เทอมนี้ของฉัน (Weeks 11-13)


ดิวน้อยแห่ง Thai Fit สอนโพสท่านี้
ประหลาดใจตัวเองที่ไม่ได้เขียนบล็อกมานานขนาดนี้

สองสัปดาห์ที่ผ่านมามีงานงอกขึ้นมาคือมีวงเสวนา "บทสนทนาเกี่ยวกับการเรียนรู้" ของ New Spirit และ Passion to Profession Talk ที่จุฬาฯ คือ ในสัปดาห์นั้นๆ ก็เสียไปเลย ๑ วันรับแขก อยู่ในงาน เคลียร์ของ จัดงานพวกนี้บ่อยๆ ทำให้มั่นใจว่าชั้นมีเซ็นส์เรื่องนี้

วงเสวนาบทสนทนาจัดที่คณะวิศวะ มก. แขกรับเชิญคืออ.วรชาติ เฉิดชมจันทร์ จากคณะกายภาพบำบัด ม.รังสิต และอ.มานิต จากม.มหาสารคาม เป็นองค์ปาฐก เรารู้จำนวนผู้เข้าร่วมล่วงหน้า จึงจัดที่นั่งเป็นวงกลม  มีอาจารย์วิศวะมาเข้าฟังน้อย เป็นคนใกล้ตัวที่รู้จักกันดี ที่น่าสนใจคือมีอาจารย์จากคณะวิทยาฯ และคณะมนุษย์ มก. อ.จากมก. กำแพงแสน และอ.จากธรรมศาสตร์ มีคนมาจากฝ่ายอบรมฯ ของ BTS ด้วย

New Spirit แจกหนังสือ Schools that learn ฉบับแปล
ให้คนที่มางาน
คนน้อยก็ได้คุณภาพอีกแบบหนึ่ง คุยกันทั่วถึง นอกจากองค์ปาฐกหลักที่สร้างแรงบันดาลใจ คนอื่นๆ ในวงก็น่าประทับใจ ชั้นคิดว่าวงคุยที่มีคุณภาพควรเป็นแบบนี้ งานนี้มาในช่วงที่ชั้นกำลังถอดใจกับวงสนทนาของอาจารย์ในคณะ  หรือว่าการจัด Workshop ให้อาจารย์ เพราะว่าโครงการที่อุตส่าห์เขียนส่งไปถูกส่งกลับมา บอกว่าให้รอคณบดีคนใหม่  วงสนทนานี้ทำให้กำลังใจกลับมา

วันเสาร์ ชั้นดันสมัตร Yin Yoga Workshop ทั้งวัน วันเสาร์ที่ปกติเอาไว้นั่งเขียนบล็อก ก็ไม่ได้เขียน แถมสอนวันอาทิตย์

ในสองวีคนี้ คลาส Communication and Leadership พี่ตู่มาสอนเรื่อง Non-violent communication ต่อ พี่ตู่ให้เด็กถามคำถามที่เกี่ยวกับชีวิตตัวเอง เด็กๆ ถามมาจากตัวเอง การสะท้อนของพวกเค้าในวงและการเขียนสะท้อนที่ส่งกลับมา มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในแง่มุมมอง การจับประเด็น การสังเกตว่าได้เรียนรู้อะไร  การที่เรามีช่วงเวลาให้เด็กได้เติบโต เรียนทักษะแล้วเจอกันทั้งเทอม ดีกว่าเข้า Workshop สั้นๆ ตูมเดียว เค้ามีโอกาสได้ย่อย ได้ตกผลึก ได้ทดลองในสิ่งที่เรียน

ชั้นชอบที่พี่ตู่เน้นย้ำบ่อยๆ ให้ผ่อนคลาย ส่วนใหญ่ชั้นไม่ค่อยผ่อนคลาย รีบทำนั่นนี่ มีหลายสิ่งใน to-do list ขนาดทั้งฝึกโยคะและทำสมาธิ ชั้นเป็นสายพยายาม ขนาดผ่อนคลายยังต้องพยายามผ่อนคลาย

Odyssey Plan Presentations
หลังคาบเรียน ชั้นแบ่งกลุ่มนิสิตมานำเสนอ Odyssey Plans แผน 5 ปีข้างหน้าที่ได้ทำไป เปิดโอกาสให้เพื่อนที่เหลือถาม พร้อมทั้งเลี้ยงพิซซ่า  ชอบไอเดียของการทำ ๓ แผนของหนังสือ Design your life แผนแรกคือแผนที่จะทำอยู่แล้ว แผนที่สองคือถ้าโลกไม่ต้องการอาชีพในแผนแรก ส่วนแผนที่สามคือสิ่งที่เราจะทำ ถ้าเงินไม่ใช่ประเด็น

ชั้นให้มานำเสนอให้เพื่อนฟัง เพราะหนังสือแนะนำให้ทำ และชั้นต้องการให้เด็ก take it seriously.  อยากให้เด็กได้ประกาศให้โลกรู้โดยมีสักขีพยาน และเปิดโอกาสให้เพื่อนๆ ได้ acknowledge แพชชั่นของเค้า แล้วยังได้ Feedback และมุมมองคำถามจากเพื่อนๆ

