บางทีความเชื่อมั่นสูงนี่ใกล้เคียงกับความบ้าเมื่อเรามองเห็นอนาคตที่เป็นไปได้ชัดเจนแต่คนอื่นบอกว่าไม่เกิดหรอก
สัปดาห์นี้ก็ได้ไปสำรวจพื้นที่ๆ คาดว่าจะพานิสิตไป แถวคลองหลอด ใกล้สนามหลวง ให้ไปคุยและได้เจอกับคนไร้บ้าน เขียนบันทึกเรื่องราวที่ได้เจอไว้แล้ว ชั้นประหลาดใจที่เพื่อนในเฟสอ่านเยอะมาก เยอะกว่าตอนที่ชั้นเขียนเรื่องไปเที่ยวอีก คนยังเสพเรื่องราวและประสบการณ์แปลกใหม่
อานิสงส์ (Benefits) จากการไปเห็นความทุกข์ของคนอื่นคือ วันต่อมาที่ชั้นกำลังโมโหเพื่อน ชั้นก็หยุด แล้วก็คิด on the grander scheme of things มันไม่ได้สำคัญขนาดที่ชั้นจะต้องมาทุกข์ขนาดนั้น แต่ชั้นก็ยังอยากจะสื่อสารให้เข้าใจเพราะยังอยากรักษาความสัมพันธ์อันนี้อยู่ ชั้นไม่เชื่อเรื่องการเก็บอัดความไม่พอใจไว้ เพื่อรอมันระเบิดออกมา
ชั้นก็ทำอย่างที่เพื่อนคนนี้เคยบอกไว้ ไม่โทร ให้ส่งเป็นข้อความไป เขียนความรู้สึก ความต้องการ ตามขั้นน NVC เป๊ะ ตามที่เรียนมา ผลออกมาดี ไม่ทะเลาะกัน ได้สื่อสารความต้องการของเรา และได้ฟังเพื่อน acknowledge and show appreciation on what I have done.
อีกอีเวนต์ไม่ปกติอีกอันคือประเมินคณะจากหน่วยงานอื่นในมก. อ.ที่สัมภาษณ์อาจารย์เป็น big shot ในม. ถามว่าเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรในคณะ ความร่วมมือจากอ.ในคณะเป็นอย่างไร อยากให้คณบดีทำอะไร ขำตรงที่บางทีอ.ที่สัมภาษณ์ลืมตัวว่ามาสัมภาษณ์ แต่พูดให้ข้อมูล กิน air time ของคนถูกสัมภาษณ์ไป น่าสนใจที่ได้ฟังมุมมองจากอ.ภาคอื่นๆ มนุษย์อาจารย์ไม่ได้มานั่งคุยกันในเรื่องพวกนี้มากนัก ไม่มีเวลาตรงกัน จะนัดกินข้าวเที่ยงทียังยาก
ชั้นได้ทำหน้าที่บอกคนประเมินว่าชั้นขอบคุณที่คณะฯ เห็นความสำคัญของการสอน ขอเงินมาจัด Workshop ก็ได้ทุกครั้ง
หลังควิซ ชั้นให้เล่น Quarto ซึ่งเป็น Board game คล้าย o-x ชอบเกมนี้มาก เพราะง่าย สั้น และจะคิดก็ได้ ไม่คิดก็ได้ เกมนี้แพงแล้วเล่นได้ทีละสองคน ภาคเราซื้อมาแค่ ๕ กล่อง ก็เล่นได้ถ้าคลาสเล็กๆ
