ช่วงหน้าฝน การเดินทางลำบากทำให้เหนื่อยกว่าปกติ การอยู่กรุงเทพต้องใช้พลัง การได้ฝึกโยคะในวันศุกร์เย็นเป็นพร
สัปดาห์นี้เราปิดจ๊อบ Magic English Workshop ที่เชิญดร.ขวัญนภามาสอนนิสิตป.โทและเอก ในภาคและนอกภาค นางใช้จิตวิทยามาประกอบด้วย ชั้นไม่ได้สอนแต่เป็นคนจัด ก็ต้องอยู่กับเขา ในภาพรวมเด็กส่วนใหญ่บอกว่าถ้าจัดอีก ก็มาเรียนอีก คนที่ชอบก็ชอบเลย แล้วก็เก็ตว่าครูอยากให้ข้ามขอบความกลัวการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เกม กิจกรรม เช่น ละคร การฟังเพลง และเล็กเชอร์ด้านกลไกของสมอง คนที่ไม่ชอบก็อยากได้แกรมมา ท่องศัพท์ ส่วนตัวชั้นคิดว่าไปท่องเองก็ได้ อ่านหนังสือเยอะๆ ก็ได้แกรมม่า ชั้นอยากให้ได้ฝึกพูดมากกว่า บางคนฟีดแบ๊กบอกว่าชอบเพราะได้รู้จักเพื่อนต่างคณะ ทำให้ชั้นรู้สึกสงสารเด็กป.โทที่อยู่แต่ในภาคฯ ไม่มีกิจกรรมอะไรให้ได้รู้จักคนนอก
ทั้งนี้ มีบางคนในห้องนี้ที่ชั้นเห็นการพัฒนา จากปี ๓ ที่ตายซาก เหมือนยังไม่ตื่นตลอดเวลา ก็กระตือรือร้น มีประกายในตาในปีนี้ หรือคนที่แทบต้องดร็อปแล้วฮึดขึ้นมาจนได้ A แล้วชอบเรียนก็มี
ชั้นจะไม่กล้าว่าเด็กที่ไม่สนิทตรงๆ เพราะเราไม่รู้ Background เขา แต่ถ้าสนิทกันแล้ว ชั้นยิงให้เข้าเป้า ให้ชัดเจนไปเลย
เทอมนี้ สิ่งที่ทำต่างไปในวิชา Simulation คือหลังจากอ่านโจทย์ ชั้นเขียน Logical flow ให้ดูก่อนโมเดลบนคอมฯ ว่าตัวแปรนี้ ส่งผลกับตัวแปรนี้หรือ Output ไหน เขียนให้ดูแต่เด็กก็ยังมึนๆ อยู่ ไม่แน่ใจว่าสมองยังไม่กลับจาก Summer vacation หรือไม่ ชั้นหงุดหงิดกับการขาดโลจิกและการไม่ใส่ใจ คาบนี้เป็นคาบที่เซ็งสุดสำหรับวิชานี้ตั้งแต่เปิดเทอม จะสอน Logical thinking ยังไง ที่ชั้นงงคือมันก็เล่น Board games ได้ ซึ่งโคตรใช้โลจิก แล้วทำโมเดลง่ายๆ ที่ตัวแปรโยงกันไม่กี่ตัว คิดไม่ออกได้ไง จริงๆ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เด็ก ปัญหาน่าจะอยู่ที่ความคาดหวังของชั้นมากกว่า ว่าพวกเค้าใช้ Excel ทำโมเดลมาทั้งปีๆ ที่แล้ว น่าจะเก็ตง่ายๆ
พอนิสิตบางคนทำเสร็จ ก็ให้ไปช่วยเพื่อน พอทุกๆ คนใกล้เสร็จ ก็เฉลยให้ดู
เสร็จคาบ คุยกับนิสิตป.ตรีเรื่อง Senior projects ชั้นให้ทำเป็นงานกลุ่มทั้งหมดเทอมนี้ เพราะอยากให้ฝึกทำงานร่วมกันและคิดว่าเค้าจะทำปัญหาได้ใหญ่กว่า น่าสนใจกว่าทำโปรเจคเดี่ยว พอชั้นเห็นคนเขียน Mapping บ่อยๆ งวดนี้ชั้นเลยให้นิสิตในที่ปรึกษาชั้นทั้งหมดเขียน Mapping มาก่อนมาคุยกัน เผือกบอกว่า ทำ Mind Map หลายๆ รอบ จะเริ่มเห็นประเด็น และช่วยกระตุ้นให้มีโฟกัสมากขึ้น ต่อหัวข้อ
