เพื่อนผู้เป็นแรงบันดาลใจ Photo Credit: ลิ้ม |
ช่วงนี้ชั้นพบว่าการฝึกสองอย่างนี้มีบางอย่างที่คล้ายๆ กัน
Yoga then
เพราะโยคะ ชั้นก็ได้ข้ามขอบความกลัวหลายอย่าง เช่น จะทำ Headstand ได้ต้องไม่กลัวล้ม คือ ต้องล้มก่อนถึงทำได้น่ะ เมื่อเราล้มแล้วไม่เจ็บ ก็ไม่กลัว หรือทุกครั้งที่ทำ Dropbacks (ยืนแล้วแอ่นหลังโค้งลง เอามือไปแตะพื้นเป็นสะพานโค้ง) ชั้นต้องโน้มน้าวตัวเองว่ามีงทำๆ ไปเหอะ เพราะเราจะมีเหตุผลล้านอย่างที่จะไม่ทำ
คำขวัญของครูใหญ่หรือกูรูจิ Sri. K. Pattabhi Jois คือ Practice and all is coming. ชั้นจึงไม่เคยเรียกว่า เล่นโยคะ แต่มันคือการฝึกโยคะ กึ่งๆ Spiritual practice.
สำหรับคนที่ห่วงภาพลักษณ์อย่างชั้น การฝึกท่าที่ทำไม่ได้คือการฝึกไม่กลัวทุเรศด้วย เพราะฝึกห้องเดียวกันกับเพื่อน ชั้นต้องล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อหน้าคนอื่น มันเป็นการฝึกที่ดี ชั้นให้ค่าต่อการให้โอกาสตัวเอง ลองแล้วไม่ได้ ดีกว่าไม่ได้ลอง
อีกด้านของการมีเป้าหมายชัดและอยากทำให้ได้ คือ ระหว่างที่ฝึกนี้ ชั้นก็บาดเจ็บเป็นระยะๆ เจ็บหน้าอก (จนไปหาหมอเพราะคิดว่าตัวเองเป็นมะเร็งเต้านม หมอบอก คุณก็หยุดฝึกก่อน) ข้อมือเจ็บ Hamstring เจ็บ
Titibhasana Photo Credit: Shanti |
พอหลุดจากช่วงพีคเพราะครูย้ายไป ชั้นก็ยังฝึกโยคะอยู่ตามคลาสปกติ ฝึกเองบ้าง ชั้นชอบความรู้สึกหลังฝึกเสร็จ โปร่ง โล่ง ตัวเบา การฝึกโยคะทำให้มีพลัง
Gym training now
เริ่มเทรนตั้งแต่กันยา 2561 ชั้นใช้เทรนเนอร์เพราะเพื่อนใช้และนางชอบ ชั้นฝึกที่สตูดิโอที่มีสอนโยคะอยู่แล้ว ไม่ต้องเดินทางหลายที่การใช้เทรนเนอร์เหมือนมีครูส่วนตัว เป็นการบริการเฉพาะบุคคล (Customized service) เมื่อเริ่มกิจกรรมใหม่ มันเหมือนย้ายบ้าน ชั้นและครูต้องปรับตัวเข้าหากัน สไตล์เราต่างกันเยอะด้วย ครูชั้นผ่อนคลาย อะไรก็ได้ แต่ชั้นจริงจัง เป๊ะ ก็ต้องสื่อสารกันซักพักว่าชั้นต้องการอะไร เช่น เวลาเริ่มและเวลาเลิก วิธีการนัดเทรน ด้วยความที่ฮีเป็นคนอะไรก็ได้ ก็จะเป็นชั้นที่ร้องขอนั่นนี่ เท่าที่ผ่านมาฮีก็ทำได้ตามที่รีเควส
ชั้นเชื่อในเรื่องการสื่อสารตรงๆ ถ้าครูให้ไม่ได้ ชั้นก็ยอมรับและเปลี่ยนคน (ข้อดีของระบบทุนนิยมที่ผู้จ่ายเงินเป็นผู้เลือก) ถ้าทำได้ตามที่ร้องขอ ชั้นก็จงรักภักดี (Loyal) กับเค้า รู้สึกไว้ใจและนับถือมากขึ้น
นอกเหนือจากความเป็นมืออาชีพของครู ชั้นคิดว่าเคมีระหว่างเรากับเทรนเนอร์น่ะสำคัญ ถ้าคลิกแล้วจะทำให้การฝึกสนุก ในแง่นี้ ก็ขอขอบคุณครูของเรา
ช่วงแรกๆ ชั้นรู้สึกเขินๆ ไม่เป็นธรรมชาติ ที่จะต้อง Work กับคนแปลกหน้าอย่างใกล้ชิด พอเทรนกันไปซัก เริ่มชิน เหมือนฮีเป็นญาติ เป็นเพื่อน มาสัมผัสร่างเราได้ คล้ายๆ ฝึก Mysore yoga เพราะครูโยคะก็มาช่วยเราอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
ไปในที่ๆ คุณไม่เคยไป (Go to where you have never been before..)
