อน) เหมือนกลอนไฮกุ เสียงที่เด็กได้ยินว่าต้นไม้กระซิบถึงเขา เป็นเสียงที่มาจากใจเค้าเอง เห็นได้ชัดมากๆ
หลังจากให้ไปเก็บเต็นท์ มูปิดวงโดยการเดาลักษณ์ของทุกคน ในสองสามวันที่อยู่ด้วยกัน มูสังเกตเด็กๆ และป้อนคำถามเพื่อเช็คลักษณ์ มูทำการบ้านก่อนมาด้วยการส่องเฟสเด็กๆ มูเริ่มด้วยการแบ่งเป็นศูนย์กาย หัว และท้อง อธิบายลักษณ์ทั้งเก้า แล้วให้เด็กเลือกศูนย์และลักษณ์ตัวเอง จากนั้นมูก็นำเสนอลักษณ์ที่มูคิดว่าเด็กเป็น เด็กๆ ดูสนใจมากๆ มูโพสต์แบบสอบถามทางเฟสบุ๊คให้เด็กไปทำ แล้วส่งข้อความไปบอกมู เด็กหลายคนถามต่อ
ชั้นพบว่างวดนี้ ชั้นกล้าใช้พลังของชั้น กล้าเป็นตัวเอง แต่ก่อนเคยคิดว่าสายความเข้าใจตนเองต้องซอฟท์ ต้องดูเย็นๆ เหมือนพี่ณัฐ แต่มันไม่ใช่เรา และบางที สถานการณ์ต้องการความโชะ งวดนี้ พอเด็กเริ่มไหล เริ่มงี่เง่า เริ่มคุยกันเอง ชั้นก็พูดตรงๆ เลย เอาให้เข้าเป้า เช่น เรื่องการชวนผู้ใหญ่กินข้าว เรื่องความตรงเวลา ชั้นรู้สึกว่ามันเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
แต่เดิม ชั้นคิดว่าเป็นการดูถูกสติปัญญาเด็กที่บอกตรงๆ แต่ชั้นเริ่มรู้สึกว่าเด็กและชั้นอายุห่างกันมาก เด็กไม่ชินกับการสังเกตอะไรนานๆ และเข้าใจได้เอง ถ้าอยากให้เด็กเก็ต บางทีชั้นพูดตรงเลย ยิงตรง พอความสัมพันธ์เราดี เด็กรับได้และไม่คิดว่าเราด่า
การที่ชั้นเป็นตัวเอง ทำให้พลังชีวิตชั้นกลับมาด้วย และสำหรับเด็กที่พลังอ่อน พลังงานที่ชั้นส่งออกไปมันกระแทกให้เค้าตื่นตัวได้
ชั้นพบว่าการไปป่าคราวนี้ เด็กหลายคนมีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ และชั้นได้ป่าช่วยเยียวยาด้วย
ช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิตชั้น จากที่เคยแอ๊คทีฟมากๆ พุ่งๆ เป็นเฉื่อยๆ ช้าๆ ไหลไปตามกำหนดการ
กำหนดการที่วางไว้คือต้องพานิสิต ๑๗ คนที่ลงเรียนวิชา Communication and Leadership ไปเขาใหญ่ โชคดีที่เลือกวีคเอนด์หลังสงกรานต์ คนน้อยเพราะเหนื่อยล้าและหมดเงิน เราปักหลักที่ลานกางเต็นท์ผากล้วยไม้
ชั้นต้องการให้ทำกิจกรรมในป่าจริงๆ ให้นอนเต็นท์ และทำอาหารกินเอง เทอมที่แล้วไปมาเป็นครั้งแรก และเล่าอยู่ที่โพสต์นี้ ชั้นได้เรียนรู้ว่าชั้นพลาดที่ไม่บังคับให้ทุกคนไป คนที่จำเป็นต้องไปตัดโอกาสตัวเองโดยไม่ไป เทอมนี้ชั้นจึงบังคับให้ทุกคนไป ประกาศชัดเจนตั้งแต่ต้นเทอม ถ้าไปไม่ได้ ก็ไม่ควรลงเรียน และจะไม่ได้ A แน่นอน
