เคยได้ยินคนพูดถึง Voice Dialogue มาหลายครั้ง ไม่ได้ไปซักทีด้วยค่าคอร์สที่แพง งวดนี้เค้ามีแนะนำว่ามันคืออะไร แค่วันเดียวและห้าร้อยบาท เราก็เลยลองไปดู
เค้าแนะนำว่า Basic Premise / Conceptual Framework ของมันคืออะไรด้วยการเล็กเชอร์ ชั้นคิดว่ามันคล้ายๆ กับ Internal Family Systems (IFS) ชั้นเลยไม่ได้ตื่นเต้นมาก แต่ชอบตอนทำกิจกรรม Bug You คือ เค้าให้นึกถึงคนที่ทำให้เราจี๊ด นึกถึงประโยคที่พูด แล้วก็ให้เขียนว่า เราคิดว่าเค้าควรจะทำอย่างไรในสถานการณ์เหล่านี้ แล้วก็ให้เขียนจากเลนส์ของคนที่ Bug เราว่าเค้าน่าจะคิดอย่างไรในสถานการณ์นี้ จึงได้ทำแบบนั้น เสร็จแล้วก็ให้เขียนว่าจากมุมเขา สิ่งที่เราคิดว่า**เขา**ควรทำ เค้าจะมองว่าอย่างไร
พี่กระบวนกรที่มาช่วยดูแลเรา เล่าเรื่องของแกว่าสิ่งที่ทำให้แกปี๊ดคือเวลาแม่พูดเตือนซ้ำๆ ซากๆ เช่น ให้ปิดไฟ แกจะรำคาญตอนถูกบอก แล้วแกพบว่าที่แกรำคาญเพราะมีตัวเย่อหยิ่ง ไม่ชอบให้ใครสั่ง ชั้นก็แบบ...นี่ชั้นเลยแหละ เราไม่ชอบถูกสั่งเพราะมีแง่นี้ด้วย คือ ยะโส
จริงๆ นิสัยนี้มีพระอาจารย์บอกหลายรอบแล้ว ก็ไม่ได้แปลกใหม่ แต่เดิมคิดว่าแค่ดื้อ เอาแต่ใจตัวเอง อันนี้อันใหม่คือ ยะโส เย่อหยิ่ง ซึ่งใช่อ่ะ เรามีแง่"เหนือ" อยู่
ตอนบ่ายเค้าสาธิตการสัมภาษณ์เพื่อแยกตัวตน เราชอบเพราะเหมือนดูละคร คนสัมภาษณ์ทำได้คลีนมาก ส่วนหนึ่งเจ้าของเรื่องก็พร้อมด้วย น้องได้ work on herself for quite sometimes (ชั้นเกลียดคำว่าทำงานกะตัวเอง คือ ใช้ภาษาอังกฤษไปเลยดีกว่า)
ตอนท้ายเค้าให้ถามหรือสะท้อน ชั้นถามว่า ถ้าเราจะใช้ Voice Dialogue เพื่อการเดินทางทางจิตวิญญาณ อยากเห็นด้านต่างๆ ของตัวเองโดยไม่ต้องสัมภาษณ์ตัวตนได้ไหม ดูเองได้ไหม ชั้นรู้สึกว่าการให้คนอื่นแงะเป็นการพึ่งพาคนอื่น น้องกระบวนกรตอบว่า ไอ้ตัวที่ไม่อยากให้ถามนี่น่าจะเอามา Facilitate นะ คือเอามาสัมภาษณ์ เราก็เออ..จริงว่ะ... มันเป็นจุดยืนพื้นฐานของเราที่ชั้นไม่เคยตั้งคำถาม เหมือนเป็นอากาศที่เราหายใจ ว่าจักรวาลก็ต้องเป็นแบบนี้ ชั้นเชื่อว่าเราก็ต้องโยนิโสมนสิการสิ ใครจะมาดูให้ตลอดเวลา แกก็ต้องดูของแกเองถึงแม้เราจะรู้วาเพื่อนร่วมทางสำคัญมากก็ตาม
ชั้นชอบที่มีคนชี้ว่าอันนี้ก็เป็นชุดความคิดหนึ่ง ส่วนที่เค้าตอบว่าการสัมภาษณ์กันเป็นการสร้างชุมชน เหมือนเป็นกัลยาณมิตรกัน คอยดูแลกัน อันนั้นชั้นเห็นด้วย แต่เฉยๆ คือ ไงๆ ก็ต้องเดินเอง
ที่ดีใจคือได้หัวข้อให้คนอื่นโค้ชเราแล้ว!! ที่ผ่านมา ชั้นยังไม่เจอหัวข้อที่ชั้นรู้สึกอินในการให้คนอื่นช่วยแงะ และชั้นปฏิเสธการถูกโค้ช ชั้นไม่ได้สนใจเรื่องปมอดีต ไม่ได้คิดว่าตัวเองมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือคนอื่น เราก็ภาวนา ทำนั่นนี่มาในระดับหนึ่ง เริ่มอยู่กับมนุษย์ได้อย่างสันติสุขละ ชั้นสนใจเรื่องการเห็นความจริงอย่างที่พระพุทธเจ้าเห็นมากกว่า จะเรียกว่าหลุดพ้นก็ไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการ
ชั้นตื่นเต้นที่ได้เจอสิ่งที่อาจจะขวางกั้นชั้นไว้ในทางธรรม ซึ่งก็คือชุดความเชื่อของตรูเอง
เมื่อเห็นการสัมภาษณ์ตัวตน ก็ทำให้เราสงสัยนะว่าเราคือใคร คนที่มาเป็นเราเปลี่ยนตลอดเวลาอยู่แล้ว และมันคงมีตัวหลักที่ตอบสนองด้วยกระดูกสันหลัง ด้วยความเคยชิน You are what you practice. เพราะว่าฝึกจนกลายเป็นนิสัย ชั้นคิดว่าด้านดื้อของชั้นมันออกมาตอนรู้สึกว่าโดนกดดัน โดนบังคับ ถ้าปกติ ก็เฉยๆ การดื้อมันใช้พลังงาน ชั้นว่าชั้นไม่น่าจะดื้อหรือขวางโลกตลอดเวลา
ท้ายนี้ For the sake of completeness กระบวนกรบอกเราว่า การสัมภาษณ์ตัวตนเป็นเครื่องมือหนึ่งของ Voice dialogue อันอื่นก็มี Dream analysis (คนคิด Voice dialogue เป็น Jungian psycho analysts), Bonding pattern
Comments