Being authentic with oneself

What we have done.
เพิ่งเสร็จจาก 3-day workshop ที่ตอนแรกแทบถอดใจว่าปีหน้าไม่จัดแล้ว เพราะขี้เกียจขายตรง เบื่อที่จะลุ้นว่าจะได้จำนวนคนที่โอเคไหม ขี้เกียจเชิญชวนให้ชาวบ้านมา เริ่มไม่มั่นใจด้วยว่าเอ๊..เราคงประเมินสถานการณ์ผิด อาจารย์คนอื่นๆ เค้าคงไม่ได้ต้องการสิ่งเดียวกับเรา แต่เมื่อออกมาดีมากๆ ก็มีแรงขับอยากทำต่อ มันมีความหมายที่สุดตั้งแต่เคยจัดสำหรับอาจารย์ที่เข้าร่วม ได้เรียนรู้อะไรที่เกี่ยวกับตัวเอง และสิ่งที่เอาไปใช้ได้ในชีวิตอาจารย์

workshop นี้สปอนเซอร์โดยคณะชั้นเอง โดยชั้นเขียนโครงการขอไป ชั้นไม่มีหน้าที่หรือตำแหน่งใดๆ ในคณะที่เกี่ยวกับการพัฒนาอะไร Workshop นี้ทำเพราะอยากทำและคิดว่าคณะน่าจะมี ได้รู้จักกลุ่มคนที่มาทำให้เราได้ (พี๋ณัฐ พี่ตู่ หม่อง ภาคและทีมขวัญแผ่นดิน)  ปีที่แล้วก็จัด และชั้นพบว่ามีอ.หลายคนได้ประโยชน์ (จาก Feedback ที่ได้ตอนปิดงาน และมาสัมภาษณ์ส่วนตัวทีหลัง) ปัญหาที่"ขาย"คอร์สยากเพราะชื่อ Inspired Learning Through Empowerment ไม่สื่อว่ามาเรียนอะไร  อาจารย์ในคณะก็เลยมาน้อย คนที่รู้จักกันดีก็ไปแล้วเมื่อปีที่แล้ว จึงใช้วิธีหาอ.นอกคณะ แล้วก็เริ่มนอกมหาลัย โดยให้อ.เหล่านี้ออกค่าที่พักและอาหารเอง ตอนท้ายๆ ก็มีคนยกเลิกอีก จนเหลือ 23 คน เป็นอาจารย์คณะวิศวะ 9 คน นิสิตปริญญาเอกคณะวิศวะที่เป็นอาจารย์ลามาเรียน ๒ ที่เหลือเป็นอ.นอกคณะ เช่น วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเกษตร (อก.) รวมถึงนอกมหาลัย

นอกจากความหลากหลายในที่มาแล้ว ยังมีความหลากหลายในอายุ (28-54 ปี) และ Rank เรามีรองคณบดีฯ หัวหน้าภาคในคณะวิศวะ 2 คน ซึ่งมาแบบถูกชั้นขอร้อง ไอเดียคือถ้าได้อ.ที่มี high visibility มา แล้วไปบอกต่อ งวดหน้าชั้นจะหาคนได้ง่ายกว่านี้ (Strategic planning สุดๆ)

ที่ภูมิใจอีกอย่างคือแทบทั้งหมดมีตำแหน่งวิชาการ เท่าที่ชั้นรู้หลายคนยังแอ๊กทีฟด้านงานวิจัยอยู่ ชั้นไม่อยากให้เกิด Bias ว่าคนที่สนใจด้านงานสอนคือคนที่ไม่ได้ทำวิจัย มันไม่ Mutually exclusive ขนาดนั้น

โมเดลที่ให้อาจารย์สมัครใจมา เอาอาจารย์ในคณะฯ เท่าที่สนใจ เติมจำนวนด้วยอาจารย์นอกคณะฯ นี้วิเศษมาก ได้จำนวนที่เหมาะสมสำหรับทำกิจกรรมและคุ้มค่าวิทยากรของคณะฯ เมื่ออาจารย์อยากมาเอง ไม่ได้ถูกบังคับ อาจารย์ตั้งใจเรียนมาก และความหลากหลายช่วยให้ประสบการณ์จาก workshop กลมกล่อมขึ้น

ชั้นผ่าน workshop นี้มาสามรอบแล้ว จึงเข้าๆ ออกๆ อำนวยความสะดวก สิ่งที่อยากจะเล่าคือส่วนที่เพิ่งได้ทำ

หลังจากทำความรู้จักกัน (Establish common grounds) เรียนเรื่องการฟังพื้นฐาน เราต้องการให้อาจารย์เข้าใจเรื่อง Feelings and Needs กิจกรรมแรกคือให้ฟังเรื่องเล่าเรื่องเดียวกัน และช่วยกันระบุว่าผู้พูดรู้สึกอย่างไร และต้องการอะไร ทุกทีพี่ณัฐหรือกระบวนกรคนอื่น จะเป็นคนเล่าเรื่อง งวดนี้เค้าบอกให้ชั้นเล่า โอเค... เล่าก็เล่า ชั้นเล่าเรื่องความไม่เป็นมืออาชีพของนิสิต ในวิชาสัมมนา ชั้นเช็คชื่อทุกคาบ ซึ่งชั้นคิดว่าเป็นการ Treat ว่าเค้าเป็นเด็กไม่รู้จักโต ก็ลองไม่เช็คชื่อดู แล้วก็หายนะ นิสิตปี ๔ มา ๖ คนจากที่ลงทะเบียน ๖๕ คน  แล้วก็เล่าเรื่องเด็กเข้าเรียนสายถึงโคตรสาย ว่าชั้นต้องทำอย่างไรที่ให้เค้ามาตรงเวลา

ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะเล่าเรื่องนี้เลย อยู่ดีๆ ก็แวบขึ้นมา ชั้นเล่าซ้อมกับกระบวนกรก่อนว่าโอเคไหม ตอนเล่าก็เริ่มเปราะบางแล้ว เค้าโอเคกับเรื่องนี้กัน จริงๆ ตอนซ้อมเล่าก็แค่รู้ว่าเสียใจ ผิดหวัง แต่ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร

ตอนเล่า I got even more vulnerable.  ชั้นคุ้นเคยกับความเปราะบางของตัวเอง ที่ไม่คุ้นคือให้มันออกมาในที่สาธารณะ น้ำตาไหล เสียงสั่น ก็พยายามกลับมาอยู่กับตัว ไม่ไปอินในอารมณ์ ก็เล่าจนจบ ชั้นมีภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูมั่นใจ เข้มแข็ง พี่ตู่ กระบวนกรบอกว่า เรื่องที่เล่านี้สะกดคนฟัง และยินดีที่จะเปิดเรื่องของตัวเอง การแสดงออกซึ่งความเปราะบางนี้ตรงๆ น่าจะกระแทกใจอาจารย์หลายๆ คน และมันเป็น surprise เพราะการร้องไห้ในที่สาธารณะขัดกับภาพภายนอกของชั้นเอง

เมื่อเล่าเสร็จ แต่ละกลุ่มช่วยกันค้นหาความรู้สึกของชั้น ซึ่งไม่ยาก เสียใจ ผิดหวัง อันที่ประหลาดใจคือ เหนื่อยและเจ็บ  ความต้องการที่ชั้นเพิ่งรับรู้คือ Trust และ Efficiency ซึ่งแปลกใจมากในตอนแรก แต่เมื่อระบุแล้ว ก็เออ.. แทงทะลุใจ  Trust นี่โคตรสำคัญสำหรับชั้น ถ้าเชื่อใจกันไม่ได้ ชั้นจะลดระดับความสัมพันธ์หรือเลิกคบ แต่ก็มีกรณีพิเศษจริงๆ ที่ชั้นยอมรับได้ว่าเค้าเป็นของเค้าแบบนั้น

อย่างที่ Marshall Rosenberg ผู้คิดค้น Non-violent communication พูด เมื่อได้พบ Needs ของตัวเองแล้ว มันเบาและโล่งมาก

สิ่งที่ภูมิใจใน Episode นี้คือ ชั้นอยู่กับความเปราะบางของตัวเองได้ละ ทุกทีจะหนีด้วยการเปลี่ยนอารมณ์ เบี่ยงความสนใจ ซึ่งทำให้เราไม่รู้จักความเปราะบางและความต้องการของตัวเองเสียที เมื่อไม่รู้ว่าเราให้ค่าอะไร ชีวิตก็มึนๆ อ่ะ

จากนั้น อ. ที่จับกลุ่มกันสลับเล่าเรื่องของตัวเองแล้วให้เพื่อนค้นหา Feelings and needs

อีกเรื่องที่เป็นบทเรียนที่ไม่คาดฝันคือมีพี่อ.คนหนึ่งเอาลูกอายุ ๑๗ มาด้วย เพิ่งแจ้ง ๑ วันก่อน workshop เริ่ม ชั้นให้เอาครอบครัวไปได้ในทุกครั้งที่จัด Workshop แต่นี่เป็นครั้งแรกที่จะขอเข้าร่วมด้วย ชั้นบอกว่าขอดูท่าทีของอ.ที่เข้าก่อนได้ไหม กลุ่มนี้มีแต่อ. ไม่ใช่กลุ่มทั่วไป บางคนก็อาวุโส เค้าจะรู้สึกอย่างไรที่มีเด็กในวง

วันแรก จำนวนคนเป็นเลขคี่ แล้วเป็นกิจกรรมจับคู่คุย (Deep listening)  ชั้นเป็นเศษ ไม่มีคู่ ชั้นจึงจะไปนั่งทำงานข้างหลัง เห็นเด็กสิบเจ็ดนั่งเบื่ออยู่ ก็เลยจับคู่กับเค้าทำกิจกรรมนี้

ตอนเย็นวันแรก พี่ตู่ กระบวนกร ก็มาขอร้องให้เด็กสิบเจ็ดเข้าร่วมอีก ชั้นยังปฏิเสธ รู้สึกผิดนิดหน่อยที่ทำให้พี่เค้าอึดอัด แต่ชั้นรู้สึกว่าชั้นมีคนจำนวนมากกว่าที่จะต้องดูแล

