One fine evening at BIA

หมอบัญชา พงษ์พานิช
ฉันไปถึงหอจดหมายเหตุท่านพุทธทาส (Buddhadasa Indapanno Archives, BIA) ตอนห้าโมงเย็น เพื่อให้ทันทำวัตรเย็นและฟังธรรม ปรากฎว่ามีโปรแกรมแถมคือฟังบรรยายภาพหินแกะสลักนูนต่ำ (Bas relief) ที่ประดับอยู่ที่ผนังรั้วชั้น ๑ ทุกทีฉันเดินผ่านอย่างไม่เคยคิดจะอ่าน หมอบัญชา พงษ์พานิช ประธาน BIA เป็นผู้อธิบายให้ฟังด้วยตัวเอง แกเล่าว่า ตอนนั้นท่านพุทธทาสอยากรู้ว่าในสมัยพุทธกาล หรือหลังพุทธกาลไม่มาก มีการบูชารูปเคารพของพระพุทธเจ้าเยอะขนาดที่เมืองไทยเป็นอยู่ไหม คือ ขณะนั้น เริ่มจะบูชารูปเคารพของเกจิอาจารย์ทั้งหลายด้วย ไม่เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น

ท่านพุทธทาสก็เลยไปอินเดีย ท่านพบว่า สังเวชนียสถานและโบราณสถานที่เกี่ยวกับพุทธประวัตินั้น มีประวัติเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่ละเสี้ยว ท่านต้องการนำมาลำดับด้วยเวลา ตั้งแต่พระพุทธเจ้าประสูติ จนดับขันธ์ปรินิพพาน โดยให้พระที่สวนโมกข์นั่นแหละเป็นผู้แกะรูปสลักนูนต่ำเหล่านี้ ลอกแบบมาจากที่ต่างๆ เช่น ที่ศานจี

Historical fact ที่น่าสนใจมากๆ คือ การแสดงรูปของพระพุทธเจ้าด้วยตัวคน เริ่มมี ๕๐๐ ปีหลังจากท่านปรินิพพาน ก่อนหน้านั้น พุทธศาสนิกถือคติเหมือนอิสสามที่ไม่แสดงความเป็นจริงสูงสุด (อัลเลาะห์) ด้วยรูป เพราะเกรงว่าคนจะติดอยู่ที่รูป โดยลืมเข้าถึงความจริง ดังนั้น ภาพแกะสลักเหล่านี้ แทนพระพุทธเจ้าด้วยดอกบัวบ้าง รอยเท้า (พระพุทธบาท) บ้าง หรือปล่อยให้เป็นที่ว่างเฉยๆ เช่น มีเก้าอี้หรือที่ประทับ แต่ไม่มีตัวคนนั่ง มีรูปสวัสดิกะ (ที่นาซีเอามาใช้ทีหลัง) อยู่ที่เบาะ

อีกคำอธิบายหนึ่งที่ไม่แสดงรูปพระพุทธเจ้า ก็คือ คำสอนของท่านเป็นเรื่องความว่าง

คนอินเดียโบราณหรือพวกอารยัน (Aryan) ใช้เครื่องหมาย Swastika มานานแล้ว หมอบัญชาบอกว่าน่าจะแทนกงจักร หรือการดำเนินไป แล้ว Hitler เอามาใช้เป็นโลโก้ของพวกนาซี เพราะเค้าถือว่าพวกตนเป็นชนชาติที่สูงกว่า (อารยะ ซึ่งมีความหมายเดียวกับ อริยะ)

ภาพแกะสลักนูนต่ำพวกนี้มีวิธีการอ่านเหมือนภาพจิตรกรรมฝาหนังไทย ที่บางที ส่วนบนแสดงเหตุการณ์ที่มาก่อน (ขาไป) แล้วส่วนล่างแสดงขากลับ หรือบางทีก็ดูเป็นวงกลม เช่น ตอนที่นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ เราต้องดูวนขวา ในหินก้อนเดียวกัน มีรูปนางถือถาด ถ้ดไปเป็นรูปนางแสดงความเคารพด้วยการกราบ ถ้ดไปเป็นรูปนางเอาผมมาเช็ดเท้าพระพุทธเจ้า (ที่แสดงเป็นเฉพาะที่นั่งว่างๆ) หมอบัญชาบอกว่า นี่เป็น Animation ของอินเดียเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีที่แล้ว

อยากให้แกมีเวลาอธิบายมากกว่านี้ แกเป็นคนที่เล่าพุทธประวัติได้มันมาก ถ้ามีคนสอนประวัติศาสตร์ดีๆ แบบนี้ เราคงมีการอนุรักษ์มากกว่านี้เยอะ

จากนั้นเราก็ขึ้นไปชั้นสองสวดมนต์แปล โดยมีคนนำสวด ฉันชอบน้ำเสียงคนนี้ และพอมีคนนำจะได้สวดพร้อมๆ กัน ฉันพบว่าคนกรุงเทพทำอะไรเร็วไปหมด ขนาดสวดมนต์ยังเร็วเลย..

