คลิกเพื่อดูรูปที่ถ่าย
ฉันเพิ่งไปงานภาวนาของหลวงปู่ติชนัทฮันห์ (Peaceful Mind Open Heart Retreat) มา เนื่องจากได้เขียนจดหมายเล่าให้เพื่อนฟังว่าเป็นไง ก็เลยมีบันทึกเป็นภาษาไทยแล้ว ครั้นจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่ได้ทำซะที เพราะยุ่งมากและขี้เกียจมาก และก็จะเปิดเทอมวันพรุ่งนี้แล้ว ช่วงนี้ก็อาศัยบุญเก่า เอาเอกสารการสอนที่เตรียมไว้ปีที่แล้วมาปัดฝุ่นยังชีพไปก่อน
ขอสารภาพว่าฉันไม่ได้คลั่งไคล้ Thay (เป็นชื่อที่ลูกศิษย์เรียกท่าน แปลว่า "Teacher") เลยก่อนไป ไม่เคยอ่านหนังสือท่าน เพราะฉันไม่ชอบฮิตอะไรตามชาวบ้าน และท่านก็เป็นกวีเกินไป คือคาลิล ยิบรานมากๆ แล้วฉันรู้สึกว่าฉันผ่านชีวิตช่วงนั้นมาแล้ว ฉันจึงไม่มีความคาดหวังใดๆ ก่อนไป แถมแอบเอางานไปทำอีกต่างหาก (เพื่ออุ่นใจ) ไปทำหน้าที่ว่าได้พาน้องสาว พาเพื่อนไปภาวนา และงานก็ใหญ่มาก ผู้เข้าร่วมประมาณ 1600 คน ก็เลยไม่คิดอะไรมาก ได้แค่ไหนก็แค่นั้น...
พุทธแนวหมู่บ้านพลัมคล้ายศาสนาคริสต์มาก แทนที่จะสวดมนต์เป็นบาลี (ยังมี "นะโมตัสสะ.." อยู่ แต่สั้นๆ) ก็ร้องเพลงแทน ร้องเพลงน่ะไม่เท่าไหร่ แต่ไอ้ท่าประกอบนี่สิ ฉันเองยังไม่กล้าทำเลยตอนแรก และก็ขำพวกชายหนุ่มทั้งหลายที่ทำกันอย่างตั้งใจ หน้าตาไปพร้อมท่า เพลงที่ทุกคนน่าจะรู้จักก็เพลง...ลมหายใจเข้า...ลมหายใจออก...ดั่งดอกไม้บาน... ที่เสถียรธรรมสถานเอามาร้อง ที่มาของเพลงนี้น่าสนใจมาก คือมันเป็นเพลงที่แปลเป็นไทยมาจากภาษาเวียดนาม แล้วมีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษทีหลัง (จำชื่อคนแปลไม่ได้...) และแถมก่อนที่ Thay จะเทศน์ทุกครั้ง มีการร้องเพลงประสานเสียง (Choir) อีกต่างหาก มีไวโอลิน และกีต้าร์บางทีด้วย
อ้อ แล้วที่เหมือนอีกอย่างคือไปกันทั้งครอบครัว ฉันเห็นมีลูกโตๆ ที่ดึงเอาพ่อแม่แก่ๆ มา (พ่อแม่ก็ไม่ได้อินมาก) และก็มีพ่อแม่หนุ่มสาวที่เอาลูกมา เป็นการภาวนาที่จ้อกแจ้กดี เค้ามีอาสาสมัครหนุ่มสาวคอยเล่นเกมกับเด็กๆ เวลาพ่อแม่ฟังเทศน์ หรือเข้าร่วมกิจกรรม ตอนแรกไม่ชินเวลามีเสียงเด็กๆ คุยตอนฟังเทศน์ (พวกที่ไม่ไปเล่นข้างนอกกับพี่อาสาฯ) หลังๆ ก็เริ่มโอเค
แล้วอีกปรากฎการณ์หนึ่งที่น่าสนใจ ที่แตกต่างไปจากงานภาวนาอื่น คือ มีสัดส่วนของชายหนุ่มเยอะกว่างานภาวนาทั่วไป ปกติที่ฉันเห็น จะมีผู้หญิง >80% งานนี้ฉันว่าจำนวนหญิงชายใกล้กัน และเป็นคนอายุต่ำกว่า 45 โดยมาก มีที่ฉันว่าเป็นเกย์มาเป็นกลุ่มก็มี ชายหนุ่มประเภทแสวงหาตัวตน ไม่เหมือนใคร สไตล์อ่านนิตยสาร A Day ที่มาคนเดียวก็เยอะ