ชั้นพบว่าถ้าเราเวลาน้อยกับเด็ก เราจะสั่งเอาเพราะเร็ว ใช้พลังน้อย แต่ถ้ามีเวลา ชั้นอยากตะล่อม โอ้โลมปฏิโลม อยากโค้ช กับเด็กพูดน้อยที่ตอบคำถามไม่ตรงประเด็น ชั้นจี้ประหนึ่งทนายกำลังสอบสวนจำเลย คือ ถ้ามันผ่าน Senior project กับชั้นไปได้นี่มันอัพเลเวลละ
เด็กได้ทำ Mapping ที่เกี่ยวกับตัวเอง ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และอะไรอีกที่จำไม่ได้ ชั้นเสนอให้เผือกช่วยแนะนำหัวข้อสำหรับทำ Mapping ของธีสิสพวกเด็กๆ (รูปอยู่ข้างล่าง ให้ทำเป็นการบ้าน) แล้วก็ทำสายธารทักษะ คาบหน้าเผือกจะมาอีกครั้ง เผือกตั้งใจทำงานมาก อุตส่าห์มาจากสวนผึ้ง ราชบุรี หาวีดีโอให้เด็กดู อัพขึ้น Google classroom แล้วก็มีเอกสารให้เด็กอ่านด้วย
มีเด็กที่ขาดหลายครั้งแล้วชั้นเตือน เอาของฝากมาให้ ชั้นไม่ค่อยชอบของฝากจากนิสิตถ้าเราไม่สนิทกัน หรือรักกันจริงๆ ชั้นรู้สึกเหมือนเป็นสินบน ชั้นก็บอกขอบคุณเค้าในกลุ่มเฟสบุ๊คแล้วบอกว่าอยากให้มาเรียนมากกว่าให้ของ และการให้ของไม่ส่งผลใดๆ กับพฤติกรรมชั้นหรือเกรด
ครูขวัญแจกหนังสือที่นางเขียน |
Simulation
นิสิต IUP ปี 4 ของชั้นเหลือแค่ ๑๐ คน เพราะไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ ชั้นสอนรุ่นนี้มาทั้งปีๆ ที่แล้ว เทอมนี้เป็นเทอมที่สามที่เจอกัน คิดว่าเรารู้ใจกันดีแล้วแต่ว่าพลาด คนที่มักมาสายก็สายเช่นเดิม มาทำควิซแล้วลงไปเลื่อนรถนานมากๆ พอขึ้นมาก็ตามไม่ทันสิ่งที่อธิบายไปแล้วๆ ก็ถาม ส่วนอีกคนก็ชิลล์มาก ก็มาไม่ทันควิซเลย ชั้นปี๊ดขึ้นแล้วก็ว่าไปเลยตรงๆ ว่าการมาสายเป็นความไม่ Professional อย่างแรง ถ้าสายอีก คงต้องคุยกับผู้ปกครองละ ชั้นรู้สึกถอยหลังเข้าคลอง กลับไปเป็นครูอนุบาลมาก แต่ก็ไม่ได้รู้สึกผิดนาน เพราะไม่คิดว่าต้องเป็นแม่พระตลอดเวลา ต้องติดตามตอนต่อไปว่าความ Bitchy ของชั้นจะ Pay off หรือไม่ทั้งนี้ มีบางคนในห้องนี้ที่ชั้นเห็นการพัฒนา จากปี ๓ ที่ตายซาก เหมือนยังไม่ตื่นตลอดเวลา ก็กระตือรือร้น มีประกายในตาในปีนี้ หรือคนที่แทบต้องดร็อปแล้วฮึดขึ้นมาจนได้ A แล้วชอบเรียนก็มี
ชั้นจะไม่กล้าว่าเด็กที่ไม่สนิทตรงๆ เพราะเราไม่รู้ Background เขา แต่ถ้าสนิทกันแล้ว ชั้นยิงให้เข้าเป้า ให้ชัดเจนไปเลย
