แล้วรู้ได้ไงว่าหวังดีจริง?

ต่อจากความเดิมที่ฉันไปเคลียร์ประเด็นกับเพื่อนฉันมา  แล้วก็ให้สงสัยว่า เอ๊ ฉันนี่ทำตามกิเลสตัวเองหรือเปล่าน้า...  หรือว่าหวังดีกับเค้าจริงๆ  ไม่อยากให้เค้าทำให้คนอื่นเสียความรู้สึก เหมือนกับที่เราได้โดนไป  ก็เลยเขียนไปถามเพื่อนที่ไว้ใจมากคนนั้น หลังจากที่ได้วีนเขาไปแล้ว

ปุจฉา

เราถูกสอนว่าควรจะฝึกขันติบารมี  ถ้าเราไม่พอใจ ก็ให้ดูใจเราเอง ความโกรธ ความไม่พอใจมันเป็นอนิจจัง  มีเกณฑ์อะไรที่บอกว่า นอกจากรู้ใจตัวเองแล้ว  เราควรจะไปบอกต้นตอเค้า อย่างที่หญิงคุยกับเพื่อน เวลาหญิงมีประเด็น คือ ถ้าเก็บไว้ แล้วเจ้าตัวเค้าจะรู้ได้ไง ว่าทำแบบนี้ไม่โอเค หรือว่ามีทางอื่นที่ดีกว่านี้    หญิงรู้ว่าหญิงเป็นพวกอัตตาสูง ชอบให้คนเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น  "ความหวังดี" ของหญิงอาจเป็นเพียงแค่ความต้องการของเราอยากให้เค้าเป็นโน่นนี่ก็ได้

ขอคำตอบแบบไม่ abstract เกินไปนะคะ เอาแบบจับต้องได้ ทำได้ สไตล์ How-to (^ ^)

วิสัชนา

ที่จริงผมไม่ค่อยเชื่อการอธิบายแบบ how to นัก วิธีที่คนหนึ่งทำสำเร็จแต่อีกคนอาจจะได้ผลแตกต่างกันก็ได้ เนื่องด้วยคนมีเหตุปัจจัยหลายๆ อย่างที่ต่างกันไป (มันไม่ใช้งานวิจัยในห้องทดลอง)

ผมว่าเราควรระงับหรือลดอารมณ์ภายในใจเราลงก่อน แล้วก็ค่อยคุยกันฉันท์มิตร (พูดในสิ่งที่เราต้องการให้เค้าเข้าใจความเห็นหรือความรู้สึกของเราและตั้งใจรับฟังความเห็นหรือความรู้สึกของเขาด้วย)  แต่ผลของการพูดคุยจะบวกหรือลบ หรือไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย  เราก็พร้อมที่รับผลนั้นด้วย  ผมเชื่อว่าถ้าเรามีเจตนาดีต่อกันเป็นที่ตั้ง สิ่งที่กระทำย่อมส่งผลทางที่ดีไม่มากก็น้อย  อย่างน้อยเราก็ได้ระบายความรู้สึกออกไป พอสบายใจขึ้นบ้าง ส่วนผลของงานหรือพฤติกรรมของเค้าจะดีขึ้นหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง (อาจจะสัมพันธ์กับประสบการณ์หรือวิธีคิดของคนๆนั้นเป็นหลักก็ได้)

abstract มากไหม?

Sometimes, when we are discouraged by a difficult situation, anger does seem helpful, appearing to bring more energy, confidence and determination. And while it is true that anger brings extra energy, it eclipses the best part of our brain: its rationality. So the energy of anger is almost always unreliable. It can cause an immense amount of destructive, unfortunate behavior. 

The Dalai Lama

Comments