โดยนิสัย ชั้นไม่ชอบถูกบังคับ และมีความเห็นว่าถ้ากิจกรรมเจ๋งจริง เด็กก็ต้องมาเองสิ ไม่เห็นต้องบังคับเลย แต่สำหรับคนที่ติดอยู่ใน Comfort zone การรอให้เค้าออกมาเองมันช้าไป ชั้นจะกระทุ้งเอง
เราออกจากมหาลัยตอนเที่ยง ไปถึงมู ชัยฤทธิ์ ก็ให้ทำกิจกรรมฟังเสียงป่า นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย หลับตา ฟังเสียงป่า รู้สึกถึงลมกระทบกาย มูไม่ได้แนะนำตัวเอง แต่ให้เด็กถามคำถามมู ซึ่งฮีก็จะเลือกตอบบางคำถาม
แทนที่จะให้แต่ละคนแนะนำตัวเอง ฮีให้เล่นกิจกรรมถามคำถามดอกไม้ก่อน คือ มีอาสาสมัคร ๑ คน แล้วเพื่อนถามคำถามที่เป็นภาษาดอกไม้ แล้วก็สลับ ให้ถามคำถามแบบปาก้อนหิน ซึ่งอาจจจะไม่จริงก็ได้ เช่น ทำไมหน้าเหี้ยจัง พบว่าเราและเจ้าตัวรู้จักมุมที่เพื่อนมองเจ้าตัวจากคำถามก้อนหิน จะมีธีมอยู่ไม่กี่ธีม เช่น เจ้าชู้ นอนเยอะ เหวี่ยง จริงจัง
สำหรับเด็กที่ไม่สนิทกัน ไม่กล้าปาก้อนหิน เค้าบอกว่ารู้สึกว่ามันไม่ดี กลัวเพื่อนไม่ชอบ รอบแรกก็เล่นไปไม่ครบคน แบบเนือยๆ หลายคนขอผ่าน
จากนั้นก็กางเต็นท์ รอวิชัยเอาอาหารและอุปกรณ์ทำครัวมาให้ แบ่งเป็นกลุ่มย่อย พบว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่สนิทกันทั้งหมดก็จริง แต่กินข้าวด้วยกัน
วันศุกร์เป็นวันพระใหญ่ พระจันทร์เต็มดวง สว่างมาก
ตอนค่ำ มีเวลาไม่มาก มูให้เล่นเกม แล้วทำกิจกรรมรำลึกอดีต ฮีเริ่มว่าตัวละครหนึ่งในเรื่องกรงกรรมบอกว่า "อดีตทำอะไรเราไม่ได้" ถามเด็กๆ ว่าแล้วพวกเรามีอดีตที่ยังทำร้ายเราอยู่บ้างไหม ชั้นแปลกใจที่เด็กๆ เริ่มเล่า ทั้งๆ ที่ยังไม่สนิทกับมูขนาดนั้น อาจเป็นเพราะเราได้ผ่านกระบวนการกันมาหลายเดือนแล้ว บรรยากาศป่าและแสงเทียนก็ช่วยด้วย
คราวที่แล้ว ชั้นให้อิสระ กำหนดเวลาแล้วให้ตื่นเอง พบว่าตื่นสายมาก งวดนี้ ชั้นเดินปลุกตามเต็นท์ ทำอาหารเพื่อกินเข้าและเที่ยง
วิชัยเริ่มด้วยกิจกรรมฟังเสียงป่า (เหมือนที่มูทำและค้างนานกว่าเพื่อเตรียมความพร้อมเด็ก) และความงามเล็กๆ วางเฟรมสไลด์ไว้ที่จุดต่างๆ แล้วให้เด็กๆ ดูผ่านเฟรมแล้ววาดตาม เสร็จแล้วมาล้อมวงคุยกัน เด็กๆ บอกว่าพอมองผ่านเฟรมเล็กๆ ทำให้ได้เห็นมุมที่ไม่เคยเห็น
