ไม่ได้เป็น Cliche เลยที่จะบอกว่าชั้นเรียนรู้มากสุดเวลาล้มเหลว คือ เวลาสำเร็จเนี่ย มันแทบทำตามสิ่งที่รู้อยู่แล้ว แต่พอเฟล แล้วก็เออ.. มีอะไรที่กูทำพลาดวะ แล้วจะแก้ยังไง รู้สึกมีชีวิตขึ้นมาทันที
ช่วงนี้กำลังรวบรวมข้อมูล ทำหนังสือโค้ชชิ่งให้พี่ที่เคารพ มีความพองตัวว่าเออ ชั้นเข้าใจเรื่องนี้ การเฟลนี่ทำให้เรารู้เลยว่าการอ่านหนังสือโค้ชชิ่ง และการโค้ชจริงมันต่างกั๊น มึงมั่นใจไปละ
จริงๆ ชั้นก็เตรียมตัวต่ำมาก ทำงานทั้งวัน แล้วก็โค้ชทางโทรศัพท์ ไม่เห็นหน้า ได้ยินแต่เสียง เราได้การบ้านมาว่าจะต้องจับคู่กันแล้วต้องสลับกันเป็นโค้ชและโค้ชชี่อย่างละ ๑ ครั้ง การเป็นมือสมัครเล่นแบบไม่ได้เห็นหน้านี่ Tough
เราไม่สามารถเปิดเผยเรื่องที่เราคุยกับโค้ชชี่ได้ แต่เอาส่วนที่ชั้นถามเป็น Feedback ละกัน
น้องเค้าบอกว่ารู้สึกถูกชั้นตัดสิน ชั้นก็อยากรู้ว่าเอ๊ะ ตอนไหน ขอตัวอย่างได้ไหม เค้าบอกมา แล้วชั้นก็คิด ...อ๋อ... ตอนที่ชั้นนำเสนอมุมมองด้านอื่นๆ นั่นเอง เราก็ได้เรียนรู้ว่า ถ้าโค้ชชี่ไม่เชื่อใจเราพอ เรายังให้ Empathy เค้าไม่พอเนี่ย มุมอื่นที่นำเสนออาจจะ backfire ได้
การให้ Empathy ก็แล้วแต่โค้ชชี่ด้วย Empathy คือการเข้าใจเรื่องเค้าในมุมเค้า หรือเข้าข้างเค้านั่นเอง ซึ่งอันนี้จะยากถ้าเรามีปฎิกริยาผลักออกกับโค้ชชี่
เรารู้ได้ไงว่าให้ Empathy เพียงพอแล้ว ประมาณว่าถามเช็ค คงต้องถามแล้วสังเกต
1. สีหน้าท่าทางเค้าคลี่คลาย น้ำเสียงคลายจากอารมณ์หนักๆ
2. ถ้าไม่แน่ใจก็ถามได้ว่า ตอนนี้รู้สึกยังไงที่ได้เล่า, ในเรื่องนี้มีอะไรที่รู้สึกอยากจะเล่าหรือพูดเพิ่มเติมมั้ย
3. ถ้าโค้ชอยากจะพาไปมองอีกมุมนึง ก็ถามเค้าว่าอยากฟังมั้ย อยากลองดูอีกมุมมั้ย
"จริงๆ บางคนก็จะเข้าใจและรับได้กับสิ่งที่พี่หญิงถามนะ มันไม่มีอะไรตายตัว ต้องอาศัยสถิติจากประสบการณ์การโค้ชและถูกโค้ช"
(หม่อง our certified life coach น่ารักมาก พิมพ์มาให้เลย)
การเริ่มต้นสำคัญมาก ทุกที ชั้นแค่ Small talk แล้วก็ถามว่าคุยได้เลยไหม ซึ่งไม่พอ หม่องบอกว่าควรเรียกสติกันก่อน ก่อนโค้ช อาจจะทำ Centering สั้นๆ ๑ นาที แล้วถามว่ามีประเด็นอะไรที่อยากจะบอกโค้ชก่อนโค้ชชิ่งไหม มีอะไรที่กังวล
ฉันถามว่า ถ้าโค้ชชี่ตอบความรู้สึกไม่ได้ ถามว่ารู้สึกอะไร ก็ขึ้นหัวตลอด ตอบแต่วิธีการ จะให้ทำอย่างไร เค้าแนะนำให้กลับมาที่กาย บอกให้โค้ชชี่อยู่นิ่งๆ สักพัก แล้วถามว่ารู้สึกอะไรในกาย อธิบายเป็นคำพูดได้ไหม หม่องเคลียร์เพิ่มว่า โค้ชชี่อาจจะมีคลังคำศัพท์ความรู้สึกน้อยเลยพูดไม่ถูก โค้ชอาจให้เค้าอุปมาเอาว่าคล้ายอะไร แล้วเราค่อยแปลเป็นคำความรู้สึก
