ช่วงนี้เป็นช่วงอยากรู้อยากเห็นว่าชาวบ้านเค้าทำอะไร ทำอย่างไร สัปดาห์นี้ได้ไปคุยกับผศ.เอกรัตน์ รวยรวย แห่งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ที่ม.เทคโนฯ พระจอมเกล้าธนบุรี ด้วยคำแนะนำของเผือก
ประเด็นที่สนใจหลักๆ คือ อยากรู้ว่าเค้าทำ Professional Learning Community (PLC) อย่างไร อ.เอกเรียกว่า CoP: Community of Practice คือ เราก็มีกลุ่มคุยกันในเทอมที่แล้วที่คณะวิศวะ แต่ชั้นรู้สึกว่ามันออกแนวเยียวยา/ปัญหาชีวิต อยากเบนเข็มมาคุยกันเรื่องห้องเรียนบ้าง
คณะอ.เอกสอนคนไปเป็นครูช่าง ส่วนใหญ่ก็ไปทำอย่างอื่นมากกว่า เพราะว่าตำแหน่งมีน้อย อ.เอกเริ่มสนใจวิธีการของกระบวนกร (Facilitator: Fa) ตอนที่เห็นเผือกทำกิจกรรมกับช่างที่ SCG อ.เห็นความเป็นไปได้ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนด้วยวิธีการนี้ อ.จึงชวนเพื่อนอีก ๔ คน ซึ่งอยู่ต่างคณะ (แตก Node) ไปเรียนกับอาใหญ่ (วิศิษฎ์ วังวิญญู) เรื่องภาวนา นพลักษณ์ Voice dialogue เรียนอยู่ ๒ ปี เสาร์เว้นเสาร์ โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากอธิการบดี ใช้เวลาหกเดือนในการเปลี่ยนวิธีคิดของตนเองให้ยอมรับความไม่ชัดเจน และอยู่บนวิถีการเรียนแบบใหม่
ชุมชนกระบวนกรที่มจธ.มีหลาย Phase หลักๆ ดังนี้
มีเสียงท้าทายวิธีการกระบวนกร ว่าจะนำไปใช้ในห้องเรียนได้จริงหรือ อ.เอกจึงร่วมกับอ.อีกหลายๆ ท่าน สร้างห้องเรียนต้นแบบ เรื่องการเขียนเชิงวิชาการ (Academic writing) ซึ่งได้ถอดองค์ความรู้ออกมาเป็น e-book อ.ใช้วิธีการที่ขวัญแผ่นดินทำเวลารันกิจกรรมผู้นำสี่ทิศ แต่เปลี่ยนเนื้อหา เช่น การให้ใคร่ครวญตัวเอง การพูดคุยกลุ่มย่อย การทำ Panel ฉันชอบการ Imitate to Innovate นี้ การประเมินใช้ Rubrics and Reflections ซึ่งทำเพื่อให้ผู้เรียนเห็นตัวเอง ได้ย้อนคิด ผู้สอนอาจช่วยด้วยการตั้งคำถามย้อนกลับ
คลาส Academic writing นี้เป็นคลาสเล็ก นศ. 30-40 คน ก็มีคำท้าทายว่าวิธี FA จะสามารถใช้กับคลาสใหญ่ๆ ได้ไหม เทอมหน้าอ.จะเปิดวิชา การพัฒนาตนเองจากด้านใน เป็นวิชา General education ที่นศ.ทุกคณะมาเรียนได้ อ.จะ break ground ตั้งแต่การกรอกมคอ.เลย คือ จะไม่ระบุว่าแต่ละสัปดาห์จะสอนอะไร เพราะยังไม่รู้จนกว่าจะได้ทำ ส่วนเรื่องการประเมินก็มีคนตั้งคำถาม อ.บอกว่าจะให้นศ.ประเมินตัวเอง เพราะตัวเองต้องรู้จักตัวเองสิ ไม่งั้นจะพัฒนาตัวเองยังไง ฉันอยากไปนั่งเรียนด้วยมาก
อ.เอกบอกว่า พื้นฐานของการเรียนรู้เชิงกระบวนการที่อ.ทำ มีดังนี้
อ.ใช้ Facebook ชื่อกลุ่ม ชุมชนกระบวนกร มจธ. เพื่อประชาสัมพันธ์ห้องเรียนต่างๆ กิจกรรมที่ทำ ในมจธ.ด้วย เป็น PR tool ที่ดี