ชั้นชอบความท้าทาย บางครั้งเทรนเนอร์ให้ยกน้ำหนักที่ชั้นสัมผัสหนแรกแล้วก็ "เห้ย หนักฉิบ จะทำได้เหรอ" แต่ก็..เอาวะ... ถ้าเค้าคิดว่าเราทำได้ เราก็น่าจะทำได้ ส่วนใหญ่ก็จะทำได้จนครบเซ็ตจริงๆ ถ้าให้ทำเองโดยไม่มีครู ชั้นไม่ทำน้ำหนักที่เค้าให้ทำแน่นอน เพราะคิดว่าคงทำไม่ได้ ชั้นมองว่าการมีเทรนเนอร์คือการยืดขอบความเป็นไปได้ของตัวเองแต่ก็มีบางครั้งที่เค้าประเมินเราต่ำ ชั้นก็บอกไปว่าอันนี้ง่ายนะ เค้าก็ปรับให้ ชั้นมองว่าตัวเองมาเทรนเพื่อฝึกร่าง ไม่ได้มาชิลล์
ในอีกมุม ครูที่สอนอะไรก็ตามคือโปรโมเตอร์ เป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณ (Spritual support) ของนักเรียน บางทีเทรนเนอร์แค่มาแตะๆ มือจับเหมือนช่วยยก ให้เรารู้สึกว่ามีคนช่วย ชั้นก็ได้กำลังใจละ บางทีฮีก็จะพูด "เหลืออีก x ทีเอ๊ง!!" ชั้นรู้สึกเหมือนมีเชียร์ลีดเดอร์ข้างๆ ตัว คอยดูให้เราเข้าเส้นชัย
นอกเหนือจาก Weight training ก็ต่อยมวย ทำ High intensity interval training (HIIT) ที่กำลังฮิตอยู่ตอนนี้ คือ ทำให้หัวใจเต้นแรงๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ แล้วก็พัก แล้วก็ทำซ้ำ ในโยคะ เราไม่ค่อยได้ทำ Cardiovascular exercise เท่าไหร่
Weight training มีตัวเลขชัดเจน เช่น จำนวนครั้งต่อเซ็ต จำนวนเซ็ต น้ำหนักที่ทำได้ เข้าทางคนที่หมกมุ่นกับตัวเลข ส่วนชั้นไม่ได้จำว่าทำอะไรได้เท่าไหร่ เป็นหน้าที่ครูที่จะจำ ชีวิตชั้นมีเป้าหมายเยอะพอแล้ว
ชั้นอยากให้ร่างกายมีความยีดหยุ่นและความแข็งแรง โยคะให้พื้นฐานความยืดหยุ่น การใส่ใจใน Alignment และสมาธิ Weight training ให้ความแข็งแรง ชั้นทำท่าโยคะบางท่าได้เพราะแข็งแรงขึ้น เช่น Pincha Mayurasana กับกำแพง
InBody Machine
My Latest InBody Result |
Social media
ปรากฏการณ์เรื่องชีวิตเราบน Social media ก็น่าสนใจ ถ้าไม่ตระหนักรู้ มันยิ่งเสริมความหมกมุ่นและอีโก้ของเราจริงๆ ไม่ว่าโยคะหรือเทรนอะไร มันก็กลับมาเรื่องเดียวกัน บางทีเราโพสรูปหรือวีดีโอเพราะเราอยากให้คนอื่นชื่นชม พอเค้าไม่ปลี้ม ก็เครียดอีก สำหรับชั้น มันเป็นเครื่องมือในการสร้างภาพหรือประชาสัมพันธ์ นอกจากให้เราได้ฟีดแบ๊กหรือฝึกความไม่กลัวผิดหวัง
Intermittent Fasting (IF, การอดอาหารเป็นช่วงๆ)
เป็นการกิน x ชั่วโมง และอด 24-x ชั่วโมง พระและแม่ชีก็ทำ IF กลายๆ อดในที่นี้คืออดจริงๆ ไม่กินน้ำหวานด้วย แต่กินน้ำชาได้เป้าหมายคือให้ระบบย่อยได้พัก จะทำให้มันทำงานได้ดีขึ้น Growth hormone จะหลั่งช่วงเราหิว
ชั้นพบว่ามันเหมาะกับร่างกายชั้นมาก ชั้นพยายามกินและออกกำลังในช่วงพระอาทิตย์ยังไม่ตกดิน เพราะเวลากลางคืนเป็นเวลาพักของร่างกาย ชั้นหยุดกินหลังบ่ายสาม
ชั้นพบว่าชีวิตมันง่ายขึ้น ไม่ต้องหาอาหารไป ๑ มื้อ น้ำหนักลดไม่มาก แต่ %Fat ลดลงอย่างต่อเนื่อง และ Muscle mass เพิ่ม ตัวกระชับขึ้น รู้สึกมีพลัง ไม่ต้องคอยกังวลว่าอะไรกินได้ กินไม่ได้ แค่หยุดกินเมื่อหมดเวลา
Other stuff
ช่วงนี้ชอบฝังเข็มมาก เลิกนวดไทยไปเลย เพราะฝังเข็มเอาอยู่ ชั้นฝังที่ท้องและที่หน้าด้วย ที่ท้อง ทำเพื่อปรับสมดุล ช่วยให้การเผาผลาญ (Metabolism) สมดุล ชั้นคิดว่ามันทำให้ชั้นอยากอาหารน้อยลง ความร้อนเย็นสมดุลขึ้น เดิมชั้นเย็นเกินไป เหงื่อไม่ออก ตอนนี้เริ่มเหงื่อออกชั้นชอบฝังเข็มที่หน้าเพราะมันช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้า ดีกว่านวดหน้าเยอะ
เขียนไปเขียนมา เหมือนบันทึกการดูแลร่างตัวเองที่ทำตอนนี้ จริงๆ มีอีก...
Comments