ชั้นรู้สึกมึความสุขที่ได้ยินแผนของเด็กๆ และการตั้งคำถามจากวง เหมือนเห็นลูกตัวเองกำลังกางผ้าใบ จะออกเดินเรือจริงๆ

การคุยเรื่องแผนชีวิตของคน ๗-๘ คน พร้อมกินพิซซ่า กินเวลานานกว่าที่คิด 4-5 ชั่วโมง ชั้นรู้สึกดีที่ไม่มีลูก ไม่มีผัว  และมีเงินจะเลี้่ยง ไม่งั้นคงทำแบบนี้ไม่ได้

ข้อสังเกตคือ ถ้าเด็กคนไหนมีแพชชั่นที่ชัดเจนมาก เขียนแผนแพร๊บเดียวเสร็จ พวกที่ไม่เคลียร์ ใช้เวลาเขียนนานมาก  คนที่มีแพชชั้นชัดเจนสร้างแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนๆ ที่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี

สำหรับแผนพวกนี้ ชั้นไม่แคร์ว่าเด็กจะทำจริงหรือไม่ แต่ที่สำคัญคือเป็นเครื่องมือให้เด็กได้สำรวจตัวเอง รู้จักตัวเอง

แผนพวกนี้ทำให้เห็นเด็กชัดมากๆ บางคนที่ under my radar มีประเด็นที่น่าโค้ชต่อได้อีก การจะแงะใครซักคนนี่ใช้พลังและเวลา จังหวะด้วย

ตอนแรกที่เริ่มคลาสนี้ ชั้นกังวลว่าเด็กจะติดเรา ชั้นอยากฝึกให้เค้าพึ่งตัวเอง แค่คาบที่สอง ก็เริ่มมีเด็กมาปรึกษาทางข้อความ หรือหลังคาบ เพราะสิ่งที่เรียนไปเปิดประเด็นที่บางคนอัดเก็บไว้ ทำให้ฟุ้งซ่านมาก ชั้นบอกให้เด็กไปทำแบบฝึกหัดบางอย่าง แต่จงใจที่จะไม่ตอบข้อความเร็วๆ  อาจจะเป็นเพราะพลังงานความถ้ำของเรา เด็กๆ ไม่ติดชั้น บางคนบอกว่านอกคาบ ชั้นดูเป็นอีกคน ซึ่งอันนี้ไม่ได้ตั้งใจ Rank มันมาอัตโนมัติ

อีกประเด็นที่กังวลตอนแรกคือ ชั้นควรจะใช้อำนาจที่มาจากความเป็นอาจารย์แค่ไหนดี อยากให้คลาสผ่อนคลาย แต่ในขณะเดียวกัน ชั้นอยากท้าทายเค้า ให้เค้าได้ชนกับขอบ ชั้นไม่เชื่อเรื่องความสบายๆ คือ มันต้องยกระดับ Raise the bar เพื่อให้โต  Let them face challenges.

โปสเตอร์อลังการมาก หน้าหอแสดงดนตรี
ขอบคุณปอที่ช่วยออกแบบ
พอสนิทกัน พอ connect กันแล้ว ชั้นไม่กลัวเด็กไม่รัก จริงๆ ไม่ได้สนใจเรื่องรักหรือไม่รัก แต่ถ้าเค้ารักเรา เค้าจะเรียนได้ดี การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ชั้นแคร์สูงสุด ดังนั้นกับเด็กบางคน ชั้นก็บอกเลยว่าถ้าไม่ทำงานตามที่สั่ง จะทวง และจะมีผลอย่างไร

คลาสนี้เป็นวิชาแรกที่มีเด็กมาบอกรักหลายคนมาก รู้สึกเข้าใจคนอย่างพี่ณัฐเลยว่าเวลาได้รับความรักจากคนเรียนมากๆ เป็นอย่างไร การที่นิสิตชายวิศวะบอกรักได้ ถือเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง

สัปดาห์ต่อมา วันอังคาร พานิสิตไปจุฬา Passion to Profession Talk กับเพื่อนรักสองคน คือ รสและพี่ณัฐ แค่ได้เจอกันก็ดีใจละ  ชั้นดีใจที่พาเด็กไป เด็กได้พบนิสิตต่างคณะ ต่างมหาลัย ได้พบว่านิสิตเอกดนตรีไทยต้องซ้อมดนตรีตลอด ไม่ใช่มาอัดอ่านเอาตอนใกล้ๆ สอบได้ รู้สึกดีใจที่เด็กได้เห็นคนที่เอา passion ของตัวเองมาเป็นงาน เช่น ดิวน้อย

วันศุกร์ที่ผ่านมา ชั้นไปอบรมข้างนอก มีแขกรับเชิญคนใหม่คือเก๋ ตัดสินใจให้เพื่อนอ.ที่คุ้นเคยกับเด็กอยู่ดูแล ชั้นดีใจที่เด็กรู้สึกมีพื้นที่ปลอดภัยโดยไม่มีเรา เค้าดูแลกันเองได้  ดีใจที่เก๋บอกว่าเด็กๆ connect กับตัวเองและกับกลุ่มมากๆ  เก๋รู้สึกได้พลังไปด้วยจากการมานำกิจกรรม

ชั้นรู้สึกว่าชั้นเป็น Curator.  I curated this class.

Comments