ตอนนี้ชุมชนกระบวนกร มจธ. นี้ strong พอที่จะไปเทรนให้คนภายนอก เช่น โรงเรียน หรือบริษัทต่างๆ ที่น่าอัศจรรย์คืออ.สามารถใช้ Dialogue เพื่ออบรมเรื่องที่ดูวิชาการเช่น Plant safety ได้ คือ จริงๆ โรงงานนั้นพร้อมทั้ง Hardware and software แต่ที่ยังเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ เพราะ Peopleware ไม่พร้อม ดังนั้น กระบวนการพูดคุยจึงตอบโจทย์นี้
งานของอ.ตอนนี้ตอบโจทย์ทั้งสามด้าน คือ การสอน การทำวิจัย (ห้องเรียนและการสอนแบบ เช่น บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมทางการศึกษานี้ ซึ่งเป็นวิชาภาคฉันพอดี) และการบริการวิชาการ (อบรมให้คนภายนอก)
ฉันจำไม่ได้ว่าอ.พูดไหม หรือฉันตีความเองว่ากระบวนการแบบนี้เป็นการฝึกตัวเองด้วย ให้อยู่กับความไม่รู้/ความกลัว หลายครั้งมองไม่เห็นเป้าชัดๆ เดินหน้าไป ทางเดินมันก็ชัดขึ้นเอง
ณ จุดนี้ ความท้าทายสำหรับฉัน คือ ฉันคิดว่าฉันควรจะฝึกเป็น Fa ได้แล้ว ไม่เคย doubt ในศักยภาพตนเอง แต่ขี้เกียจ ให้ข้อแก้ตัวกับตัวเองว่าไม่ต้องเป็นทุกอย่างที่อยากเป็นก็ได้
ฉันปรึกษาอ.เรื่องคอร์สที่จะทำปีหน้า อ.เอกเตือนสติให้มองภาพรวม ส่วนต่างๆ เป็นแค่ Jigsaw เพื่อจะ serve ภาพใหญ่บางอย่าง หรือ Project ตอนนี้มันแยกส่วนไป ไม่ Holistic (อันนี้วิพากษ์ตัวเอง)
ประเด็นที่สนใจหลักๆ คือ อยากรู้ว่าเค้าทำ Professional Learning Community (PLC) อย่างไร อ.เอกเรียกว่า CoP: Community of Practice คือ เราก็มีกลุ่มคุยกันในเทอมที่แล้วที่คณะวิศวะ แต่ชั้นรู้สึกว่ามันออกแนวเยียวยา/ปัญหาชีวิต อยากเบนเข็มมาคุยกันเรื่องห้องเรียนบ้าง
คณะอ.เอกสอนคนไปเป็นครูช่าง ส่วนใหญ่ก็ไปทำอย่างอื่นมากกว่า เพราะว่าตำแหน่งมีน้อย อ.เอกเริ่มสนใจวิธีการของกระบวนกร (Facilitator: Fa) ตอนที่เห็นเผือกทำกิจกรรมกับช่างที่ SCG อ.เห็นความเป็นไปได้ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนด้วยวิธีการนี้ อ.จึงชวนเพื่อนอีก ๔ คน ซึ่งอยู่ต่างคณะ (แตก Node) ไปเรียนกับอาใหญ่ (วิศิษฎ์ วังวิญญู) เรื่องภาวนา นพลักษณ์ Voice dialogue เรียนอยู่ ๒ ปี เสาร์เว้นเสาร์ โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากอธิการบดี ใช้เวลาหกเดือนในการเปลี่ยนวิธีคิดของตนเองให้ยอมรับความไม่ชัดเจน และอยู่บนวิถีการเรียนแบบใหม่
ชุมชนกระบวนกรที่มจธ.มีหลาย Phase หลักๆ ดังนี้
- เชิญวิทยากรมาบรรยาย
- ทำห้องเรียน
- ตั้งชุมชน มีการนัดเจอกันเป็นระยะๆ มีคนนึงเป็น Facilitator พบกันเพื่อย่อยประสบการณ์ห้องเรียน/กิจกรรม สะท้อน นำเสนอ/คิดค้นการนำไปใช้ในห้องเรียน