เทอมนี้ สิ่งที่ทำต่างไปในวิชา Simulation คือหลังจากอ่านโจทย์ ชั้นเขียน Logical flow ให้ดูก่อนโมเดลบนคอมฯ ว่าตัวแปรนี้ ส่งผลกับตัวแปรนี้หรือ Output ไหน เขียนให้ดูแต่เด็กก็ยังมึนๆ อยู่ ไม่แน่ใจว่าสมองยังไม่กลับจาก Summer vacation หรือไม่ ชั้นหงุดหงิดกับการขาดโลจิกและการไม่ใส่ใจ คาบนี้เป็นคาบที่เซ็งสุดสำหรับวิชานี้ตั้งแต่เปิดเทอม จะสอน Logical thinking ยังไง ที่ชั้นงงคือมันก็เล่น Board games ได้ ซึ่งโคตรใช้โลจิก แล้วทำโมเดลง่ายๆ ที่ตัวแปรโยงกันไม่กี่ตัว คิดไม่ออกได้ไง จริงๆ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เด็ก ปัญหาน่าจะอยู่ที่ความคาดหวังของชั้นมากกว่า ว่าพวกเค้าใช้ Excel ทำโมเดลมาทั้งปีๆ ที่แล้ว น่าจะเก็ตง่ายๆ
พอนิสิตบางคนทำเสร็จ ก็ให้ไปช่วยเพื่อน พอทุกๆ คนใกล้เสร็จ ก็เฉลยให้ดู
เสร็จคาบ คุยกับนิสิตป.ตรีเรื่อง Senior projects ชั้นให้ทำเป็นงานกลุ่มทั้งหมดเทอมนี้ เพราะอยากให้ฝึกทำงานร่วมกันและคิดว่าเค้าจะทำปัญหาได้ใหญ่กว่า น่าสนใจกว่าทำโปรเจคเดี่ยว พอชั้นเห็นคนเขียน Mapping บ่อยๆ งวดนี้ชั้นเลยให้นิสิตในที่ปรึกษาชั้นทั้งหมดเขียน Mapping มาก่อนมาคุยกัน เผือกบอกว่า ทำ Mind Map หลายๆ รอบ จะเริ่มเห็นประเด็น และช่วยกระตุ้นให้มีโฟกัสมากขึ้น ต่อหัวข้อ
ชั้นพบว่าถ้าเราเวลาน้อยกับเด็ก เราจะสั่งเอาเพราะเร็ว ใช้พลังน้อย แต่ถ้ามีเวลา ชั้นอยากตะล่อม โอ้โลมปฏิโลม อยากโค้ช กับเด็กพูดน้อยที่ตอบคำถามไม่ตรงประเด็น ชั้นจี้ประหนึ่งทนายกำลังสอบสวนจำเลย คือ ถ้ามันผ่าน Senior project กับชั้นไปได้นี่มันอัพเลเวลละ
สัมมนาป.โท
จริงๆ ประโยชน์หนึ่งของการไป Workshop ข้างนอกทั้งหลายคือเจอคน ได้เจอครูขวัญและเผือกก็ที่ Workshop ที่พี่ณัฐเป็นวิทยากรหรือจัดเอง เผือกมาทำ Systems Thinking ให้ ชั้นอยากให้เด็กเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ อยากให้เห็นป่า ไม่ใช่เห็นแค่ต้นไม้เด็กได้ทำ Mapping ที่เกี่ยวกับตัวเอง ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และอะไรอีกที่จำไม่ได้ ชั้นเสนอให้เผือกช่วยแนะนำหัวข้อสำหรับทำ Mapping ของธีสิสพวกเด็กๆ (รูปอยู่ข้างล่าง ให้ทำเป็นการบ้าน) แล้วก็ทำสายธารทักษะ คาบหน้าเผือกจะมาอีกครั้ง เผือกตั้งใจทำงานมาก อุตส่าห์มาจากสวนผึ้ง ราชบุรี หาวีดีโอให้เด็กดู อัพขึ้น Google classroom แล้วก็มีเอกสารให้เด็กอ่านด้วย