การมีทีมที่ดีช่วยได้มาก เพื่อนและน้องๆ ในภาคเราคิดเห็นเรื่องการสอนไปในทางเดียวกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้ทำงานง่ายขึ้น บอร์ดเกมนี้ก็มีอาจารย์ที่เป็นรุ่นน้องอีกคนเป็นตัวตั้งตัวตีซื้อมา ตอนที่เราอยากเปิด Selected topics เพื่อนที่เป็นประธานหลักสูตรป.ตรีก็สนับสนุนให้จัด การมีสังฆะในที่ทำงานนี่คงเป็นบุญเก่าและบุญที่เพิ่งสร้างในชาตินี้ ถ้าต้องมาลุยอะไรใหม่ๆ แล้วต้องมาฟาดฟันกับคนในภาคนี่น่าจะเหนือยมาก
รู้สึกดีที่เด็กทำโมเดลถูกกับโจทย์ที่เราหาที่ผิดไม่เจอ
นึกถึงที่อ.ยืน ภู่วรวรรณพูดว่า ถ้าเราเน้นที่ทักษะของเด็ก ไม่ใช่ Content จะไม่มีคำว่าสอนไม่ทัน หรือสอนทันแล้ว งดคลาสได้ ก็ฝึกทักษะไปเรื่อยๆ
สัปดาห์นี้ก็ได้ไปสำรวจพื้นที่ๆ คาดว่าจะพานิสิตไป แถวคลองหลอด ใกล้สนามหลวง ให้ไปคุยและได้เจอกับคนไร้บ้าน เขียนบันทึกเรื่องราวที่ได้เจอไว้แล้ว ชั้นประหลาดใจที่เพื่อนในเฟสอ่านเยอะมาก เยอะกว่าตอนที่ชั้นเขียนเรื่องไปเที่ยวอีก คนยังเสพเรื่องราวและประสบการณ์แปลกใหม่
อานิสงส์ (Benefits) จากการไปเห็นความทุกข์ของคนอื่นคือ วันต่อมาที่ชั้นกำลังโมโหเพื่อน ชั้นก็หยุด แล้วก็คิด on the grander scheme of things มันไม่ได้สำคัญขนาดที่ชั้นจะต้องมาทุกข์ขนาดนั้น แต่ชั้นก็ยังอยากจะสื่อสารให้เข้าใจเพราะยังอยากรักษาความสัมพันธ์อันนี้อยู่ ชั้นไม่เชื่อเรื่องการเก็บอัดความไม่พอใจไว้ เพื่อรอมันระเบิดออกมา
ชั้นก็ทำอย่างที่เพื่อนคนนี้เคยบอกไว้ ไม่โทร ให้ส่งเป็นข้อความไป เขียนความรู้สึก ความต้องการ ตามขั้นน NVC เป๊ะ ตามที่เรียนมา ผลออกมาดี ไม่ทะเลาะกัน ได้สื่อสารความต้องการของเรา และได้ฟังเพื่อน acknowledge and show appreciation on what I have done.
อีกอีเวนต์ไม่ปกติอีกอันคือประเมินคณะจากหน่วยงานอื่นในมก. อ.ที่สัมภาษณ์อาจารย์เป็น big shot ในม. ถามว่าเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรในคณะ ความร่วมมือจากอ.ในคณะเป็นอย่างไร อยากให้คณบดีทำอะไร ขำตรงที่บางทีอ.ที่สัมภาษณ์ลืมตัวว่ามาสัมภาษณ์ แต่พูดให้ข้อมูล กิน air time ของคนถูกสัมภาษณ์ไป น่าสนใจที่ได้ฟังมุมมองจากอ.ภาคอื่นๆ มนุษย์อาจารย์ไม่ได้มานั่งคุยกันในเรื่องพวกนี้มากนัก ไม่มีเวลาตรงกัน จะนัดกินข้าวเที่ยงทียังยาก
ชั้นได้ทำหน้าที่บอกคนประเมินว่าชั้นขอบคุณที่คณะฯ เห็นความสำคัญของการสอน ขอเงินมาจัด Workshop ก็ได้ทุกครั้ง