ความงามเล็กๆ |
เมื่อได้ฝึกการฟังและการมอง วิชัยพาเดินป่าเส้นเดิมกับปีที่แล้ว แต่สวนทาง เดินออกไปเป็นที่ทำการอุทยานฯ เด็กหลายคนไม่เคยเดินป่าเลย หลายคนไม่เคยนอนเต็นท์ มีนิสิตหญิงคนหนึ่งปอกผลไม้ก็ยังไม่เป็น เพราะเคยปอกแล้วกระเด็น แม่บ้านจึงไม่ให้ทำ ชั้นอัศจรรย์ที่ทักษะพื้นฐานหายไป ถ้าเกิดสงคราม คงทำอะไรไม่เป็น
ระหว่างเดิน วิชัยบรรยายป่าชนิตต่างๆ ของเขาใหญ่ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และอะไรอีกอย่าง ระบบนิเวศ การพึ่งพาอาศัยกัน นิสิตตั้งใจฟังดี
เราหยุดกินอาหารเที่ยงในป่า มูถามชั้นว่า มีกลุ่มไหนชวนกินข้าวไหม ชั้นบอกไม่มี ชั้นเฉยๆ เพราะชั้นไม่ได้ช่วยทำ ก็ไม่สมควรได้กิน แต่เราอยากฝึกให้นิสิตรู้ว่าน้ำใจ เช่น การชวนผู้ใหญ่กินข้าว เป็นสิ่งที่ควรทำ
เดินป่าด้วยความอบอ้าว แต่เด็กก็ไม่บ่น อันนี้ขอชื่นชม แต่ก็มีนิสิตที่ถือพัดลมใส่ถ่านเดินป่า
พอออกมา เราก็แวะกินนั่นนี่ที่ที่ทำการอุทยานฯ แล้วไปต่อที่น้ำตาเหวสุวัต ทำกิจกรรมแต่งกลอนไฮกุและถ่ายรูปประกอบ (อ่านรายละเอียดจากโพสต์คราวก่อน) กลอนที่เด็กเขียนสะท้อนตัวตนคนเขียน คราวนี้คนน้อย เราเลยเดินลงไปถึงตีนน้ำตกเลย เด็กๆ เรียกร้องอยากเล่นน้ำ วิชัยและออสก้าบอกว่า เล่นได้ ทุกทีที่มาก็เล่น ทั้งๆ ที่มีป้ายห้ามเล่นน้ำ ออสก้าบอกว่าเค้าห้ามเล่นเฉพาะตอนหน้าฝน หน้าแล้งเล่นได้ แต่เค้าขี้เกียจเอาป้ายออก ชั้นก็อินโนเซ็นต์ ก็เชื่อ บอกเด็กๆ ว่าลงได้เลย ซักพัก ก็ลงไป ๖ คน
ชั้นนั่งเล่นคุยกับวิชัย ออส ปอน และใหม่ ซักพักได้ยินเสียงโทรโข่ง เจ้าหน้าที่เรียกตัวให้ขึ้นจากน้ำ และมาเสียค่าปรับ
ถูกอบรม ตักเตือนโดยจนท.อุทยาน |
โดนปรับ ๕๐๐ บาทพร้อมใบเสร็จ และคำชี้แจงอีกชุดยาวจากจนท.อุทยานว่าเคยจมไปกี่ศพบ้าง
กลับถึงค่าย แยกย้ายทำกับข้าว อาบน้ำ
กิจกรรมภาคค่ำต่างจากคราวที่แล้ว เพราะเด็กไม่สนิทกันทุกคน มีกลุ่มที่สนิทกันมาก มีบางคนแทบไม่เคยคุยกัน มูให้เล่นเกมโป้งไอ้หยา กิจกรรมคำถามปาก้อนหิน กิจกรรมคิดคำที่เกี่ยวข้อง คือ ให้แบ่งกลุ่ม 3-4 คน มูจะให้คำ ๑ คำ เช่น ความรัก คณะวิศวะ แล้วให้แต่ละคนพูดว่าคำที่ให้นี้ ทำให้นึกถึงคำอื่นว่าอะไร ให้คนในกลุ่มตกลงกันว่าจะเอาคำไหน แล้วก็แชร์วงใหญ่ น่าสนใจมากที่เมื่อมูให้คำว่า "คณะวิศวะ" กลุ่มหนึ่งเลือกคำว่า เหี้ย ตอนแรกชั้นฟังก็ตกใจ แล้วเด็กก็บอกว่าเลือกคำนี้เพราะคำว่า เหี้ยๆ แปลว่าสุดๆ
