วันที่ห้าที่ภูฎาน

๗ มีนาคม ๒๕๕๘

เริ่มตอนเช้าด้วยการภาวนากลุ่มเช่นเคย เราอยู่ตัวแล้ว ก็เลยตื่นเช้า ได้ฝีกโยคะ อ่านหนังสือก่อนไปภาวนา  ก็ไปเดินจงกรมรอ

ช่วงเช้าเค้าอยากให้เรารู้จักวิถึชีวิตชาวบ้าน เค้าให้เราไปปลูกมันฝรั่ง แปลงปลูกมีหินเยอะมากๆ  เค้าทำร่องไว้ให้แล้ว  เราก็แค่แบกมันฝรั่งเอาไปวาง แล้วก็เอาจอบโกยดินกลบ  เค้าใช้ปุ๋ยเคมี (NPK) เห็นชาวบ้านบอกว่ามีคนก.เกษตรเอามาแจก  แต่ภูฎานตั้งใจจะ Go organics ทั้งประเทศ

เราว่าเราแข็งแรงนะ มี Upper body strength ที่ดีพอควร แต่ยังไงก็สู้เกษตรกรไม่ได้  ก้มลงเอามันฝรั่งวางก็เมื่อยหลัง ตอนแบกมันจากโรงเก็บก็ เอ๊ย ทำไมหนักจังวะ  รู้สึกว่าตัวเองหน่อมแน๊มมากๆ

พอได้เวลา ก็ให้พัก  กินชาร้อนกับขนม  แล้วเตรียมไปทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อคือการเก็บขยะ  เค้าแจกถุงปุ๋ยและถุงมือ เราเก็บไม่ได้มากเพราะลุยลงเนินไม่ได้ เข่าเดี้ยง  มีเศษผ้า เศษพลาสติก และรองเท้าขาดๆ เยอะ

นกกระเรียนคอดำ


เราได้ปิคนิค กินข้าวนอกสถานที่ อาหารดี บรรยากาศดี นั่งอยู่หน้าวัดที่พระชนนี (King's mother) สร้างไว้ ยังไม่ทำพิธีบุญให้เป็นวัด

วันนี้ได้ฉี่กลางแจ้ง ไม่มีห้องน้ำ ต้องหามุมเอา

เย็นนี้คุยกันเรื่องพุทธศาสนาแบบมหายาน/วัชรยาน  ชอบฟังธรรมบรรยายนะ  แต่ตอนแรกเลยรู้สึกถึงการต่อต้านของเรา  มีแรงผลักเมื่อเราพบคนที่คล้ายๆ เรา  แต่พอสังเกตถึงแรงผลักเฉยๆ ไม่ไปทำอะไรกับมัน สักพักมันก็หาย และเราหันมาสนใจเรื่องที่เค้าพูดมากกว่า  ประเด็นที่ชอบๆ  มีดังนี้...

Lunch picnic
ที่เห็นข้างหลังคือธงมนตร์ สีขาวมี ๑๐๘ อัน
ทำบุญให้คนตาย
If one feels disconnected with others, one feels insecure/fearful so he/she accumulates money or fame, etc.  ถ้าเรารู้สึกแปลกแยกกับคนอื่น เราจะรู้สึกไม่มั่นคงและหวาดกลัว ดังนั้นเราจึงสะสมเงินหรือชื่อเสียง

Attachment arises because we identify with it, e.g., with wealth. ความยึดติดเกิดขึ้นเพราะเรามีอัตลักษณ์ที่เป็นสิ่งนั้น เช่น เงิน

Hell has 2 sides: hatred (fire) and fear (ice).  นรกมีสองด้านคือความโกรธ (ไฟ) และความกลัว (น้ำแข็ง)

Reality is relational.  The mind creates the world/relationship.  ความจริงเป็นสิ่งสัมพัทธ์  ใจสร้างโลกและความสัมพันธ์  Two levels of reality: Earthly (โลกียะ) and transcendence (โลกุตตระ).

Every Buddha has his or her own Buddhaland.  We also have our own Buddhaland which is reflected through our lives.
พระพุทธเจ้าทุกองค์มีพื้นที่พุทธะส่วนตัว เราก็มีพื้นที่พุทธะของเราเหมือนกัน ซึ่งสะท้อนผ่านชีวิตของเรา

Cessation of sufferings (นิโรธ) is possible because we can transform our minds.  Every situation can be transformative because it originates in the mind.  Without sufferings, there would not be compassion which means "to suffer with."

นิโรธเกิดขึ้นได้เพราะเราสามารถเปลี่ยนจิตเราได้  สถานการณ์ทุกอย่างสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะมันเริ่มจากจิตเรา  หากไม่มีความทุกข์ก็ไม่มีความกรุณาซึ่งแปลว่าร่วมทุกข์

We need to balance three pillars (wisdom, concentration, and compassion).
เราจำเป็นต้องสร้างสมดุลใน ๓ ด้าน คือ ปัญญา สมาธิ และความกรุณา  ชั้นไม่เคยมองเลยว่าศีลก็คือความกรุณานั่นเอง กรุณาต่อตนเองและผู้อื่น

Compassion is not a feeling; it's an action!!  ความกรุณาไม่ใช่ความรู้สึก แต่คือการกระทำ

Comments