Simulation
คาบนี้เหนื่อย รู้สึกได้เลยว่าการพูดภาษาอังกฤษใช้พลังงานกว่าพูดภาษาไทย มีสมองบล็อก คิดคำไม่ออกหลังควิซ ชั้นให้เล่น Quarto ซึ่งเป็น Board game คล้าย o-x ชอบเกมนี้มาก เพราะง่าย สั้น และจะคิดก็ได้ ไม่คิดก็ได้ เกมนี้แพงแล้วเล่นได้ทีละสองคน ภาคเราซื้อมาแค่ ๕ กล่อง ก็เล่นได้ถ้าคลาสเล็กๆ
การมีทีมที่ดีช่วยได้มาก เพื่อนและน้องๆ ในภาคเราคิดเห็นเรื่องการสอนไปในทางเดียวกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้ทำงานง่ายขึ้น บอร์ดเกมนี้ก็มีอาจารย์ที่เป็นรุ่นน้องอีกคนเป็นตัวตั้งตัวตีซื้อมา ตอนที่เราอยากเปิด Selected topics เพื่อนที่เป็นประธานหลักสูตรป.ตรีก็สนับสนุนให้จัด การมีสังฆะในที่ทำงานนี่คงเป็นบุญเก่าและบุญที่เพิ่งสร้างในชาตินี้ ถ้าต้องมาลุยอะไรใหม่ๆ แล้วต้องมาฟาดฟันกับคนในภาคนี่น่าจะเหนือยมาก
รู้สึกดีที่เด็กทำโมเดลถูกกับโจทย์ที่เราหาที่ผิดไม่เจอ
นึกถึงที่อ.ยืน ภู่วรวรรณพูดว่า ถ้าเราเน้นที่ทักษะของเด็ก ไม่ใช่ Content จะไม่มีคำว่าสอนไม่ทัน หรือสอนทันแล้ว งดคลาสได้ ก็ฝึกทักษะไปเรื่อยๆ
สัมมนาป.โท
คาบนี้สอนเอง สอนเขียนบทนำของ Thesis Proposal ชั้น improvise สุดๆ เพราะเปลี่ยนการสอนแล้วไม่อยากให้น่าเบื่อ ง่วงนอน ใน ๓ ชม. ตอนบ่าย
เราเริ่มด้วยการเช็คอินด้วยการ์ดรูปและการ์ดคำ วันนี้รู้สึกอย่างไรกับตัวเอง กับ Proposal มีอะไรเป็นจุดแข็งหรือจุดที่ต้องการปรับปรุง ถ้าแชร์วงใหญ่จะใช้เวลามาก ชั้นให้จับคู่ เล่าให้เพื่อนข้างๆ ฟัง
แล้วชั้นอยาก Empower เค้า ชั้นอ่านนิทานเรื่องช้าง ที่มันถูกล่ามกับเสาต้นเล็กๆ ตั้งแต่เด็ก แล้วสะบัดไม่หลุด พอโตขึ้น ถึงมันจะแรงเยอะขึ้นมากแล้ว ก็ไม่ลองท้าทายดึงตัวเองออกจากเสาอีกเลย เด็กนั่งฟังเงียบสนิท แล้วมันเป็นเงียบแบบตั้งใจฟัง ไม่ใช่เงียบหลับอ่ะ อัศจรรย์ ยังไงเรื่องเล่าหรือนิทานก็มีพลัง
ฟังเสร็จ ให้วาดรูปความรู้สึกที่เรามีกับนิทานที่ฟัง
แล้วก็เล็กเชอร์ในแต่ละส่วนของบทนำ พูด แสดงตัวอย่าง แล้วก็ให้ทำเลย เขียนเลย ไม่งั้นหลับ ส่วนที่ชั้นได้ช่วยแก้ให้เค้าคือ วัตถุประสงค์ ข้อดีของการทำด้วยกัน คือ มีเพื่อนข้างๆ ให้ปรึกษา ชั้นให้เขียนบนโพสอิทโน้ตแล้วเอามาแปะข้างหน้า ก็ดูแล้วให้เลย ส่วนใหญ่เด็กเขียนไม่กระชับและไม่ตรงประเด็น