กิจกรรมให้พร มูให้ชั้นเป็นอาสา สาธิตให้ดูโดยที่ไม่ได้เตี๊ยมกันมาก่อน ไปนั่งกลางวง แล้วมูถามว่า อยากละทิ้งหรืออยากได้รับ ชั้นตอบ แล้วมูก็ให้เล่าเรื่องราวสั้นๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งที่อยากละทิ้งหรืออยากได้รับ แล้วให้ชั้นนอนลง หลับตา จากนั้นให้ทุกคนเอามือมาสัมผัสร่างกายชั้น แล้วให้พร
ชั้นพบว่า พรที่ให้สะท้อนตัวตนคนให้มากกว่าเรื่องราวของชั้นผู้รับพร ถึงจำเสียงไม่ได้ ก็เดาว่าใครให้พรได้
เด็กๆ สลับกันออกมาอยู่ตรงกลาง แรกๆ เด็กๆ ดูลังเลและไม่ใส่ใจ ชั้นพูดว่า ชั้นเรียนอเมริกา ๑๐ กว่าปี ตรีโทเอก เคยไม่เชื่อเรื่องพรว่าขอกันได้ คิดว่าต้องทำเอง กลับมาเป็นอาจารย์ก็แปลกใจมากที่เด็กๆ มาขอพรชั้นตอนใกล้สอนหรือใกล้นำเสนองาน ชั้นบอกว่าถ้าเราใส่ใจ เราก็ให้พรคนอื่นได้เหมือนกัน กิจกรรมมีความหมายเมื่อเราใส่ใจ You get what you give. ชั้นอาจจะมโน แต่คิดว่าพลังงานเปลี่ยนไปเมื่อชั้นอธิบาย เด็กๆ ดูใส่ใจมากขึ้น พลังงานเข้มข้นขึ้น
ถามเด็กวันกลับว่ากิจกรรมให้พรเป็นอย่างไร หลายคนบอกว่ารู้สึกมีพลัง และใกล้ชิดกับเพื่อนที่ไม่สนิทมากขึ้น แปลกใจที่เพื่อนที่ไม่สนิทจำรายละเอียดเราได้
เช้าวันที่สอง ชั้นให้ตื่นสายขึ้นนิดนึง ชั้นตื่นเช้าพร้อมเสียงนก อากาศเย็นสบาย ได้ใช้ถุงนอน มีเวลาก่อนปลุกเด็ก ชั้นไปเดินเล่นคนเดียวที่เส้นทางไปผากล้วยไม้ ทางปรับปรุงแล้ว ชัด เดินง่ายมาก เดินป่าตอนเช้านี่ฟินสุดๆ ชอบจนอยากจะไปอีก
วันสุดท้าย เราให้วิชัยนำกิจกรรมเป่ายิ้งฉุบใบไม้เหมือนคราวที่แล้ว วิชัยเล่าเรื่องการทำ EIA ป่า และการที่ป่าเต็งรังเหลือน้อยที่สุดในโลกเพราะมันไม่มีไม้เบญจพรรณ ทำให้มันถูกจัดว่าเป็นป่าเสื่อมโทรม แล้วเอาไปทำเขื่อน ชั้นเสริมเรื่องการประเมินค่าว่าบางครั้งเราตึความสิ่งที่เราไม่เข้าใจว่าไม่มีค่า แต่ไม่ใช่ว่ามันไม่มีค่าจริงๆ มันมีค่าเมื่อเราเข้าใจความเชื่อมโยง
มูผู้ช่วยชีวิต |