เกือบลืมเอกลักษณ์เสียงระฆัง มีกฎว่าทุกครั้งที่ได้ยินเสียงนี้ ซึ่งจะดังเพียงครึ่งเดียวก่อน (Half sound) เพื่อเตือนเรา จากนั้นก็จะมาเป็นเสียงเต็ม พอได้ยิน เราต้องหยุด แล้วก็กลับมาตามลมหายใจ เข้า...ออก... อย่างน้อยสามที วัตถุประสงค์เพื่อให้กลับมาอยู่กับตัวเอง วันแรกรำคาญมาก ไอ้เสียงนี่ เหมือนเล่นเกมแปะแข็ง ที่โดนแล้วต้อง Freeze ตอนหลังก็ชิน มันก็ work จริงๆ (เค้ามีโปรแกรมเสียงระฆังให้สำหรับคอมพ์ด้วย ดาวน์โหลดได้จาก Thai Plum Village web)
ที่นี่ใช้อานาปานสติ ("อานา" แปลว่าลมหายใจเข้า ส่วน "ปานา" แปลว่า ลมหายใจออก เป็นความรู้ที่ได้จากการไปภาวนาที่สวนโมกข์นานาชาติเมื่อหลายปีมาแล้ว ซึ่งที่นั่นก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน) ตามดูลม แล้วก็มีเดินจงกรม (ที่นี่เค้าเรียกว่า "เดินภาวนา," Walking meditation) หลังจากการนั่งภาวนาตอนเช้า แต่ฉันไม่ค่อยชินกับการตามลม พอไปดูมัน เลยเผลอบิดเบือนมัน เช่น ลากลมให้สั้น ยาว ไม่เป็นธรรมชาติ เวลาเดิน Thay สอนให้ท่อง Mantra เช่น This-is-it สำหรับลมเข้า (ก้าวละคำ) หรือ Not-seek-ing-any-more สำหรับลมออก เพราะสำหรับคนปกติ ลมหายใจเข้าต้องใช้ความพยายามมากกว่าลมออก ซึ่งลมออกทำให้ผ่อนคลาย หรือ Thay บอกให้เดินแล้วนับก้าว ว่าลมหายใจเข้าหนึ่งครั้ง เดินได้กี่ก้าว, ออกหนึ่งครั้ง เดินได้กี่ก้าว ท่านให้เรารู้ตามที่มันเป็น (Just recognize it, the way it is) แต่ฉันไม่ชิน เลยอึดอัด ก็เลยทำแบบที่คุ้นชิน คือ เดินแล้วรู้สึกเท้ากระทบพื้น ใจไหลไปที่อื่น ก็รู้ว่าไป แล้วกลับมารู้สึกการกระทบใหม่...
โพสต์ต่อจากอันนี้
ฉันเพิ่งไปงานภาวนาของหลวงปู่ติชนัทฮันห์ (Peaceful Mind Open Heart Retreat) มา เนื่องจากได้เขียนจดหมายเล่าให้เพื่อนฟังว่าเป็นไง ก็เลยมีบันทึกเป็นภาษาไทยแล้ว ครั้นจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่ได้ทำซะที เพราะยุ่งมากและขี้เกียจมาก และก็จะเปิดเทอมวันพรุ่งนี้แล้ว ช่วงนี้ก็อาศัยบุญเก่า เอาเอกสารการสอนที่เตรียมไว้ปีที่แล้วมาปัดฝุ่นยังชีพไปก่อน
ขอสารภาพว่าฉันไม่ได้คลั่งไคล้ Thay (เป็นชื่อที่ลูกศิษย์เรียกท่าน แปลว่า "Teacher") เลยก่อนไป ไม่เคยอ่านหนังสือท่าน เพราะฉันไม่ชอบฮิตอะไรตามชาวบ้าน และท่านก็เป็นกวีเกินไป คือคาลิล ยิบรานมากๆ แล้วฉันรู้สึกว่าฉันผ่านชีวิตช่วงนั้นมาแล้ว ฉันจึงไม่มีความคาดหวังใดๆ ก่อนไป แถมแอบเอางานไปทำอีกต่างหาก (เพื่ออุ่นใจ) ไปทำหน้าที่ว่าได้พาน้องสาว พาเพื่อนไปภาวนา และงานก็ใหญ่มาก ผู้เข้าร่วมประมาณ 1600 คน ก็เลยไม่คิดอะไรมาก ได้แค่ไหนก็แค่นั้น...