มีเด็กที่ขาดหลายครั้งแล้วชั้นเตือน เอาของฝากมาให้ ชั้นไม่ค่อยชอบของฝากจากนิสิตถ้าเราไม่สนิทกัน หรือรักกันจริงๆ ชั้นรู้สึกเหมือนเป็นสินบน ชั้นก็บอกขอบคุณเค้าในกลุ่มเฟสบุ๊คแล้วบอกว่าอยากให้มาเรียนมากกว่าให้ของ และการให้ของไม่ส่งผลใดๆ กับพฤติกรรมชั้นหรือเกรด
Operations Research 1
เราเริ่มรู้จังหวะกันแล้ว เด็กมาตรงเวลาเพราะเจอควิซ หลังจากควิซและเฉลย ชั้นให้จับคู่ทำรูปปั้นดินน้ำมันร่วมกัน อยากให้ผ่อนคลาย สงบ ได้ใช้มือ กฏของเกมคือต้องสลับกันเติมดินน้ำมัน ห้ามพูด และต้องเป็นชิ้นงานเดียวกัน เคยเล่นที่ชูมัคเกอร์แล้วขอบ
จากนั้นก็ให้ทำโจทย์ ชั้นเสริมด้วยการให้ดูวีดีโอและตอบคำถามเองก่อนมา เก็บเป็นคะแนนการบ้าน
เด็กรุ่นนี้คงยังไม่ชินกับการถูกสอบบ่อยๆ ของชั้น ถามแต่เรื่องเกรด ชั้นรู้ตัวเลยว่ารำคาญเวลาถูกถามเรื่องนี้มากๆ อยากให้เค้าเรียนเพื่อรู้
เด็กที่ไม่เคยมาเรียนเลยตั้งแต่เปิดเทอม จนชั้นขู่เรื่องการหมดสิทธิ์สอบเพราะขาดเรียนเกิน 20% โผล่มาหลังควิซ ไม่ใช่เด็กที่ดูท้าทาย ใส่ชุดนิสิตถูกระเบียบเป๊ะ ดูเซื่องๆ เหมือนแมวน้อย ขาดพลัง ประหลาดใจกับ Look นี้ ท้ายคาบได้คุยกัน ชั้นซักว่าอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร ทำไมถึงเลือกเรียนเมเจอร์นี้ ใครส่งเรียน เค้าเป็นเด็กปี ๔ ที่เรียนช้ากว่าเพื่อน ตามเก็บตัวที่ไม่ผ่าน ชั้นขอให้เค้าเอาแผนการเรียนว่าจะทำอย่างไรให้จบได้มาให้ดู ณ ตอนนี้ GPA < 2.00
พวกที่ไม่มาเรียนบางคนทำงาน ชั้นถามว่าทำงานไหม เค้าบอกว่าขายเสื้อผ้าออนไลน์ ตอนพูดเรื่องนี้ ประกายตาและโทนเสียงเปลี่ยนทันที ชั้นถามว่าจะลาออกไปขายของไหม เค้าว่าไม่ ชั้นว่าบางทีปริญญานี่เพื่อพ่อแม่และสังคม ถ้าไม่มีปัจจัยพวกนี้ คงเหลือเรียนอยู่น้อย
คนนี้เป็นเด็กที่ประหลาดมาก เหมือนขอบคุณที่เรียกมาสอบสวน คงต้องคุยกันอีกหลายดอก
Leadership
ชั้นดีใจทุกครั้งที่เด็กมานั่งในห้องเรียนก่อนชั้น เราเริ่มด้วยวงเช็คอิน แล้วชั้นนำเกมร่างกายที่ได้จากหม่อง ให้กระโดดทีละคน รอบสองให้โดดที่ละสองคน (เมื่อกลับมาชนคนเดิม) รอบสามโดดสามคน ใครผิดก็เริ่มโดดทีละหนึ่งใหม่ที่คนผิด แล้วก็ให้ทำ Sculpture ดินน้ำมัน
ตามคำแนะนำของพี่ณัฐ ชั้นอยากได้หัวข้อการวางแผนชีวิต การรู้จักตัวเอง เราเคยคุยกันเรื่องหนังสือ Design Your Life ฮีเลยแนะนำให้ใช้ ปีที่แล้วชั้นเคยทำกับนิสิตปริญญาโทวิชาสัมมนา ก็มีสไลด์แล้วในระดับหนึ่ง ต้องขอบคุณคุณหมอคนหนึ่งที่สรุปหนังสือไว้ ทำให้การทำสไลด์เร็วและง่ายมาก
