วันนี้ได้คุยกับมนุษย์ตั้งแต่เช้าจรดเย็น คุยแบบขอความคิดเห็น และช่วยแนะนำเพื่อนกลุ่มใหญ่ให้ใช้แอพฯ การคุยกับเพื่อนอาจารย์แบบระดมสมอง แล้วเราคอย Facilitate และจดบันทึกฉายขึ้น Projector ทำให้เราเห็นขอบของตัวเองเยอะมาก คนนี้พูดเรื่องนี้แล้วเราไม่ชอบ แต่ด้วยบทบาทฟาฯ เราก็ต้องก้าวข้ามความไม่ชอบของเรา จับประเด็น สะท้อน ดำเนินการประชุมให้ทุกคนได้พูด มีความหงุดหงิดเวลาคน side talk แล้วไม่ฟัง เรามีความกังวลว่าตัวเองจะพูดมากเกินไป
ชั้นชอบเวลาที่ได้ก้าวข้ามความปั่นป่วนในตัวเอง แล้วดำเนินการประชุมต่อ ชั้นคิดว่าชั้นฟาการประชุมได้ดีในระดับหนึ่ง พบว่าการสวมบทบาทฟาฯ ทำให้เราไม่อินกับจุดยืนของตัวเอง น่าจะเอาไปใช้บ่อยๆ เวลาเราเริ่มอินกับความคิดตัวเองมากไป
หัวข้อที่คุยกันวันนี้เป็นหัวข้อที่เราสนใจมาก คือ การพัฒนา 21st century skills ในนิสิตวิศวะ ภาคเรา เช่น Creativity, Critical thinking, Communication and Collaboration ซึ่งด้านที่ประชดประชันของชั้นก็ยังสงสัยว่าพวกเราที่เป็นอาจารย์มีกันหรือเปล่า มากพอที่เราจะไปเสริมสร้างให้เด็กมีนี่เราจะทำได้ไหม
เรื่องที่เป็นเรื่องดั้งเดิม เช่น การไหว้ครู น่าสนใจ คนรุ่นเก่าคิดว่าเป็นพิธีกรรมที่ช่วยสร้างความเคารพ แต่อาจารย์เด็กๆ ต่ำกว่า ๔๐ หลายคนก็ไม่เห็นว่าเป็นประโยชน์ ไม่ชอบการให้โอวาท ให้คำอวยพร หลายคนเห็นว่ามันควรเป็นกิจกรรมที่นิสิตริเริ่ม ไม่ใช่ให้อาจารย์จัดแล้วบังคับให้นิสิตหรืออาจารย์ด้วยกันมา หลังๆ อาจารย์ก็มาน้อย
เราคิดว่าช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย มีศิษย์เก่าที่เราเชิญมาพูดเล่าว่าความท้าทายอันหนึ่งของการออกไปทำงานคือช่องว่างระหว่างวัย เด็กจบใหม่มีสไตล์การทำงานอย่างนึง รุ่นบุกเบิกก็อย่างหนึ่ง
โจทย์ของชั้นคือการทำงานร่วมกับคนอื่น ถ้าให้เลือกได้ ชั้นชอบทำงานคนเดียว แต่ก็รู้ว่าสิ่งที่ต้องการขับเคลื่อน ต้องการคนหลายๆ คน ชั้นคิดว่ามันเป็นเส้นทางการภาวนาของชั้นด้วย เหมือนอย่างที่เค้าบอกในคลาสโยคะ ท่าอาสนะไหนไม่ชอบ ยิ่งต้องทำท่านั้น ชั้นเชื่อแบบนั้นเช่นกัน ก็บังคับตัวเองให้ทำบางอย่างที่ตัวเองไม่ชอบเพราะมีสิ่งอื่นที่สำคัญกว่า
ช่วงนี้ ชั้นสนใจงานค่าย งานพัฒนานิสิต ชั้นมองว่าเราพัฒนา 21st century skills ผ่านกิจกรรมพวกนี้ได้ ในห้องเรียน ก็ควรทำ แต่อาจจะยากสำหรับอาจารย์บางคนที่จะดีดตัวออกจากเล็กเชอร์และสอบ
ชั้นชอบเวลาที่ได้ก้าวข้ามความปั่นป่วนในตัวเอง แล้วดำเนินการประชุมต่อ ชั้นคิดว่าชั้นฟาการประชุมได้ดีในระดับหนึ่ง พบว่าการสวมบทบาทฟาฯ ทำให้เราไม่อินกับจุดยืนของตัวเอง น่าจะเอาไปใช้บ่อยๆ เวลาเราเริ่มอินกับความคิดตัวเองมากไป
การที่ตื้อจนหัวหน้าภาคฯ ไปอบรม Kwanpandin 101 หรือเบสิค leadership skills ได้ ทำให้ฮีเห็นค่าและอยากเอามาใส่ในหลักสูตรป ตรีของภาค
หัวข้อที่คุยกันวันนี้เป็นหัวข้อที่เราสนใจมาก คือ การพัฒนา 21st century skills ในนิสิตวิศวะ ภาคเรา เช่น Creativity, Critical thinking, Communication and Collaboration ซึ่งด้านที่ประชดประชันของชั้นก็ยังสงสัยว่าพวกเราที่เป็นอาจารย์มีกันหรือเปล่า มากพอที่เราจะไปเสริมสร้างให้เด็กมีนี่เราจะทำได้ไหม
เรื่องที่เป็นเรื่องดั้งเดิม เช่น การไหว้ครู น่าสนใจ คนรุ่นเก่าคิดว่าเป็นพิธีกรรมที่ช่วยสร้างความเคารพ แต่อาจารย์เด็กๆ ต่ำกว่า ๔๐ หลายคนก็ไม่เห็นว่าเป็นประโยชน์ ไม่ชอบการให้โอวาท ให้คำอวยพร หลายคนเห็นว่ามันควรเป็นกิจกรรมที่นิสิตริเริ่ม ไม่ใช่ให้อาจารย์จัดแล้วบังคับให้นิสิตหรืออาจารย์ด้วยกันมา หลังๆ อาจารย์ก็มาน้อย
เราคิดว่าช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย มีศิษย์เก่าที่เราเชิญมาพูดเล่าว่าความท้าทายอันหนึ่งของการออกไปทำงานคือช่องว่างระหว่างวัย เด็กจบใหม่มีสไตล์การทำงานอย่างนึง รุ่นบุกเบิกก็อย่างหนึ่ง
โจทย์ของชั้นคือการทำงานร่วมกับคนอื่น ถ้าให้เลือกได้ ชั้นชอบทำงานคนเดียว แต่ก็รู้ว่าสิ่งที่ต้องการขับเคลื่อน ต้องการคนหลายๆ คน ชั้นคิดว่ามันเป็นเส้นทางการภาวนาของชั้นด้วย เหมือนอย่างที่เค้าบอกในคลาสโยคะ ท่าอาสนะไหนไม่ชอบ ยิ่งต้องทำท่านั้น ชั้นเชื่อแบบนั้นเช่นกัน ก็บังคับตัวเองให้ทำบางอย่างที่ตัวเองไม่ชอบเพราะมีสิ่งอื่นที่สำคัญกว่า
ช่วงนี้ ชั้นสนใจงานค่าย งานพัฒนานิสิต ชั้นมองว่าเราพัฒนา 21st century skills ผ่านกิจกรรมพวกนี้ได้ ในห้องเรียน ก็ควรทำ แต่อาจจะยากสำหรับอาจารย์บางคนที่จะดีดตัวออกจากเล็กเชอร์และสอบ
Comments