อีกฟีดแบ๊กนึงคือ โค้ชชี่บอกว่าชั้นเร่งเกินไป อันนี้ชั้นว่าคงเป็นเพราะชั้นพูดเร็ว และชั้นมั่นใจเกินไปว่าชั้นเข้าใจเส้นเรื่องเค้าแล้ว
ปรากฏว่า โค้ชชี่ที่คลุมเครือเนี่ยง่ายกว่า เพราะเราก็ curious ไปเรื่อยๆ ถามคำถามปลายเปิด (มันเปิดเองด้วยนะ ไม่ได้ต้องใช้สมองให้ถามคำถามปลายเปิด) แต่พอเรามั่นใจในเส้นเรื่องหรือแรงจูงใจของโค้ชชี่ คำถามเป็นปลายปิด เหมือนชั้นแค่อยากเช็คว่าที่ชั้นคิดอ่ะถูกไหม ไม่ได้อยากรู้เรื่องของเค้าต่อ ซึ่งทำให้บรรยากาศโค้ชชิ่งกลายเป็นการสอบสวนไป
ถ้าโค้ชชี่พูดจาวนไปวนมาเนี่ย เราสามารถสะท้อนเป็นข้อสังเกตไปได้ว่า เราได้ยินเรื่องนี้มา x รอบแล้ว เป็นไปได้ว่าเรายังพาเค้าไปไม่ถึงไหน หรือเค้ายังไม่ชัดเจนในประเด็น การพูดข้อสังเกตทำให้โค้ชชี่รู้ตัว การที่โค้ชชี่สะท้อนเรื่องเดิมวน โค้ชก็อาจโยนคำถามไปก่อนว่า ที่เค้าพูดวนเนี่ยน่าจะหมายถึงอะไร หรือเกิดจากอะไร
พบอีกอย่างว่าการโค้ชคนที่นิสัยเหมือนเรามาก เราต้องควบคุมตัวเองให้ไม่ให้ล็อกเป้าว่าเข้าใจเขา ส่วนคนที่ต่างกับเรามาก ชั้นต้องคุมตัวเองว่าไม่ให้โดดไปแนะนำ อาชีพเป็นอาจารย์และเป็น big sister ด้วย
สรุปคือ Stay curious and be open.
ในภาพรวม มันก็ไม่ได้มี Coaching session ที่เฟล โค้ชชี่ชั้นบอกว่าหลัง Session รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ตัวเบาขึ้น การเล่าทำให้ได้ทบทวนเรื่องของตัวเอง อันนี้เป็น minimum requirement ละ อย่างน้อยชั้นก็ไม่หูดับ ยังอยู่ตรงนั้นกับเค้า
พอเฟลแล้วทำให้เห็นกิเลสตัวเองด้วย เออ.. เราเสพติดคำชม ที่โค้ชชี่บอกว่าผ่อนคลายขึ้นนี่ เราก็ถามด้วย ว่าคุยแล้วมีอะไรที่เปลี่ยนแปลง ชัดเจนขึ้นไหม ชงให้เค้าตบ
พออยากได้แล้วไม่ได้ ก็ทำให้กลับมาดูตัวเองว่าทำไมอยากได้
เมื่อชั้นรู้แล้วว่าชั้นจะปรับปรุงอะไรได้ ชั้นรู้สึกว่าชั้นได้เรียนรู้แล้ว ได้ชัยชนะ
ได้ปรึกษาพี่ณัฐ The Empathy Master ฮีบอกว่า
Full Empathy is willing to be with where they are without trying to fix or change which can be quite edgy for you. Then if they want to move on to finding a way out, a coach can accompany them. So learn to enjoy the ambiguity. Deep trust can be helpful.