ชั้นพบว่าการฝึกให้เด็กเขียน Reflection มาเรื่อยๆ การที่เค้าได้คุ้นชินกับการพูดคุยกัน การได้ฝึกมองตัวเอง ทำให้เค้าเขียนได้คล่องมาก เมื่อเทียบกับปีที่แล้วกับนิสิตป.โท ซึ่งไม่ได้ปูพื้นเรื่องการเขียนมาก่อน เค้าเขียนไม่ออกกัน
ชั้นเล็กเชอร์สั้นๆ แล้วก็ให้เด็กเขียนประเมิน Love-Play-Health-Work Balance จริงปัจจุบัน และแบบที่อยากให้เป็น มีอะไรที่เราจะทำได้เพื่อไปสู่สมดุลใหม่ เขียนของตัวเองเสร็จแล้วให้จับคู่คุยกัน
เล็กเชอร์ต่ออีกหน่อย แล้วให้เขียน Workview reflection: ทำงานไปเพื่ออะไร? การทำงานหมายถึงอะไร? การทำงานเกี่ยวข้องอะไรหรือไม่ กับผู้อื่น หรือสังคม? งานที่ดีเป็นอย่างไร? เราควรได้เงินขนาดไหนจากการทำงาน? เราควรจะได้ประสบการณ์ หรือการเติมเต็ม (Fulfillment) อะไรไหมจากงาน?
แล้วต่อด้วย Lifeview reflection: เราเกิดมาเพื่ออะไร? อะไรคือสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิตเรา? ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้อื่นสำคัญอย่างไรกับชีวิตเรา? แล้วครอบครัว ประเทศ และคนอื่น ๆ ในโลกเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร? อะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว? มีสิ่งที่เหนือกว่าเราหรือเปล่า (พระเจ้า, กฎแห่งกรรม) และสิ่งเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อชีวิตเรา? อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ความสุข-ทุกข์ ความยุติธรรม-อยุติธรรม ความรัก ความสงบ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีบทบาทอย่างไรกับชีวิต?
เด็กทั้งหมดตั้งใจเขียนมากๆ เป็นข้อดีของการไม่บังคับมาเรียนและได้ฝึกเขียน Reflection มาก่อน เด็กกลุ่มนี้เขียนเหมือนอยู่ใน Flow เด็กส่วนใหญ่เขียน Workview นานมากๆ เขียน Lifeview แพร๊บเดียว มีบางคนเขียนนานทั้งสองหัวข้อ พอเขียนเสร็จ เค้าให้เปรียบเทียบสองด้านนี้ว่ามันส่งเสริมกันไหม ขัดแย้งกันไหม อย่างไร ชั้นเพิ่มให้จับคู่แชร์กัน ชอบให้จับคู่คุย
ส่วนต่อไปต้องไปทำ Good-time journal สังเกตตัวเองในชีวิตประวันว่าทำอะไรแล้วรู้สึกดี ทำอย่างไร ที่ไหน ทำกับใคร ให้เป็นการบ้าน
ระหว่างรอให้เพื่อนเขียนเสร็จ ชั้นก็ให้จับ Archetypes cards, Soul's Journey Cards, Angels cards เล่นไปก่อน ถือว่าฝึกภาษาอังกฤษ ไพ่ตรงดี เด็กจับสองครั้งในคาบนี้ก็ได้ใบเดิม
ตอนกลับก็เช็คเอาท์ด้วย ๑ ประโยค เด็กๆ เริ่มสนิทกับเรา ช่วยเก็บของ อยู่คุยกัน ไม่ได้รีบไปเหมือนแรกๆ
Comments