อีกส่วนที่ได้ทำในคาบคือการตั้งคำถามวิจัยหลัก และคำถามวิจัยรอง
Operations Research I
ทุกคนมาเรียนครบ และมาด้วยอุปกรณ์ที่พร้อมเรียนในที่สุด (and the midterm is a week away!): คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ ชั้นทำโจทย์ ส่วนที่ชอบที่สุดคือเด็กที่ทำเสร็จก่อนเริ่มไปช่วยเพื่อนที่ยังไม่เข้าใจ/ยังไม่เสร็จ การให้ช่วยกันแบบนี้ทำให้สอนไปได้ช้า แต่เราไปพร้อมกัน ไม่มีใครถูกทิ้งเพราะไม่เข้าใจ และชั้นคิดว่าเด็กได้ฝึกการสื่อสาร ฝึก Empathy ด้วย ส่วนคนที่ได้รับการสอนก็ได้ฟังเพื่อนอธิบายในภาษาที่น่าจะเข้าใจง่ายกว่าภาษาของอาจารย์
Collaboration and Leadership
เป็นอีกวันที่มีพี่มาช่วย หัวข้อคือ Non-violent communication คราวนี้เราน่าจะได้เรียนเรื่อง Observation, Request แล้วอีก ๒ คาบ เราจะเรียนเรื่อง Intelligent inquiries แนวตั้งคำถามแบบโค้ชชิ่ง แต่พี่เค้าสัมผัสเด็กคาบที่แล้ว ฮีอยากจะสลับหัวข้อ ซึ่งชั้นก็ยินดี
น่าสนใจที่ฮีไม่เคยให้เล่นเกมร่างกายเลย ส่วนใหญ่เป็นการฟัง คุย ทำกิจกรรมที่เป็นฐานใจและฐานหัว คลาสนี้ตอนบ่าย ยากตรงที่ง่วง ฮีสร้าง Connection ด้วย Eye contacts, Total Presence, เรียกชื่อเด็กเป็นระยะๆ ถามเจาะตัวบุคคลเลยว่า โอเคไหม นั้นนี่, มีมุขตลกซึ่งบางอันอาจ borderline politically incorrect เช่น บอกว่าเด็กตาสวย
ทักษะที่สำคัญของกระบวนกรและอาจารย์คือฉวยโอกาสที่เป็น Hot spot ได้ จะฉวยได้ก็ต้องเห็นมันเป็นก่อน ตอนเริ่มคลาส ชั้นพูดว่า "ดีจังเลยมากันครบ" พี่ตู่ถามว่า "เห็นพูดหลายรอบแล้ว การมาครบสำคัญกับหญิงอย่างไร" ชั้นบอก "ก็ไม่ต้องหางานให้เด็กทำเพิ่ม นี่ไม่ได้ระบายนะ เราก็อยาก accommodate ทุกคน แต่พอคนขาด เราต้องหาอะไรให้ทำแล้วมันเป็นงานที่เพิ่มขึ้นมา" พี่ตู่ถามเด็กๆ ว่า "อาจารย์เค้าพูดแบบนี้เค้ารู้สึกไม่พอใจไหม ทำไมเราถึงรู้ว่าอ.ไม่ได้รู้สึกไม่พอใจ"
จุดอ่อนของการต้องสอนตามมคอ. ๓ คือ อ.ไม่ได้ฉวยโอกาสพวกนี้เพราะมีตารางการสอนที่แข็งกระโด๊ก ไม่ nimble พอที่จะฉีกออกแล้วฉวยโอกาส สมแล้วที่เด็กบางคนบอกอ.สอนเป็นหุ่นยนต์