ชั้นว่าเหมือนภาวนาเลยอ่ะ ไม่เพ่งนอก เพ่งใน อยู่ตรงกลาง Aware of how the coachee feels and how I feel.
ช่วงนี้กำลังรวบรวมข้อมูล ทำหนังสือโค้ชชิ่งให้พี่ที่เคารพ มีความพองตัวว่าเออ ชั้นเข้าใจเรื่องนี้ การเฟลนี่ทำให้เรารู้เลยว่าการอ่านหนังสือโค้ชชิ่ง และการโค้ชจริงมันต่างกั๊น มึงมั่นใจไปละ
จริงๆ ชั้นก็เตรียมตัวต่ำมาก ทำงานทั้งวัน แล้วก็โค้ชทางโทรศัพท์ ไม่เห็นหน้า ได้ยินแต่เสียง เราได้การบ้านมาว่าจะต้องจับคู่กันแล้วต้องสลับกันเป็นโค้ชและโค้ชชี่อย่างละ ๑ ครั้ง การเป็นมือสมัครเล่นแบบไม่ได้เห็นหน้านี่ Tough
เราไม่สามารถเปิดเผยเรื่องที่เราคุยกับโค้ชชี่ได้ แต่เอาส่วนที่ชั้นถามเป็น Feedback ละกัน
น้องเค้าบอกว่ารู้สึกถูกชั้นตัดสิน ชั้นก็อยากรู้ว่าเอ๊ะ ตอนไหน ขอตัวอย่างได้ไหม เค้าบอกมา แล้วชั้นก็คิด ...อ๋อ... ตอนที่ชั้นนำเสนอมุมมองด้านอื่นๆ นั่นเอง เราก็ได้เรียนรู้ว่า ถ้าโค้ชชี่ไม่เชื่อใจเราพอ เรายังให้ Empathy เค้าไม่พอเนี่ย มุมอื่นที่นำเสนออาจจะ backfire ได้
การให้ Empathy ก็แล้วแต่โค้ชชี่ด้วย Empathy คือการเข้าใจเรื่องเค้าในมุมเค้า หรือเข้าข้างเค้านั่นเอง ซึ่งอันนี้จะยากถ้าเรามีปฎิกริยาผลักออกกับโค้ชชี่
เรารู้ได้ไงว่าให้ Empathy เพียงพอแล้ว ประมาณว่าถามเช็ค คงต้องถามแล้วสังเกต
1. สีหน้าท่าทางเค้าคลี่คลาย น้ำเสียงคลายจากอารมณ์หนักๆ
2. ถ้าไม่แน่ใจก็ถามได้ว่า ตอนนี้รู้สึกยังไงที่ได้เล่า, ในเรื่องนี้มีอะไรที่รู้สึกอยากจะเล่าหรือพูดเพิ่มเติมมั้ย
3. ถ้าโค้ชอยากจะพาไปมองอีกมุมนึง ก็ถามเค้าว่าอยากฟังมั้ย อยากลองดูอีกมุมมั้ย
"จริงๆ บางคนก็จะเข้าใจและรับได้กับสิ่งที่พี่หญิงถามนะ มันไม่มีอะไรตายตัว ต้องอาศัยสถิติจากประสบการณ์การโค้ชและถูกโค้ช"
(หม่อง our certified life coach น่ารักมาก พิมพ์มาให้เลย)
การเริ่มต้นสำคัญมาก ทุกที ชั้นแค่ Small talk แล้วก็ถามว่าคุยได้เลยไหม ซึ่งไม่พอ หม่องบอกว่าควรเรียกสติกันก่อน ก่อนโค้ช อาจจะทำ Centering สั้นๆ ๑ นาที แล้วถามว่ามีประเด็นอะไรที่อยากจะบอกโค้ชก่อนโค้ชชิ่งไหม มีอะไรที่กังวล
ฉันถามว่า ถ้าโค้ชชี่ตอบความรู้สึกไม่ได้ ถามว่ารู้สึกอะไร ก็ขึ้นหัวตลอด ตอบแต่วิธีการ จะให้ทำอย่างไร เค้าแนะนำให้กลับมาที่กาย บอกให้โค้ชชี่อยู่นิ่งๆ สักพัก แล้วถามว่ารู้สึกอะไรในกาย อธิบายเป็นคำพูดได้ไหม หม่องเคลียร์เพิ่มว่า โค้ชชี่อาจจะมีคลังคำศัพท์ความรู้สึกน้อยเลยพูดไม่ถูก โค้ชอาจให้เค้าอุปมาเอาว่าคล้ายอะไร แล้วเราค่อยแปลเป็นคำความรู้สึก