เช้าวันที่สอง เป็นการดูละคร 8 Acts of Miscommunication ชั้นคิดว่าเป็นจุดที่ดีที่เด็กสิบเจ็ดคนนี้จะเข้าร่วม อ.ดูสนิทกันแล้ว เป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้สวมหัวโขนอาจารย์ หรือตั้ง Guard

วันที่สองเย็น มี Feedback กิจกรรม อ.หลายคน Feedback ทั้งหมดตั้งแต่มา เด็กสิบเจ็ดบอกว่ารู้สึกเหมือนโดนปิดประตู ถูกปฏิเสธ แทบจะอยากไปอยู่ที่อื่น ชั้นเป็นคนไม่กี่คนในวงที่รู้ว่าหมายถึงอะไร ก็เอ่อ.. ซวยละกู ว่าจะหาโอกาสคุย แต่ก็ไม่ได้คุย

วันสุดท้าย กิจกรรมสุดท้ายคือเขียนจดหมายรักถึงตัวเอง เด็กสิบเจ็ดบอกว่ารู้สึกเจ็บที่คนที่มาเปิดประตู ให้เข้าวงเป็นชั้น ไม่ใช่แม่ของเค้า เมื่อถึงคราวชั้นพูด ชั้นก็อธิบายเหตุผลและกล่าวขอโทษว่าน่าจะให้แม่บอก ถ้าฟังจริงๆ จะรู้ว่าชั้นไม่ได้ขอโทษในคำปฏิเสธนั้น แต่ขอโทษในวิธีที่เปิดประตู

ประเด็นที่แปลกใจคือถ้าเป็นแต่ก่อนคงรู้สึกผิดที่ทำให้เค้าเจ็บ แต่พอเรียนเรื่อง Non-violent communication ชั้นรู้ว่าเราเจ็บเพราะเราปล่อยให้ตัวเองเจ็บ จะด้วยการสร้างเรื่องราวในหัวตัวเอง หรือมีปมหรือ Trauma  ชั้นพอรู้ Background ของครอบครัวนี้มาบ้าง คาดเดาได้ว่า Narrative ประตูปิดนี้มาจากอะไร  ชั้นก็เลยไม่ได้ Take it personal ว่าเป็นความผิดของเรา บลา บลา ณ ตอนนี้ ถ้าให้ตัดสินใจใหม่ ก็เลือกทำแบบเดิม แต่จะสื่อสารให้ชัดเจนขึ้นและในเวลาที่เหมาะสมกับเด็ก เมื่อเรามองเห็นว่ามันเป็นปรากฏการณ์ ชั้นคิดว่าชั้นแก้สถานการณ์ได้ดีกว่า พอเราดราม่า เติมเสียงหมาป่าแล้ว Judgment call มันแย่ลงอ่ะ  รู้สึกภูมิใจที่ตัวเองมีการเปลี่ยนแปลง More centered.

เมื่อมี Theme แม่ลูกเข้ามา ซึ่งคงเป็นวาระของคนในวงด้วย ประเด็นที่ปรากฏตอนท้ายจึงเป็นเรื่องพ่อลูก แม่ลูก ความสัมพันธ์ในครอบครัว เยอะมาก  ซึ่งดีที่มันน่าจะนำไปสู่การคลี่คลาย  ท้ายที่สุดแล้วไม่มีเส้นแบ่งระหว่างเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว จริงๆ มันก็กระทบกันไปกระทบกันมา ชีวิตจะดีเมื่อมันดีทั้งสองด้าน และมันสมดุล

โครงการนี้มีสองโมดูล ที่ใช้กระบวนกรสองชุดจากสองที่ อีกทีมคือทีมมะขามป้อม ชั้นอยากให้กระบวนกรโมดูลสองเข้าใจว่าอาจารย์ผ่านกระบวนการอะไรในโมดูลแรก จึงขอให้มาเป็นนักเรียนด้วย ซึ่งชั้นว่าทำให้อาจารย์คุ้นเคยกับกระบวนกรด้วย  จริงๆ แล้ว 90% ของคนที่จะเข้าโมดูลสองผ่านโมดูลแรกมาแล้ว ไม่ปีนี้ก็ปีที่แล้ว

อีกอย่างที่ชอบคือเมื่อชั้นคุ้นเคยกับทีมกระบวนกรมากขึ้น ชั้นมีส่วนร่วมในการจัดมากขึ้น และชั้นว่ามันช่วยให้ Workshop ที่ออกมาตอบโจทย์อาจารย์

จากฟีดแบ๊คของพวกอาจารย์ ทั้งต่อหน้าและแบบนิรนาม ชั้นคิดว่าเรามาถูกทาง

จดหมายถึงตัวเองชั้นเขียนว่าชั้นชอบที่หนังสือ Schools that learn บอกว่า Anything that is worth doing is worth doing poorly the first time.  ชั้นไม่คิดว่าเราทำได้แย่ตอนแรก แต่มันก็ดีขึ้นได้อีกเรื่อยๆ









Comments