เค้าจัดอาหารเย็นให้เราด้วย อร่อยมาก I wonder why there aren't more people there.

ส่วนที่รอคอยคือ การบรรยายธรรมโดยดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ฉันไม่เคยฟังแกบรรยายแบบยาวๆ เคยเห็นแกสั้นๆ จากรายการพื้นที่ชีวิต สิ่งที่ชอบเวลาแกบรรยาย คือ แกไม่สุภาพจนเกินไป (ทำให้เรารู้สึกว่าเราคล้ายกัน) ตลก และตรงประเด็น คือ ยิงให้โดนหัวใจกันไปเลย ไม่ต้องพล่ามมาก

สิ่งที่เค้าพูด ที่ให้แง่คิดกับฉันคือควรเริ่มภาวนาที่ฐานกายก่อน คนเรามีสามส่วน คือ สมอง (ความคิด), ใจ และกาย คนส่วนใหญ่คิดว่าสมองและใจเป็นสิ่งเดียวกัน วิธีที่จะเห็นว่ามันแยกจากกัน คือ กลับมาอยู่ที่กาย เพราะจริงๆ กายมันไม่ล่อหลอกเราเหมือนความคิด เช่น ถ้าเราโมโหนี่ ลมหายใจก็เปลี่ยนแล้ว และกล้ามเนื้อก็จะเริ่มเกร็ง ดังนั้น ถ้าเราไวกับความรู้สึกทางกาย จะรู้ได้ทันทีว่ารู้สึกอย่างไร ไม่ต้องคิดเลย...

อีกอย่างที่ฉันชอบ คือ เค้าบอกว่าอย่าเชื่อความคิดตัวเองมาก และให้มีครูบาอาจารย์หรือกัลยาณมิตร ถึงแม้ว่าจะอ่านตำรา อ่านพระไตรปิฎก อาจจะคิดเอง หลอกตัวเองอยู่ก็ได้

เค้าบอกว่าการปฎิบัติธรรมคือการดัดสันดาน เค้าบอกให้เราลองหัดฝีนใจตัวเองบ้าง เช่น เวลาเค้าไปวัด รอกินอาหารเช้า ที่เป็นแบบวางให้ตัก โดยให้พระ แม่ชี คนแก่ และโยมตัก ตามลำดับ เค้ารอให้ทุกคนตักไปก่อน แล้วก็นั่งดูใจตัวเองไปที่วิ่งเล็งดูอาหาร หรือกลัวจะไม่เหลือให้กิน อันนี้ฉันเห็นด้วยมาก โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้ที่อะไรๆ ก็ได้เร็ว คนใจร้อนอย่างฉันก็ยิ่งเสียนิสัยขึ้นไปอีก โปรเจคส่วนตัวของฉันคืองดช้อปปิ้ง ๔ เดือน เท่าที่ผ่านมาก็ดี ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา ประหยัดพลังสมองไปได้เยอะ...

แกบอกว่า ธรรมะเป็นเรื่องที่ลองทำ เรามีอายตนะ (Sensory channels) ๖ อัน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และเราไม่สามารถข้ามช่องได้ คือ เขียนบรรยายกลิ่นมะลิ หรือรสชาติมะม่วงอย่างไร ก็ไม่ get หรอก ธรรมะก็เช่นกัน เป็นเรื่องของใจสู่ใจ แกบอกว่าความเป็นนักวิทยาศาสตร์แบบใหม่ (New science) ช่วยแกมาก คือ ไม่สนใจชุดความรู้ที่มีอยู่ก่อน แต่จะลองไปทำดูก่อน แกเป็นคริสต์มาก่อน ด้วยครอบครัว และเคยทุกข์มาก แกอยากรู้ว่าที่ศาสนาพุทธสอนนั้นเป็นของจริงหรือเปล่า ก็เลยไปบวช ลองปฎิบัติดู ครูบาอาจารย์บอกอะไร แกก็ทำ ไม่ถามมาก ทำๆ ไป เผอิญว่าถูกจริตและทำจริง ก็เลยได้ผล

อีกส่วนที่ชอบในอ.วรภัทรคือ ทัศนคติ (Attitude) แกชอบพูดคำว่า "ขำๆ" คือ แต่ละคนก็มึเรื่องราวในอดีต แกใช้ตัวอย่างของพ่อแม่ที่อยู่ในทะเลทราย และสอนลูกว่าสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต คือ แว่นตาดำ หากเผอิญลูกไปอยู่ถ้ำ แต่ก็ยังใช้ชุดความรู้ของการอยู่ทะเลทราย ยังใส่แว่นดำ ก็เสร็จ... เวลาเราทะเลาะกัน อาจเป็นเพราะพวกหนึ่งมาจากทะเลทราย อีกพวกมาจากถ้ำก็ได้ ชุดความรู้มันคนละชุด เหมือนพูดกันคนละภาษา

Comments