ฮีเริ่มด้วยเช็คอิน รู้สึกอย่างไร มีความคาดหวังอะไรในการมาเรียนวันนี้ น่าสนใจที่การเช็คอินมีคุณภาพขึ้นเรื่อยๆ เด็กกล้าที่จะเล่า บอกความคาดหวังของตัวเอง ชั้นไม่แน่ใจว่าเด็กรู้สึกปลอดภัยกับวง หรือว่าเป็นผลจากการฝึกให้สังเกตตัวเอง ชั้นคิดว่าการศึกษาและสภาวะปัจจุบันฝึกให้เด็กมองออกนอกตัวตลอดเวลา จนไม่รู้แม้กระทั่งว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร มี needs อะไร ไม่ต้องเอาถึง Passion or burning desire อ่ะ เอาแค่สถานการณ์นี้ คุณต้องการอะไร ตอบให้ได้เท่านี้ ชีวิตก็ไม่กระจัดกระจายละ
ฮีเล็กเชอร์ Iceberg model ที่บอกว่าความต้องการอยู่ใต้สุดของภูเขาน้ำแข็ง พฤติกรรมเป็นเพียงยอด แล้วฮีก็ให้ชั้นมานั่ง ให้เด็กๆ ถามคำถามที่ตัวเองอยากรู้กับชั้น ย้ำว่าต้องเป็นคำถามที่ตัวเองอยากรู้ ชั้นก็สงสัยว่าทำไมต้องย้ำ ปรากฏว่าถ้าคนถามถามด้วย Curiosity มันเจือด้วยความตั้งใจ คนตอบเช่นฉันจะอยากตอบ ถ้าถามส่งเดช ก็เฉยๆ ทำไมกูต้องเสียพลังงานตอบวะ
ฮีให้เล่นเกมถามคำถามปลายเปิด ที่เป็น What and How. Not whys. จับกลุ่ม ๓ คน สลับกันถามเพื่อนคนข้างๆ คนถูกถามก็จดคำถามไว้ หมุนวนไปเรื่อยๆ จนหมดเวลา แล้วมีเวลาให้ตอบคำถาม เลือกเอาอันที่อยากตอบๆ ไปก่อน แล้วถ้ามีเวลา ก็ตอบที่เหลือ
ฮีอยากปิดวงด้วยการแสดงให้เห็นประโยชน์ของคำถาม Surprised ที่เหลือเวลาอีก 10 นาทีแล้วฮีทำ coaching demo ขออาสาโค้ชชี่ ชั้นมีสเป็คในใจอยู่ว่าอยากให้เป็นใคร แล้วเด็กคนนั้นก็ออกมาจริงๆ เป็นคนที่บอกว่า Motto ส่วนตัวคือ "แล้วมันก็จะผ่านไป" เด็กเริ่มเล่าเคสตัวเอง เด่นมากที่เค้าเล่าได้ไม่อีโม เล่าได้ bird eye's view ภาพรวมมากๆ มี Stoicism ในนั้น เป็นความทรหดแบบที่ถ้าคุณไม่ได้ผ่านเรื่องยากมานาน คุณไม่มีทางมี
เล่าไปได้นิดเดียว วงก็สะเทือนแล้ว ในวงนี้มีเพื่อนสนิทของโค้ชชี่ด้วย เด็กหลายคน รวมทั้งชั้น เริ่มตาแดงๆ ละ
ฮีก็จับประเด็น สะท้อน แล้วถามคำถาม โค้ชชี่ตอบแบบไม่ดราม่า ชั้นรู้สึกได้ว่าเด็กเปราะบาง แต่ยังเล่าได้อยู่ ตอบได้ เป็นความแกร่งแบบที่ไม่ได้กดข่มความเปราะบางไว้ ชั้นชื่นชมมาก
เป็นการโค้ชที่สั้นที่สุดที่เคยเห็นมา แต่ทรงพลัง