มีเสียงท้าทายวิธีการกระบวนกร ว่าจะนำไปใช้ในห้องเรียนได้จริงหรือ อ.เอกจึงร่วมกับอ.อีกหลายๆ ท่าน สร้างห้องเรียนต้นแบบ เรื่องการเขียนเชิงวิชาการ (Academic writing) ซึ่งได้ถอดองค์ความรู้ออกมาเป็น e-book อ.ใช้วิธีการที่ขวัญแผ่นดินทำเวลารันกิจกรรมผู้นำสี่ทิศ แต่เปลี่ยนเนื้อหา เช่น การให้ใคร่ครวญตัวเอง การพูดคุยกลุ่มย่อย การทำ Panel ฉันชอบการ Imitate to Innovate นี้ การประเมินใช้ Rubrics and Reflections ซึ่งทำเพื่อให้ผู้เรียนเห็นตัวเอง ได้ย้อนคิด ผู้สอนอาจช่วยด้วยการตั้งคำถามย้อนกลับ
คลาส Academic writing นี้เป็นคลาสเล็ก นศ. 30-40 คน ก็มีคำท้าทายว่าวิธี FA จะสามารถใช้กับคลาสใหญ่ๆ ได้ไหม เทอมหน้าอ.จะเปิดวิชา การพัฒนาตนเองจากด้านใน เป็นวิชา General education ที่นศ.ทุกคณะมาเรียนได้ อ.จะ break ground ตั้งแต่การกรอกมคอ.เลย คือ จะไม่ระบุว่าแต่ละสัปดาห์จะสอนอะไร เพราะยังไม่รู้จนกว่าจะได้ทำ ส่วนเรื่องการประเมินก็มีคนตั้งคำถาม อ.บอกว่าจะให้นศ.ประเมินตัวเอง เพราะตัวเองต้องรู้จักตัวเองสิ ไม่งั้นจะพัฒนาตัวเองยังไง ฉันอยากไปนั่งเรียนด้วยมาก
อ.เอกบอกว่า พื้นฐานของการเรียนรู้เชิงกระบวนการที่อ.ทำ มีดังนี้
- Holistic/Connecting to the inner world คุณรู้สึกอย่างไรกับเนื้อหานี้ มีประสบการณ์ในเรื่องนี้ไหม
- สอนเนื้อหาและทักษะ
- เน้นใช้กิจกรรมในการเรียนรู้
- Reflections
- Safe space ให้นศ.รู้สึกผ่อนคลาย
อ.ใช้ Facebook ชื่อกลุ่ม ชุมชนกระบวนกร มจธ. เพื่อประชาสัมพันธ์ห้องเรียนต่างๆ กิจกรรมที่ทำ ในมจธ.ด้วย เป็น PR tool ที่ดี
ตอนนี้ชุมชนกระบวนกร มจธ. นี้ strong พอที่จะไปเทรนให้คนภายนอก เช่น โรงเรียน หรือบริษัทต่างๆ ที่น่าอัศจรรย์คืออ.สามารถใช้ Dialogue เพื่ออบรมเรื่องที่ดูวิชาการเช่น Plant safety ได้ คือ จริงๆ โรงงานนั้นพร้อมทั้ง Hardware and software แต่ที่ยังเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ เพราะ Peopleware ไม่พร้อม ดังนั้น กระบวนการพูดคุยจึงตอบโจทย์นี้
งานของอ.ตอนนี้ตอบโจทย์ทั้งสามด้าน คือ การสอน การทำวิจัย (ห้องเรียนและการสอนแบบ เช่น บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมทางการศึกษานี้ ซึ่งเป็นวิชาภาคฉันพอดี) และการบริการวิชาการ (อบรมให้คนภายนอก)
ฉันจำไม่ได้ว่าอ.พูดไหม หรือฉันตีความเองว่ากระบวนการแบบนี้เป็นการฝึกตัวเองด้วย ให้อยู่กับความไม่รู้/ความกลัว หลายครั้งมองไม่เห็นเป้าชัดๆ เดินหน้าไป ทางเดินมันก็ชัดขึ้นเอง
ณ จุดนี้ ความท้าทายสำหรับฉัน คือ ฉันคิดว่าฉันควรจะฝึกเป็น Fa ได้แล้ว ไม่เคย doubt ในศักยภาพตนเอง แต่ขี้เกียจ ให้ข้อแก้ตัวกับตัวเองว่าไม่ต้องเป็นทุกอย่างที่อยากเป็นก็ได้
ฉันปรึกษาอ.เรื่องคอร์สที่จะทำปีหน้า อ.เอกเตือนสติให้มองภาพรวม ส่วนต่างๆ เป็นแค่ Jigsaw เพื่อจะ serve ภาพใหญ่บางอย่าง หรือ Project ตอนนี้มันแยกส่วนไป ไม่ Holistic (อันนี้วิพากษ์ตัวเอง)
Comments