พุทธแนวหมู่บ้านพลัมคล้ายศาสนาคริสต์มาก แทนที่จะสวดมนต์เป็นบาลี (ยังมี "นะโมตัสสะ.." อยู่ แต่สั้นๆ) ก็ร้องเพลงแทน ร้องเพลงน่ะไม่เท่าไหร่ แต่ไอ้ท่าประกอบนี่สิ ฉันเองยังไม่กล้าทำเลยตอนแรก และก็ขำพวกชายหนุ่มทั้งหลายที่ทำกันอย่างตั้งใจ หน้าตาไปพร้อมท่า เพลงที่ทุกคนน่าจะรู้จักก็เพลง...ลมหายใจเข้า...ลมหายใจออก...ดั่งดอกไม้บาน... ที่เสถียรธรรมสถานเอามาร้อง ที่มาของเพลงนี้น่าสนใจมาก คือมันเป็นเพลงที่แปลเป็นไทยมาจากภาษาเวียดนาม แล้วมีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษทีหลัง (จำชื่อคนแปลไม่ได้...) และแถมก่อนที่ Thay จะเทศน์ทุกครั้ง มีการร้องเพลงประสานเสียง (Choir) อีกต่างหาก มีไวโอลิน และกีต้าร์บางทีด้วย
อ้อ แล้วที่เหมือนอีกอย่างคือไปกันทั้งครอบครัว ฉันเห็นมีลูกโตๆ ที่ดึงเอาพ่อแม่แก่ๆ มา (พ่อแม่ก็ไม่ได้อินมาก) และก็มีพ่อแม่หนุ่มสาวที่เอาลูกมา เป็นการภาวนาที่จ้อกแจ้กดี เค้ามีอาสาสมัครหนุ่มสาวคอยเล่นเกมกับเด็กๆ เวลาพ่อแม่ฟังเทศน์ หรือเข้าร่วมกิจกรรม ตอนแรกไม่ชินเวลามีเสียงเด็กๆ คุยตอนฟังเทศน์ (พวกที่ไม่ไปเล่นข้างนอกกับพี่อาสาฯ) หลังๆ ก็เริ่มโอเค
แล้วอีกปรากฎการณ์หนึ่งที่น่าสนใจ ที่แตกต่างไปจากงานภาวนาอื่น คือ มีสัดส่วนของชายหนุ่มเยอะกว่างานภาวนาทั่วไป ปกติที่ฉันเห็น จะมีผู้หญิง >80% งานนี้ฉันว่าจำนวนหญิงชายใกล้กัน และเป็นคนอายุต่ำกว่า 45 โดยมาก มีที่ฉันว่าเป็นเกย์มาเป็นกลุ่มก็มี ชายหนุ่มประเภทแสวงหาตัวตน ไม่เหมือนใคร สไตล์อ่านนิตยสาร A Day ที่มาคนเดียวก็เยอะ
เกือบลืมเอกลักษณ์เสียงระฆัง มีกฎว่าทุกครั้งที่ได้ยินเสียงนี้ ซึ่งจะดังเพียงครึ่งเดียวก่อน (Half sound) เพื่อเตือนเรา จากนั้นก็จะมาเป็นเสียงเต็ม พอได้ยิน เราต้องหยุด แล้วก็กลับมาตามลมหายใจ เข้า...ออก... อย่างน้อยสามที วัตถุประสงค์เพื่อให้กลับมาอยู่กับตัวเอง วันแรกรำคาญมาก ไอ้เสียงนี่ เหมือนเล่นเกมแปะแข็ง ที่โดนแล้วต้อง Freeze ตอนหลังก็ชิน มันก็ work จริงๆ (เค้ามีโปรแกรมเสียงระฆังให้สำหรับคอมพ์ด้วย ดาวน์โหลดได้จาก Thai Plum Village web)
ที่นี่ใช้อานาปานสติ ("อานา" แปลว่าลมหายใจเข้า ส่วน "ปานา" แปลว่า ลมหายใจออก เป็นความรู้ที่ได้จากการไปภาวนาที่สวนโมกข์นานาชาติเมื่อหลายปีมาแล้ว ซึ่งที่นั่นก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน) ตามดูลม แล้วก็มีเดินจงกรม (ที่นี่เค้าเรียกว่า "เดินภาวนา," Walking meditation) หลังจากการนั่งภาวนาตอนเช้า แต่ฉันไม่ค่อยชินกับการตามลม พอไปดูมัน เลยเผลอบิดเบือนมัน เช่น ลากลมให้สั้น ยาว ไม่เป็นธรรมชาติ เวลาเดิน Thay สอนให้ท่อง Mantra เช่น This-is-it สำหรับลมเข้า (ก้าวละคำ) หรือ Not-seek-ing-any-more สำหรับลมออก เพราะสำหรับคนปกติ ลมหายใจเข้าต้องใช้ความพยายามมากกว่าลมออก ซึ่งลมออกทำให้ผ่อนคลาย หรือ Thay บอกให้เดินแล้วนับก้าว ว่าลมหายใจเข้าหนึ่งครั้ง เดินได้กี่ก้าว, ออกหนึ่งครั้ง เดินได้กี่ก้าว ท่านให้เรารู้ตามที่มันเป็น (Just recognize it, the way it is) แต่ฉันไม่ชิน เลยอึดอัด ก็เลยทำแบบที่คุ้นชิน คือ เดินแล้วรู้สึกเท้ากระทบพื้น ใจไหลไปที่อื่น ก็รู้ว่าไป แล้วกลับมารู้สึกการกระทบใหม่...
โพสต์ต่อจากอันนี้
Comments