งวดนี้ ชั้นพบว่าชั้นอธิบายเพิ่มเยอะมาก อาจเป็นเพราะเราฟังมาหลายครั้ง เชื่อมโยงสิ่งที่วิชัย ออสก้า เล่า กับการศึกษาทางวิศวฯ ได้
กิจกรรมที่ต่างไปคือนักสืบต้นไม้ ให้แบ่งกลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายต้นไม้ที่หัวหน้ากลุ่มไม่เห็น หัวหน้าจะให้คำสั่งกับลูกน้องให้ไปทำ เพื่อให้หัวหน้ากลุ่มไปหาต้นไม้นั้นให้เจอด้วยตัวเอง เด็กๆ ใช้ 2-3 คำสั่งก็หาต้นไม้เจอแล้ว เช่น สั่งให้วัดระยะทาง ให้ฉี่ใส่โคนต้นไม้
แล้วก็ปิดด้วยกิจกรรมเสียงกระซิบ (อ่านรายละเอียดจากโพสต์ก่อน) เหมือนกลอนไฮกุ เสียงที่เด็กได้ยินว่าต้นไม้กระซิบถึงเขา เป็นเสียงที่มาจากใจเค้าเอง เห็นได้ชัดมากๆ
หลังจากให้ไปเก็บเต็นท์ มูปิดวงโดยการเดาลักษณ์ของทุกคน ในสองสามวันที่อยู่ด้วยกัน มูสังเกตเด็กๆ และป้อนคำถามเพื่อเช็คลักษณ์ มูทำการบ้านก่อนมาด้วยการส่องเฟสเด็กๆ มูเริ่มด้วยการแบ่งเป็นศูนย์กาย หัว และท้อง อธิบายลักษณ์ทั้งเก้า แล้วให้เด็กเลือกศูนย์และลักษณ์ตัวเอง จากนั้นมูก็นำเสนอลักษณ์ที่มูคิดว่าเด็กเป็น เด็กๆ ดูสนใจมากๆ มูโพสต์แบบสอบถามทางเฟสบุ๊คให้เด็กไปทำ แล้วส่งข้อความไปบอกมู เด็กหลายคนถามต่อ
ชั้นพบว่างวดนี้ ชั้นกล้าใช้พลังของชั้น กล้าเป็นตัวเอง แต่ก่อนเคยคิดว่าสายความเข้าใจตนเองต้องซอฟท์ ต้องดูเย็นๆ เหมือนพี่ณัฐ แต่มันไม่ใช่เรา และบางที สถานการณ์ต้องการความโชะ งวดนี้ พอเด็กเริ่มไหล เริ่มงี่เง่า เริ่มคุยกันเอง ชั้นก็พูดตรงๆ เลย เอาให้เข้าเป้า เช่น เรื่องการชวนผู้ใหญ่กินข้าว เรื่องความตรงเวลา ชั้นรู้สึกว่ามันเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
แต่เดิม ชั้นคิดว่าเป็นการดูถูกสติปัญญาเด็กที่บอกตรงๆ แต่ชั้นเริ่มรู้สึกว่าเด็กและชั้นอายุห่างกันมาก เด็กไม่ชินกับการสังเกตอะไรนานๆ และเข้าใจได้เอง ถ้าอยากให้เด็กเก็ต บางทีชั้นพูดตรงเลย ยิงตรง พอความสัมพันธ์เราดี เด็กรับได้และไม่คิดว่าเราด่า
การที่ชั้นเป็นตัวเอง ทำให้พลังชีวิตชั้นกลับมาด้วย และสำหรับเด็กที่พลังอ่อน พลังงานที่ชั้นส่งออกไปมันกระแทกให้เค้าตื่นตัวได้
ชั้นพบว่าการไปป่าคราวนี้ เด็กหลายคนมีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ และชั้นได้ป่าช่วยเยียวยาด้วย
Comments