In the flow

เพิ่งฟัง Dr. Seligman พูดเรื่อง Positive Psychology ใน TED talk ช่วงนี้ชั้นกำลัง edit หนังสือโค้ชชิ่ง จึงฟังหนังสือเสียงเรื่องนี้อยู่ แล้วเค้าพูดถึงอาจารย์คนนี้ ซึ่งเราอยากฟังอยู่พอดี



แกเป็นอาจารย์สอนจิตวิทยา เป็น Therapist ด้วย แกพูดว่าชีวิตที่มีความสุขมีสามด้าน คือ Pleasure ความเพลิดเพลิน, Engagement ในที่ทำงานหรือครอบครัว คือ พอเราทำอะไรที่มัน Engage เราแล้วเราอยู่ใน Flow คือ Time stops และ Meaningfulness ชีวิตที่มึความหมาย ทำอะไรเพื่อคนอื่น

เพิ่งรู้ตัวว่าชอบงานอีดิตมาก ทำแล้วเพลิน คือ เขียนก็ชอบ แต่อีดิตนี่เพิ่งค้นพบ  ด้วยความเป็นอาจารย์ เราอีดิตงานนิสิตอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ตัดคำ แก้คำ โยกไปโยกมา ใส่โครงสร้าง จริงๆ เซ็งมากเวลาแก้งานเด็กถ้าเขียนห่วย แต่พอเป็นหนังสือที่เนื้อหาดี ที่เราสนใจ ความมันส์อยู่ในอีกระดับหนึ่ง ตอนแรกไม่แน่ใจว่าชอบทำเพราะอยากให้เจ้าของงานพอใจหรือว่าเราอยากทำ พอทำเสร็จแล้วพบว่า เออ..ชั้นอยากทำเองแหละ

ชั้นสามารถนั่งอีดิตได้โดยไม่อยากทำอย่างอื่น ถ้าไม่สำคัญจริงๆ เรื่องอื่นเก็บไว้ก่อน

ถ้างานที่ทำแล้วมันอยู่ใน Flow ก็ไม่ต้องบังคับตัวเอง 


ปีนี้ชั้นได้นิสิตที่ปรึกษาโปรเจคที่ขี้เกียจมากๆ เกรดไม่ดี มาคนหนึ่ง ชั้นบอกเค้าว่าชั้นไม่คิดว่าเค้าไม่ฉลาด แค่ไม่เจอในสิ่งที่ชอบทำเท่านั้นเอง การได้พบและได้ทำในสิ่งที่ชอบ ที่ไม่เบียดเบียนตัวเอง เป็นพร

ความวิเศษของการเป็นอาจารย์คือเราช่วยให้นิสิตเปลี่ยนท่าทีที่มีกับตัวเองได้ ถ้าเราเชื่อจริงๆ ว่าเค้าทำได้ ไม่ใช่สงสาร แต่เป็นความเชื่อมั่นที่เรามีต่อเขาในฐานะมนุษย์ เชื่อมั่น ท้าทาย ดุว่า ให้กำลังใจ

ชั้นให้โจทย์เด็กไป บอกสิ่งที่ต้องการ เด็กทำได้ดีกว่าที่ชั้นคาดไว้มากในทุกมิติ เช่น ให้ทำวีดีโอนำเสนอ มันก็ทำมา

จริงๆ งานเสร็จไม่ได้สำคัญ สำคัญที่ว่าเด็กได้เห็นว่ามันก็ทำได้ ถ้าอยากทำ

ชั้นเคยเป็นอาจารย์ที่อยากได้แต่เด็กเกรดดีๆ มาทำโปรเจคด้วย เพราะมันง่าย ได้ตามสั่ง หลังๆ คิดว่ามันไม่แฟร์ ก็ไม่เลือก ใครก็ได้ที่เข้ามาแล้วหัวข้อชั้นพอให้คำปรึกษาได้ ก็รับ  ชั้นพบว่าเด็กที่ขี้เกียจ ดูเบลอๆ ซึมๆ ท้าทายกว่ามาก ท้าทายตัวเราเองด้วยว่าเราจะแขวนอคติของเราได้ไหมเวลาเราคุยกับเขา ก็ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง  โมโหมันบ้าง

ชั้นเป็นที่ปรึกษาที่ไม่ค่อยช่วยเด็ก ส่วนหนึ่งอาจจะขี้เกียจ อีกส่วนหนึ่งเรารู้สึกว่ามันเป็นงานเขา ไม่ใช่งานเรา และชั้นคิดว่าถ้ามันทำได้เอง น่าจะภูมิใจกว่า

จริงๆ สิ่งที่ต้องการเวลาปฏิสัมพันธ์กับนิสิตคือความเป็นเพื่อน ไม่ได้อยากอยู่บนแท่น ชั้นเป็นพี่เลี้ยงมากกว่า เป็นโค้ชในการเรียนรู้ของเค้า  มีบ้างที่เหวี่ยงและดุว่าตรงๆ  สิ่งที่พยายามไม่ทำคือบ่นเป็นมนุษย์ป้า

ชั้นชอบรู้ว่านิสิตมีชีวิตอย่างไร คิดยังไง สนุกดี จริงๆ Hanging out กับคนที่อายุน้อยกว่ามากๆ มันสนุกดี ทำให้เราเด็กลง  เด็กวัยรุ่นมีความไร้เดียงสาอะไรบางอย่างที่สดชื่น




Comments