ตอนโค้ชเสร็จ ให้สะท้อนว่ารู้สึกอย่างไร โค้ชชี่บอกว่า รู้สึกดีที่รู้ว่าไม่ต้องเก็บเอาไว้คนเดียว มีเพื่อนอยู่และเพื่อนรับฟังได้ เด็กสะท้อนทุกคน เพื่อนสนิทของโค้ชชี่บอกว่า รู้สึกดีใจที่มีคนช่วยเพื่อน เพราะตอนเพื่อนมาเล่าให้ตัวเองฟัง รู้สึกว่าช่วยอะไรเค้าไม่ได้
ปิดวงด้วยการล้อมวงจับมือ ฮีให้เดินไปบอกคนอื่นในวงในสิ่งที่อยากบอก ชื่นชม ขอโทษ หรืออะไรก็แล้วแต่ เด็กยังไม่ชินกับการพูดแบบนี้ ก็พูดไม่กี่คน แต่มีเด็กร้องไห้โฮ ยังสะเทือนใจไม่เสร็จ ไม่สุด แล้วก็ตามด้วยอีกคน พี่เค้าบอกชั้นทีหลังว่าดีมากที่เกิดขึ้น เป็นการให้ Empathy กับทั้งวง
ชั้นกอดเด็กบางคนที่มีโอกาสเพราะชอบการกอด คนไทยไม่ค่อยกอดกัน ชั้นจะไม่ได้เจอเค้าอีก ๓ อาทิตย์เพราะว่าสอบ Midterm
การที่เด็กคนนี้กล้าเล่าเรื่องของตัวเอง และวงให้ Empathy ทำให้ชั้นรู้สึกว่าดีใจ และมั่นใจว่ามาถูกทางละ
จบคาบ ไปกินข้าวกับพี่ เค้าดูผูกพันกับเด็กมากขึ้น ฮีเองก็ไม่มีลูกและอยากมี พี่เค้าไม่เชื่อในหลายอย่างที่ชั้นขอให้ทำ เช่น ขอให้มา Workshop ของกระบวนกรอีกค่าย ฮีมาเพราะชั้นขอ แล้วชั้นคิดว่าฮีก็ได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากค่ายนั้นเพราะพูดถึงอยู่; ฮีไม่ได้อยากสอนเด็กป.ตรีตอนแรก เพราะเคยไปสอนแล้วมีประสบการณ์ที่ไม่ดี เด็กไม่รับเพราะอยู่ในช่วง celebration, not self contemplation ชั้นต้องใช้พลังโน้มน้าวแกมขอร้องให้มา มาแล้วฮีก็ดู enjoy อยู่
พี่เค้าตั้งคำถามกับกิจกรรมบางอันของชั้นที่เหลือ ชั้นหวั่นไหวนิดหน่อย แต่ก็ให้เหตุผลไป โชคดีที่อยู่ในช่วงทดลอง
เราคุยกันเรื่อง Feedback ชั้นเชื่อเรื่อง Feedback ว่าจำเป็น เราไม่มีทางรู้ได้ว่าที่เราทำๆ เนี่ย มัน Work ไหม ถ้าไม่มีใครบอก ฮีบอกให้ไปถามอาจารย์ที่น่าจะเห็นต่างว่าคิดอย่างไรกับสิ่งที่ชั้นทำ เช่น คลาส หรือ Workshop ชั้นบอกว่าถ้าคนให้ Feedback ไม่ได้ทำงานอยู่ (in the arena) ชั้นถือว่า their feedback is invalid. คือ ชั้นอยากฟังฟีดแบ๊กจากคนที่ทำจริง มีประสบการณ์ตรง แต่ถ้านั่งอยู่บนอัฒจรรย์ แล้วมาพล่ามนู่นนี่ ชั้นขี้เกียจฟัง
วีคนี้ Fulfilled มากในงานที่ทำ เด็กถามว่า ทำยังไงให้ตื่นมามีพลัง ชั้นบอกว่า ชั้นรู้ว่า Passion ชั้นคืออะไร ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ
Comments