ปรากฏว่า โค้ชชี่ที่คลุมเครือเนี่ยง่ายกว่า เพราะเราก็ curious ไปเรื่อยๆ ถามคำถามปลายเปิด (มันเปิดเองด้วยนะ ไม่ได้ต้องใช้สมองให้ถามคำถามปลายเปิด) แต่พอเรามั่นใจในเส้นเรื่องหรือแรงจูงใจของโค้ชชี่ คำถามเป็นปลายปิด เหมือนชั้นแค่อยากเช็คว่าที่ชั้นคิดอ่ะถูกไหม ไม่ได้อยากรู้เรื่องของเค้าต่อ ซึ่งทำให้บรรยากาศโค้ชชิ่งกลายเป็นการสอบสวนไป
ถ้าโค้ชชี่พูดจาวนไปวนมาเนี่ย เราสามารถสะท้อนเป็นข้อสังเกตไปได้ว่า เราได้ยินเรื่องนี้มา x รอบแล้ว เป็นไปได้ว่าเรายังพาเค้าไปไม่ถึงไหน หรือเค้ายังไม่ชัดเจนในประเด็น การพูดข้อสังเกตทำให้โค้ชชี่รู้ตัว การที่โค้ชชี่สะท้อนเรื่องเดิมวน โค้ชก็อาจโยนคำถามไปก่อนว่า ที่เค้าพูดวนเนี่ยน่าจะหมายถึงอะไร หรือเกิดจากอะไร
พบอีกอย่างว่าการโค้ชคนที่นิสัยเหมือนเรามาก เราต้องควบคุมตัวเองให้ไม่ให้ล็อกเป้าว่าเข้าใจเขา ส่วนคนที่ต่างกับเรามาก ชั้นต้องคุมตัวเองว่าไม่ให้โดดไปแนะนำ อาชีพเป็นอาจารย์และเป็น big sister ด้วย
สรุปคือ Stay curious and be open.
ในภาพรวม มันก็ไม่ได้มี Coaching session ที่เฟล โค้ชชี่ชั้นบอกว่าหลัง Session รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ตัวเบาขึ้น การเล่าทำให้ได้ทบทวนเรื่องของตัวเอง อันนี้เป็น minimum requirement ละ อย่างน้อยชั้นก็ไม่หูดับ ยังอยู่ตรงนั้นกับเค้า
พอเฟลแล้วทำให้เห็นกิเลสตัวเองด้วย เออ.. เราเสพติดคำชม ที่โค้ชชี่บอกว่าผ่อนคลายขึ้นนี่ เราก็ถามด้วย ว่าคุยแล้วมีอะไรที่เปลี่ยนแปลง ชัดเจนขึ้นไหม ชงให้เค้าตบ
พออยากได้แล้วไม่ได้ ก็ทำให้กลับมาดูตัวเองว่าทำไมอยากได้
เมื่อชั้นรู้แล้วว่าชั้นจะปรับปรุงอะไรได้ ชั้นรู้สึกว่าชั้นได้เรียนรู้แล้ว ได้ชัยชนะ
ได้ปรึกษาพี่ณัฐ The Empathy Master ฮีบอกว่า
Full Empathy is willing to be with where they are without trying to fix or change which can be quite edgy for you. Then if they want to move on to finding a way out, a coach can accompany them. So learn to enjoy the ambiguity. Deep trust can be helpful.
ชั้นว่าเหมือนภาวนาเลยอ่ะ ไม่เพ่งนอก เพ่งใน อยู่ตรงกลาง Aware of how the coachee feels and how I feel.
Comments